ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศกาบอง

พิกัด: 1°S 12°E / 1°S 12°E / -1; 12
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

1°S 12°E / 1°S 12°E / -1; 12

สาธารณรัฐกาบอง

République Gabonaise (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของกาบอง
ตราแผ่นดิน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ลีเบรอวีล
0°23′N 9°27′E / 0.383°N 9.450°E / 0.383; 9.450
ภาษาราชการภาษาฝรั่งเศส
การปกครองรัฐเดี่ยว เผด็จการทหาร
บริส ออลีกี (รักษาการ)
แรมง อึนดง ซีมา (รักษาการ)
เอกราช
17 สิงหาคม พ.ศ. 2503
พื้นที่
• รวม
267,667 ตารางกิโลเมตร (103,347 ตารางไมล์) (76)
3.76%
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
1,979,786[1] (146)
7.9 ต่อตารางกิโลเมตร (20.5 ต่อตารางไมล์) (216)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
3.8280 หมื่นล้านดอลลาร์[2]
18,647 ดอลลาร์<[2]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
1.7212 หมื่นล้านดอลลาร์[2]
8,384 ดอลลาร์<[2]
จีนี (2017)38[3]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.703[4]
สูง · 119
สกุลเงินฟรังก์เซฟา (XAF)
เขตเวลาUTC+1 (WAT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1
รหัสโทรศัพท์+241
โดเมนบนสุด.ga

กาบอง (ฝรั่งเศส: Gabon) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกาบอง (ฝรั่งเศส: République Gabonaise) เป็นประเทศในตอนกลางของภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับอิเควทอเรียลกินี แคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก และอ่าวกินี

กาบองปกครองโดยประธานาธิบดีที่สถาปนาตนเองขึ้นสู่อำนาจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กาบองได้นำระบบหลายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ทำให้เกิดกระบวนการการเลือกตั้งที่โปร่งใสยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดการปฏิรูปสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ กาบองมีจำนวนประชากรไม่มาก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนเอกชนต่างชาติ ทำให้กาบองกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคนี้

ภูมิอากาศ

[แก้]

อากาศร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิสูงและฝนตกชุก มีฤดูแล้งยาวนานตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน หลังจากนั้นเป็นฤดูฝนช่วงสั้น ๆ และจะเป็นฤดูแล้งอีกครั้งตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และเป็นฤดูฝนอีกครั้งฝนตกโดยเฉลี่ยประมาณ 510 มิลลิเมตรต่อปี

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เดิมดินแดนกาบองในสมัยอาณานิคมฝรั่งเศส เป็นส่วนหนึ่งในดินแดนแอฟริกาศูนย์สูตรของสหพันธ์แอฟริกาตะวันตก ในปี พ.ศ. 2501 กาบองได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง และ ได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2504 โดยมีนาย ลียง เอ็มบา เป็นประธานาธิบดีคนแรก ในปี พ.ศ. 2507 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น แต่ด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตามเดิมจนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510

นาย Albert-Bernard Bongo (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โอมา บองโก อนดิมบา) รองประธานาธิบดี ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสให้เข้ารับตำแหน่งแทน และจัดตั้งระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียว โดยมีพรรคประชาธิปไตยกาบอง (PDG : Parti democratique gabonais) เป็นพรรครัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโอมาร์ บองโก อองดิมบา ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งซ้ำในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2529 โดยไม่มีคู่แข่ง

ในปี พ.ศ. 2533 ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ รัฐบาลกาบองได้จัดให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงเป็นระบบการเมืองแบบหลายพรรค อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปไตยกาบองของประธานาธิบดีบองโก ยังคงได้รับเสียงข้างมากในสภาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2536 นายบองโก ยังคงได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งซ้ำในปี พ.ศ. 2541

ในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเพิ่มระยะเวลาให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งจากเดิมวาระละ 5 ปี เป็นวาระละ 7 ปี และมีการแต่งตั้งตำแหน่งรองประธานาธิบดีขึ้นมาอีกครั้ง และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งโดยยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี ซึ่งทำให้นายบองโก มีสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 และชนะการเลือกตั้ง โดยนับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 6 และถือเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในแอฟริกา

ปัจจุบัน ประธานาธิบดีโอมา บองโก อองดิมบา เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ที่คลิกนิกแห่งหนึ่งในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในวัย 73 ปี โดยทางการกาบองได้ประกาศไว้อาลัยแก่การเสียชีวิตของนายบองโก เป็นเวลา 30 วัน และกำหนดให้ประธานวุฒิสภานาง Rose Francine Rogombe ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีและจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน ในชั้นนี้ สถานการณ์ในกรุงลิเบรอวีลยังอยู่ในความสงบไม่เกิดเหตุวุ่นวายตามที่มีการคาดไว้แต่อย่างใด

ความพยายามรัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2562

[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ได้มีความพยายามรัฐประหารที่นำโดยทหาร เพื่อต่อต้านประธานาธิบดี อาลี บองโก ออนดิมบา[5]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

บริหาร

[แก้]

กาบองมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลและเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยการหารือกับประธานาธิบดี โดยเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก

นิติบัญญัติ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2533 กาบองเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีระบบการเมืองหลายพรรค รัฐสภาของกาบองเป็นระบบสภาคู่ โดยสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 120 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งทั่วไป และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ในส่วนของวุฒิสภาจำนวน 91 ที่นั่ง (ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538) เลือกจากสมาชิกสภาท้องถิ่น และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี

เศรษฐกิจ

[แก้]

ภาพรวม

[แก้]

เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญประเทศหนึ่งของไทยในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยระหว่างปี 2537–2540 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า และไทยเพิ่งจะมาได้เปรียบดุลการค้าในช่วงปี 2541–2542

สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว ปูนซิเมนต์ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ผ้าปักและลูกไม้ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และสินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Report for Selected Countries and Subjects". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  3. "GINI index (World Bank estimate)". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 21, 2019. สืบค้นเมื่อ มกราคม 20, 2019.
  4. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  5. "Soldiers in Gabon try to seize power in failed coup attempt". Bnonews.com. January 7, 2019. สืบค้นเมื่อ January 7, 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]