ถนนบำรุงเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนบำรุงเมือง
ถนนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า
ทางแยกที่สำคัญ
จาก:ถนนกัลยาณไมตรี ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
 
ถึง:ถนนพระรามที่ 1 / ถนนกรุงเกษม ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร
ถนนบำรุงเมือง ช่วงมุ่งหน้าแยกสำราญราษฎร์ ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถี
Thanon Bamrung Muang, ban Bat, Pom prap sattru ,Bangkok - panoramio.jpg
Thanon bamrang Muang, Khlong maha nak,Prom Prap sattru Phai, bangkok - panoramio.jpg

ถนนบำรุงเมือง (อักษรโรมัน: Thanon Bamrung Mueang) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อจากถนนกัลยาณไมตรีบริเวณจุดตัดกับถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ในพื้นที่เขตพระนคร ไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ ตัดกับถนนเฟื่องนคร และถนนตะนาว เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณ เข้าสู่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชยข้ามคลองรอบกรุงเข้าสู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ตัดกับถนนยุคล 2 และถนนพลับพลาไชย ไปสิ้นสุดที่แยกกษัตริย์ศึกบริเวณจุดตัดกับถนนกรุงเกษม โดยมีถนนที่ต่อเนื่องต่อไปคือถนนพระรามที่ 1

ประวัติ[แก้]

ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด

ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน[1][2]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ถนนบำรุงเมือง ทิศทาง: สะพานช้างโรงสี – กษัตริย์ศึก
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนบำรุงเมือง ถนนบำรุงเมือง (สะพานช้างโรงสี–กษัตริย์ศึก)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกสะพานช้างโรงสี เชื่อมต่อจาก: Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนกัลยาณไมตรี
ไม่มี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนอัษฎางค์ ไปปากคลองตลาด
แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า ถนนตะนาวไป บางลำพู Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนเฟื่องนครไป ปากคลองตลาด
แยกเสาชิงช้า Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนดินสอไป ถนนประชาธิปไตย Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนศิริพงศ์ ไปถนนเจริญกรุง
แยกเมรุปูน Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนบริพัตรไป ถนนราชดำเนินกลาง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนบริพัตรไป ถนนเยาวราช
แยกแม้นศรี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนจักรพรรดิพงษ์ไป สะพานพระราม 8 Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนวรจักรไป ถนนเจริญกรุง
แยกแม้นศรี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนจักรพรรดิพงษ์ไป สะพานพระราม 8 Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนวรจักรไป ถนนเจริญกรุง
แยกยุคล 2 ไม่มี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนยุคล 2ไป โรงพยาบาลกลาง
แยกอนามัย เชื่อมต่อจาก: Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพลับพลาไชยจาก ถนนเจริญกรุง
แยกกษัตริย์ศึก Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนกรุงเกษม ไป หลานหลวง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนกรุงเกษม ไปหัวลำโพง
ตรงไป: Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนพระรามที่ 1ไป พระรามที่ ๖
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ". สถานีตำรวจนครบาลสำราษราฎร์.
  2. "สามแพร่ง...ทางแยกแห่งทวิภพ". พินิจนคร. 2009-02-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′05″N 100°30′23″E / 13.751267°N 100.506440°E / 13.751267; 100.506440