ประเทศปากีสถาน
สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน Islamic Republic of Pakistan (อังกฤษ) اسلامی جمہوریہ پاکستان (อูรดู) | |
---|---|
คำขวัญ: Iman, Ittehad, Nazm ("ศรัทธา, เอกภาพ, วินัย") | |
![]() | |
เมืองหลวง | อิสลามาบาด |
เมืองใหญ่สุด | การาจี |
ภาษาราชการ | ภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ |
การปกครอง | สหพันธ์สาธารณรัฐระบบรัฐสภา |
อารีฟ อัลวี | |
อิมราน ข่าน | |
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร | |
• ประกาศ | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2490 |
• สาธารณรัฐ | 23 มีนาคม พ.ศ. 2499 |
พื้นที่ | |
• รวม | 881,913 ตารางกิโลเมตร (340,509 ตารางไมล์) (33) |
2.86 | |
ประชากร | |
• 2561 ประมาณ | 212,742,631 [3] (5) |
244.4 ต่อตารางกิโลเมตร (633.0 ต่อตารางไมล์) (56) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 1.056 ล้านล้าน |
• ต่อหัว | $ 5,353 |
จีนี (2556) | 30.7[4] ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 147th |
สกุลเงิน | รูปี (Rs.) (PKR) |
เขตเวลา | UTC+5:00 (PST) |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+6:00 (not observed) |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | 92 |
โดเมนบนสุด | .pk |
ปากีสถาน (อังกฤษ: Pakistan; อูรดู: پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Pakistan; อูรดู: اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และจีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญขององค์การความร่วมมืออิสลาม และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง
คำว่า "ปากีสถาน" มีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซีย ในขณะเดียวกันก็มาจากการนำอักษรแรกของชื่อดินแดนต่าง ๆ มี่ประกอบกันเป็นประเทศปากีสถานขึ้นมา คือ ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) อิสลามาบาด (Islamabad) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN)
Allama Iqbal เป็นกวีประจำชาติของปากีสถาน นอกจากบ้านเกิดของเขาแล้วเขายังมีชื่อเสียงในอิหร่านเขตเคอร์ดิสถานและอิรักซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Iqbāl-e Lāhorī
ภูมิศาสตร์[แก้]

สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาวจึงมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกค่อนข้างมากยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับทะเลอาหรับและมหาสมุทรอินเดียแต่มีฝนตกน้อยเนื่องจากพื้นที่เป็นทะเลทรายไม่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเลย
ประวัติศาสตร์[แก้]
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และ ยุคสัมริด[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |

อาณานิคมสหราชอาณาจักร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคเอกราช[แก้]
ปากีสถานเคยเป็นรัฐหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ปัญหาข้อขัดแย้งมาจากส่วนใหญ่ในอินเดียจะมีชาวฮินดูมาก แต่ปากีสถานและบังกลาเทศมีชาวมุสลิมมากกว่า ซึ่งสองศาสนานี้ขัดแย้งกันจึงเกิดการแยกประเทศกันเป็นปากีสถานตะวันตก (ปากีสถานปัจจุบัน) และปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศ) ภายหลังพื้นที่ปากีสถานตะวันออกซึ่งไม่ได้ถูกดูแลพัฒนาจากรัฐบาลนักจึงได้ประกาศเอกราชเป็นประเทศบังกลาเทศ ในปี ค.ศ. 1971
การเมืองการปกครอง[แก้]
ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
บริหาร[แก้]
นิติบัญญัติ[แก้]
ตุลาการ[แก้]
การบังคับใช้กฎหมาย[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิทธิมนุษยชน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นโยบายต่างประเทศ[แก้]
กองทัพ[แก้]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศปากีสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ แคว้น (province) และดินแดน (territory) ดังนี้
- แคว้น
- 1. แคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan)
- 2. แคว้นสินธ์ (Sindh)
- 3. แคว้นปัญจาบ (Punjab)
- 4. แคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา (Khyber Pakhtunkhwa) เดิมชื่อ "ชายแดนตอนเหนือ-ตะวันตก" (North-West Frontier)
- ดินแดน
- 5. อิสลามาบาดแคพิทัลเทร์ริทอรี (Islamabad Capital Territory) ที่ตั้งกรุงอิสลามาบาด เมืองหลวงของประเทศ
- 6. ดินแดนสหพันธ์ชนเผ่า (Federally Administered Tribal Areas, FATA) เป็นเขตกึ่งปกครองตนเอง
- 7. อาซาดจัมมูและแคชเมียร์ (Azad Jammu and Kashmir) หรือ "อาซาดแคชเมียร์" (Azad Kashmir) เป็นเขตปกครองตนเอง
- 8. กิลกิต-บัลติสถาน (Gilgit-Baltistan) เดิมชื่อ "พื้นที่ทางเหนือ" (Northern Areas) เป็นเขตปกครองตนเอง
ที่ | เมือง | แคว้น | ประชากร (คน) | ที่ | เมือง | แคว้น | ประชากร (คน) | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() การาจี ![]() ลาฮอร์ |
1 | การาจี | สินธ์ | 24,500,514 | 11 | เควตตา | บาลูจิสถาน | 1,074,474 | ![]() ไฟซาลาบาด ไฮเดอราบาด |
2 | ลาฮอร์ | ปัญจาบ | 11,007,835 | 12 | บาฮาวัลปูร์ | ปัญจาบ | 1,073,350 | ||
3 | ไฟซาลาบาด | ปัญจาบ | 4,225,970 | 13 | ซิอัลโกต | ปัญจาบ | 920,067 | ||
4 | ไฮเดอราบาด | สินธ์ | 3,409,970 | 14 | ซัคเกอร์ | สินธ์ | 805,421 | ||
5 | ราวัลปินดี | ปัญจาบ | 3,270,585 | 15 | Jhang | ปัญจาบ | 802,520 | ||
6 | มุลตาน | ปัญจาบ | 3,117,002 | 16 | ลาริอานา | สินธ์ | 800,872 | ||
7 | กุชรันวาลา | ปัญจาบ | 2,776,841 | 17 | กุจราต | ปัญจาบ | 795,648 | ||
8 | เปศวาร์ | ไคเบอร์ปัคตูนควา | 1,981,087 | 18 | มาร์ดาน | ไคเบอร์ปัคตูนควา | 730,320 | ||
9 | อิสลามาบาด | แคพิทัลเทร์ริทอรี | 1,886,679 | 19 | เชคุปุระ | ปัญจาบ | 729,359 | ||
10 | ซากอดฮา | ปัญจาบ | 1,550,014 | 20 | เดรากาซีข่าน | ปัญจาบ | 783,200 |
เศรษฐกิจ[แก้]
โครงสร้าง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การท่องเที่ยว[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
|334x334px|link=Special:FilePath/Lahore_Orange_line_Metro.png]][[ไฟล์:Jinnahavenueislamabad.jpg|thumb|303x303px|ใจกลางกรุงอิสลามาบาด
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]
คมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โทรคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณูปโภค[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
สาธารณสุข[แก้]
สวัสดิการสังคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์[แก้]
เชื้อชาติ[แก้]
มีการประมาณประชากรของปากีสถานในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 180,800,000 คน[6] [7] โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เคอร์ดิสถาน, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย
ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง
ศาสนา[แก้]
[[ไฟล์:Badshahi Mosque July 1 2005 pic32 by Ali Imran (1).jpg|thumb|200px|มัสยิดแบดชาฮิ ]] ประเทศปากีสถาน จัดว่าเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผู้นับถือนิกายซุนนีย์ร้อยละ 75 และนิกายชีอะห์ร้อยละ 20 โดยสามารถจำแนกจำนวนศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือ 173,000,000 คน (ร้อยละ 96) (ประมาณร้อยละ 70 นับถือนิกายซุนนีย์ ส่วนอีกร้อยละ 20 นับถือนิกายชีอะห์
- ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีผู้นับถือ 3,200,000 คน (ร้อยละ 1.85)
- ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือ 2,800,000 คน (ร้อยละ 1.6)
- ศาสนาซิกข์ มีผู้นับถือประมาณ 20,000 คน (ร้อยละ 0.01)
- ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือประมาณ 20,000 คน (ร้อยละ 0.01)
นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนในศาสนาอื่น ที่ไม่ได้รวมในที่นี้ได้แก่ ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (ชาวปาร์ซี),ลัทธิอาหมัด, ศาสนาพุทธ(ส่วนมากพบในเขตบัลติสถาน)[8], ศาสนายูดาย, ศาสนาบาไฮ และนับถือผี (มีมากในกาลาชา ในเขตชิลทรัล) [9]
วัฒนธรรม[แก้]
สถาปัตยกรรม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาหาร[แก้]

วัฒนธรรมของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว
ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม
ดนตรี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อสารมวลชน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันหยุด[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Official website, American Institute of Pakistan Studies. ""National Anthem of Pakistan"". สืบค้นเมื่อ 2006-04-18.
- ↑ Embassy of Pakistan, Washington D. C. ""Pakistani Flag"". สืบค้นเมื่อ 2006-04-18.
- ↑ "Pakistan Bureau of Statistics - 6th Population and Housing Census". www.pbscensus.gov.pk.
- ↑ "Pakistan". World Bank.
- ↑ "Pakistan: Largest cities and towns and statistics of their population". สืบค้นเมื่อ 2011-02-10.
- ↑ Department of Economic and Social Affairs
Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (.PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12. line feed character in
|author=
at position 42 (help); Cite journal requires|journal=
(help) - ↑ 2009 World Population Data Sheet - Population Reference Bureau
- ↑ ผู้นำชาวพุทธในปากีสถานขอให้ช่วยพัฒนาพุทธสถาน
- ↑ "International Religious Freedom Report 2007". State Department, US. 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-03-21.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ประเทศปากีสถาน |
- ประเทศปากีสถาน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
- ประเทศปากีสถาน ที่เว็บไซต์ Curlie
ประเทศปากีสถาน ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว
Wikimedia Atlas of Pakistan