อำเภอบางกรวย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"บางกรวย" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ บางกรวย (แก้ความกำกวม)
อำเภอบางกรวย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Kruai
วัดชลอ
คำขวัญ: 
บางกรวยพันธุ์ไม้งาม ลือนามโบสถ์เรือหงส์ ธำรงวัดโบราณ บ้านเกิดไกรทอง ล่องเรือแห่เทียนพรรษา
แผนที่จังหวัดนนทบุรี เน้นอำเภอบางกรวย
แผนที่จังหวัดนนทบุรี เน้นอำเภอบางกรวย
พิกัด: 13°48′18″N 100°28′22″E / 13.80500°N 100.47278°E / 13.80500; 100.47278
ประเทศ ไทย
จังหวัดนนทบุรี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด57.408 ตร.กม. (22.165 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด147,182 คน
 • ความหนาแน่น2,563.79 คน/ตร.กม. (6,640.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 11130
รหัสภูมิศาสตร์1202
ที่ตั้งที่ว่าการหมู่ที่ 8 ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางกรวย เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของจังหวัดนนทบุรี และเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงวิถีชีวิตแบบเรือกสวนไร่นาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ทว่าบางกรวยยังถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญในแง่ต่าง ๆ ของจังหวัดนนทบุรีทั้งในแง่ของการเดินทางที่สะดวกสบายเนื่องจากมีพื้นที่อยู่ติดถนนเส้นหลักหลายสาย รวมไปถึงยังมีร้านอาหารชื่อดังอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัดชลอซึ่งถือเป็นวัดที่โด่งดังมาตั้งแต่สมัยอดีตตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของอำเภอบางกรวยอีกด้วย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบางกรวยตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด 16.86 กิโลเมตร[2] มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]

ชื่ออำเภอบางกรวยตั้งตามชื่อคลองบางกรวยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม สันนิษฐานว่าชื่อ "บางกรวย" มีที่มาจากการที่ตามแนวสองฝั่งคลองสายนี้ในอดีตมีต้นกรวย (Horsfieldia irya) ขึ้นอยู่หนาแน่น[3][4] นอกจากนี้แหล่งข้อมูลบางแห่งยังอธิบายว่าชื่อ "บางกรวย" เป็นชื่อที่ผู้คนเรียกตามรูปพื้นที่อำเภอที่มีลักษณะคล้ายกรวยยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากอำเภอบางแม่นาง (ปัจจุบันคืออำเภอบางใหญ่) ได้แยกตัวออกไป[3] อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏชื่อคลองบางกรวยและตำบลบางกรวยในเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนการจัดตั้งกิ่งอำเภอบางแม่นางแล้ว

ประวัติศาสตร์[แก้]

อำเภอบางใหญ่ ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่กว้างขวางมาก ต่อมาเจ้าหน้าที่ราชการดูแลไม่ทั่วถึง จึงได้แบ่งเขตการปกครองตำบลบางใหญ่และบางม่วงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางแม่นางใน พ.ศ. 2460 ขึ้นอยู่กับอำเภอบางใหญ่จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอบางแม่นาง[5] ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอบางใหญ่ตามบริเวณที่ตั้งอำเภอและตามการเรียกของคนสมัยนั้นเป็น อำเภอบางกรวย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พร้อม ๆ กับที่อำเภอบางแม่นางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอบางใหญ่" แทน[6]

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดธนบุรี โดยกำหนดให้โอนพื้นที่ตำบลบางอ้อ ตำบลบางรัก และตำบลบางพลัดของอำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านเหนือของทางรถไฟสายใต้ มาขึ้นกับตำบลบางกรวย; โอนพื้นที่ตำบลบางบำหรุของอำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านเหนือของทางรถไฟสายใต้ มาขึ้นกับตำบลวัดชลอ; โอนพื้นที่ตำบลบางกรวยเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลบางอ้อ ตำบลบางรัก และตำบลสวนพริกของอำเภอบางพลัด; โอนพื้นที่ตำบลวัดชลอเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลสวนพริกของอำเภอบางพลัดและตำบลบางบำหรุของอำเภอตลิ่งชัน; โอนพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งใต้ของคลองมหาสวัสดิ์ ไปขึ้นกับตำบลตลิ่งชันของอำเภอตลิ่งชัน และถือเอาทางรถไฟสายใต้ คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดทั้งสองนับแต่นั้น[7]

ครั้นใน พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางกรวยถูกโอนไปเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดธนบุรี[8] แต่ภายหลังก็ได้กลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดนนทบุรีซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นมาอีกครั้งใน พ.ศ. 2489[9]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบางกรวยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 60 หมู่บ้าน (หรือ 41 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางกรวยซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

1. วัดชลอ (Wat Chalo) 10 หมู่บ้าน 6. บางคูเวียง (Bang Khu Wiang) 07 หมู่บ้าน
2. บางกรวย (Bang Kruai) 09 หมู่บ้าน 7. มหาสวัสดิ์ (Maha Sawat) 07 หมู่บ้าน
3. บางสีทอง (Bang Si Thong) 05 หมู่บ้าน 8. ปลายบาง (Plai Bang) 05 หมู่บ้าน
4. บางขนุน (Bang Khanun) 05 หมู่บ้าน 9. ศาลากลาง (Sala Klang) 06 หมู่บ้าน
5. บางขุนกอง (Bang Khun Kong) 06 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบางกรวยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางกรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดชลอและตำบลบางกรวยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปลายบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูเวียงทั้งตำบล ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลปลายบางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศาลากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลากลางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางสีทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสีทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขนุนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขุนกองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปลายบาง)

การคมนาคม[แก้]

ถนน[แก้]

ถนนราชพฤกษ์ บริเวณวงเวียนราชพฤกษ์

ถนนสายสำคัญของอำเภอบางกรวย ได้แก่

นอกจากนี้ อำเภอบางกรวยยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 1 แห่ง คือ

ท่าเรือ[แก้]

ทางราง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 50.
  2. กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  3. 3.0 3.1 สำนักงานเกษตรอำเภอบางกรวย. "ประวัติอำเภอบางกรวย." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bangkruai.nonthaburi.doae.go.th/data/history.html เก็บถาวร 2019-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 สิงหาคม 2562.
  4. สิทธิ กุหลาบทอง และสาวิกา กัลปพฤกษ์. (2553). "ความหลากชนิดของพรรณไม้น้ำในเขตคลองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี." วิทยาศาสตร์เกษตร, 41 (3/1 พิเศษ), 103.
  5. "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง ตั้งอำเภอบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 23–24. 24 เมษายน 2464. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอ เปลี่ยนชื่อและย้ายอำเภอกับโอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 226–228. 19 ตุลาคม 2473. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตต์จังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. 1 เมษายน 2480. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (77 ก): 2447–2449. 10 ธันวาคม 2485. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′18″N 100°28′22″E / 13.805°N 100.472778°E / 13.805; 100.472778