โรงเรียนทวีธาภิเศก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (ตุลาคม 2020) |
โรงเรียนทวีธาภิเศก | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ข้อมูล | |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้อำนวยการ | ![]() |
ระดับชั้น | ม.1 - ม.6 |
ภาษา | ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ห้องเรียน | 60 ห้องเรียน |
พื้นที่ | 11 ไร่ 3 งาน 3 ตารางวา |
สี | เขียว–ขาว |
เพลง | มาร์ชทวีธาภิเศก |
เว็บไซต์ | http://www.taweethapisek.ac.th/ |
โรงเรียนทวีธาภิเศก (อังกฤษ: Taweethapisek School) (อักษรย่อ : ท.ภ. / T.P.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 มีพื้นที่ 11 ไร่ ใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีอิสรภาพ โรงเรียนทวีธาภิเศกก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนทวีธาภิเศกเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดธนบุรี(โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัดธนบุรีคือ โรงเรียนศึกษานารี) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา
โดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามที่ได้เปิดทำการสอนอยู่ แล้ว ณ ศาลาต้นจันทน์ ภายในวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพชร) เป็นครูใหญ่ ทำการสอนตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีจำนวน 5 ห้องเรียนคือชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 ก และชั้น 4 ข มีนักเรียนทั้งสิ้น 162 คน ครู 6 คน ต่อมาได้เกิดไหม้บ้านชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดแล้วลุกลามมาถึงกุฏิภายในวัด เกือบไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องเสด็จมาทรงบัญชาการดับไฟ เพราะทรงเกรงว่าไฟจะลุกลามไหม้ไปถึงพระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสรีรางคารของสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้าของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่ากระทรวงธรรมการ ได้จัดการเรียนการสอนบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวรารามอยู่แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษก ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2438
ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือโรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิมมาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก โดยทรงมีพระราชปรารภในการสร้างโรงเรียนว่า
"กุฎีแถวเหล่านี้ไม่มีประโยชน์แล้ว ทิ้งไว้ก็สำหรับจะทรุดโทรมไปเท่านั้น ควรแปลงให้เปนโรงเรียนสำหรับอารามนี้สักแห่งหนึ่ง"
แต่ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้สิ้นพระชนม์ก่อนที่อาคารจะเสร็จ จึงโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดารับเป็นแม่กอง และต่อมาได้โปรดเกล้าให้พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นแม่กอง จนการก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ 2445
เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 33,484 บาท 30 อัฐ อาทิ
- สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นเงิน 2,560 บาท (32 ชั่ง)
- สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นเงิน 2,560 บาท
ในปี พ.ศ. 2445 เมื่อการก่อสร้างโรงเรียนเสร็จสมบูรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้จัดพิธีฉลองอาคารนี้รวม 2 วัน และได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง และในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และทรงเสด็จมาเยี่ยมโรงเรียนมีนักเรียนเข้าแถวรับเสด็จ 150 คน โดยมีพระครูธรรมรักขิต ครูใหญ่ท่านแรกอ่านคำโคลงยอพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน
ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลางวรวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปีพ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวราราม กรมสามัญศึกษาได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษาชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก
ในปี พ.ศ. 2512 นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดย พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ซึ่งก็คือ อาคาร 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน
ระบบการเรียน[แก้]
- แบบห้องเรียนประจำ
- ชั้นม.ปลาย เรียนแบบเดินเรียนบางห้อง
สถานที่สำคัญในโรงเรียน[แก้]
อาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา[แก้]
- ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2512-2515 โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ประกอบไปด้วย ห้องเรียน 14 ห้องเรียน ห้องเรียนชั้นม.1-2 ห้องกิจกรรมรักษาดินแดน ห้องลูกเสือ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องไร้พรมแดน ห้องพัสดุ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องรีซอต์ส เซ็นเตอร์ ร้านสวัสดิการร้านค้า และโรงอาหาร
อาคารสุรชัยรณรงค์[แก้]
- ตั้งชื่อตามนามบรรดาศักดิ์ของขุนสุรชัยรณรงค์ ก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 ประกอบไปด้วย ห้องฝ่ายบริหาร ห้องสมุดอาทร สังขะวัฒนะ คลินิกหมอภาษา ห้องแนะแนว ห้องเรียนสังคมศึกษา ห้องเรียนภาษาไทย ห้องคอมพิวเตอร์นวมินทรานุสรณ์ ห้องเรียน MEP ห้องเรียนชั้น ม.2-3 ศูนย์ปฏิบัติธรรมเทพสิทธินายก ห้องเรียน
อาคารปราบปรปักษ์[แก้]
- ตั้งชื่อตามพระนามกรมของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ประกอบไปด้วย แผนกช่าง ห้องศิลปะ ห้องดนตรีไทย ห้องนาฏศิลป์ ห้องวงโยธวาทิต ห้องการงานอาชีพ และโรงยิมเนเซียม
อาคารเทพสิทธินายก[แก้]
- ตั้งชื่อตามนามสมณศักดิ์ของพระเทพสิทธินายก (เหรียง อินฺทสโร) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523-2525 ประกอบไปด้วย ห้องเพชรดอกแก้ว (ห้องโสตทัศนศึกษา) และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงห้องเรียนพิเศษ SMTE ห้องเรียนพิเศษ MEP-Sci ห้องเรียนต้นแบบการประหยัดพลังงาน ห้องเรียนคณิตศาสตร์ และห้องเรียนการงานอาชีพ
อาคารหอประชุมพลเอก สุจินดา คราประยูร[แก้]
- ตั้งชื่อตามนามของพลเอกสุจินดา คราประยูร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 ประกอบไปด้วย ห้องฝ่ายบริหาร ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ และหอประชุม พลเอก สุจินดา คราประยูร ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคาร
อาคาร 100 ปี ทวีธาภิเศก โดย พลเอก สุจินดา คราประยูร[แก้]
- ชั้นล่างเป็นธนาคารโรงเรียน
- พิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก
เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เป็นอาคาร 4 ชั้น (พิพิธภัณฑ์อยู่ชั้น 2) ติดกับตึก 3 ตึกเอนกประสงค์ ภายในแสดงวัตถุประเภทครุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และของใช้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้แก่โรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยว เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้โรงเรียน ด้านบนประดิษฐานพระจุลมงกุฎจำหลักไม้ที่ประณีตงดงามมาก ตู้พระราชทาน และโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน เป็นต้น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]
ได้อัญเชิญจากโรงหล่อส่วนปฏิมากรรม กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยผู้อำนวยการสุธน จุลโมกข์, พ.ต.อ. (พิเศษ) พลวุฒิ วิเศษสงวน นายกสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก พล.ร.ท. ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์ อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าทวีธาภิเศก โดยผ่านทางถนนปิ่นเกล้านครไชยศรี ขึ้นสะพานลอยฟ้าคู่ขนาน ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า มุ่งหน้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วผ่านลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นที่สุดท้าย เพื่อเป็นความเป็นศิริมงคล ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ข้างอาคารพิพิธภัณฑ์ (อาคาร 100ปี ทวีธาภิเศก) โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นประธานในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
- พระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคล
เป็นพระพุทธรูปโบราณปางห้ามสมุทร อายุกว่า 200 ปี ทรงเครื่องใหญ่แบบสกุลช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ใน ปี พ.ศ. 2536 สมัยนายกนก จันทร์ขจร เป็นผู้อำนวยการ
- พระพุทธทวีธาภิเศกสิริมงคล[2]
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธศิลปแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ โดยได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไว้สำหรับเป็นที่สักการะประจำโรงเรียน เช่นเดียวกับที่โรงเรียนอื่น ๆ ทั่วไป โดยใช้ชื่อเดียวกับพระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคลองค์แรก ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ซุ้มพระพุทธรูปใกล้ประตูทางเข้าโรงเรียน เป็นพระพุทธรูปที่ครูอาจารย์ นักเรียนและผู้ปกครองจำนวนมากเคารพกราบไหว้ โดยเฉพาะในช่วงสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับชั้น ม. 1 และม. 4 ของทุกปี เมื่อเข้ามาในโรงเรียนผ่านประตูมองไปทางซ้าย ก็จะได้เห็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามองค์นี้ ประดิษฐานอยู่อย่างสงบภายใต้เงาไม้ที่ดูร่มรื่น
- พ่อขุนสุรชัยรณรงค์[3]
ในอดีตท่านรับราชการ เป็นทหารในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ระหว่าง พ.ศ. 2325 (ร.ศ.1) ปีขาล ถึง พ.ศ. 2352 (ร.ศ.28) ปีมะโรง ดำรงตำแหน่งเป็นนายกองเสือป่าแมวเซา ได้รับพระราชทานพำนักเป็นการถาวรที่วัดนาคกลาง ใกล้กับที่ตั้งปัจจุบันของโรงเรียน โดยมีหน้าที่ดูแลด่านตั้งแต่กรุงเทพ ฯ - ด่านพระเจดีย์สามองค์ โดยท่านได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณวัดนาคกลาง อันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ในส่วนของรูปปั้นนั้นสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2508
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก[แก้]
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | ขุนอุปการศิลปะเศรฐ | พ.ศ. 2441 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2450 (ประมาณ 9 ปี) |
2 | นายพร้อม | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2454 (ประมาณ 3 ปี) |
3 | พระบรรเจิดวิชาชาญ (ชม บุณยาคม) | พ.ศ. 2454 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 (ไม่ถึง 1 ปี) |
4 | ขุนดรุณวิทย์วรเสษฐ (ยง ศิลปคุปต์) | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2459 (4 ปี 353 วัน) |
5 | ขุนวิสิษฐ์ดรุณกาล (บุบผา พลายสุต) | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – มิถุนายน พ.ศ. 2492 (ประมาณ 32 ปี) |
6 | นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 – 30 กันยายน พ.ศ. 2508 (16 ปี 90 วัน) |
7 | นายเรวัต ชื่นสำราญ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (8 ปี 242 วัน) |
8 | นายสำเริง นิลประดิษฐ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2522 (4 ปี 364 วัน) |
9 | นายจงกล เมธาจารย์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (5 ปี 32 วัน) |
10 | นายสุชาติ ไชยมะโน | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (3 ปี 238 วัน) |
11 | นายสำราญ รัตนวิทย์ | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532 (1 ปี 93 วัน) |
12 | นายกนก จันทร์ขจร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2538 (5 ปี 364 วัน) |
13 | นายประสาร อุตมางคบวร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 30 กันยายน พ.ศ. 2541 (2 ปี 364 วัน) |
14 | นายสุธน จุลโมกข์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2544 (2 ปี 365 วัน) |
15 | นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547 (2 ปี 364 วัน) |
16 | นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (4 ปี 28 วัน) |
17 | นางสุมนมาศ วุฒิสง่าธรรม | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553 (1 ปี 335 วัน) |
18 | นายสมเกียรติ เจริญฉิม | 26 มกราคม พ.ศ. 2554 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (2 ปี 299 วัน) |
19 | นายชัยอนันต์ แก่นดี | 23 มกราคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (0 ปี 288 วัน) |
20 | นายชัยสิทธิ์ ดอนท้วม | 9 มกราคม พ.ศ. 2558 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (1 ปี 291 วัน) |
21 | นายณรงค์ คงสมปราชญ์ | 25 มกราคม พ.ศ. 2560 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (2 ปี 301 วัน) |
22 | นายประจวบ อินทรโชติ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน (1 ปี 61 วัน) |
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
ศิษย์เก่าเกียรติยศ[แก้]
- ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 12 อดีตประธานศาลฎีกา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 19 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอตีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย
- นายอาทร สังขะวัฒนะ อดีตประธานสภาหอการค้าไทย
- อำนวย สุวรรณคีรี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา
- ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
บุคคลสำคัญระดับประเทศ[แก้]
- พล.อ.มังกร พรหมโยธี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอตีตรองผู้บัญชาการทหารบก
- รองอำมาตย์เอก หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตสมาชิกคณะราษฎร สายพลเรือน
- จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ประเภทที่ 2 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
- พล.ร.อ.กวี สิงหะ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกสมาชิกวุฒิสภา และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พล.อ.ปรีชา โรจนเสน อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
- พล.อ.ไสว ไสวแสนยากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตแม่ทัพภาคที่ 2
- พล.อ.จิระศักดิ์ วัฒนาวงศ์ อดีตที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ดร.มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
- ภูมิธรรม เวชยชัย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- วิชัย ศรีขวัญ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมการปกครอง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท, ลพบุรี และเชียงใหม่
- ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน
- พล.อ.สุชาติ หนองบัว อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- ศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 และอดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง
- ร.ต.ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์ อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
- ธนาคม จงจิระ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และนครสวรรค์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง
- สุวิทย์ สาสนพิจิตร์ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
ทหาร/ตำรวจ[แก้]
- พล.ร.อ.ฉกรรจ์ สุวรรณเสนีย์ อดีตรองเสนาธิการทหารเรือ
- พล.อ.อ.จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล
- พล.ร.ท.เชษฐ์ โกมลฐิติ อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
- พล.ต.ต.จตุรงค์ ภุมรินทร์ อดีตผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- พล.อ.ทลวงรณ วรชาติ อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
- พล.อ.วัชระ นิตยสุทธิ์ อดีตรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
- พล.อ.ธนา จารุวัต อดีตแม่ทัพน้อยที่ 3 และผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
นักการเมือง[แก้]
- ธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร
- พล.อ.โปฎก บุนนาค อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- รังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และแกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- นภาพล จีระกุล อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย และบิดาของโฟกัส จีระกุล นักแสดง
- วิรัช คงคาเขตร อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่
- ผศ.ดร.ประแสง มงคลศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย จังหวัดอุทัยธานี
- เฉลิมชัย โถน้อย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี
ข้าราชการ[แก้]
- ศ.ดร.เกษม จันทร์แก้ว อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- เทวัญ วิชิตะกุล อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์
- สมชาย พูลสวัสดิ์ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต
- ชาติชาย กริชชาญชัย อดีตอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6
- ปรีชา กมลบุตร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร, เชียงราย, พระนครศรีอยุธยา และนครนายก
- วันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และอุทัยธานี
- ดร.อำรุง จันทวานิช อดีตเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ
นักธุรกิจ[แก้]
- มนต์ชัย เดโชจรัสศรี Chief Retail Business Officer บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)-
- วิทย์ ศศลักษณานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี เอส ดี คอนสตรัคชั่น 2011 จำกัด
- โยธิน ตันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศิริไพบูลย์ พัฒนาการ จำกัด
- พิชัย จันทรเตมีย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชทรีสปอร์ต จำกัด
- ศิวะพร ชมสุวรรณ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท
นักวิชาการ[แก้]
- รศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ อดีตรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศ.ดร.โสภณ เริงสำราญ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และอดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ปี 2546 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้วยวัยเพียง 35 ปี
- ผศ.ดร.ศราวุฒิ จิตรภักดี รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ปี 2546 และอาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผศ.ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2548 และนักวิจัยประจำศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาของฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ศ.ดร.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเป็นหนึ่งในกลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
- รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
- นพ.นคร มธุรดาวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิลปิน นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับ นักเขียน[แก้]
- เสวกโท จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) หนึ่งในผู้ประพันธ์เพลงรำวงมาตรฐาน เพลงปลุกใจ และเป็นนักแสดง
- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กวีซีไรต์ปี 2523 และศิลปินแห่งชาติปี 2536 สาขาวรรณศิลป์
- ชิน ฝ้ายเทศ หรือ ชินกร ไกรลาศ นักร้องลูกทุ่ง และศิลปินแห่งชาติปี 2542 สาขาศิลปะการแสดง
- นิวัติ กองเพียร นักเขียน นักวิจารณ์ศิลปะ
- ยอดชาย เมฆสุวรรณ ดารา นักแสดง
- ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ดารา นักร้อง
- ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา นักร้อง นักแสดง
- ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ ดารา นักแสดง พิธีกร และผู้บริหารบริษัทกันตนา
- สมพล ปิยะพงศ์สิริ นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร
- ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ ดารา นักแสดง พิธีกร
- องอาจ สิงห์ลำพอง ผู้กำกับโฆษณา และภาพยนตร์
- วิชัย จงประสิทธิพร ดารา นักแสดง
- อธิชาติ ชุมนานนท์ ดารา นักแสดง
- โชคชัย บุญวรเมธี ดารา นักแสดง
- จตุโชค วิริยะพงศ์ชัย นักร้อง นักแสดง อดีตสมาชิกวงบี-มิกซ์
- ศานติ สุศันสนีย์ หรือ ดีเจโตโต้ นักจัดรายการวิทยุ
- สุรชัย กิจเกษมสิน หรือ เล็ก วงพราว ศิลปิน นักดนตรี
- ธีมะ กาญจนไพริน หรือ ดีเจจั๊ด นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร
- ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน
- กิตติพล เลิศจารุโชคขจร ผู้ชนะเลิศการประกวด ดัชชี่บอย สาขาการแสดง ปี 2009
- นิธิดล ป้อมสุวรรณ ดารา นักแสดง
- จิรัชยา ศิริมงคลนาวิน ผู้ชนะเลิศการประกวด มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส ปี 2016 และ มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน ปี 2016
- สิตางศุ์ บัวทอง นักแสดง
- นรินทร์โชติ วชิรธรนิยมกุล นักแสดง ผู้กำกับ
ด้านกีฬา[แก้]
- สมเจตน์ นักร้อง อดีตผู้จัดการสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด
- มนูญ ไตรรัตน์ อดีตนายกสมาคมกีฬาไทย
- ทองหล่อ ไตรรัตน์ ผู้ฝึกสอนกีฬากระบี่กระบอง
- วสวัตติ์ สมแสวง นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย
- รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- พัทยา เปี่ยมคุ้ม อดีตนักฟุตซอลทีมชาติไทย และอดีตผู้ฝึกสอนฟุตซอลทีมชาติไทย
- ชนัตถา ธนฤกษ์ชัย อดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย ผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยปัจจุบัน
- นาชา ปั้นทอง นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย
- อัจถพันธ์ ขันติวรบท นักกีฬาเทควันโดเยาวชนทีมชาติไทย (ปัจจุบันศึกษา ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- ธีระ รุ่งเรืองทวีพงศ์ นักกีฬาหมากล้อมทีมชาติไทย
- ตรัยพัทธ์ วุฒิบวรนันท์ นักกีฬาหมากล้อมทีมชาติไทย
ด้านผู้นำองค์การนิสิต/นักศึกษา[แก้]
- ดนัยวัฒน์ จิตวิศรุตกุล อุปนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2553, (ศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- รักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2554 (ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
โรงเรียนในเครือ[แก้]
โรงเรียนคู่พัฒนา[4][แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- โรงเรียนทวีธาภิเศก ที่เฟซบุ๊ก
- โรงเรียนทวีธาภิเศก ที่ทวิตเตอร์
- ช่องโรงเรียนทวีธาภิเศกในยูทูบ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนทวีธาภิเศก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′43″N 100°28′58″E / 13.745253°N 100.482700°E
|
|
|
|
|
|
|
- บทความที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ ตั้งแต่ ตุลาคม 2020
- บทความทั้งหมดที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ
- Pages using deprecated image syntax
- เว็บไซต์อย่างต์ทางการในวิกิสนเทศและวิกิพีเดียแตกต่างกัน
- เขตบางกอกใหญ่
- สหวิทยาเขตพระราชวังเดิม
- โรงเรียนที่สร้างขึ้นเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 5
- โรงเรียนที่มีอายุเกิน 100 ปีในประเทศไทย
- โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง
- โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนชายในประเทศไทย
- โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
- โรงเรียนมาตรฐานสากล
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2438
- หน้าที่มีแผนที่