ท่าอากาศยานระนอง
ท่าอากาศยานระนอง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||||||||||
ที่ตั้ง | ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 57 ฟุต / 17 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 09°46′39″N 098°35′07″E / 9.77750°N 98.58528°E | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2561) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: www |
ท่าอากาศยานระนอง หรือ สนามบินระนอง[1] (อังกฤษ: Ranong Airport) ตั้งอยู่ที่ อ.เมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] มีลานจอดเครื่องบิน 4 ช่อง ทางวิ่งยาว 2,000 เมตร
ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานระนอง มีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง และมีโครงการซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการออกแบบ อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง และเมื่ออาคารผู้โดยสารหลังใหม่สร้างเสร็จ อาคารหลังปัจจุบันจะถูกปรับเปลี่ยนเป็น อาคารประทับ และสำนักงานท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยานระนอง รองรับเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง) ปัจจุบันมีให้บริการ 2 สายการบิน คือสายการบินนกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย
ข้อมูลท่าอากาศยาน
[แก้]ท่าอากาศยานระนอง มีอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 4,000 ตารางเมตร รองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง และมีลานจอดรถยนต์รองรับได้ 250 คัน ท่าอากาศยานสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2,400 คนต่อวัน
ท่าอากาศยานระนอง มีทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร ลานจอดเครื่องบินขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 180 เมตร รองรับเครื่องบินได้ 24 เที่ยวบินต่อวัน [3]
รายชื่อสายการบิน
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง[4] | หมายเหตุ |
---|---|---|
นกแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
แผนพัฒนา
[แก้]สำหรับโครงการก่อสร้างขยายท่าอากาศยานระนอง วงเงินลงทุน 3,530 ล้านบาท จะดำเนินการระหว่างปี 2566-2571 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 เฟส สำหรับเฟสที่ 1 ปี 2566-2568 วงเงินลงทุน 2,280 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการขยายอาคารที่พักผู้โดยสาร วงเงินลงทุน 1,230 ล้านบาท เพิ่มการรองรับผู้โดยสารให้ได้ 2.8 ล้านคน จากปัจจุบันรองรับได้ 8 แสนคน ,โครงการขยายทาววิ่งรันเวย์ ขนาด 45 x2,000 เมตร เป็น 45 x2,400 เมตร วงเงินลงทุน 750 ล้านบาท เพื่อรองรับอากาศยานขนาด 230 ที่นั่งบินตรงจากเอเชีย
โครงการขยายทางขับขนาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น10 เที่ยว/ชั่วโมง จากเดิม 6 เที่ยว/ชั่วโมง ,โครงการขยายลานจอด ให้สามารถรองรับเครื่องบินลำตัวแคบ เช่น B737 หรือ A320 เพิ่มขึ้นเป็น10 ลำ จากเดิม 3 ลำ หรือเครื่องบินลำตัวกว้างได้พร้อมกัน 5 ลำ,โครงการ ขยายลานจอดรถจาก 250 คัน เป็น 500 คันซึ่งจะต้องมีการจัดหาที่ดินเพิ่มเติม 262ไร่ เพื่อนำมาพัฒนา วงเงิน 300 ล้านบาท
ส่วนแผนพัฒนาเฟสที่ 2 จะใช้วงเงินลงทุนอีก 1,250 ล้านบาท ดำเนินการระหว่างปี 2568-2571ได้แก่การขยายความยาวทางวิ่งจาก 2,400 เป็น 2,990 เมตร และก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ และก่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง หัวทางวิ่ง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินระนอง ในท้องที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
- ↑ ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
- ↑ "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ท่าอากาศยานระนอง ที่ กรมการขนส่งทางอากาศ เก็บถาวร 2008-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน