ศิลปะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศิลปะ หมายถึงช่วงกว้าง ๆ ของสิ่งซึ่งเป็นหรือเป็นผลผลิตจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ความคิด เพื่อแสดงออกซึ่งฝีมือ, สุนทรีย์, อำนาจทางอารมณ์, หรือแนวคิด[1][2][3]

โดยทั่วไปถือกันว่าไม่มีคำนิยามร่วมว่าอะไรทำให้สิ่งหนึ่งเป็นศิลปะ[4][5][6] และแนวคิดต่อศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา โดยทัศนศิลป์ประกอบด้วยสามสาขาดั้งเดิม ได้แก่ จิตรกรรม, ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม[7] การละคร, การร่ายรำ, และศิลปะการแสดงอื่น ๆ รวมถึงวรรณกรรม, ดนตรี, ภาพยนตร์ และสื่ออื่น ๆ อย่างภาพถ่ายและสื่ออินเทอร์แอกทีฟล้วนเป็นส่วนหนึ่งในความหมายกว้างของบรรดาศิลปะ[1][8]

ธรรมชาติของศิลปะและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการตีความศิลปะ ปรากฏศึกษาในอีกศาสตร์หนึ่งทางปรัชญาที่เรียกว่า สุนทรียศาสตร์[9] สำหรับงานศิลปะนั้นมีการศึกษาอย่างเป็นระบบในสาขาวิทยาการของการวิจารณ์ศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลป์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Art: definition". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  2. "art". Merriam-Websters Dictionary.
  3. "CONCEPTUAL ART | Definition of CONCEPTUAL ART by Oxford Dictionary on Lexico.com also meaning of CONCEPTUAL ART". Lexico Dictionaries | English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
  4. Stephen Davies (1991). Definitions of Art. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9794-0.
  5. Robert Stecker (1997). Artworks: Definition, Meaning, Value. Pennsylvania State University Press. ISBN 978-0-271-01596-5.
  6. Noël Carroll, บ.ก. (2000). Theories of Art Today. University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-16354-9.
  7. Vasari, Giorgio (18 December 2007). The Lives of the Most Excellent Painters, Sculptors, and Architects. Random House Publishing Group. ISBN 9780307432391.
  8. "Art, n. 1". OED Online. December 2011. Oxford University Press. http://www.oed.com. (Accessed 26 February 2012.)
  9. W. E. Kennick, Art and Philosophy: Readings in Aesthetics. New York: St. Martin's Press, 1979, pp. xi–xiii. ISBN 0-312-05391-6.