โรงเรียนสารคามพิทยาคม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนสารคามพิทยาคม Sarakham Pittayakhom School | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ค. |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 |
คำขวัญ | "กยิรา เจ กยิรา เถนํ : ทำสิ่งใดพึงทำเฉพาะสิ่งนั้นให้สำเร็จ" |
สถาปนา | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 (111 ปี 90 วัน) |
ผู้อำนวยการ | นายทรงศักดิ์ ชาวไพร |
สี | สีเหลือง-สีน้ำเงิน |
เพลง | มาร์ชสารคามพิทยาคม |
เว็บไซต์ | https://www.spk.ac.th/ |
โรงเรียนสารคามพิทยาคม (อังกฤษ: Sarakham Pittayakhom School) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ถนนนครสวรรค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
โรงเรียนสารคามพิทยาคม มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 36 ไร่ 2 งาน เดิมเปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ในปีการศึกษา 2538 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดสอนสหศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนสารคามพิทยาคม ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 ในสมัยก่อนใช้ชื่อว่า "โรงเรียนสารวิทยาวิบูลย์" โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดโพธิ์ศรีธารามเป็นที่เรียน และในสมัยนั้นรับเฉพาะแต่นักเรียนชาย มีพระภิกษุเป็นครูสอน โดยมีฐานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ อุทัยสารคาม ปัจจุบันก็คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม และเป็นโรงเรียนแฝดกับ โรงเรียนบำรุงราษฎร (โรงเรียนบรบือ) อำเภอปัจฉิมสารคาม หรือ อำเภอบรบือ
- พ.ศ. 2456 อำเภออุทัยสารคาม ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นจังหวัดมหาสารคาม และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น "โรงเรียนสารคามวิทยาคม" มีนายชื่น วานิชกะ (ขุนวานิชกศึกษากร) เป็นครูใหญ่คนแรก โดยสถาปนาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนาโรงเรียนเป็นต้นมา ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อจาก วิทยาคม เป็น พิทยาคม ให้เหมาะสมกับสมัยนิยม
- พ.ศ. 2461 ทางราชการเห็นว่า โรงเรียนมีนักเรียนมากสถานที่เรียนค่อนข้างจะคับแคบ จึงได้ดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเก่าซึ่งตั้งอยู่ริมหนองกระทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ขณะนั้นเรียกว่าอำเภอตลาด) ให้เป็นสถานศึกษาของโรงเรียนสารคามพิทยาคม อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงต้องมีการโยกย้ายสถานที่เรียนหลายครั้งเพื่อความสะดวกเหมาะสมและเป็นเอกเทศ กระทั่งวันที่ 1 เมษายน 2481 จึงเปิดอาคารเรียนแบบประชาธิปก (อาคาร 1 ปัจจุบัน) ภายหลังจากที่มีอาคารเรียนถาวรและเป็นเอกเทศแล้ว จึงได้ขยายชั้นเรียนไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเข้าร่วมโครงการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษต่าง ๆ
- พ.ศ. 2511 ได้เข้าโครงการ ค.ม.ช. (โครงการโรงเรียนมัธยมชนบท)
- พ.ศ. 2518 ได้เข้าโครงการ ค.ม.ภ.2 (โครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค) และใช้หลักสูตร ค.ม.ส. (โครงการโรงเรียนมัธยมแบบผสม)
- พ.ศ. 2519 ได้เปิดทำการสอนโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่
- พ.ศ. 2537 เข้าโครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สคว.) เขตการศึกษา 10
- พ.ศ. 2538 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดสอนแบบสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- พ.ศ. 2540 เข้าโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามรถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระดับมัธยมศึกษา
- พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับ ม.1 และ ม.4
- พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้รับอนุญาตจากกรมสามัญศึกษา ให้เปิดโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Program) ในระดับชั้น ม.1
- พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
- พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน
- พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน 2 ปีซ้อน
- พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เป็นครั้งที่สาม
รายนามผู้บริหาร
[แก้]นับแต่การสถาปนาโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2456 ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 111 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนสารคามพิทยาคมมาแล้วทั้งสิ้น 23 คน[1] ดังนี้
ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่ง |
1 | ขุนวาณิชกศึกษากร | พ.ศ. 2456 | พ.ศ. 2465 | ครูใหญ่ |
2 | ขุนรัตนแสงศึกษากร | พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2466 | |
3 | นายประณต พรชัย | พ.ศ. 2466 | พ.ศ. 2480 | |
4 | นายหนู ชนะศึก | พ.ศ. 2480 | พ.ศ. 2481 | |
5 | นายประวัติ ประดิษฐานนท์ | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2483 | |
6 | นายดำรง มัธยมนันท์ | พ.ศ. 2483 | พ.ศ. 2490 | |
7 | นายประภาส ศุภสาร | พ.ศ. 2490 | พ.ศ. 2520 | |
8 | นายทรวง ยุวกาญจน์ | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2521 | |
9 | นายเนย วงศ์อุทุม | พ.ศ. 2521 | พ.ศ. 2522 | |
10 | นายปรัชญา ไวทยสุวรรณ | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2524 | |
11 | นายสุทัศน์ รัตนา | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2525 | |
12 | นายทองสูรย์ ฉลวยศรี | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2532 | |
13 | นายชุมพล เวียงเพิ่ม | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2535 | |
14 | ว่าที่ร้อยตรีรังสรรค์ ชื่มชม | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2539 | |
15 | นายนพรัตน์ จารย์โพธิ์ | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2541 | |
16 | นายสมบัติ จันทภูมิ | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2542 | |
17 | นายนิคม งามเสน่ห์ | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2544 | |
18 | นายบรรจง สุรมณี | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2551 | ผู้อำนวยการ |
19 | นายอดิศักดิ์ มุ่งชู | พ.ศ. 2552 | พ.ศ. 2558 | ผู้อำนวยการ |
20 | นายเกษม ไชยรัตน์ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2561 | ผู้อำนวยการ |
21 | นายนิพนธ์ ยศดา | พ.ศ. 2561 | พ.ศ. 2565 | ผู้อำนวยการ |
22 | นายมณูญ เพชรมีแก้ว | พ.ศ. 2565 | พ.ศ.2567 | ผู้อำนวยการ |
23 | นายทรงศักดิ์ ชาวไพร | พ.ศ.2567 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนสารคามพิทยาคมเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ
- ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- แผนกเกษตรกรรม
- แผนกคหกรรม
- แผนกคอมพิวเตอร์
ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ
[แก้]ข้าราชการการเมือง
[แก้]- จารุบุตร เรืองสุวรรณ อดีตประธานรัฐสภา
- จำลอง ดาวเรือง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- บุญชนะ อัตถากร อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
- ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ทองหล่อ พลโคตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- เกียรติ นาคะพงษ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม 3 สมัย อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมหาสารคาม 3 สมัย
ข้าราชการประจำ
[แก้]- บุญถิ่น อัตถากร อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- ประทีป ตัณฑประศาสน์ อดีตอธิบดีกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
- นายแพทย์ปุ่น ปิยะศิลป์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- ศ.นพ.สมพร โพธินาม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ภก.ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ดารานักแสดงพิธีกรที่สร้างชื่อเสียง
[แก้]- โทนี่ รากแก่น ปัจจุบันเป็นนักแสดง
- กนกลดา วิชากุล (เพี๊ยซ) ได้ตำแหน่งรองนางสาวไทย ปัจจุบันเป็นนักแสดง, พิธีกร
- รณชาติ บุตรแสนคม เป็นผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นิวส์วัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-28.