เขตธนบุรี
เขตธนบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Thon Buri |
ภาพมุมสูงของวงเวียนใหญ่ในยามค่ำคืน | |
คำขวัญ: เมืองอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน หลากถิ่นท่องงามตา วัดกัลยาณ์หลวงพ่อโต วัดบุคคโลพระพักตร์งาม กราบไหว้เจ้าตากสินวัดอินทาราม ลือนามงานอาชีพศิลปะไทย | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตธนบุรี | |
พิกัด: 13°43′30″N 100°29′9″E / 13.72500°N 100.48583°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.551 ตร.กม. (3.302 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 98,286[1] คน |
• ความหนาแน่น | 11,494.09 คน/ตร.กม. (29,769.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10600 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1015 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 160 ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 |
เว็บไซต์ | www |
ธนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตธนบุรีตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า (บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และคลองบางไส้ไก่ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ มีคลองบางสะแก คลองแยกบางสะแก 13 คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]เขตธนบุรีเดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์ (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ) ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ
ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบจังหวัดธนบุรีรวมกับจังหวัดพระนครให้มีฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ดังนั้น เพื่อรักษาคำว่า "ธนบุรี" ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประกอบกับอำเภอบางยี่เรือนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางยี่เรือเป็น อำเภอธนบุรี ขึ้นกับนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตธนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา
ครั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2] ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
วัดกัลยาณ์ | Wat Kanlaya | 0.785 |
7,739 |
9,858.60 |
|
2. |
หิรัญรูจี | Hiran Ruchi | 0.691 |
10,788 |
15,612.16
| |
3. |
บางยี่เรือ | Bang Yiruea | 1.523 |
18,470 |
12,127.38
| |
4. |
บุคคโล | Bukkhalo | 1.210 |
16,075 |
13,285.12
| |
5. |
ตลาดพลู | Talat Phlu | 1.823 |
15,221 |
8,349.42
| |
6. |
ดาวคะนอง | Dao Khanong | 1.289 |
16,581 |
12,863.46
| |
7. |
สำเหร่ | Samre | 1.230 |
13,412 |
10,904.07
| |
ทั้งหมด | 8.551 |
98,286 |
11,494.09
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตธนบุรี[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 231,271 | ไม่ทราบ |
2536 | 220,892 | -10,379 |
2537 | 215,778 | -5,114 |
2538 | 208,061 | -7,717 |
2539 | 203,369 | -4,692 |
2540 | 198,377 | -4,992 |
2541 | 193,783 | -4,594 |
2542 | 188,610 | -5,173 |
2543 | 184,181 | -4,429 |
2544 | 180,867 | -3,314 |
2545 | 177,938 | -2,929 |
2546 | 175,768 | -2,170 |
2547 | 139,643 | -36,125 |
2548 | 136,971 | -2,672 |
2549 | 134,589 | -2,382 |
2550 | 132,034 | -2,555 |
2551 | 129,662 | -2,372 |
2552 | 126,883 | -2,779 |
2553 | 124,499 | -2,384 |
2554 | 121,539 | -2,960 |
2555 | 119,643 | -1,896 |
2556 | 117,536 | -2,107 |
2557 | 115,330 | -2,206 |
2558 | 113,338 | -1,992 |
2559 | 111,027 | -2,311 |
2560 | 109,482 | -1,545 |
2561 | 107,754 | -1,728 |
2562 | 106,049 | -1,705 |
2563 | 103,377 | -2,672 |
2564 | 101,217 | -2,160 |
2565 | 99,591 | -1,626 |
2566 | 98,286 | -1,305 |
การคมนาคม
[แก้]ทางรถยนต์
[แก้]ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่
- ถนนอิสรภาพ เชื่อมถนนประชาธิปก (ทางแยกบ้านแขก) กับสะพานเจริญพาศน์
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับสะพานข้ามคลองดาวคะนอง
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างถนนประชาธิปกกับสะพานอนุทินสวัสดิ์
- ถนนมไหสวรรย์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ทางแยกมไหสวรรย์) กับสะพานกรุงเทพ
- ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (ทางแยกมไหสวรรย์) กับสะพานตลาดพลู
- ถนนเจริญนคร เชื่อมระหว่างสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8
- ถนนประชาธิปก เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับเชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
- ถนนวุฒากาศ เชื่อมถนนเทอดไท (ทางแยกวุฒากาศ) กับสะพานข้ามคลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- ถนนเทอดไท เชื่อมถนนอินทรพิทักษ์ (ทางแยกบางยี่เรือ) กับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนกรุงธนบุรี เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่
- ถนนราชพฤกษ์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนอินทรพิทักษ์ เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับกับสะพานเนาวจำเนียร
เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง ได้แก่
- สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร
- สะพานพระราม 3 เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
- สะพานกรุงเทพ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
ทางรถไฟ
[แก้]ใช้เส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย จากสถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
ทางบีอาร์ที
[แก้]ทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
[แก้]รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม(เตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน) กำลังก่อสร้าง
แหล่งน้ำ
[แก้]แม่น้ำและลำคลองสายสำคัญในพื้นที่เขต ได้แก่
- แม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง)
- คลองบางหลวงน้อย
- คลองบางน้ำชน
- คลองบางไส้ไก่
- คลองบางสะแก
- คลองสำเหร่
ชุมชน
[แก้]- ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส
- ชุมชนบ้านลาว ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายลาวที่มีชื่อเสียงในการทำขลุ่ย
- ชุมชนตากสินสัมพันธ์
สถานที่สำคัญ
[แก้]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตธนบุรี
- แผนที่เขตธนบุรี เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน