อำเภอบางเสาธง
อำเภอบางเสาธง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Sao Thong |
คำขวัญ: บางเสาธงถิ่นชานเมือง รุ่งเรืองเศรษฐกิจ ผลผลิตการเกษตร เขตอุตสาหกรรม เลิศล้ำศาสนา รักษาวัฒนธรรม | |
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางเสาธง | |
พิกัด: 13°35′42″N 100°49′50″E / 13.59500°N 100.83056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 114.79 ตร.กม. (44.32 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 83,082 คน |
• ความหนาแน่น | 723.77 คน/ตร.กม. (1,874.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10570 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1106 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางเสาธง เลขที่ 100 หมู่ที่ 7 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางเสาธง เป็นอำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ แยกพื้นที่การปกครองบางส่วนจากอำเภอบางพลี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำภอบางเสาธง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ มีคลองกาหลง คลองท่าข้าม คลองชวดใหญ่ คลองบางเซา คลองสนามพลีเก่า คลองสนามพลี คลองสำโรง คลองกะลาวน คลองหนามแดง คลองสกัดห้าสิบ และคลองหัวเกลือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ มีคลองหัวเกลือ คลองเจริญราษฎร์ และคลองร้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางพลี มีคลองร้อย คลองโก่งประทุน คลองสำโรง คลองเสาระหงษ์ ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองบางนา และคลองหนองงูเห่าเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ
[แก้]ในอดีตท้องที่ของอำเภอบางเสาธงเป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน เป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้น้ำเค็มจำนวนมาก ทำให้ขุดพบโครงกระดูกและส่วนหัวอยู่เป็นเนืองนิตย์ จึงมีเรียกการคลองที่มีจระเข้ชุกชุมว่า "คลองจรเข้" ภายหลังจึงได้เป็นชื่อของตำบลคือ ตำบลจรเข้ แล้วมาแยกเป็นตำบลศีรษะจรเข้น้อย[1] และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[2] ส่วนคำว่า "บางเสาธง" นั้นมีที่มาจากการทำเกษตรกรรม ในอดีตนั้นจะใช้ธงเป็นการบอกเวลาพักและยังใช้เป็นแนวของลำน้ำในการสัญจรอีกด้วย[3]
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้ตั้งแต่ตั้งกิ่งอำเภอบางเสาธง (พ.ศ. 2538) จนถึงปัจจุบัน
- วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงจากอำเภอบางพลีมาขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[4]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางเสาธงเป็นเทศบาลตำบลบางเสาธง
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ยกฐานะเป็นอำเภอบางเสาธง[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบางเสาธงแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 3 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 38 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[6] |
---|---|---|---|---|
1. | บางเสาธง | Bang Sao Thong | 17
|
51,612
|
2. | ศีรษะจรเข้น้อย | Sisa Chorakhe Noi | 12
|
17,665
|
3. | ศีรษะจรเข้ใหญ่ | Sisa Chorakhe Yai | 9
|
12,806
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบางเสาธงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางเสาธง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและบางส่วนของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสาธง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเสาธง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเสาธง)
การเกษตรกรรม
[แก้]- การเพาะปลูกข้าว ถือเป็นการทำการเกษตรส่วนใหญ่ของตำบลบางเสาธง
- การปลูกผักกระเฉดและเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ถือว่าเป็นการทำการเกษตรส่วนใหญ่ของตำบลศีรษะจรเข้น้อยและตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[7]
การคมนาคม
[แก้]อำเภอบางเสาธงมีถนนสายหลัก ได้แก่
- ถนนเทพรัตน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) และทางพิเศษบูรพาวิถีด้านบน ตั้งแต่คลองเสาระหงส์จนถึงคลองสนามพลี
- ถนนเทพารักษ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268) ตั้งแต่คลองสี่ศอกจนถึงคลองหัวเกลือ
- ถนนเคหะบางพลี (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.1006)
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-บ้านฉาง) ตั้งแต่คลองบางเซาจนสุดเขตจังหวัดสมุทรปราการ
- ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
ศาสนสถาน
[แก้]- วัดบัวโรย
- วัดหัวคู้ (หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา)
- วัดจรเข้ใหญ่
- วัดศรีวารีน้อย
- วัดมงคลนิมิตร (หลวงพ่อเกษ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ยุกตนันท์ จำปาเทศ. แผนพัฒนาการเกษตรตำบลศีรษะจรเข้น้อย ปี 2553-2555[ลิงก์เสีย]. สมุทรปราการ : สำนักงานเกษตรอำเภอบางเสาธง, 2552.
- ↑ ยุกตนันท์ จำปาเทศ. แผนพัฒนาการเกษตรตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ปี 2553-2555[ลิงก์เสีย]. สมุทรปราการ : สำนักงานเกษตรอำเภอบางเสาธง, 2552.
- ↑ ยุกตนันท์ จำปาเทศ. แผนพัฒนาการเกษตรตำบลบางเสาธง ปี 2553-2555[ลิงก์เสีย]. สมุทรปราการ : สำนักงานเกษตรอำเภอบางเสาธง, 2552.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางเสาธง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 61. 22 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-09-28.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. 2550" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-09-28.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ ยุกตนันท์ จำปาเทศ. แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอบางเสาธง ปี 2553-2555[ลิงก์เสีย]. สมุทรปราการ : สำนักงานเกษตรอำเภอบางเสาธง, 2552.