โรงเรียนบึงกาฬ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนบึงกาฬ | |
---|---|
![]() | |
พระไตรปิฎกและคบเพลิง
เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม | |
ข้อมูล | |
ชื่ออังกฤษ | Bung Kan School |
อักษรย่อ | บ.ก. / BK |
ประเภท | โรงเรียนสหศึกษาประจำจังหวัด โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
สถาปนา | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 |
เขตการศึกษา | หนองคาย-บึงกาฬ |
ผู้อำนวยการ | นายศักดาเดช ทาซ้าย |
จำนวนนักเรียน | 2,788 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[1] |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
|
สี | ████ ฟ้า-แดง |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนบึงกาฬ |
เว็บไซต์ | http://www.bksc.ac.th |
โรงเรียนบึงกาฬ (อักษรย่อ : บ.ก.; อังกฤษ: Bung Kan School) เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดบึงกาฬ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตั้งอยู่ที่ 211 ถนนบึงกาฬ-พังโคน ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ปัจจุบันมีอายุ 53 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนบึงกาฬได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 โดยขอใช้อาคารเรียนโรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอคือ โรงเรียนวิศิษฐ์อำนวยศิลป์เป็นสถานที่เรียน มีห้องเรียน 1 ห้องเรียน นักเรียน 32 คน (ชาย 25 คน หญิง 7 คน) วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 จึงได้ย้ายมาทำการสอนที่โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ 54 ไร่209 ตารางวา โดยมี นายสมพงษ์ สมภักดี เป็นครูใหญ่คนแรกต่อมาโรงเรียนบึงกาฬได้ขยายชั้นเรียนเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น ในปีการศึกษา 2517 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ คมช. รุ่น 1 และในปีการศึกษา 2522 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มศ. 4- 5) ปัจจุบันโรงเรียนบึงกาฬเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การเรียนเน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และการเรียนทั่วไปในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) และหลักสูตรส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การเรียนเน้นคณิตศาสตร์และภาษา และการเรียนทั่วไปช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 4-6) ได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School ) และโครงการ Buffer School[2][3]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]
ที่ | นามผู้บริหาร | ตำแหน่ง | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
1 | นายสมพงษ์ สมภักดี | ครูใหญ่,อธิการบดี | พ.ศ. 2509-2519 |
2 | นายสุเมธี โพธิ์ศรี | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2519-2529 |
3 | นายคำสิงห์ ศรีสำราญ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2529-2532 |
4 | นายเบียน โคตะนันท์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2532-2533 |
5 | นายสมภาร ร่มโพธิ์ทอง | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2533-2537 |
6 | นายแสง สีดาหล้า | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2537-2542 |
7 | นายสมทัย แสนโคตร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542-2547 |
8 | นายทรงกลด สรรพอาษา | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2547-2553 |
9 | นายสุพกิจ กงบุราณ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2554-2557 |
10 | นายคอมฉันท์ นาเมืองรักษ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2557-2559 |
11 | นายศักดาเดช ทาซ้าย | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน |
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- ตราประจำโรงเรียน : พระไตรปิฎกและคบเพลิง
- สีประจำโรงเรียน : ฟ้า-แดง
- คติพจน์ : ปญฺญา โลกสฺมํ ปชฺโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
- คำขวัญโรงเรียน : เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม
- ปรัชญาของโรงเรียน : ความรอบรู้ นำไปสู่ความสำเร็จ
- วิสัยทัศน์โรงเรียน : สร้างคุณภาพให้ได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน : มะเขือขื่น
- อัตลักษณ์โรงเรียน : มีสัมมาคารวะ ยิ้มไหว้ทักทายกัน
- เอกลักษณ์โรงเรียน : คนดีศรีบึงกาฬ สืบสานวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสู่สากล
อาคารสถานที่[แก้]
โรงเรียนบึงกาฬ ประกอบด้วยอาคารสถานที่ ดังต่อไปนี้
- อาคารปฐมอนุสรณ์ (อาคาร 1) เป็นอาคารเรียนขนาดเล็ก มี 2 ชั้น มีทั้งหมด 4 ห้อง
- อาคารสุนทรทวี (อาคาร 2) เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียน และห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีทั้งหมด 16 ห้อง
- อาคารตรีวิทย์ (อาคาร 3) เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียน ห้องพักครู และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 7 ห้อง
- อาคารจตุรพิชัย (อาคาร 4) เป็นอาคารปูนซีเมนต์ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกใช้เป็นห้องธุรการ ห้องพักผู้อำนวยการ ห้องประชุมเล็ก ห้องเรียนภาษา ห้องเรียนพิเศษ Mini English Program (MEP) และห้องของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นสองใช้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้องพักครู ชั้นสามใช้เป็นห้องเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รวมทั้งหมดมี 20 ห้อง
- อาคารวิไลเบญจ (อาคาร 5) เป็นอาคารปูนซีเมนต์ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกใช้เป็นห้องวิชาการ ห้องแนะแนว ห้องประชุมฟ้าแดง และห้องศูนย์ประสานงาน เอเอฟเอส ชั้นสองและชั้นสามใช้เป็นห้องเรียนประจำชั้นของนักเรียน รวมทั้งหมดมี 18 ห้อง
- อาคาร 6 (ยังไม่ได้ตั้งชื่อ) เป็นอาคารปูนซีเมนต์ ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2557 ในสมัยผู้อำนวยการสุพกิจ กงบุราณ มีทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นแรกใช้เป็นห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นสอง ชั้นสาม และชั้นสี่ ใช้เป็นห้องเรียนประจำชั้นของนักเรียน
- อาคาร 7 (ยังไม่ได้ตั้งชื่อ) เป็นอาคารปูนซีเมนต์ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2559 ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2560 เริ่มก่อสร้างในสมัยผู้อำนวยการคอมฉันท์ นาเมืองรักษ์ มีทั้งหมด 4 ชั้น ปัจจุบันเป็นอาคารที่ใหญ่ที่สุดของโรงเรียน
- โดมเอนกประสงค์ราชป้องขันธุ์ ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆของโรงเรียน ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2556 ในสมัยผู้อำนวยการสุพกิจ กงบุราณ
- อาคารศรีบึงกาฬ มี 2 ชั้น ชั้นแรกใช้สำหรับเป็นห้องสมุดกาญจนาภิเษก ชั้นสองใช้สำหรับห้องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
- อาคารสำราญรมย์ เป็นอาคารใช้สำหรับการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล และเซปักตะกร้อ บางครั้งใช้สำหรับเป็นที่ประชุมของคณะคุณครูและนักเรียน และใช้สำหรับเป็นที่ซ้อมวงดนตรี ของวงบีเคแบรนด์
- โรงอาหาร เป็นศูนย์บริการอาหาร มีร้านค้าประมาณ 20 ร้าน
- โดมผีเสื้อ ใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ และที่เพาะเลี้ยงผีเสื้อ
- อาคารวิทยบริการ ใช้สำหรับการประชุมต่างๆ
- เรือนพฤกษศาสตร์ (อดีต คือเรือนเกียรติยศ) ใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์
- อาคารคหกรรม เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น ใช้เป็นห้องเรียนคหกรรม
- อาคารบริหารงานทั่วไป ประกอบไปด้วยห้องเรียน 1 ห้อง ห้องพักภารโรง และห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด
- อาคารชีววิทยา ใช้เป็นห้องปฏิบัติการชีววิทยา
- โดมลานฟุตซอล ใช้สำหรับการแข่งขันกีฬาฟุตซอล
- เรือนพยาบาล ใช้สำหรับเป็นที่พักผู้ป่วย มีเตียงพักผู้ป่วยทั้งหมด 5 เตียง
- มินิมาร์ท เป็นร้านค้าเบ็ดเตล็ด
- เรือนไทย และลานวัฒนธรรม เป็นที่พักผ่อนของคณะครู และนักเรียน
- เรือนประชาสัมพันธ์ ใช้เป็นห้องประชาสัมพันธ์ และห้องโสตของโรงเรียน
- เรือนกิจการนักเรียน ใช้เป็นห้องกิจการนักเรียน
- เรือนอาเซียน ใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้อาเซียนศึกษา
- อาคารห้องพักครูของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และห้องพักครูฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- สนามหญ้าฟุตบอลโรงเรียน และเรือนพัก
- ลานกีฬา ประกอบไปด้วย สนามกีฬาบาสเกตบอล สนามกีฬาวอลเลย์บอล สนามกีฬาเซปักตะกร้อ
- อาคารเรียนชั่วคราว
- ป้อมยาม
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
- แพรว อมรรัตน์ กิตติกาวสุวรรณ นักแสดงละครชุด ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น ฤดูกาลที่ 1 และเจ้าของแบรนด์เครื่องประดับเวลเมล[5]
- หลี่ถัง ชลที ศรีแก้ว รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ไมค์ทองคำ ซีซั่น 1
- กิ๊ฟท์ มิณทร์ลดา สร่างโศก รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2558
- พลอยทราย รวิสรา สวยสมเรียม มิสแกรนด์ไรส์ซิ่งสตาร์ มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2016
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จำนวนนักเรียน
- ↑ "ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนบึงกาฬ", ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21, สืบค้นเมื่อ 9 April 2017
- ↑ "ข้อมูลโรงเรียนบึงกาฬ", bungkan school, สืบค้นเมื่อ 9 April 2017
- ↑ "ข้อมูลโรงเรียนบึงกาฬ", bungkan school, สืบค้นเมื่อ 9 April 2017
- ↑ "เบื้องหลัง ‘Welmel’ แบรนด์เครื่องประดับสุดกุ๊กกิ๊กของ ‘แพรว-อมรรัตน์’", กรุงศรี,สืบค้นเมื่อ=19 May 2017
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|