เขตคลองสามวา
เขตคลองสามวา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Khlong Sam Wa |
ฝูงม้าลายในซาฟารีเวิลด์ | |
คำขวัญ: เมืองงามน้ำใส ท่องเที่ยวเพลินใจ แหล่งยิ่งใหญ่วัฒนธรรม | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคลองสามวา | |
พิกัด: 13°51′35″N 100°42′15″E / 13.85972°N 100.70417°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 110.686 ตร.กม. (42.736 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 212,016[1] คน |
• ความหนาแน่น | 1,915.47 คน/ตร.กม. (4,961.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10510 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1046 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 111 ถนนเลียบคลองสอง แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510 |
เว็บไซต์ | www |
คลองสามวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนดั้งเดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตคลองสามวาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานชื่อว่า "เมืองมีนบุรี"[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี
ใน พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง
ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้ โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[9] เขตสายไหม[10] เขตคันนายาว[10] เขตสะพานสูง[10] และเขตวังทองหลาง[11]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
สามวาตะวันตก | Sam Wa Tawan Tok | 24.249 |
62,864 | 2,592.44 | |
2. |
สามวาตะวันออก | Sam Wa Tawan Ok | 40.574 |
27,025 | 666.07 | |
3. |
บางชัน | Bang Chan | 18.644 |
91,058 | 4,884.04 | |
4. |
ทรายกองดิน | Sai Kong Din | 11.396 |
13,401 | 1,175.94 | |
5. |
ทรายกองดินใต้ | Sai Kong Din Tai | 15.823 |
17,668 | 1,116.60 | |
ทั้งหมด | 110.686 |
212,016 | 1,915.47 |
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองสามวา[12] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2540 | 73,640 | แบ่งเขต |
2541 | 82,445 | +8,805 |
2542 | 88,957 | +6,512 |
2543 | 95,481 | +6,524 |
2544 | 102,601 | +7,120 |
2545 | 109,156 | +6,555 |
2546 | 117,060 | +7,904 |
2547 | 124,474 | +7,414 |
2548 | 132,172 | +7,698 |
2549 | 138,962 | +6,790 |
2550 | 144,413 | +5,451 |
2551 | 149,776 | +5,363 |
2552 | 154,766 | +4,990 |
2553 | 160,480 | +5,714 |
2554 | 165,352 | +4,872 |
2555 | 169,729 | +4,377 |
2556 | 174,197 | +4,468 |
2557 | 178,958 | +4,761 |
2558 | 184,306 | +5,348 |
2559 | 189,507 | +5,201 |
2560 | 193,930 | +4,423 |
2561 | 198,019 | +4,089 |
2562 | 202,094 | +4,075 |
2563 | 204,900 | +2,806 |
2564 | 206,437 | +1,537 |
2565 | 209,120 | +2,683 |
2566 | 212,016 | +2,896 |
การคมนาคม
[แก้]ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) ตั้งแต่คลองคู้บอนจนถึงคลองบึงชุมเห็ด และ ตั้งแต่คลองพระยาสุเรนทร์จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนนิมิตใหม่ ตั้งแต่ซอยนิมิตรใหม่ 16 จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนหทัยราษฎร์ ตั่งแต่ซอยหทัยราษฎร์ 29 จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) ตั้งแต่คลองพระยาสุเรนทร์ 1 จนถึงซอยพระยาสุเรนทร์ 50
- ถนนคู้บอน ตั้งแต่คลองคู้บอนจนถึงแยกพระยาสุเรนทร์
- ถนนเลียบคลองสอง ตั้งแต่แยกพระยาสุเรนทร์จนถึงแยกหทัยราษฎร์
- ถนนปัญญาอินทรา ตั้งแต่คลองบางชันจนถึงคลองสามวาตะวันตก
- ถนนไมตรีจิต ตั้งแต่แยกไมตรีจิตจนถึงคลองเก้า
- ถนนประชาร่วมใจ ตั้งแต่คลองพระราชดำริ 1 จนถึงคลองลัดตาเตี้ย
- ทางพิเศษฉลองรัช ตั้งแต่คลองพระยาสุเรนทร์จนถึงทางแยกต่างระดับจตุรโชติ
ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน
สถานที่สำคัญ
[แก้]โรงเรียน
[แก้]- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
- โรงเรียนสาธิตพัฒนา
- โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์
- โรงเรียนโสมาภาพัฒนา
- โรงเรียนวัดแป้นทอง
- โรงเรียนขุมทองวิทยา
- โรงเรียนประชาราษฎร์อุปภ์วิทยา
- โรงเรียนวัดสุขใจ
- โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
- โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
- โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่
- โรงเรียนวัดลำกะดาน
- โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
- โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
- โรงเรียนนีรชาศึกษา สังกัด สช.
- โรงเรียนโชคชัยหทัยราษฎร์
วิทยาลัย
[แก้]- วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเจริญพัฒนาบริหารธุรกิจ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีนีรชาบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- ซาฟารีเวิลด์
- บางกอกฟาร์ม
- มัสยิดมาลุลอิสลาม
- มารีนปาร์ค
- วัดแป้นทองโสภาราม
- วัดพระยาสุเรนทร์
- วัดลำกะดาน
- วัดสัมมาชัญญาวาส (วัดใหม่)
- สถาบันพุทธศาสนาเถรวาท-มหายาน (โฝวกวงซัน)
- แหล่งเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 สำนักงานเขตมีนบุรี. ความเป็นมาของเขตมีนบุรี. เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงนครบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (23): 464. 7 กันยายน 2445.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (46 ง): 1239–1241. 15 พฤษภาคม 2505.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลมีนบุรี จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (38 ง): 1199–1200. 23 เมษายน 2506.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี และตั้งเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 25–30. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและตั้งเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 2–5. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. 18 พฤศจิกายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-11-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้งเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 20–24. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.