โรงเรียนนครนายกวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนครนายกวิทยาคม
Nakhonnayok Witthayakhom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ว.ค.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด
สถาปนาพ.ศ. 2460
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการดร.ชานันท์ ประภา
จำนวนนักเรียน2,765 คน
สี███ ม่วง
███ ชมพู
เพลงมาร์ชนครนายกวิทยาคม
ต้นไม้สักทอง
เว็บไซต์http://www.nakorn.ac.th

[1]

โรงเรียนนครนายกวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เป็นโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนที่มีกำเนิดจากการรวมโรงเรียนสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2514 คือ โรงเรียนนาครส่ำสงเคราะห์ (โรงเรียนชาย) และโรงเรียนศรีนครนายก (โรงเรียนหญิง) และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนครนายกวิทยาคม

ประวัติ[แก้]

ปีพุทธศักราช 2457 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมธุรพงศ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนี ทรงเห็นว่า มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีอาคารไม่พอรับกับจำนวนนักเรียน แบบอาคารไม่ถูกต้อง ตามแบบของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น จึงได้บอกบุญเรี่ยไรเงินจากพ่อค้า ประชาชน และข้าราชการ เพื่อสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดเป็นหลังแรก

ปีพุทธศักราช 2459 หม่อมเจ้าธำรงศิริ สมุหเทศาภิบาลประจำมณฑล ได้สั่งให้พระยาบรรหารวรอรรถ ทำสัญญาก่อสร้างโรงเรียนขึ้น ณ บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำนครนายก ใกล้ที่ทำการศาลากลางจังหวัด ใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 13,000 บาท เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2460 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช ผู้รักษาราชการแผ่นดินสมัยนั้น ได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "นาครส่ำสงเคราะห์"

สำหรับโรงเรียนศรีนครนายก นับเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกของจังหวัดนครนายก เดิมเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมีการสอนทอผ้า ต่อมาเปลี่ยนเป็นสอนวิชาสามัญ คือ สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หากผู้ใดต้องการเรียนต่อสูงขึ้น ก็เข้าต่อที่โรงเรียนนาครสำสงเคราะห์ ส่วนสถานที่โรงเรียนศรีนครเดิมนั้นเป็นกรมทหาร ต่อมากรมทหารย้ายไปอยู่จังหวัดปราจีนบุรี จึงยกสถานที่ซึ่งมีเนื้อที่ 25 ไร่ ให้เป็นโรงเรียนสตรีโดยแบ่งเนื้อที่เป็น 2 ส่วน คือ เป็นของโรงเรียนการช่างนครนายก 12 ไร่ และเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด 13 ไร่

วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2515 กรมสามัญศึกษาได้ประกาศรวมโรงเรียนศรีนครนายก และโรงเรียนนาครส่ำสงเคราะห์เข้าด้วยกัน และใช้ชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนนครนายกวิทยาคม" มีพื้นที่ 39 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จนถึงปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายวรพจน์ มะลิวัลย์ พ.ศ. 2513-2517
2 นายชุบ วงษ์นรา พ.ศ. 2517-2519
3 นายสาคร เชิดชู พ.ศ. 2519-2532
4 นายสำเนียง พาแพง พ.ศ. 2532-2535
5 นายสุรพงศ์ ซื่อตรง พ.ศ. 2535-2539
6 นายประกฤติ เอี่ยมสกุล พ.ศ. 2539-2544
7 นายประยุทธ วรรณบุตร พ.ศ. 2544-2545
8 นายสุพล พรหมประเสริฐ พ.ศ. 2545-2551
9 นายสมนึก เกตุไทย พ.ศ. 2552-2555
10 นายเพ็ญศักดิ์ แจ้งเหตุผล พ.ศ. 2555-2563
11 นายพงษ์มิตร สิทธินอก พ.ศ. 2563-2565
12 นายชานันท์ ประภา พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "โรงเรียนนครนายกวิทยาคม". nakorn.ac.th.



|}