ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศบังกลาเทศ

พิกัด: 24°N 90°E / 24°N 90°E / 24; 90
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

24°N 90°E / 24°N 90°E / 24; 90

สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ​

  • গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ (เบงกอล)
เพลงชาติ"อามาร์ โชนาร์ บังกลา" (เบงกอล)
มาร์ช: "Notuner Gaan"
"The Song of Youth"[1]
คำขวัญประจำชาติ: "Joy Bangla"
"Victory to Bengal"[2][3]
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ธากา
23°45′50″N 90°23′20″E / 23.76389°N 90.38889°E / 23.76389; 90.38889
ภาษาราชการ
และภาษาประจำชาติ
เบงกอล[4]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011[5])
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาภายใต้รัฐบาลเฉพาะกาล
โมฮัมหมัด ชาฮาบุดดิน [7]
มูฮัมหมัด ยูนูส
ว่าง
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งชาติ
เอกราช 
26 มีนาคม ค.ศ. 1971
16 ธันวาคม ค.ศ. 1971
16 ธันวาคม ค.ศ. 1972
พื้นที่
• รวม
148,460[8] ตารางกิโลเมตร (57,320 ตารางไมล์) (อันดับที่ 92[8])
6.4
• พื้นที่ดิน
130,170 ตร.กม.[8]
• พื้นที่น้ำ
18,290 ตร.กม.[8]
ประชากร
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2022
169,828,911[9][10] (อันดับที่ 8)
1,165 ต่อตารางกิโลเมตร (3,017.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 12)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2024 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.620 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 25)
เพิ่มขึ้น 9,410 ดอลลาร์สหรัฐ[12] (อันดับที่ 126)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2024 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 455.166 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 34)
เพิ่มขึ้น 2,650 ดอลลาร์สหรัฐ[14] (อันดับที่ 137)
จีนี (ค.ศ. 2022)Negative increase 49.9[15]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2022)เพิ่มขึ้น 0.670[16]
ปานกลาง · อันดับที่ 129
สกุลเงินฏากา () (BDT)
เขตเวลาUTC+6 (เวลามาตรฐานบังกลาเทศ)
รูปแบบวันที่วว-ดด-ปปปป (สากลศักราช)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+880
รหัส ISO 3166BD
โดเมนบนสุด.bd
.বাংলা

บังกลาเทศ (เบงกอล: বাংলাদেশ บังลาเทศ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (เบงกอล: গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล มีประชากรราว 165 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับแปดของโลก ด้วยพื้นที่ 148,460 ตารางกิโลเมตร (57,320 ตารางไมล์) บังกลาเทศจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดในโลก มีอาณาเขตติดกับอินเดียทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และตะวันตก ติดกับพม่าทางตะวันออกเฉียงใต้ และติดอ่าวเบงกอลทางทิศใต้ เมืองหลวงของประเทศคือธากาซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศ โดยมีจิตตะกองเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งเป็นท่าเรือที่คับคั่งมากที่สุดในอ่าวเบงกอล ภาษาราชการคือภาษาเบงกอลซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" หมายถึง "ประเทศแห่งเบงกอล"

ดินแดนของบังกลาเทศเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเบงกอลก่อนจะแยกตัวออกมาจากการแบ่งแยกอินเดียใน พ.ศ. 2490[17] ชาวมุสลิมเบงกาลีเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แคว้นเบงกอลในอดีตเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญของอนุทวีปอินเดีย โดยเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณมากมาย อาทิ วานกา ปันดรา คงคาริได เกาดา และ หริกาลา ราชวงศ์โมริยะ จักรวรรดิคุปตะ จักรวรรดิปาละ ราชวงศ์เสนะ อาณาจักรจันดรา และอาณาจักรเทวา เคยเป็นผู้ปกครองในบริเวณนี้ ก่อนที่การพิชิตเบงกอลของชาวมุสลิมจะเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 1747 เมื่อ มูฮัมหมัด บิน บัคติยาร์ คัลจี แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์กูริดพิชิตดินแดนทางเหนือของเบงกอลตามด้วยการรุกรานทิเบต และดินแดนทั้งหมดกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดลีสุลต่าน นครรัฐสามแห่งถือกำเนิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้นำแห่งลัทธิศูฟี ได้แก่ สุลต่าน บาลคี, ชาห์ จาลาล และชาห์ มัคดัม รูโปส มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมของชาวมุสลิม ต่อมา ดินแดนส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นอาณาจักรสุลต่านแห่งเบงกอล ในศตวรรษที่ 14 ถึง 16 ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโมกุล รัฐเบงกอลตะวันออกเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องโดยเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมบริเวณอนุทวีป และดึงดูดพ่อค้าจากทั่วโลก ในช่วงเวลานี้ ชนชั้นสูงชาวเบงกาลีถือเป็นหนึ่งในกลุ่มสังคมที่มีฐานะมั่งคั่งที่สุดในโลกจากการมีพันธมิตรทางการค้าจำนวนมาก รายได้หลักมาจากการค้าผ้าทอมัสลินที่มีชื่อเสียง[18] อาณาจักรยังเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องในช่วงศตวรรษที่ 18 ต่อมาใน พ.ศ. 2300 การทรยศของ มีร์ จาฟาร์ นำไปสู่การสิ้นอำนาจของ ศรีรัช อุดดอลา สหราชอาณาจักรในนามบริษัทอินเดียตะวันออกเข้ามาเรืองอำนาจในภูมิภาคเอเชียใต้ ภูมิภาคเบงกอลกลายเป็นหน่วยการปกครองที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองและมณฑลของบริติชอินเดีย การก่อตั้งรัฐเบงกอลตะวันออกและรัฐอัสสัมใน พ.ศ. 2448 เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งประเทศ และในปี 2483 นายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งรัฐเบงกอลได้สนับสนุน มติละฮอร์ หรือที่รู้จักกันในนาม "มติแห่งปากีสถาน" ด้วยปณิธานในการสร้างรัฐบริเวณตะวันออกของภูมิภาคเอเชียใต้ นายกรัฐมนตรีแห่งเบงกอลยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐอธิปไตยของชาวเบงกาลี ก่อนจะมีการแบ่งแยกดินแดน การลงประชามติและการแบ่งแยกดินแดนโดยอิงเส้นแรดคลิฟฟ์ได้กำหนดเขตแดนของบังกลาเทศในปัจจุบัน

ในปี 2490 เบงกอลตะวันออกกลายเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดของปากีสถานในเครือจักรภพ ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นปากีสถานตะวันออกโดยมีธากาเป็นเมืองหลวง เหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ ขบวนการภาษาเบงกาลีปี 2495, การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของเบงกาลีตะวันออกปี 2497, การรัฐประหารของปากีสถานปี 2501, การเคลื่อนไหวหกจุดในปี 2509 และการเลือกตั้งทั่วไปของปากีสถานในปี 2513 ส่งผลให้ลัทธิชาตินิยมเบงกาลีและขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นในปากีสถานตะวันออก การปฏิเสธการถ่ายโอนอำนาจของรัฐบาลเผด็จการไปยังสันนิบาตอวามีซึ่งนำโดย ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน นำไปสู่สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในปี 2514 และจบลงด้วยชัยชนะของขบวนการปฏิวัติซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางอาวุธจากอินเดีย ทว่าความขัดแย้งยังทวีความรุนแรงต่อเนื่องนำไปสู่พันธุฆาตครั้งใหญ่ และการสังหารหมู่พลเรือนเบงกาลี รัฐใหม่ของบังกลาเทศกลายสภาพเป็นรัฐโลกวิสัยแห่งแรกในเอเชียใต้ตามรัฐธรรมนูญในปี 2515[19] ศาสนาอิสลามได้รับการประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติในปี 2531[20][21][22]

บังกลาเทศเป็นประเทศอำนาจปานกลางในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก[23] มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียใต้ และมีกองทัพที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในภูมิภาคและอันดับแปดของโลก จากการมีบทบาทสำคัญในการร่วมรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ บังกลาเทศยังมีกองกำลังกึ่งทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากเป็นอันดับสามของโลก บังกลาเทศเป็นรัฐเดี่ยวด้วยระบบรัฐสภา และปกครองแบบสาธารณรัฐโดยอิงตามระบบเวสต์มินสเตอร์ ชาวเบงกอลเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศโดยคิดเป็นอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 99[24] ประเทศประกอบไปด้วย 8 ภาค 64 อำเภอ และ 495 ตำบล[25] และถือเป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสืบเนื่องจากการกวาดล้างชาวโรฮีนจา[26] ปัญหาสำคัญในปัจจุบันคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[27] ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน และยังเป็นสมาชิกของบิมสเทค รวมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในองค์การความร่วมมืออิสลาม และเครือจักรภพแห่งประชาชาติ

ประวัติศาสตร์

[แก้]
รูปปั้นพระพุทธรูปสมัยศตวรรษที่ 11
ปาฮาร์ปัวร์

ดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,000 ปี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป (อินเดีย) เคยเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนามาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนชาวบังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึงทุกวันนี้

ในปี พ.ศ. 2300 อังกฤษได้เข้าไปยึดครองชมพูทวีป และดินแดนแห่งนี้ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเกือบ 200 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ดินแดนแถบนี้ได้รับเอกราช แต่บังกลาเทศก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน เรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก

ต่อมาชาวเบงกอลในปากีสถานตะวันออก ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก เนื่องจากถูกแสวงหาประโยชน์และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก นอกจากนี้ปากีสถานทั้งสองยังมีความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติอีกด้วย ชาวเบงกอลจึงจัดตั้งสันนิบาตอวามีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาวเบงกอล โดยมีนายชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน เป็นหัวหน้า

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช ภายใต้ชื่อ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ทำให้ปากีสถานตะวันตกส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปราม อินเดียได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือปากีสถานตะวันออก ในที่สุดฝ่ายปากีสถานตะวันตกพ่ายแพ้ในการรบ และยินยอมให้เอกราชแก่บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514

ในระยะแรก บังกลาเทศปกครองโดยระบอบประธานาธิบดี มีนายชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน หัวหน้าสันนิบาตอวามีเป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหารคนแรก (Father of the Nation) ประธานาธิบดี นายชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้ มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสาย และเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 25252533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง

ในปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2535 นาง Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยสันนิบาตอวามี (AL), พรรค Jatiya Party (JP), และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน) ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาล และเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP

ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการ หรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรี และนาย Latifur Rahman ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ซึ่งคณะที่ปรึกษาดังกล่าวได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายดาวเทียม เดือนตุลาคม 2554

ภูมิประเทศ

[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำคงคาและแม่น้ำพรหมบุตร

ภูมิอากาศ

[แก้]

อยู่ในเขตมรสุม เมืองร้อน ฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 5,690 มิลลิเมตร/ปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พื้นที่ราบลุ่มหลายแห่งมักจะประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอ

การเมือง

[แก้]
Jatiyo Sangshad Bhaban
Jatiyo Sangshad Bhaban

ฝ่ายนิติบัญญัติ

[แก้]

บังกลาเทศมีเพียงสภาเดียว คือ Jatiya Sangsad หรือสภาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 300 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี โดยมี Barrister Muhammad Jamiruddin Sircar เป็นประธานสภาแห่งชาติคนปัจจุบัน (โดยประธานสภาจะดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการประธานาธิบดี หากประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้)

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกสรรโดยรัฐสภา และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี มีบทบาทหน้าที่ในด้านพิธีการ มีอำนาจในการแต่งตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้พิพากษาและคณะผู้พิพากษา แต่เมื่ออยู่ในฐานะผู้รักษาการขณะที่ไม่มีรัฐบาล ประธานาธิบดีจะมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการควบคุมกระทรวงกลาโหมและสามารถประกาศกฎอัยการศึก รวมทั้งสามารถยุบสภาฯ ตามที่ได้รับการเสนอโดยนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการได้ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ ดร. Iajuddin Ahmed ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545 พรรคที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาจะได้รับโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลก่อน โดยหัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ล่าสุดพรรค Bangladesh Nationalist Party นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 และได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีรัฐบาลรักษาการโดยมี ดร. Fakhruddin Ahmed ดำรงตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการ (Chief of Caretaker Government) เพื่อดูแลกระทรวงต่างๆ และเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

บังกลาเทศใช้ระบบศาลแบบอังกฤษ โดยมีทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา โดยศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลสูงสุดซึ่งแบ่งเป็นสองส่วนคือ Appellate Division และ High Court Division และยังมีศาลระดับล่างได้แก่ district courts thana courts และ village courts นอกจากนี้ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ เช่น ศาลครอบครัว ศาลแรงงาน เป็นต้น

พัฒนาการทางการเมืองของบังกลาเทศภายหลังเอกราช

[แก้]

ประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยฝีมือนายทหารกลุ่มหนึ่ง การปกครองในระยะแรกนี้มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง และลอบสังหารประธานาธิบดีจนเสียชีวิตหลายคน สถานการณ์ทางการเมืองของบังกลาเทศตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายและเป็นการปกครองโดยผู้นำทางทหารตลอดมากว่า 20 ปี และพลโท Hussain Mohammad Ershad ประธานาธิบดี (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2525 – 2533) ได้ถูกฝ่ายค้านกดดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดีไปให้นายกรัฐมนตรี พลโท Ershad ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 และถูกจำคุกในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง ในปี 2533 บังกลาเทศได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเป็นครั้งแรก โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) นำโดยนาง Khaleda Zia ได้รับชัยชนะ และเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปี 2535 นาง Khaledia Zia ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีบังกลาเทศได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ภายหลังความวุ่นวายจากการประท้วงของพรรคฝ่ายค้านซึ่งประกอบด้วยพรรค Awami League พรรค Jatiya Party (JP) และพรรค Jamaat-e-Islami (JI) ที่ต้องการให้นาง Khaleda Zia ลาออก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะและนาง Sheikh Hasina หัวหน้าพรรค AL (บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี Sheikh Mujibur Rahman) ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้รัฐบาลผสมครั้งแรกของบังกลาเทศ ระหว่างพรรค AL และพรรค JP ที่มีพลโท Ershad อดีตประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าพรรค และได้ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งนายรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 แต่ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 พรรค JP ได้ถอนตัวออกจากรัฐบาลและเข้าเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านกับพรรค BNP ตามรัฐธรรมนูญของบังกลาเทศ คณะรัฐมนตรีจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ดังนั้น ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina จึงได้หมดวาระลง และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้ประกาศยุบสภาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี และเมี่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลของนาง Sheikh Hasina ได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังรัฐบาลรักษาการที่จะต้องมีหน้าที่ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน และในการนี้ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้ง Justice Latifur Rahman อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกาให้ดำรงตำแหน่ง Chief Advisor ของรัฐบาลรักษาการหรือเทียบเท่านายกรัฐมนตรีและนาย Latifur Rahman ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Shahabuddin Ahmed ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา (Council of Advisors) จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของนาย Latifur Rahman เพื่อปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พรรค BNP ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและ นาง Khaleda Zia ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และได้สิ้นสุดวาระลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน

[แก้]

ตามที่รัฐบาลบังกลาเทศของนาง Khaleda Zia ได้สิ้นสุดวาระการบริหารประเทศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประธานาธิบดีแต่งตั้งอดีตประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเพื่อจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านได้คัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าประธานศาลฎีกามีความใกล้ชิดกับพรรครัฐบาล ประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed ได้ตัดสินใจเป็นหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลรักษาการและคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง และได้นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการจลาจล และการถอนตัวจากการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในที่สุดประธานาธิบดีจึงได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลรักษาการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งประกาศเลื่อนการเลือกตั้งซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด นาย Fakhruddin Ahmed อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งบังกลาเทศได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษารัฐบาลรักษาการต่อจากประธานาธิบดี Iajuddin Ahmed เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยมีภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลรักษาการชุดใหม่ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ และจัดการเลือกตั้งที่ บริสุทธิ์ยุติธรรมให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและนอกประเทศ โดยจะดำเนินการดังนี้

  1. แยกศาลยุติธรรมออกจากฝ่ายการเมือง
  2. ปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ถูกต้อง
  3. ปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  4. ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นและกลุ่มอิทธิพล
  5. ทำให้ระบบราชการปลอดจากการครอบงำทางการเมือง

ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลรักษาการของบังกลาเทศจะใช้เวลาในการปฏิรูปการเมืองประมาณ 6 – 9 เดือนก่อนที่จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่

นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

[แก้]

บังกลาเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีพรรคสำคัญ 2 พรรคคือพรรค Bangladesh Nationalist Party (BNP) และพรรค Awami League (AL) โดยที่ทั้งสองพรรคได้ผลัดกันขึ้นเป็นรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดมา

กองทัพเรือบังกลาเทศ

ด้านความมั่นคง

[แก้]

รัฐบาลบังกลาเทศที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย เช่น การจับกุมการค้าอาวุธที่ผิดกฎหมาย การจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกระบุแน่ชัดว่าเป็นผู้ก่อการร้าย การประกาศว่ารัฐบาลจะไม่ให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย การปราบปรามกิจกรรมการก่อการร้ายในสถานศึกษา การจัดการประชุมระดับชาติเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย การสืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดต่าง ๆ และการจัดตั้งการปฏิบัติการ “Operation Clean Heart” ซึ่ง เป็นการรวมกองกำลังทหารร่วมกับตำรวจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยเรื่องการก่อการร้ายทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลชุดที่ผ่านมายังประกาศที่จะยกเลิกกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งออกโดยรัฐบาลในอดีต อย่างไรก็ดี นโยบายการปราบปรามการก่อการร้ายได้ถูกวิพากษ์วิจารย์จากพรรคฝ่ายค้าน นักศึกษา และประชาชนว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระทำไปเพื่อจำกัดบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

ด้านต่างประเทศ

[แก้]

รัฐบาลชุดล่าสุดได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบมุ่งตะวันออก (Look East) โดยการกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า และสมาชิกอาเซียน ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของนโยบายต่างประเทศบังกลาเทศ การเดินทางเยือนภูมิภาคเอเชียของนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศอย่างต่อเนื่อง นับเป็นประจักษ์พยานที่ดีต่อการเสริมสร้างนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสนับสนุนผลประโยชน์ของบังกลาเทศในประเทศใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบมุ่งตะวันออกของบังกลาเทศนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการลดอิทธิพลของอินเดียที่มีต่อบังกลาเทศลงด้วยนอกจากนี้ บังกลาเทศมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์กับตะวันออกกลาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจบังกลาเทศในด้านพลังงาน การส่งออกแรงงาน และความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศ และในฐานะที่เป็นประเทศ OIC ปัจจุบัน บังกลาเทศเป็นสมาชิก BIMSTEC ACD SAARC NAM และ ARF และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการสนับสนุนภารกิจการรักษาสันติภาพ มีทหารบังกลาเทศจำนวน 9,758 ราย ปฏิบัติใน 12 ภารกิจทั่วโลก (ร้อยละ 14 ของกองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมด) ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของบังกลาเทศในทางที่ดี

เขตการปกครอง

[แก้]
การแบ่งเขตการปกครองของบังกลาเทศ

เขตการปกครองของประเทศบังกลาเทศแบ่งออกเป็น 8 ภาค (বিভাগ)[28] ชื่อภาคตั้งตามชื่อเมืองที่เป็นเมืองหลักของฝ่ายบริหาร มีดังต่อไปนี้

เศรษฐกิจ

[แก้]
สะพานจามูนา หนึ่งในสะพานที่ยาวที่สุดในเอเชียใต้
คาร์วานพลาซ่า กรุงธากา
ประเทศบังกลาเทศตั้งอยู่ริมอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียอยู่เสมอ เศรษฐกิจของบังกลาเทศจึงขึ้นอยู่กับการเพาะปลุกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปอกระเจา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการถักกระสอบ แต่เนื่องจากบังกลาเทศมักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ เนื่องจากเป็นจุดที่พายุไซโคลนเข้ามากที่สุดในบรรดาประเทศในเอเชียใต้ ทำให้การเพาะปลูกของบังกลาเทศก็ไม่ค่อยดีนัก ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมของบังกลาเทศส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น สิ่งทอซึ่งส่งออกเป็นอับดับสองของโลกรองจากจีน กระดาษ น้ำตาล เป็นต้น

สกุลเงินที่ใช้ : คือ ฏากา

แม้บังกลาเทศจะเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งไทยไม่ควรมองข้าม โดยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรทางทะเล พร้อมกันนี้ยังสามารถเป็นตลาดสินค้าต่าง ๆ ของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจบริการจะทำรายได้ให้กับบังกลาเทศคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของ GDP แต่ประชาชนบังกลาเทศส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และประกอบอาชีพการเกษตร รัฐบาลบังกลาเทศเน้นในเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (economic freedom) โดยใช้การทูตเชิงเศรษฐกิจ (economic diplomacy) ให้ความสำคัญกับการดึงการลงทุนจากต่างชาติ (อนุญาตให้คนต่างชาติลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับชาวบังกลาเทศ) รวมทั้งการเรียกความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนทั้งภายในและจากต่างประเทศให้กลับคืนมา กระตุ้นการส่งออกโดยเฉพาะการเพิ่มโควตาการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังต่างประเทศ การส่งเสริมให้แรงงานบังกลาเทศไปทำงานในต่างประเทศ และการทบทวนเรื่องการให้ visa on arrival กับประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

การค้า

[แก้]

บังกลาเทศยึดหลักเศรษฐกิจการตลาด มีนโยบายส่งเสริมการส่งออก อย่างไรก็ดี โดยที่การส่งออกของบังกลาเทศขึ้นอยู่กับสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดและมีตลาดส่งออกที่จำกัดเพียงไม่กี่ประเทศ (โดยร้อยละ 76 ของการส่งออกทั้งหมดเป็นสินค้าสิ่งทอที่ส่งไปยุโรป) จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายให้กับตัวสินค้าและหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกให้มากที่สุดและลดการขาดดุลการค้า บังกลาเทศพึ่งพาการนำเข้าจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ มีมูลค่าถึงปีละ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลล่าสุดได้มั่งเน้นนโยบายที่จะหันไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น เพื่อลดการพิ่งพาอินเดียลง สวนปัญหาและอุปสรรคทางการค้า ได้แก่ การห้ามนำเข้าหรือการจำกัดโควตาข้าวและน้ำตาล รวมทั้งปัญหาด้านการขนส่ง เป็นต้น ระบบพิธีการศุลกากรมาตรการที่มิใช่ทางภาษี เช่น การห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควตา

การลงทุน

[แก้]

ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 บังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของต่างชาติ อนุญาตให้ส่งผลกำไรและรายได้ออกไปต่างประเทศได้โดยเสรี และมีมาตรการให้ความสำคัญกับบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศ เป็นต้น โดยสหรัฐอเมริกาเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ รองลงมา คือ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร อุตสาหกรรมที่ควรเข้าไปลงทุน ได้แก่ ด้านการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมากถึง 11 ล้านล้านตารางฟุต ด้านสาธารณูปโภค ด้านประมง (แต่ปัจจุบันรัฐบาลบังกลาเทศยังไม่มีนโยบายที่จะเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนในการจับปลาในบังกลาเทศ) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้านอุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง อุตสาหกรรมเบา ด้านบริการต่าง ๆ และด้านการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคขั้นพื้นฐาน อุปสรรคที่สำคัญที่ขัดขวางการลงทุน ได้แก่ การประสบภัยจากพายุไซโคลนและอุทกภัยบ่อยครั้ง การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ และปัญหาการเมืองภายในประเทศโดยเฉพาะการเดินขบวนประท้วง (hartal) ของพรรคฝ่ายค้านที่มีอยู่เป็นประจำ

คมนาคม

[แก้]
ทางบก
  • Bangladesh Telecom Regulatory Commission กำกับดูแลกิจการรถไฟ มีทางรถไฟความยาว 2,745 กม. ทางหลวง 201,182 กม.
  • ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Pipelines) 1,250 กม.
ทางน้ำ
  • ท่าเรือทางทะเล ตั้งอยู่ที่ Chittagong และ Mongla
  • ท่าเรือทางน้ำภายในประเทศ ที่สำคัญตั้งอยู่ที่ Dhaka, Chanpur, Barisal

ประชากร

[แก้]

ประชากรมีประมาณ 164 ล้านคน (ค.ศ. 2017) มีอัตราการเติบโต 1.42% ความหนาแนนของประชากร 889 คน ต่อ ตร.กม. ซึ่งหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่อาศับอยู่ในชนบท แต่ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเกิดของประชากรในพื้นที่เมืองมีมากกว่าในชนบท

พลเมืองมีการศึกษา 65% อ่านออกเขียนได้ 41.1% (ข้อมูลจาก UNESCO ค.ศ. 2000-2004)

ศาสนา

[แก้]

ประชากรบังกลาเทศ นับถือศาสนาอิสลาม 90.5% ศาสนาฮินดู 8.5% ศาสนาคริสต์ 0.4% ศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ในจิตตะกอง 0.6% พุทธศาสนาในประเทศบังกลาเทศ ตระกูลชาวพุทธสืบเนื่องมานานคือชาวพุทธที่ราบ ตระกูลบารัว และ ชาวพุทธภูเขา จักมา,กัลมา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "National Symbols→National march". Bangladesh Tourism Board. Bangladesh: Ministry of Civil Aviation & Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2016. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015. In 13 January 1972, the ministry of Bangladesh has adopted this song as a national marching song on its first meeting after the country's independence.
  2. "'Joy Bangla' to be national slogan: HC". Daily Prothom Alo. 10 March 2020. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
  3. "HC orders govt to announce 'Joy Bangla' as national slogan in three months". bdnews24.com. 10 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-30. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
  4. "Article 3. The state language". The Constitution of the People's Republic of Bangladesh. bdlaws.minlaw.gov.bd. Ministry of Law, The People's Republic of Bangladesh. สืบค้นเมื่อ 1 February 2017.
  5. "Bānlādēśakē jānuna" জানুন [Discover Bangladesh] (ภาษาเบงกอล). National Web Portal of Bangladesh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
  6. "Religions in Bangladesh | PEW-GRF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-25.
  7. "Shahabuddin Chuppu takes oath as Bangladesh's 22nd president". สืบค้นเมื่อ 28 April 2023.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "South Asia :: Bangladesh — The World Factbook – Central Intelligence Agency". cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
  9. "Population and Housing Census 2022: Post Enumeration Check (PEC) Adjusted Population" (PDF). Bangladesh Bureau of Statistics. 18 April 2023. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2023. สืบค้นเมื่อ 30 May 2023.
  10. "Report: 68% Bangladeshis live in villages". Dhaka Tribune. 28 November 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2024. สืบค้นเมื่อ 6 February 2024.
  11. "Download World Economic Outlook database: April 2023". International Monetary Fund - IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023.
  12. "Download World Economic Outlook database: April 2023". International Monetary Fund - IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023.
  13. "Download World Economic Outlook database: April 2023". International Monetary Fund - IMF. IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023.
  14. "Download World Economic Outlook database: April 2023". IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2023. สืบค้นเมื่อ 4 December 2023.
  15. "KEY FINDINGS HIES 2022" (PDF) (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Bangladesh Bureau of Statistics. p. 15. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2023. สืบค้นเมื่อ 13 April 2023.
  16. Nations, United (13 March 2024). "Human Development Report 2023-24". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2024. สืบค้นเมื่อ 18 March 2024 – โดยทาง hdr.undp.org.
  17. Eyetsemitan, Frank E.; Gire, James T. (2003). Aging and Adult Development in the Developing World: Applying Western Theories and Concepts (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-89789-925-3.
  18. Om Prakash, "Empire, Mughal", History of World Trade Since 1450, edited by John J. McCusker, vol. 1, Macmillan Reference US, 2006, pp. 237–240, World History in Context. Retrieved 3 August 2017
  19. "Struggle for the Soul of Bangladesh". Institute for Global Change (ภาษาอังกฤษ).
  20. "Bangladesh profile - Timeline". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  21. Alam, Shah (1991). "The State-Religion Amendment to the Constitution of Bangladesh: A Critique". Verfassung und Recht in Übersee / Law and Politics in Africa, Asia and Latin America. 24 (2): 209–225. ISSN 0506-7286.
  22. Report, Star Online (2016-03-28). "Writ challenging Islam as state religion rejected". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ).
  23. "A rising Bangladesh starts to exert its regional power | Lowy Institute". www.lowyinstitute.org.
  24. Roy, Pinaki; Deshwara, Mintu (2022-08-09). "Ethnic population in 2022 census: Real picture not reflected". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ).
  25. NW, 1615 L. St; Suite 800Washington; Inquiries, DC 20036USA202-419-4300 | Main202-857-8562 | Fax202-419-4372 | Media (2009-10-07). "Mapping the Global Muslim Population". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  26. Mahmud, Faisal. "Four years on, Rohingya stuck in Bangladesh camps yearn for home". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
  27. "Bangladesh, India Most Threatened by Climate Change, Risk Study Finds | National Geographic (blogs)". web.archive.org. 2016-05-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. "National Web Portal of Bangladesh". Bangladesh Government. 15 กันยายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป