โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม
ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม
รับผิดชอบ รอบรู้ สามัคคี มีวินัย
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32
คำขวัญวิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร)
ก่อตั้ง13 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (66 ปี 319 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
รหัส3107
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายวัชราบูรณ์ บุญชู
(2565-ปัจจุบัน)
ชั้นเรียนที่เปิดสอนมัธยมศึกษา
สีฟ้า - ขาว
เพลง[1]
มาร์ชโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม (เก่า 2500-2536) [2]
มาร์ชโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม (ใหม่ 2536-ปัจจุบัน)
เว็บไซต์www.pkc.ac.th

โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในบุรีรัมย์ ประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาตั้งอยู่ริม ถนนโชคชัย-เดชอุดม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อทีประมาณ 30 ไร่ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2500 โดยใช้ศาลาการเปรียญ ของวัดแจ้งเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว โดยมีนายกังวาล วิริยะโกศล ศึกษาธิการอำเภอประโคนชัย มารักษาการแทนครูใหญ่

ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ราษฎรได้ซื้อที่ดินมอบให้กับโรงเรียน จึงย้ายโรงเรียนจากวัดแจ้งมายังที่อยู่ ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2502 โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคมได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการ ค.ม.ช.รุ่น 8 ในปีงบประมาณ 2514 ปี พ.ศ. 2515 ได้ประกาศตั้งโรงเรียน สาขาที่อำเภอบ้านกรวด คือโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 และในปีการศึกษา 2519 กรมสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งให้ยุบโรงเรียนประโคนชัย ประถมศึกษาตอนปลาย (บ.ร.8)โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้ย้ายนักเรียน ครู-อาจารย์ มาอยู่รวมกันที่โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม ในปีการศึกษา2536 ได้ประกาศตั้ง โรงเรียนสาขา ชื่อโรงเรียน เมืองตลุง-พิทยาสรรพ์ โดยใช้สถานที่บ.ร.8 และในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้โรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ แยกออกไปจาก โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

1. นายกังวาล วิริยะโกศล

2. นายพีรพันธ์  ฉกรรจ์ศิลป์

3. นางชูจิตต์  พิทักษ์ผล          

4. นายสุพิชญ์  พิญญากูล       

5. นายดำรง  อโนภาส         

6. นายไสว  คงนันทะ          

7. นายชวนันต์  รัชตกุล          

8. นายวุฒิพงศ์  คงเสนา    

9. นายเปี่ยม  ศรีมิตรานนท์     

10. นายวิฑูรย์  เชาวน์ศิริ         

11. นายพิทยา  ไชยมงคล     

12. นายสราวุธ  ทรงประโคน   

13. นายชำนาญ  บุญวงศ์         

14. นายประเสริฐชัย  พิสาดรัมย์ 

15. นายวัชราบูรณ์ บุญชู (2565-ปัจจุบัน)

การเรียนการสอน[แก้]

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 13 ห้องเรียน

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ(AP) 1 ห้องเรียน ห้องเรียนปกติ 12 ห้อง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 13 ห้องเรียน

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี (AP) 1 ห้องเรียน ห้องเรียนปกติ 12 ห้อง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 13 ห้องเรียน

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี (AP) 1 ห้องเรียน ห้องเรียนปกติ 12 ห้อง

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 13 ห้องเรียน

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ(AP) 1 ห้องเรียน ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 5 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 3 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาจีน 1 ห้อง ห้องเรียนคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 1 ห้องเรียน ห้องเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 ห้องเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 13 ห้องเรียน

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี (AP) 1 ห้องเรียน ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 5 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 3 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้อง ห้องเรียนคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี 2 ห้องเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 13 ห้องเรียน

ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี (AP) 1 ห้องเรียน ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 5 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาอังกฤษ 3 ห้อง ห้องเรียนศิลปศาสตร์ ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้อง ห้องเรียนคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี 2 ห้องเรียน

อาคารและสถานที่[แก้]

  • 1.อาคาร 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้พลานามัย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนอาคารแล้วเนื่องจากเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อปี พ.ศ. 2559)

มีทั้งหมด 12 ห้อง ห้องเรียน 8 ห้อง ชั้น 1 ด้านทิศตะวันตก กลุ่มสาระการเรียนรู้พลานามัย ห้องปฏิบัติการสุขศึกษา ด้านทิศตะวันออก กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องปฏิบัติการศิลปะ ห้องเรียนดนตรีสากล ห้องเรียนศิลปะ ชั้น 2 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ห้องเรียนดนตรีไทย ห้องเรียนนาฏศิลป์

  • 2.อาคาร 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมีทั้งหมด 18 ห้อง ห้องเรียน 12 ห้อง

ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการนักเรียน ห้องประชุมพีรภัณฑ์ ห้องแนะแนว ห้องเรียน ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา ห้องเรียน ชั้น 3 ห้องเรียนพระพุทธศาสนา ห้องเรียน

  • 3.อาคาร 3 ห้องกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีทั้งหมด 24 ห้อง ห้องเรียน 14 ห้อง

ชั้น 1 ห้องพยาบาล ห้องบริหารบุคคล ชั้น 2 ห้องงานทะเบียนและวัดผล ห้องวิชาการ ห้องดูแลระบบ ห้องผู้บริหาร ห้องการเงิน ห้องเอกสาร ห้องปกครอง ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ห้องประชุม ห้องเรียน ชั้น 4 ห้องเรียน

  • 4.อาคาร 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 25 ห้อง ห้องเรียน 13 ห้อง

ชั้น 1 ห้องเรียนพิเศษ ส่วนหนึ่งของห้องสมุด ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องเรียน ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องเรียนสีเขียว ห้องสมุดวิทยาศาสตร์ ห้องเรียน ชั้น 4 ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องเรียน

  • 5.อาคาร 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีทั้งหมด 2

ชั้น 1 ส่วนหนึ่งของโรงอาหาร ชั้น 2 ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ห้องเรียนภาษาจีน ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง(SEAR) ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการภาษาไทย ห้องเรียน ชั้น 4 ห้องเรียน

  • 6.อาคารอุตสาหกรรม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชั้น 1 ห้องเรียนอุตสาหกรรม ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

  • 7.อาคารอุตสาหกรรม 2

ชั้น 1 ห้องเรียนหัตถกรรม ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

  • 8.อาคารเกษตรและสหกรณ์ร้านค้า
  • 9.อาคารเรียนชั่วคราว
  • 10.ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
  • 11.ศาลาอเนกประสงค์
  • 12.ห้องประชุม
  • 13.ศาลาประชาสัมพันธ์
  • 14.ศาลากลางน้ำ
  • 15.โรงอาหาร (เพิ่มเติมพื้นที่ในปี 2555)
  • 16.ห้องน้ำ ทั้งหมด 4 หลัง

ห้องน้ำชาย 2 หลัง ห้องน้ำหญิง 2 หลัง

แม่แบบ:รายชื่อโรงเรียนห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์