วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร | |
---|---|
![]() พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร | |
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดอรุณ, วัดแจ้ง |
ที่ตั้ง | เลขที่ 34 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธชัมพูนุช พระแจ้ง พระพุทธนฤมิตร |
เจ้าอาวาส | พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท) |
ความพิเศษ | วัดประจำรัชกาลที่ 2 |
จุดสนใจ | พระพุทธชัมพูนุช พระจุฬามณี |
กิจกรรม | 9 วันหลังออกพรรษา ประเพณีทอดผ้าพระกฐิน พระราชทาน |
เว็บไซต์ | https://www.watarun1.com |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดอรุณราชวราราม |
ขึ้นเมื่อ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000140 |
![]() |
วัดอรุณราชวราราม หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยสิงคโป์ ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลากลางคืนพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะละ และกลายเป็นวัดมะม่วงในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอก (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะม่วง ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 28890 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327

ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]
นับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดอรุณราชวรารามมีเจ้าอาวาสสืบลำดับมา ดังนี้
ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระโพธิวงศาจารย์ | ? | ? |
2 | พระธรรมไตรโลกาจารย์ | ? | ? |
3 | พระพุทธโฆษาจารย์ (คง) | พ.ศ. 2362 | ? |
4 | สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง) | ? | พ.ศ. 2419 |
5 | พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ทอง) | พ.ศ. 2419 | พ.ศ. 2424 |
6 | พระเทพโมลี (ฑิต อุทโย) | พ.ศ. 2424 | พ.ศ. 2431 |
7 | พระราชมุนี (ปุ่น ปุณฺณโก) | พ.ศ. 2438 | พ.ศ. 2441 |
8 | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) | พ.ศ. 2444 | พ.ศ. 2456 |
9 | พระธรรมเจดีย์ (อุ่ม ธมฺมธโร) | พ.ศ. 2456 | พ.ศ. 2467 |
10 | พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) | พ.ศ. 2468 | พ.ศ. 2488 |
11 | สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2520 |
12 | พระธรรมคุณาภรณ์ (เจียร ปภสฺสโร) | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2524 |
13 | พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก) | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2551 |
14 | พระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปุญฺโญ) | พ.ศ. 2552 | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 |
15 | พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท) | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | ปัจจุบัน |
ระเบียงภาพ[แก้]
-
ประติมากรรมยักษ์ทศกัณฐ์ (สีเขียว) และยักษ์สหัสเดชะ (สีขาว) กำลังเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันออก
-
พระพุทธรูปในระเบียงคดรอบพระอุโบสถ
-
มณฑปพระพุทธบาท
-
พระปรางค์วัดอรุณฯ
-
มุมมองจากปรางค์ประธาน
-
พระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
-
พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณฯ
-
พระในวัดอรุณ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458, หน้า 289
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- เว็บไซต์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[ลิงก์เสีย]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′37″N 100°29′20″E / 13.743710°N 100.488966°E
- ภาพยนตร์ที่มีภาพพระปรางค์วัดอรุณ แปดสิบวันรอบโลก
- สัญลักษณ์ของบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง