จังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร | |
---|---|
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน | |
อักษรไทย | มุกดาหาร |
อักษรโรมัน | Mukdahan |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นายวีระชัย นาคมาศ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 4,339.830 ตร.กม. (1,675.618 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 51 |
ประชากร (พ.ศ. 2562)[2] | |
• ทั้งหมด | 353,174 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 66 |
• ความหนาแน่น | 81.37 คน/ตร.กม. (210.7 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 60 |
รหัส ISO 3166 | TH-49 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ตานเหลือง (ช้างน้าว) |
• ดอกไม้ | ตานเหลือง (ช้างน้าว) |
• สัตว์น้ำ | ปลากดคัง (ปลากดแก้ว) |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนวิวิธสุรการ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000 |
• โทรศัพท์ | 0 4261 1330 |
• โทรสาร | 0 4261 1330 |
เว็บไซต์ | http://www.mukdahan.go.th/ |
![]() |
มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย เป็นจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของอิสานภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขง หอแก้วมุกดาหารและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดกาฬสินธุ์
สภาพทางภูมิศาสตร์[แก้]
ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ ด้านตะวันตกเป็นผืนป่าบนทิวเขาภูพาน ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 526 หมู่บ้าน
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 30 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง 24 เทศบาลตำบล
อำเภอเมืองมุกดาหาร |
อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอดงหลวง |
อำเภอคำชะอี อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอหนองสูง
|
การศึกษา[แก้]
ระดับอาชีวศึกษา[แก้]
อาชีวศึกษารัฐ[แก้]
- วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร
- วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการดอนตาล
- วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี
อาชีวศึกษาเอกชน[แก้]
- วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการดงหลวง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย มุกดาหาร
- วิทยาลัยเทคโนโลยีมุกดาหาร
ระดับอุดมศึกษา[แก้]
สถาบันอุดมศึกษารัฐ[แก้]
สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[แก้]
สถานที่สำคัญ[แก้]
- หอแก้วมุกดาหาร
- ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง
- ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง
- วัดศรีมงคลใต้
- วัดศรีบุญเรือง
- สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
- หอยสมัยหิน
- กลองมโหระทึก
- ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์
- วัดภูด่านแต้
- วัดภูพระบาทแก่นจันทน์
- อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก
- วัดบรรพตคิรี
- น้ำตกตาดโดน
- หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
- แก่งกะเบา (พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช)
- วัดมโนภิรมย์
- วัดพระศรีมหาโพธิ์
- วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ (พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช)
- น้ำตกถ้ำไทร,น้ำตกผาเจิ่น,จุดชมวิวผากิ่ว อำเภอนิคมคำสร้อย (ภายในวนอุทยานดงบังอี)
- ตลาดอินโดจีน
- ตลาดราตรี
- ถนนคนเดินลานสนุกมุกดาหาร
- พญาอนันตนาคราช
- พญาศรีสัตตะนาคะธิบดี
สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ[แก้]
- อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านคอนสาย ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร
- อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านหนองเม็ก ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,ยโสธร,อำนาจเจริญ)
- อุทยานแห่งชาติภูผายล/ห้วยหวด ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านห้วยหวด ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(สกลนคร,นครพนม,มุกดาหาร)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยูที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร(มุกดาหาร,กาฬสินธุ์)
- วนอุทยานดงบังอี ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด(ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์,มุกดาหาร)
เทศกาล[แก้]
- เทศกาลตรุษจีน 4 แผ่นดิน จังหวัดมุกดาหาร
- เทศกาลสงกรานต์
- เทศกาลแข่งเรือ
- มหกรรมวิ่ง มุกดาหาร-สะหวันนะเขต
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราประจำจังหวัด: รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima)
- สัตว์ประจำจังหวัด: แมวดาว (Leopard cat)
- คำขวัญประจำจังหวัด: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน
การคมนาคม[แก้]
รถยนต์[แก้]
มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด เช่น
- กรุงเทพฯ - มุกดาหาร
- กรุงเทพฯ - มุกดาหาร
- นครราชสีมา - มุกดาหาร
- ขอนแก่น - มุกดาหาร
- มุกดาหาร - ระยอง
- มุกดาหาร - พัทยา - ระยอง
- มุกดาหาร - หัวหิน
- มุกดาหาร - แม่สอด
เครื่องบิน[แก้]
- ไทยแอร์เอเชีย นครพนม ไป-กลับ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
รถไฟ[แก้]
- กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี
รถโดยสารระหว่างประเทศ[แก้]
- มุกดาหาร - สะหวันนะเขต บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมุกดาหาร[แก้]
- รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
- รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
- แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์
ระยะห่างจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ[แก้]
- อำเภอนิคมคำสร้อย 29 กิโลเมตร
- อำเภอหว้านใหญ่ 32 กิโลเมตร
- อำเภอดอนตาล 34 กิโลเมตร
- อำเภอคำชะอี 38 กิโลเมตร
- อำเภอหนองสูง 53 กิโลเมตร
- อำเภอดงหลวง 55 กิโลเมตร
บุคคลสำคัญ[แก้]
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2563. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2563.
ดูเพิ่ม[แก้]
- สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
- รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร
- รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดมุกดาหาร
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดมุกดาหาร
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
- สัญญา ชีวะประเสริฐ. (2555). ความทรงจำของเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขง: มุกดาหาร และสะหวันนะเขด. วารสารประวัติศาสตร์ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 49-60.
- จังหวัดมุกดาหาร - อีสานร้อยแปด
พิกัดภูมิศาสตร์: 16°32′N 104°43′E / 16.54°N 104.72°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดมุกดาหาร
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย