โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 7°53′34.66″N 98°23′19.45″E / 7.8929611°N 98.3887361°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ภ.ว. (PKW) |
ประเภท | |
คำขวัญ | บาลี: อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (บัณฑิตย่อมฝึกตน) |
สถาปนา | พ.ศ. 2440 |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 1004830101 |
ผู้อำนวยการ | วัชรศักดิ์ สงค์ปาน |
จำนวนนักเรียน | 3,076 (2566) |
สี | ฟ้า–ขาว |
เพลง | มาร์ชภูเก็ตวิทยาลัย |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Phuket Wittayalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทสหศึกษา ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2440 เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทยอยู่ในบริเวณวัดมงคลนิมิตร (จังหวัดภูเก็ต) นับว่าเป็นโรงเรียนสอนหนังสือแห่งแรกในมณฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ตั้งขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2440 เดิมเป็น โรงเรียนสอนภาษาไทยอยู่ใน บริเวณวัดมงคลนิมิตร ในสมัยที่พระยาทิพโกษา เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล พระเทวพรหมาบดี เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลภูเก็ต นับว่าเป็นโรงเรียนสอนหนังสือแห่งแรกในมลฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตกมี พระวิสุทธิวงศาจารย์ สังฆปาโมกข์ (เพรา พุทธสโร) เป็นผู้ดำเนินการ (ครูใหญ่) ท่านผู้นี้ได้สร้างความเจริญ ในด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนเป็นอย่างมาก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบูรพาจารย์ท่านแรกของโรงเรียน ปัจจุบันโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เปิดการเรียนการสอนมายาวนานกว่า 125 ปี
ปี | |
---|---|
พ.ศ. 2440 | เดิมเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทยอยู่ในบริเวณวัดมงคลนิมิตรในสมัยพระยาทิพโกษาเป็น ข้าหลวงเทศาภิบาลพระเทวพรหมาบดีเป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลภูเก็ตนับว่าเป็นโรงเรียนสอน หนังสือแห่งแรกในมณฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตกมี พระวิสุทธิวงศาจารย์สังฆปาโมกข์ (เพราพุทฺธสโร) เป็นผู้ดำเนินการ (ครูใหญ่) ท่านผู้นี้ได้สร้างความเจริญในด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนเป็นอย่าง มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบุรพาจารย์องค์แรกของโรงเรียน |
พ.ศ. 2442 | ในสมัยพระยาวรสิทธิ์ เสรีวัตร มารับตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนวรสิทธิ์ วัดมงคลนิมิตร" จัดการศึกษาในระดับประถมสำหรับนักเรียนชายแต่มีนักเรียนหญิงที่สนใจเรียนอยู่ด้วย |
พ.ศ. 2452 | พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และหลวงอุปการศิลปเสริฐ (อั๋น ชัชกุล) เป็นธรรมการมณฑลภูเก็ต มีบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป บริจาคเงินเพื่อบำรุงการศึกษา จึงได้สร้างโรงเรียน 2 โรง คือโรงเรียนปลูกปัญญาอยู่ในวัดมงคลนิมิตรสอนในระดับประถมศึกษาสำหรับนักเรียนหญิงและชายรุ่นเล็กและโรงเรียนตัวอย่างมณฑลภูเก็ต (ตั้งอยู่ ในบริเวณโรงเรียนสตรีภูเก็ตปัจจุบัน) สอนนักเรียนชายในระดับประถม และมัธยมสอนชั้นสูงสุดเพียงมัธยมปีที 5 เท่านั้น มีนายชุ่ม ชินะเตมีย์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระประมูลวิชาเพิ่ม |
พ.ศ. 2456 | ได้เปิดสอนนักเรียนชั้นฝึกหัดครู รับนักเรียนในจังหวัดต่าง ๆ ในมณฑลภูเก็ต |
พ.ศ. 2460 | เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนตัวอย่างมณฑลภูเก็ต" มาเป็น "โรงเรียนประจำมณฑล ภูเก็ตภูเก็ตวิทยาลัย" มี หลวงโหรกิตยานุพัทธ์ (อี๋ โหตรกิตย์) เป็นครูใหญ่ |
พ.ศ. 2476 | เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัด ภูเก็ตวิทยาลัย" |
พ.ศ. 2477 | ม.ล.ตุ้ยชุมสาย มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนได้รับการพัฒนาอย่างมากท่านได้ขยายการศึกษาถึงชั้นมัธยมปลาย (ม. 7, ม.8) หรือชั้นอุดมศึกษาเป็นครั้งแรก เปิดรับนักเรียนหญิงที่จบชั้น ม.6 จากโรงเรียนสตรีมาเรียนในระดับมัธยมปลาย นับเป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นสมัยแรกนอกจากนั้นท่านยังเป็นต้นคิดใช้ ข้อทดสอบแบบปรนัย นับเป็นสถาบันแรกในประเทศไทยที่ใช้ข้อสอบแบบปรนัย มีการจัดสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศภาษาที่สองควบคู่กับภาษาอังกฤษ |
พ.ศ. 2480 | อาคารเรียนเดิมทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแชมได้ กระทรวงศึกษาธิการให้งบประมาณจำนวน 150,000 บาท มาปลูกสร้างอาคารใหม่ บริเวณสนามชุมพล เป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐ เป็นอาคารที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน |
พ.ศ. 2485 | สาโรช บัวศรี ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนจนมีชื่อเสียง มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 - ม.6 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 |
พ.ศ. 2496 | โรงเรียนประจำจังหวัดภูเก็ต ได้เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ และแผนกวิทยาศาสตร์ |
พ.ศ. 2498 | ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่สอง จำนวน 289,000 บาท เป็นอาคาร 2 ชั้น 12 ห้องเรียน ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง (ปัจจุบันรื้อแล้ว) |
พ.ศ. 2500 | ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 3 จำนวน 1,500,000 บาทและขุนเลิศโภคารักษ์ได้บริจาคเงิน 45,000 บาทสร้างอาคารห้องสมุด "เลิศโภคารักษ์" เป็นอาคารเอกเทศ ปัจจุบันเป็นอาคารพยาบาล [1] |
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2440 ถึงปัจจุบัน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยมีผู้บริหารทั้งหมด 34 ท่าน
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พระวิสุทธิวงศ์ศาจารย์ญาณมุนีสังฆปาโมกข์ (พระภิกษุเพรา พุทธสโร) | พ.ศ. 2440 - 2445 |
2 | อำมาตย์เอกพระยาอุปการศิลปเสริฐ (อั๋น ชัชกุล) | พ.ศ. 2445 - 2446 |
3 | พระวิสณฑ์ดรุณการ | ไม่ปรากฏหลักฐาน |
4 | พระประมูลวิชาเพิ่ม ( ชุ่ม ประมูลวิชาเพิ่ม หรือ ชินะเตมีย์ ) | พ.ศ. 2456 - ใดไม่ปรากฏหลักฐาน |
5 | หลวงโหตรกิตยานุพัทธ์ (อี่ โหตรกิตย์) | ไม่ปรากฏหลักฐาน - 2460 |
6 | ขุนมานพานุศาสน์ | ไม่ปรากฏหลักฐาน |
7 | ขุนวิทยาวุฒิ | ไม่ปรากฏหลักฐาน |
8 | ขุนวิจักษ์จรรยา | ไม่ปรากฏหลักฐาน |
9 | ขุนวิศิษฐ์จรรยา | พ.ศ. 2469 - 2471 |
10 | ขุนจรรยาวิทูร | พ.ศ. 2471 - 2472 |
11 | กอง วิสุทธารมณ์ | พ.ศ. 2472 - 2473 |
12 | ชวน อังศุละโยธิน | พ.ศ. 2473 - 2476 |
13 | พร้อม จิตรศิริ | พ.ศ. 2476 - 2477 |
14 | หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย | พ.ศ. 2477 - 2479 |
15 | หม่อมเจ้าศิวากร วรวรรณ | พ.ศ. 2479 - 2481 |
16 | พงศ์อินทร์ ศุขขจร | พ.ศ. 2481 - 2485 |
17 | สาโรช บัวศรี | พ.ศ. 2485 - 2489 |
18 | ครอบ นรบาล | พ.ศ. 2489 - 2513 |
19 | นิยม เสรีรัตน์ | พ.ศ. 2513 - 2514 |
20 | ครอบ นรบาล | พ.ศ. 2514 - 2516 |
21 | สมบูรณ์ ศรีสุทธิ์ | พ.ศ. 2516 - 2520 |
22 | บัญญัติ บูรณะหิรัญ | พ.ศ. 2520 - 2523 |
23 | สนั่น ชุมวรฐายี | พ.ศ. 2523 - 2525 |
24 | สุเทพ ภัทรปกรณ์ | พ.ศ. 2525 - 2537 |
25 | พะยงค์ อุบลขาว | พ.ศ. 2537 - 2539 |
26 | สุวิชช์ ศรีทิพยราช | พ.ศ. 2539 - 2542 |
27 | นิกร ธีระจามร | พ.ศ. 2542 - 2547 |
28 | สาธร ลิกขะไชย | พ.ศ. 2547 - 2550 |
29 | นิกร ธีระจามร | พ.ศ. 2550 - 2552 |
30 | สดศรี ตันสุธัญลักษณ์ | พ.ศ. 2553 - 2555 |
31 | ณชัย เขมนิพัทธ์ | พ.ศ. 2555 - 2557 |
32 | อุเทน จิตต์สำรวย | พ.ศ. 2557-2559 |
33 | โกศล ใสขาว | พ.ศ. 2559 - 2562 |
34 | วัชรศักดิ์ สงค์ปาน | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
การเรียนการสอน
[แก้]โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย มีแผนการจัดชั้นเรียน มีดังนี้
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- ห้องเรียนโครงการพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ Science Mathematics Program (Gifted : SMP)
- ห้องเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. Intensive Science Mathematics and Technology (Intensive : SMT)
- ห้องเรียนโครงการพิเศษเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English Program (EP)
- ห้องเรียนโครงการพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาจีน ภาษาอังกฤษ Intensive Chinese and English Program (Gifted : ICE)
- ห้องเรียนพหุปัญญา(ทั่วไป) MIP
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]แผนการเรียนวิทยาศาสตร์
- โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม : SMTE (ภาคสมทบ) (เป็นโครงการจัดห้องเรียนพิเศษจำนวน 207 แห่งทั่วประเทศที่กำกับติดตามโดย สสวท.)
- โครงการส่งเสริมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ)
- การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต ทั่วไป)
แผนการเรียนศิลปศาสตร์
- โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณพิเศษ)
- การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณ)
การจัดการศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ (ศิลป์ภาษา)
- การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
- การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
- การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
- การจัดการศึกษาภาษาอาหรับ
กิจกรรม
[แก้]- ประเพณีการรับน้องใหม่ เรียกวันรับน้องใหม่ว่า วันเพาะกล้าชงโค (กิจกรรมค่าย รู้จักตน รู้จักคน รู้จักเรียน)
- การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนงานกีฬาสี
- งานแสดงมุทิตาจิต ต่อคุณครูที่เกษียณอายุราชการและคุณครูที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ
- การแข่งขันกีฬา กรีฑา นักเรียน นักศึกษาและประชาชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยดำเนิน การแปรอักษร มากว่า 30 ปี
- การแข่งขันกีฬาประเพณีไตรภาคี' เป็นการแข่งขันกีฬาร่วมกันระหว่าง3โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต คือ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โรงเรียนสตรีภูเก็ต และ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ภูเก็ต
- กิจกรรม PKW Language’s Day
- การแข่งขันกีฬาประเพณีฟุตซอลีกในระดับชั้น ม.5
- วันเปิดประตูสู่สถานศึกษาภูเก็ตวิทยาลัย Open House
- การแข่งขันกีฬาฟุตบอลประเพณีอำลาคัพ ซึ่งแข่งขันกันในระดับชั้น ม.3 และ ม.6
- ประเพณีวันพี่อำลาน้อง จัดขึ้นในระดับ ม.6 เพื่อให้รุ่นพี่ชั้น ม.6 อำลารุ่นน้อง ซึ่งเป็นวันเปิดเรียนวันสุดท้ายของชั้น ม.6
- งานปัจฉิมนิเทศ จัดขึ้นเพื่อแสดงความสำเร็จแก่นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 เรียกว่า วันชงโคปัจฉิมนิเทศ