จังหวัดตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดตรัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Trang
(ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน) เกาะเหลาเหลียงพี่ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมยามอาทิตย์อัสดง, รูปปั้นพะยูนในหาดปากเมง, รถตุ๊ก ๆ หัวกบ รถเอกลักษณ์ของจังหวัด, รถไฟวิ่งผ่านที่หยุดรถไฟคลองม่วน
คำขวัญ: 
ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตรังเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตรังเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตรังเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ทรงกลด สว่างวงศ์[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด4,917.519 ตร.กม. (1,898.665 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 43
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[3]
 • ทั้งหมด639,788 คน
 • อันดับอันดับที่ 40
 • ความหนาแน่น130.10 คน/ตร.กม. (337.0 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 34
รหัส ISO 3166TH-92
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองทับเที่ยง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
 • ดอกไม้ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
 • สัตว์น้ำพะยูน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000
 • โทรศัพท์0 7521 8516
 • โทรสาร0 7521 8516
เว็บไซต์http://www.trang.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้

ประวัติ[แก้]

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ปรากฏในจังหวัดตรังมีอยู่ทั่วไป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว  เครื่องประดับ ตามถ้ำต่าง ๆ เช่น เขาสามบาตร ถ้ำเขาไม้แก้ว ถ้ำเขาเทียมป่า ภาพเขียนสีที่เขาแบนะ ถ้ำตรา ล้วนเป็นหลักฐานบอกความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์จนถึงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ในลักษณะที่เป็นเมืองท่าทางผ่าน และมีพัฒนาการมาตามลำดับ

จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช

เจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึกไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่า

ตรังเป็นตำบลที่กว้างใหญ่และมีประชากรน้อยมาก มีป่าไม้สักที่ยิ่งเหมาะสำหรับการต่อเรือและพื้นดินก็ปลูกข้าวได้ผลมากมาย แม่น้ำตรังเป็นที่รวมของลำน้ำที่ไหลมาจากปากแม่น้ำหลายแห่ง แม่น้ำแคบและมีสันดอนกั้นขวางอยู่ เวลาน้ำขึ้นสูงเรือสำเภาขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านเข้าไปถึงตอนในที่น้ำลึกกว่าได้และแล่นเรือขึ้นไปถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ บางแห่งบนฝั่งแม่น้ำนี้

เจมส์ โลว์ กล่าวถึงการค้าของเมืองตรังว่า

เมืองท่าตรังมีสินค้าออกเพียง 23 ชนิด แต่ตรังก็สร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เรือค้าขายที่มาถึงตรังถ้าเป็นเรือค้าขายของยุโรปต้องคอยความพอใจของท่านเจ้าเมืองก่อนจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการค้าได้ คนจีนจากปีนังเข้ามาดำเนินการค้าเล็กๆ น้อยๆ ธุรกิจการส่งสินค้าออกมีหลายอย่าง คือ ดีบุก ข้าว งาช้างเล็ก ๆ รังนก ซึ่งดีบุกที่นี่มีราคาแพงกว่าที่ถลาง

[4]

ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย และในตรังยังมีต้นยางพาราต้นแรกอีกด้วย

ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. พระยาดำรงสุจริต (คอซิมกอง ณ ระนอง) พ.ศ. 2427 - 2433
2. พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) พ.ศ. 2433 - 2445
3. พระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุญยเกตุ) พ.ศ. 2445 - 2448
4. พระสกลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) พ.ศ. 2448 - 2454
5. พระยาอุตรกิจพิจารณ์ (สุด) พ.ศ. 2455 - 2456
6. พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เข็ม วสันตสิงห์) พ.ศ. 2456 - 2457
7. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2457 - 2461
8. พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) พ.ศ. 2461 - 2466
9. พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) พ.ศ. 2466 - 2468
10. พระยาอาณาจักรบริบาล (สมบุญ สวรรคทัต) พ.ศ. 2468 - 2476
11. พระสาครบุราณุรักษ์ (ปลิก สุวรรณานนท์) พ.ศ. 2476 - 2476
12. พระนรากรบริรักษ์ (เจิม บินฑรุจิ) พ.ศ. 2476 - 2478
13. พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) พ.ศ. 2478 - 2481
14. หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (วุฒิ ศรสงคราม) พ.ศ. 2481 - 2484
15. หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง สินธุรงค์) พ.ศ. 2484 - 2488
16. นายศักดิ์ ไทยวัฒน์ พ.ศ. 2488 - 2489
17. นายอุดม บุญยประสพ พ.ศ. 2489 - 2492
18. นายผาด นาคพิน พ.ศ. 2492 - 2497
19. นายพุก ฤกษ์เกษม พ.ศ. 2497 - 2500
20. พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฒฑนายน พ.ศ. 2500 - 2504
21. นายสมอาจ กุยยกานนท์ 20 เม.ย. 2504 - 5 ต.ค. 2505
22. นายเวียง สาครสินธุ์ 6 ต.ค. 2505 - 13 ม.ค. 2509
23. ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ 14 ม.ค. 2509 - 30 เม.ย. 2513
24. นายจรัส สิทธิพงศ์ 1 พ.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515
25. ร.ต.ต.กร บุญยงค์ 1 ต.ค. 2515 - 30 ก.ย. 2518
26. นายฉลอง กัลยาณมิตร 1 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2519
27. นายศักดิ์ โกไศยกานนท์ 1 ต.ค. 2519 - 7 ก.พ. 2522
28. นายเติมศักดิ์ สมันตรัฐ 8 ก.พ. 2522 - 14 ก.ย. 2522
29. นายประสิทธิ์ โกมลมาลย์ 17 ก.ย. 2522 - 12 พ.ค. 2525
30. นายพีระพัชร สัตยพันธ์ 13 พ.ค. 2525 - 30 ก.ย. 2529
31. นายบุญช่วย หุตะชาติ 1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531
32. นายผัน จันทรปาน 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2532
33. นายภิญโญ เฉลิมนนท์ 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2536
34. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ 5 ต.ค. 2536 - 19 ต.ค. 2540
35. นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ 20 ต.ค. 2540 - 30 ก.ย. 2541
36. นายเฉลิมชัย ปรีชานนท์ 1 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2544
37. นายสงวน จันทรอักษร 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
38. นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์ 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2548
39. นายเชิดพันธ์ ณ สงขลา 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549
40. นายอานนท์ มนัสวานิช 13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2551
41. นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ 20 ต.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552
42. นายไมตรี อินทุสุต 1 ต.ค. 2552 - 27 พ.ย. 2554
43. นายเสนีย์ จิตตเกษม 28 พ.ย. 2554 - 26 เม.ย. 2555
44. นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล 27 เม.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2556
45. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล 1 ต.ค. 2556
46. นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ 2 ต.ค. 2556 - 30 ก.ย. 2558
47. นายเดชรัฐ สิมศิริ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559
48. นายศิริพัฒ พัฒกุล 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2561
49. นายลือชัย เจริญทรัพย์ 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2563
50. นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา 1 ต.ค. 2563 - 4 ต.ค. 2566
51. นายทรงกลด สว่างวงศ์ 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

การปกครอง[แก้]

แบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน

แผนที่

  1. อำเภอเมืองตรัง
  2. อำเภอกันตัง
  3. อำเภอย่านตาขาว
  4. อำเภอปะเหลียน
  5. อำเภอสิเกา
  6. อำเภอห้วยยอด
  7. อำเภอวังวิเศษ
  8. อำเภอนาโยง
  9. อำเภอรัษฎา
  10. อำเภอหาดสำราญ

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

เทศบาลนคร[แก้]

เทศบาลเมือง[แก้]

ประชากร[แก้]

จังหวัดตรังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมากซึ่งประกอบด้วย ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวเปอรานากันหรือชาวบาบ๋า ย่าหยา และชาวเล แต่ละกลุ่มก็มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและอัตลักษณ์ของตนเอง เช่น การแต่งกาย การกิน ประเพณีต่าง ๆ

สัดส่วนประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้า และโรงเจ 19 แห่ง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

  • ตราประจำจังหวัด: ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นศรีตรังชนิด Jacaranda filicifolia
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
  • คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

สภาพอากาศ[แก้]

เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย พ.ค. ก.ค. มิ.ย. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C
(°F)
32
(91)
34
(94)
35
(96)
34
(94)
32
(91)
31
(89)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
30
(87)
31
(88)
32
(90)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C
(°F)
21
(70)
21
(71)
22
(72)
23
(74)
23
(75)
23
(74)
23
(74)
25
(77)
23
(74)
22
(73)
22
(72)
21
(71)
22
(73)
ปริมาณน้ำฝน เซนติเมตร
(นิ้ว)
5
(2.1)
2
(1.0)
6
(2.6)
19
(7.5)
24
(9.7)
24
(9.8)
25
(10.2)
29
(11.6)
32
(12.8)
32
(12.7)
24
(9.5)
11
(4.4)
238
(93.9)

แหล่งข้อมูล: Weatherbase

การศึกษา[แก้]

ระดับอุดมศึกษา

โรงเรียน

ศาสนสถาน[แก้]

ก. วัด อาทิ

ข. มัสยิด ในจังหวัดตรัง มีมัสยิด 152 แห่งอยู่ทั่วทั้งจังหวัด อาทิ

การขนส่ง[แก้]

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

ชาวจังหวัดตรังที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 21 มีนาคม 2565.
  4. เจมส์ โลว์. (2542). จดหมายเหตุร้อยโทเจมส์โลว์“Journal of Public Mission to Raja of Ligor” แปลและเรียบเรียงโดย นันทา วรเนติวงศ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. หน้า 89.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-11.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 7°34′N 99°37′E / 7.56°N 99.61°E / 7.56; 99.61