ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเวียดนาม

พิกัด: 16°N 108°E / 16°N 108°E / 16; 108
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

16°N 108°E / 16°N 108°E / 16; 108

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Cộng hòa Xã hội chủ nghĩa
Việt Nam
  (เวียดนาม)
ตราของเวียดนาม
ตรา
คำขวัญĐộc lập – Tự do – Hạnh phúc
"เอกราช อิสรภาพ ความสุข"
เพลงชาติTiến Quân Ca
มาร์ชทหารเวียดนาม
ที่ตั้งของ ประเทศเวียดนาม  (เขียว)

ในอาเซียน  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวงฮานอย
21°2′N 105°51′E / 21.033°N 105.850°E / 21.033; 105.850
เมืองใหญ่สุดนครโฮจิมินห์
10°48′N 106°39′E / 10.800°N 106.650°E / 10.800; 106.650
ภาษาประจำชาติเวียดนาม[n 1]
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
เดมะนิมชาวเวียดนาม
การปกครองรัฐเดี่ยว มากซ์-เลนิน พรรคเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม
โต เลิม
โต เลิม
ฝั่ม มิญ จิ๊ญ
หวอ ถิ อั๊ญ ซวน
เวือง ดิ่ญ ฮเหวะ
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ก่อตั้ง
• ราชวงศ์ห่งบ่าง (ราชวงศ์แรก)
ป. ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
พ.ศ. 432
พ.ศ. 1481
• ราชวงศ์เหงียน (ราชวงศ์สุดท้าย)
1 มิถุนายน พ.ศ. 2345
• กลายเป็นอาณัติฝรั่งเศส
6 มิถุนายน พ.ศ. 2427
2 กันยายน พ.ศ. 2488
• การประชุมเจนีวา (แบ่งเหนือ-ใต้)
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2497
30 เมษายน พ.ศ. 2518
• รวมประเทศ
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[n 3]
พื้นที่
• รวม
331,699 ตารางกิโลเมตร (128,070 ตารางไมล์) (อันดับที่ 66)
6.38
ประชากร
• พ.ศ. 2565 ประมาณ
99,327,643[6] (อันดับที่ 15)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2562
96,208,984[3]
295.0 ต่อตารางกิโลเมตร (764.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 29)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2566 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.278 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 24)
เพิ่มขึ้น 12,881 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 111)
จีดีพี (ราคาตลาด) พ.ศ. 2566 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 432.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 34)
เพิ่มขึ้น 4,475 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 116)
จีนี (พ.ศ. 2561)positive decrease 36.8[8]
ปานกลาง · 89
เอชดีไอ (พ.ศ. 2564)ลดลง 0.703[9]
สูง · อันดับที่ 115
สกุลเงินด่อง (₫) (VND)
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลามาตรฐานเวียดนาม)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ไฟบ้าน220 โวลต์ – 50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+84
รหัส ISO 3166VN
โดเมนบนสุด.vn

เวียดนาม (เวียดนาม: Việt Nam [viət˨ nam˧] เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่รวม 311,699 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน จึงถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 9 ของเอเชีย มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ, ประเทศลาว และประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทางทิศตะวันออกและใต้[a] มีเมืองหลวงคือฮานอย และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือนครโฮจิมินห์ (เดิมชื่อว่า ไซ่ง่อน) เวียดนามยังเป็นหนึ่งในสองรัฐคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดินแดนของเวียดนามเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่า ผู้คนเข้ามาตั้งรกรากและรวมตัวกันเป็นรัฐต่าง ๆ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงซึ่งเป็นที่ตั้งของภูมิภาคทางเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน ดินแดนส่วนใหญ่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจีนกว่าพันปี ตั้งแต่ 111 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 939 ราชวงศ์ฮั่นผนวกดินแดนตอนเหนือและตอนกลางเข้าด้วยกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธได้แผ่ขยายไปทั่วดินแดนทางใต้รวมถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง รัฐแรกเริ่มของเวียดนามก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 939 ภายหลังเวียดนามชนะจีน (มองโกล) ในยุทธนาวีแม่น้ำบักดั่ง เวียดนามและจักรพรรดิเวียดนามก็เจริญรุ่งเรืองและเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เหงียนถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองดินแดนนี้ จนกระทั่งตกเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และภายหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพประชาชนในนามเหวียตมิญนำโดยโฮจิมินห์มีบทบาทในการนำเวียดนามปลดแอกจากฝรั่งเศส[11] รวมถึงการประกาศเอกราชจากจักรวรรดิญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2488

เวียดนามต้องเผชิญกับสงครามที่ยืดเยื้อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสกลับมาเถลิงอำนาจอีกครั้งในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจบลงด้วยชัยของเวียดนามในปี 2497 กระนั้น สงครามเวียดนามได้ปะทุขึ้นไม่นานหลังจากนั้น โดยประเทศเวียดนามถูกแยกเป็นสองส่วนคือ เวียดนามเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน และ เวียดนามใต้ (สาธารณรัฐเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยเวียดนามเหนือนำไปสู่การสิ้นสุดของสงคราม[12] กรุงไซ่ง่อนได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโฮจิมินห์ ในขณะที่ฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ ได้กลายเป็นเมืองหลวงของเวียดนามหลังจากการรวมประเทศในปี 2519 ซึ่งดินแดนทั้งหมดได้รวมกันกลายเป็นรัฐสังคมนิยมในชื่อ "สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม" พรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทนำทางการเมือง สิ่งนี้นำไปสู่การวิจารณ์จากนานาชาติรวมถึงการคว่ำบาตรจากโลกตะวันตก สงครามกัมพูชา–เวียดนาม และ สงครามจีน–เวียดนาม ทำให้ประเทศเสื่อมโทรมมากขึ้น ก่อนที่นโยบายโด๋ยเม้ยในปี 2529 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จะช่วยให้เศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยยึดรูปแบบตามการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้เวียดนามกลายสภาพเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาค และเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเมืองในเวทีโลกมากขึ้น

เวียดนามเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 และหากวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คาดว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของเวียดนามจะทัดเทียมกับประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2593 อย่างไรก็ดี ประชากรจำนวนมากยังประสบกับความยากจน และเวียดนามยังเผชิญความโดดเดี่ยวทางการเมือง ปัญหาสำคัญได้แก่ การทุจริตทางการเมือง รวมถึงการให้เสรีภาพสื่อและสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำ ใน พ.ศ. 2543 ได้มีการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ เวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก, ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และ องค์การการค้าโลก และยังเคยมีบทบาทในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ชื่อ

[แก้]

คำว่า "เวียดนาม" หรือ "เหวียดนาม" (Việt Nam, /viə̀t naːm/, เหวียดนาม) คืออีกชื่อหนึ่งของ "นามเหวียด" (Nam Việt นามเหวียด; จีน: 南越; พินอิน: Nányuè; แปลว่า "เวียดใต้") โดยเป็นชื่อที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจี่ยว (Nhà Triệu; 家趙, หญ่าเจี่ยว) ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล หรือช่วงระหว่างปีพ.ศ. 344 ถึง 443[13] คำว่า "เหวียด" (Việt)' เดิมเป็นชื่อย่อของ บั๊กเหวียด (Bách Việt บ๊าก เหฺวียด; จีน: 百越; พินอิน: Bǎiyuè; แปลว่า "ร้อยเวียด") ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่บริเวณทางใต้ของจีนและทางเหนือของเวียดนาม[14]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]
กลองมโหระทึกสำริด

อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์

[แก้]

เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่าง ๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น:

  • วีรสตรีในนาม ฮายบาจึง ได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน แต่ปราชัยในอีก 3 ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน
  • นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด

การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้

  • พ.ศ. 1498 - 1510 ราชวงศ์โง--หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต อาณาจักรแตกแยกออกเป็น 12 แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นตรงต่อกัน
  • พ.ศ. 1511 - 1523 ราชวงศ์ดิงห์--ขุนศึกดิงห์โบะหลิง แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เปลียนชื่อประเทศเป็น

ไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก

  • พ.ศ. 1524-1552 ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุคแรก--มเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง ได้ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์ สถาปนาพระสวามีใหม่คือขุนศึกเลหว่านเป็นจักรพรรดิเลด่ายแห่ง โดยพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่งของจีนและปราบปรามกบฏภายใน แต่ก็ไม่รอดพ้นการรัฐประหาร สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก

ราชวงศ์ยุคใหม่

[แก้]

ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง

หลังสมัยเลเหล่ย เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลใน พ.ศ. 2002 มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิขณะนั้น ต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. 2003-2040)

รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เวียดนาม มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในปี พ.ศ. 2071 เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรก

ราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหวียนและจิ่ง ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึงปี พ.ศ. 2136 จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองเวียดนามต่อไป

ยุคแตกแยกเหนือ-ใต้

[แก้]

จักรวรรดิเวียดนาม

[แก้]

องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในปี พ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอย

องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน นายช่างชาวฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้ และ ป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน

ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง

สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบของกองทัพเรือฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย

ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพทหางทหารที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนัม ในตอนกลาง และ เขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหาร และ การทูตเป็นของฝรั่งเศส ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น

แผนที่อินโดจีน ค.ศ. 1913.

ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท

พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)

สงครามเวียดนาม

[แก้]
สงครามเวียดนาม

เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐได้ให้การช่วยเหลือทางการทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐ (เวียดกง) ในการทำสงคราม

การรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารสหรัฐและพันธมิตรจากต่างประเทศ กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง แม้สหรัฐได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให้สงครามยุติลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี พ.ศ. 2511 ที่เมืองเว้และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง

สหรัฐถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น

หน่วยงานราชการและการเมือง

[แก้]

1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่

  • กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
  • กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” (peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
  • กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก

2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี

3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญ ๆ คือ

  • รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
  • เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
  • การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
  • การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
  • เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ 15 คน

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน

4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง

การทหาร

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

ตามเอกสารของสภาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม:พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ การเปิดการกระจายความหลากหลายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบพหุภาคีการประสานงานระหว่างประเทศเชิงรุกกับคติ "เวียดนามยินดีที่จะเป็นเพื่อนและพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของทุกประเทศในประชาคมโลกที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ สันติภาพความเป็นอิสระและการพัฒนา "

เวียดนามเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยฯพณฯประธานาธิบดีเดยเหม่ยอย่างเป็นทางการเวียดนามได้ปรับความสัมพันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2535 และสหรัฐในปี พ.ศ. 2538 เข้าร่วมอาเซียนในปีเดียวกันนั้นเอง

ปัจจุบันเวียดนามได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 180 ประเทศ (รวมถึง 43 ประเทศในเอเชีย, 47 ประเทศในยุโรป, 11 ประเทศในโอเชียเนีย, 29 ประเทศในอเมริกา, 50 ประเทศในแอฟริกา) ทุกทวีป (เอเชีย - แปซิฟิก: 33 ประเทศ, ยุโรป: 46 ประเทศ, อเมริกา: 28 ประเทศ, แอฟริกา: 47 ประเทศ,และ ตะวันออกกลาง: 16 ประเทศ), รวมถึงทุกประเทศที่สำคัญและศูนย์กลางทางการเมืองของ โลก เวียดนามยังเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ 63 แห่งและมีความสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชนมากกว่า 650 องค์กร ในเวลาเดียวกันเวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับ 165 ประเทศและดินแดน ในสหประชาชาติเวียดนามทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการ ECOSOC สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ UNDP UNFPA และ UPU

บทบาทภายนอกของเวียดนามในชีวิตทางการเมืองระหว่างประเทศได้รับการแสดงผ่านองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการประชุมระดับนานาชาติหลายครั้งในเมืองหลวงของกรุงฮานอย

ในปี พ.ศ. 2540 จัดประชุมสุดยอดชุมชนฝรั่งเศส

ในปี พ.ศ. 2541 มีการประชุมสุดยอดอาเซียน

ในปี พ.ศ. 2546 จัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาในเวียดนามและแอฟริกา

ในปี พ.ศ. 2547 การประชุมสุดยอด ASEM จัดขึ้นในเดือนตุลาคม

ในปี พ.ศ. 2549 จัดประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน

ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาเวียดนามได้กลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 ขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการ นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในกระบวนการของการรวมเข้ากับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2550 เป็นเจ้าภาพการคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้รับการโหวตอย่างเป็นทางการเวียดนามได้รับเลือกอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวาระปี พ.ศ. 2551-2552 .

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 เวียดนามถือว่าบทบาทของประธานอาเซียนและในปีนั้นมีการประชุมระดับภูมิภาคจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้ลงคะแนนในการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของเวียดนามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) อย่างเป็นทางการปี 2016-2018

ในปี พ.ศ. 2559 จัดโอลิมปิกสากลชีวภาพ

ในปี พ.ศ. 2560 จัดการประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]








ภูมิศาสตร์

[แก้]
อ่าวหะล็อง
ชาวเวียดนามนิยมปลูกข้าวแบบขั้นบันได

เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 สายพันธุ์

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]
  • มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
  • มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต)

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]
  • เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) สภาพภูมิอากาศของเวียดนามตอนกลางและตอนใต้อยู่ในเขตเขตร้อน สภาพภูมิอากาศของเวียดนามตอนเหนือ (รวมถึงฮานอย) อยู่ในเขตกึ่งเขตร้อน
  • เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส

ชายแดน

[แก้]

ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)

เศรษฐกิจ

[แก้]
ฮานอยมีเคียงนัมฮานอยแลนด์มาร์กทาวเวอร์ตึกที่สูงที่สุดในเวียดนาม

เกษตรกรรม

[แก้]

มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) [15] การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์

อุตสาหกรรม

[แก้]

อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ[16] การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย [17]

สถานการณ์เศรษฐกิจ

[แก้]
ท่าเรือไซ่ง่อน

เวียดนามมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 [18] แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991

เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

[แก้]
  1. การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่าง ๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด
  2. เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู่การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด
  3. ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ

ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม และขณะเดียวกัน นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศและประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน มีความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก

ในปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับการอนุมัติด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่สิงคโปร์ ซึ่งมีโครงการการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจำนวนโครงการ ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามคิดได้เป็นร้อยละ 27.69 ของมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิ้นในเวียดนาม กล่าวคือในมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิน 29.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยมาเลเซียลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ไทยลงทุนเป็นอันดับ 3 ประเภทของการลงทุนที่สมาชิกอาเซียนดำเนินการในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างสำนักงาน ที่อยู่อาศัย การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการแปรรูปอาหาร เวียดนามหวังว่าการลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนี้จะมีส่วนช่วยถ่วงดุลการลงทุนจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น

ในขณะเดียวกันในส่วนของอาเซียน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อาเซียนยินดีรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก็คือ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนของเวียดนามนั้นจะมีผลไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกทั้งอำนาจในการต่อรองทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจร่วมกันอันนำไปสู่การยอมรับในที่สุด

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

[แก้]

เวียดนามมีพื้นฐานของนักปราชญ์ตั้งแต่ยุคโบราณ มีการสั่งสมความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จนเป็นที่เลื่องลือ โดยในปัจจุบันเวียดนามเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยี ในปี 2553 เวียดนามมีงบประมาณทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 0.45% ของ GDP

การขนส่ง

[แก้]

อากาศ

[แก้]
เครื่องบินของสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์

เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Nội Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Tần Sơn Nhất) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ (Long Thánh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนาม และท่าอากาศยานนานาชาติดานัง (Đà Nẵng) ในนครดานัง[19]

ถนน

[แก้]
ในส่วนของ ทางด่วนเหนือ–ใต้ การเชื่อมต่อ Cầu Giẽ และ บิ่ญถ่วน

ในปี 2553 ระบบถนนของเวียดนามมีความยาวรวมประมาณ 188,744 กิโลเมตร (117,280 ไมล์) โดยมี 93,535 กิโลเมตร (58,120 ไมล์) เป็นถนนลาดยาง

ทางรถไฟ

[แก้]

ทางรถไฟในเวียดนาม ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับประเทศจีน และมีเครือข่ายในประเทศเท่านั้น ยังไม่มีทางเชื่อมต่อกับลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนี้กำลังวางแผนก่อสร้าง

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวญวนร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ชาวไท เหมื่อง ฮั้ว (จีน) ชาวเขมร นุง ชาวม้ง[20][21][22]

ภาษา

[แก้]

การสื่อสารใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (Quốc ngữ) แทนตัวอักษรจีน (Chữ Nôm) ในการเขียนภาษาเวียดนาม [23]

ศาสนา

[แก้]
ศาสนาในประเทศเวียดนาม
ศาสนา ร้อยละ
พื้นบ้านและไม่มีศาสนา
  
73.2%
พุทธ
  
12.2%
คริสต์
  
8.3%
อื่น ๆ
  
6.3%
เจดีย์เสาเดียว แสดงให้เห็นถึงศาสนาพื้นบ้านเวียดนาม

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2557[24] ประเทศเวียดนามมีประชากรนับถือศาสนา 90 ล้านคน แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพื้นบ้านเวียดนามและไม่มีศาสนา 24 ล้านคน (73.2%) ศาสนาพุทธ 11 ล้านคน (12.2%) ศาสนาคริสต์ 7.6 ล้านคน (8.3%) ลัทธิเฉาได 4.4 ล้านคน (4.8%) ลัทธิฮหว่าหาว 1.3 ล้านคน (1.4%) และศาสนาอื่น ๆ (0.1%) เช่น ศาสนาอิสลาม 75,000 คน ศาสนาบาไฮ 7,000 คน ศาสนาฮินดู 1,500 คน[25][26][27][28][29][30]

การศึกษา

[แก้]

ประวัติการศึกษาของเวียดนาม

[แก้]

ประเทศเวียดนามได้มีการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับพัฒนาของประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะ ๆ ย่อ ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ดังนี้ (Pham Minh Hac,1995, 42-61)

1. ระยะที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน (Period of Chinese Imperial Domination) : 200 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 938

ในระยะนี้ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน ดังนั้นผู้บริหารของประเทศจีน จึงเป็นผู้ก่อตั้งระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามทั้งในแบบของรัฐและเอกชน ซึ่งในสมัยก่อนเน้นเฉพาะการศึกษาของบุตรชายและการฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าไปรับราชการและบริหารประเทศ มีนโยบาย "Feudal Intelligentsia" ซึ่งจะคัดเลือกเฉพาะบุตรชายจากครอบครัวขุนนางไปรับราชการกับราชวงศ์จีน ระบบการศึกษาต่อเนื่องของชาวเวียดนามในบางศตวรรษพบว่า บุคคลชาวเวียดนามที่มีฐานะทางสังคมดีและมีสติปัญญาดีจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาต่อในประเทศจีน โดยมีการสอบแข่งขันหลายขั้นตอนและครั้งสุดท้ายจะสอบที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสอบผ่านจะได้วุฒิเทียบเท่า Doctor’s Degree ระบบการศึกษาดังกล่าวสืบทอดมาจนถึง ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907) ระบบการศึกษาที่เลียนแบบมาจากประเทศจีนประกอบด้วย การศึกษาเบื้องต้น (Primary Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษาน้อยกว่า 15 ปี และการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษามากกว่า 15 ปีขึ้นไป

2. ระยะที่ประเทศมีอิสรภาพ (Period of National Independence) : ค.ศ. 938 - ค.ศ. 1859

ในปี ค.ศ. 938 Ngo Dinh ได้รบชนะจีนและก่อตั้งราชวงศ์ Ngo Dinh และราชวงศ์ Le ตอนต้น (ค.ศ. 939 - ค.ศ. 1009) การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยเอกชนและโรงเรียนพุทธศาสนา จนกระทั่งราชวงศ์ Le (ค.ศ. 1009 - ค.ศ. 1225) เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงทังลอง หรือฮานอยในปัจจุบัน มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศเวียดนามเป็นแห่งแรก ใน ค.ศ. 1076 ที่มีชื่อเรียกว่า "Quoc Tu Gian หรือ Royal College" เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาของบุตรชายของครอบครัวที่มีฐานะดี ในยุคนี้มีการสร้างโรงเรียนของรัฐขึ้นอีกทั้งในส่วนกลางและจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้บุตรชายของสามัญชนเข้ารับการศึกษา ทำให้ระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามในยุคนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  • Royal College อยู่ในเมืองหลวง อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของกษัตริย์
  • โรงเรียนในระดับจังหวัดและอำเภอ เป็นโรงเรียนของรัฐซึ่งยังมีจำนวนไม่มากนัก
  • โรงเรียนของภาคเอกชน

อาจสรุปได้ว่าการศึกษาในระยะต้น ๆ ของประเทศเวียดนามอยู่ในระบบศักดินา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการคัดเลือกคนเข้าไปเรียนเพื่อเป็นขุนนางและข้าราชการในระดับต่าง ๆ

3. ระยะที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส (Period of French Colonialism): ค.ศ. 1859 - 1945

ในระยะที่ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนี้ ระยะแรก ๆ ยังคงใช้ระบบการศึกษาตามลัทธิขงจื้ออยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1917 จึงได้มีการเริ่มระบบการศึกษาแบบฝรั่งเศส แต่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษาเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่น

การศึกษาในเบื้องต้นมีเกรด 1 - 2 มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน Ecole Communale ใช้เรียกการศึกษาในทางตอนเหนือ Ecole Auxilier Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาทางตอนใต้ และ Ecole Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาในตอนกลางของประเทศ ในบางเมืองมีการศึกษาพื้นฐาน 6 ปี ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น ฮานอย ไฮฟอง และวิญ มีการศึกษาที่สูงกว่า ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 4 ปี และมีเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้นที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา คือ Ha Noi, Hue และ Saigon

ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพ (Professional Education) ขึ้น โดยมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่มีรูปแบบตะวันตก ในปี ค.ศ. 1902 มีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงฮานอย และมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาทางด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง ซึ่งมีระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี เน้นการฝึกอบรมทักษะในการทำงานกับเครื่องจักรกล สถาบันการศึกษาในระดับนี้เรียกว่า โรงเรียนฝึกวิชาชีพชั้นสอง จนกระทั่ง ค.ศ. 1919 จึงมีระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ เคมี จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1923 ได้เริ่มมีการจดทะเบียนผู้ที่ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

โดยทั่วไปแล้วระบบการศึกษาของประเทศเวียดนามภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ยังมีความจำกัดอยู่มาก โดยพบว่ามีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนประมาณรัอยละ 2.6 ของประชากรในวัยเรียนทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่มีประชากรทั้งหมด 17,702,000 คน ในปี ค.ศ. 1931

4. ระยะหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม (Period after August Revolution) : ค.ศ. 1945 - 1975

5. ระยะของการรวมประเทศ (Period of National Reunification) : ค.ศ. 1975 - ปัจจุบัน

การศึกษาของเวียดนามในปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ

1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education) ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี

2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3)

  • ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1 - 5
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6 - 9
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10 - 12

3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา

5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535 - 2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6

เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับประถมศึกษา (Law of Universal Primary Education) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการศึกษาของเวียดนาม

วัฒนธรรม

[แก้]

วัฒนธรรมของเวียดนามส่วนใหญ่ล้วนมีวัฒนธรรมที่มีรากฐานมาจากจีน และศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า

สื่อสารมวลชน

[แก้]

สื่อของเวียดนามได้รับการควบคุม โดยรัฐบาลตามกฎหมายปี 2004 ในการเผยแพร่ [31] โดยทั่วไปจะมองเห็นว่า ภาคสื่อของเวียดนามถูกควบคุม โดยรัฐบาลไปตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์ แม้ว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับจะค่อนข้างตรงไปตรงมา [32] เสียงของเวียดนามเป็นบริการกระจายเสียงทางวิทยุแห่งชาติที่รัฐ ออกอากาศผ่านทางเอฟเอ็มโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณให้เช่าในประเทศอื่น ๆ และการให้การออกอากาศจากเว็บไซต์ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม เป็นบริษัทวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

ตั้งแต่ปี 1997 เวียดนามมีการควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสาธารณะอย่างกว้างขวาง โดยใช้วิธีการทางกฎหมายและทางเทคนิค เพื่อล็อกผลจะเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "แบมบู ไฟร์วอลล์"[33] โครงการความร่วมมือโอเพ่นเน็ตริเริ่มจัดระดับของเวียดนามการเซ็นเซอร์ทางการเมืองจะเป็นการ "แพร่หลาย"[34] ในขณะที่ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเวียดนามพิจารณาให้เป็นหนึ่งใน 15 ของโลก "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต"[35] แม้ว่ารัฐบาลของเวียดนามอ้างว่าเพื่อป้องกันประเทศกับเนื้อหาลามกอนาจารหรือไม่เหมาะสมทางเพศผ่านความพยายามสกัดกั้นของหลายทางการเมืองและศาสนาเว็บไซต์ที่มีความสำคัญเป็นสิ่งต้องห้ามยัง[36]

ดนตรี

[แก้]

เพลงเวียดนามแบบดั้งเดิมแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ดนตรีคลาสสิกเหนือเป็นรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดของเวียดนามและเป็นประเพณีที่เป็นทางการมากขึ้น ต้นกำเนิดของดนตรีเวียดนามสามารถโยงไปถึงการรุกรานของมองโกลในศตวรรษที่ 13 เมื่อเวียดนามจับกุมคณะงิ้ว[37]

วรรณกรรม

[แก้]

วรรณกรรมในเวียดนาม มีมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โง มีการกล่าวเน้นเกี่ยวกับบรรพบุรุษหรือวีรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกไปด้วย

เทศกาล

[แก้]
ต้นไม้ของประเพณีตรุษญวน (ปีใหม่ทางจันทรคติ)

เวียดนามมีเทศกาลตามปฏิทินจันทรคติมากมาย เทศกาลที่สำคัญที่สุดคือการเฉลิมฉลองปีใหม่ตรุษญวน งานแต่งงานเวียดนามแบบดั้งเดิมยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและมักจะมีการเฉลิมฉลองโดยชาวเวียดนามในประเทศตะวันตก

เทศกาลเต๊ต (tết)
เป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด มีชื่อเต็มว่า "เต๊ตเงวียนด๊าน"(Tết Nguyên Đản) หมายความว่า เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี มีขึ้นระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื่อ และศาสนาพุทธ และเป็นการเคารพบรรพบุรุษ
เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บั๋นตรุงทู)(Bánh trung thu) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์

การท่องเที่ยว

[แก้]

การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศคิดเป็น 7.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เวียดนามต้อนรับผู้มาเยือนกว่า 12.9 ล้านคนในปี 2560 เพิ่มขึ้น 29.1% จากปีก่อนทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในปีที่ผ่านมา ผู้มาเยือนเวียดนามส่วนใหญ่ในปี 2560 มาจากเอเชียมีจำนวน 9.7 ล้านคน จีน (4 ล้านคน) เกาหลีใต้ (2.6 ล้านคน) และญี่ปุ่น (798,119) คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 2560 [285] เวียดนามยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากยุโรปด้วยจำนวน 1.9 ล้านคนในปี 2017 รัสเซีย (574,164) ), สหราชอาณาจักร (283,537), ตามมาด้วยฝรั่งเศส (255,396) และเยอรมนี (199,872) เป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่ใหญ่ที่สุด จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ (614,117) และออสเตรเลีย (370,438)

กีฬา

[แก้]
โววีนัม ศิลปะการต่อสู้แบบเวียดนาม

กีฬาที่ได้รับความนิยมมากในเวียดนามคือ กีฬาโววีนัม เป็นศิลปะการต่อสู้แบบเวียดนาม ในขณะเดียวกันกีฬาจากตะวันตกอย่างฟุตบอลก็ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวียดนาม ฟุตบอลทีมชาติเวียดนามชนะการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนสองสมัยในปี 2551 และ 2561 แบะผ่านเข้าถึงรอบก่องรองชนะเลิศเอเชียนคัพ 2019 ทีมเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 23 ปี คว้ารองแชมป์ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018 และคว้าอันดับสี่ในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ 2018 ในขณะที่ทีมรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ได้มีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2017[38][39] ฟุตบอลหญิงทีมชาติเวียดนาม มีผลงานโดดเด่นเช่นกัน โดยเป็นทีมที่คว้าเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ได้มากที่สุดจำนวน 7 สมัย

กีฬาอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ แบดมินตัน, เทนนิส, วอลเลย์บอล, เทเบิลเทนนิส และ หมากรุกสากล ปัจจุบันเวียดนามเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันทางด้านกีฬา จากการคว้าชัยชนะจากกีฬาหลายประเภท และมีส่วนร่วมในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน โดยเป็ยสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

อาหาร

[แก้]
เฝอ หนึ่งในอาหารเวียดนามยอดนิยม

อาหารในเวียดนามมีวัฒนธรรมอาหารที่มาจากจีน หรือประยุกต์มาจากอาหารแบบจีน โดยผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบเกษตรเวียดนาม ซึ่งเฝอเป็นอาหารยอดนิยมในเวียดนาม และโด่งดังในฐานะอาหารประจำชาติของประเทศเวียดนาม

การแต่งกาย

[แก้]

การแต่งกายอ๊าวส่าย (Áo dài) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัว สวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงาน และพิธีการสำคัญของประเทศ ชุดผู้หญิงคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมมากจากผู้หญิงเวียดนามทั่วทั้งประเทศ ส่วนผู้ชายจะสวมใส่ชุดอ๊าวส่ายด๋ในพิธีแต่งงานหรือพิธีศพ

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ทะเลจีนใต้ในเวียดนามเรียกว่าทะเลตะวันออก (Biển Đông)[10]
  1. รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกล่าวว่าภาษาเวียดนามเป็น "ภาษาประจำชาติ" มากกว่า "ภาษาทางการ"; ภาษาเวียดนามเป็นภาษาเดียวโดยพฤตินัยที่ใช้ในเอกสารราชการและกฎหมาย[1]
  2. มีอีกชื่อว่าชาวกิญ[2]
  3. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Constitution of the Socialist Republic of Vietnam". Vietnam News Agency. 15 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  2. Communist Party of Vietnam 2004.
  3. 3.0 3.1 General Statistics Office of Vietnam 2019.
  4. "2019 Report on International Religious Freedom: Vietnam". U.S. Department of State.
  5. Constitution of Vietnam 2014.
  6. "Thông cáo báo chí về tình hình kinh tế – xã hội quý IV và năm 2022". General Statistics Office of Vietnam.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 International Monetary Fund.
  8. World Bank 2018c.
  9. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2023.
  10. "China continues its plot in the East Sea". Vietnamnet News. 10 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  11. "Vietnam | History, Population, Map, Flag, Government, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  12. Editors, History com. "Vietnam War". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. Woods 2002, p. 38
  14. Yue-Hashimoto 1972, p. 1
  15. http://www.nhandan.com.vn/english/business/050707/business_p.htm
  16. "อมตะซิตี้ เบียนโฮ ทางเลือกใหม่ลงทุน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-07-02.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  18. http://thai.cri.cn/1/2007/12/05/21@114375.htm
  19. "เวียดปักธงสนามบิน $8 พันล้าน แข่งสุวรรณภูมิ (ผู้จัดการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-04. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  20. "Under South Vietnam Rule" เก็บถาวร 2012-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. MHRO.org. 2010. Retrieved 21 April 2012.
  21. World Directory of Minorities and Indigenous Peoples – Vietnam: Chinese (Hoa).UNHCR Refworld. Retrieved 12 February 2013.
  22. Vietnam (08/08). U.S. Department of State. Retrieved 12 February 2013.
  23. หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6 คอลัมน์ หน้าต่างความจริง วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10620
  24. [1] Religion in Vietnam
  25. "Background Note: Vietnam". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  26. "The Largest Buddhist Communities" เก็บถาวร 2010-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Adherents.com. Retrieved 9 July 2013. This source quotes a much lower figure than the 85% quoted by the US Department of State.
  27. "Vietnam". APEC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  28. "Vietnam". Encyclopedia of the Nations. 14 August 2007. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  29. "Religion of the Vietnamese". Mertsahinoglu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-13. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  30. "Vietnam: International Religious Freedom Report 2007". U.S. Department of State: Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. 14 September 2007. สืบค้นเมื่อ 21 January 2008.
  31. "Law on Publication (No. 30/2004/QH11 of 3 December 2004)". Ministry of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-18. สืบค้นเมื่อ 21 September 2011.
  32. "Muting the Messengers: Vietnam's Press Under Pressure". The Economist. London. 15 January 2009. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
  33. Wilkey, Robert N (2002). "Vietnam's Antitrust Legislation and Subscription to E-ASEAN: An End to the Bamboo Firewall Over Internet Regulation?". John Marshall Journal of Computer and Information Law. 20 (4). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-20.
  34. OpenNet Initiative (9 May 2007). "Country Profile: Vietnam". สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  35. Reporters Without Borders. "Internet Enemies: Vietnam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 15 July 2008. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  36. "OpenNet Initiative Vietnam Report: University Research Team Finds an Increase in Internet Censorship in Vietnam". Berkman Center for Internet & Society at Harvard University. 5 August 2006. สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  37. "Opera—Vietnam". Encyclopedia of Modern Asia. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012 – โดยทาง BookRags.com.
  38. "Feature: Football mania spreads after Vietnam makes history at Asiad - Xinhua | English.news.cn". web.archive.org. 2018-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-07-18. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  39. Rick, August. "How Vietnamese Soccer Upset The Odds That China Is Banking On". Forbes (ภาษาอังกฤษ).

อ่านเพิ่ม

[แก้]

สิ่งพิมพ์

[แก้]

ข้อมูลกฎหมายและรัฐบาล

[แก้]

การเผยแพร่ทางวิชาการ

[แก้]