ข้ามไปเนื้อหา

ถนนพระรามที่ 4

พิกัด: 13°43′49″N 100°32′07″E / 13.730276°N 100.535309°E / 13.730276; 100.535309
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนพระรามที่ 4
ถนนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว9.400 กิโลเมตร (5.841 ไมล์)
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออก ถนนสุขุมวิท ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ถนนพระรามที่ 4 (อักษรโรมัน: Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท

ประวัติ

[แก้]

ถนนพระรามที่ 4 เดิมเรียกว่า ถนนตรง และ ถนนหัวลำโพง (นอก) เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2400 เนื่องจากกงสุลอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสได้เข้าชื่อกัน พร้อมทั้งนายห้างต่างประเทศ ขอร้องรัฐบาลสยามว่า เรือลูกค้าที่ขึ้นมาค้าขายถึงกรุงเทพมหานครมีระยะทางไกล ถึงหน้าน้ำน้ำเชี่ยวมาก กว่าจะเดินทางถึงกรุงเทพมหานครก็ใช้เวลาหลายวัน จะขอไปตั้งห้างซื้อขายใต้ปากคลองพระโขนง ตลอดถึงบางนา และขอให้รัฐบาลขุดคลองลัดตั้งแต่บางนามาตลอดถึงคลองผดุงกรุงเกษม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค ต่อมาคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์) ที่พระคลัง จ้างกรรมกรจีนขุดคลอง ตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบ ตัดทุ่งลงไปถึงคลองพระโขนง และตัดคลองพระโขนงออกไปทะลุแม่น้ำใหญ่ แล้วเอามูลดินมาถมเป็นถนนฝั่งเหนือตลอดลำคลอง พระราชทานชื่อว่าคลองถนนตรง ครั้นขุดคลองแล้วชาวยุโรปก็ไม่ได้ลงไปอยู่ที่บางนาโดยอ้างว่าไกล คลองถนนตรงนี้ชาวบ้านเรียกว่า คลองวัวลำพอง และเรียกถนนว่าถนนวัวลำพองหรือหัวลำโพงตามชื่อทุ่งนาที่ถนนและคลองตัดผ่าน

ต่อมาได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ชาวบ้านเรียกกันว่าสะพานวัวลำพอง ถนนตรงเป็นถนนสายแรกในรัชกาลที่ 4 เป็นถนนเส้นตรงมีระยะทางไกล และมีพระบรมราชโองการให้เรียกทางที่ริมคลองนี้ว่า ทางถนนตรง ต่อมา ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนหัวลำโพง (นอก) ตั้งแต่ถนนเจริญกรุงถึงถนนหลวงสุนทรโกษา เป็น ถนนพระรามที่ 4 ทั้งนี้ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระราชวงศ์จักรีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยนำมูลดินจากการขุดคลองลัดจากคลองผดุงกรุงเกษมไปถึงคลองเตยมาสร้างขึ้น

นอกจากนี้ถนนพระรามที่ 4 ในอดีตยังเป็นต้นสายของทางรถไฟสายปากน้ำ สถานีต้นสายชื่อว่าสถานีหัวลำโพง (ไม่ใช่สถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบันแต่ตั้งอยู่กลางถนนพระราม 4 หน้าโรงแรมสยามซิตี้ ส่วนสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบันในอดีตชื่อสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อยกเลิกทางรถไฟสายปากน้ำคนทั่วไป จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพงตามความเคยชินและติดปากของประชาชน) โดยรางรถไฟสายนี้วางขนานกับคลองหัวลำโพงมีทางรถไฟอยู่ตรงกลางระหว่างคลองหัวลำโพงกับถนนพระรามที่ 4 ซึ่งรางรถไฟอยู่ฝั่งโรงแรมสยามซิตี้ ตั้งแต่แยกมหาพฤฒารามมาตามถนนพระรามที่ 4 จนข้ามคลองพระโขนง (คลองแสนแสบ)จึงขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่เมืองสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นให้ความสำคัญในการเดินทางและขนส่งโดยใช้รถยนต์มากกว่า ในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้ยกเลิกทางรถไฟสายนี้พร้อมกับถมคลองหัวลำโพงช่วงตั้งแต่คลองผดุงกรุงเกษมจนถึงตลาดคลองเตยทิ้ง เพื่อทำการขยายถนนถนนพระราม 4 ทำให้เขตทางของถนนพระรามที่ 4 กว้างขวางดังเช่นในปัจจุบัน และคลองหัวลำโพงบางส่วนที่ไม่ได้ถมตั้งแต่ตลาดคลองเตยไปจนถึงคลองพระโขนงปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นอยู่ แต่คนทั่วไปนิยมเรียกคลองหัวลำโพงในส่วนนี้ว่า คลองเตย ส่วนเขตทางรถไฟสายปากน้ำตั้งแต่แยกมหาพฤฒารามถึงตลาดคลองเตยเป็นส่วนของถนนพระรามที่ 4 ส่วนตั้งแต่ตลาดคลองเตยจนตัดกับถนนสุขุมวิท ถมเป็นถนนใช้ชื่อว่าถนนทางรถไฟสายเก่า

อนึ่ง ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองในกรุงเทพมหานครถึง 3 ช่วง ดังนี้

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ถนนพระรามที่ 4 ทิศทาง: แยกหมอมี – พระโขนง
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
พระรามที่ 4 (แยกหมอมี – พระโขนง)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกหมอมี เชื่อมต่อจาก: ถนนเจริญกรุง
0+387 แยกไมตรีจิตต์ ไม่มี ถนนมิตรภาพไทย-จีน (ตรีมิตร) ไปวงเวียนโอเดียน
เชื่อมต่อจาก: ถนนไมตรีจิตต์ จากวงเวียน 22 กรกฎาคม
เชื่อมต่อจาก: ถนนกรุงเกษม จากแยกนพวงศ์
0+439 แยกหัวลำโพง ถนนรองเมือง ไปถนนเจริญเมือง ถนนมหาพฤฒาราม ไปถนนสีพระยา, ถนนเจริญกรุง
ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง-แจ้งวัฒนะ ไม่มี
0+852 แยกมหานคร ถนนจารุเมือง ไปถนนพระรามที่ 1 ถนนมหานคร ไปถนนสี่พระยา, ถนนสีลม ,ถนนสาทร
1+140 แยกสะพานเหลือง ถนนบรรทัดทอง ไปถนนพระรามที่ 1, ถนนเพชรบุรี ทางพิเศษศรีรัช ไปบางนา-ดาวคะนอง
1+980 แยกสามย่าน ถนนพญาไท ไปถนนเพชรบุรี, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนสี่พระยา ไปถนนทรัพย์, ถนนนเรศ
2+660 แยกอังรีดูนังต์ ถนนอังรีดูนังต์ ไปถนนพระรามที่ 1 ถนนสุรวงศ์ ไปแยกสุรวงค์-นาราธิวาส
2+900 แยกศาลาแดง ถนนราชดำริ ไป ถนนพระรามที่ 1, ถนนเพชรบุรี, ถนนราชปรารภ ถนนสีลม ไปถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนเจริญกรุง
3+830 แยกวิทยุ ถนนวิทยุ ไปถนนเพลินจิต, ถนนเพชรบุรี ถนนสาทร ไปถนนนราธิวาสราชนครินทร์, ถนนเจริญกรุง
4+479 แยกใต้ทางด่วนพระรามที่ 4 ไม่มี ถนนเชื้อเพลิง ไปถนนพระรามที่ 3
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, แจ้งวัฒนะ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดาวคะนอง, บางนา
ถนนดวงพิทักษ์ ไปถนนสุขุมวิท ไม่มี
3+830 แยกคลองเตย ไม่มี ถนนสุนทรโกษา ไปถนนอาจณรงค์
5+540 แยกพระรามที่ 4 ถนนรัชดาภิเษก ไปถนนอโศกมนตรี ถนนพระรามที่ 3 ไปสะพานพระราม 3
5+940 ไม่มี ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำบรรจบกับถนนพระรามที่ 4
3+830 แยกเกษมราษฎร์ ไม่มี ถนนเกษมราษฎร์ ไปท่าเรือกรุงเทพ
6+770 แยกอารี ซอยสุขุมวิท 26 (อารี) ไปถนนสุขุมวิท ไม่มี
แยกมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซอยสุขุมวิท 40 (บ้านกล้วยใต้) ไปถนนสุขุมวิท ซอยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไปถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
8+430 แยกกล้วยน้ำไท ซอยสุขุมวิท 42 (กล้วยน้ำไท) ไปถนนสุขุมวิท ถนนกล้วยน้ำไท ไปท่าเรือกรุงเทพ
9+400 แยกพระโขนง ถนนสุขุมวิท ไปเอกมัย, ทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ไปบางนา, สมุทรปราการ, ชลบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

[แก้]

สถานีรถไฟ/สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

[แก้]

ศาล

[แก้]

ศาสนสถาน

[แก้]

ตลาด

[แก้]

ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า

[แก้]

อาคารสำนักงาน

[แก้]

สถานพยาบาล

[แก้]

สถาบันการศึกษา

[แก้]

พระบรมราชานุสาวรีย์/สวนสาธารณะ

[แก้]

วัง

[แก้]

หน่วยงานราชการ

[แก้]

สถานีโทรทัศน์

[แก้]

หมายเหตุ : เรียงจากหัวลำโพงถึงพระโขนง

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′49″N 100°32′07″E / 13.730276°N 100.535309°E / 13.730276; 100.535309