สถานีท่าพระ
ท่าพระ Tha Phra | |
---|---|
![]() ภายในสถานีท่าพระ | |
ข้อมูลสถานี | |
เส้นทาง |
สายเฉลิมรัชมงคล |
รหัสสถานี | BL01 |
ที่ตั้ง | เขตบางกอกใหญ่ |
ถนน | จรัญสนิทวงศ์, เพชรเกษม, รัชดาภิเษก |
แผนที่ | เว็บไซต์ BEM |
ข้อมูลอื่นๆ | |
วันที่เปิดให้บริการ |
12 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (ชานชาลาฝั่งใต้) 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 (ชานชาลาฝั่งเหนือ) |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
รูปแบบสถานี | ยกระดับ |
รูปแบบชานชาลา | ด้านข้าง,ตรงกลาง (ชานชาลาต่างระดับ) |
จำนวนชานชาลา | 4 |
ทางออก | 6 |
บันไดเลื่อน | 17 |
ลิฟต์ | 6 |
จุดเชื่อมต่อ | |
รถโดยสารประจำทาง |
สถานีท่าพระ (อังกฤษ: Tha Phra Station, รหัส BL01) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยาย ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีที่เชื่อมต่อทั้งสองส่วนของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าไว้ดัวยกัน ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนภายในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลางและชั้นใน ยกระดับเหนือแยกท่าพระ บริเวณจุดตัดระหว่าง ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเพชรเกษม และถนนรัชดาภิเษกฝั่งใต้ ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
ที่ตั้ง[แก้]
แยกท่าพระ บริเวณจุดตัดระหว่าง ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเพชรเกษม และถนนรัชดาภิเษกฝั่งใต้ ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
สถานีท่าพระเป็นสถานีเดียวของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะพิเศษสำคัญหลายจุด อาทิ เป็นสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างเส้นทางในสายเดียวกันคือสายเฉลิมรัชมงคล เป็นสถานีที่ยกระดับคร่อมอุโมงค์ลอดถนนจรัญสนิทวงศ์และสะพานข้ามแยกท่าพระของถนนเพชรเกษม และเป็นสถานีเชื่อมต่อที่สำคัญของฝั่งธนบุรี รองจากสถานีบางหว้าที่มีลักษณะการเชื่อมต่อที่ไม่ต่างจากกัน ทำให้การก่อสร้างสถานีต้องใช้ลักษณะเชิงวิศวกรรมชั้นสูง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการจราจรบนท้องถนน และบนสะพานข้ามแยก[1]
แผนผังสถานี[แก้]
U4 ชานชาลาส่วนเหนือ (เส้นจรัญสนิทวงศ์) | ||
ชานชาลา 3 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีบางซื่อ - สถานีหลักสอง | |
ชานชาลา 4 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีบางซื่อ - สถานีหลักสอง | |
U3 ชานชาลาส่วนใต้ (เส้นเพชรเกษม) |
||
ชานชาลา 2 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหัวลำโพง - สถานีท่าพระ | |
ชานชาลา 1 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหลักสอง | |
U2 | ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-6, ห้องขายบัตรโดยสาร,เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G | ระดับถนน | ป้ายรถประจำทาง, แยกท่าพระ |
รายละเอียดสถานี[แก้]
สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]
ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง กรณีนี้จะแตกต่างจากสถานีบางหว้า และสถานีบางขุนนนท์ที่ใช้หลังคาสีน้ำเงิน เนื่องจากสถานีท่าพระเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างสายทางในเส้นทางเดียวกัน จึงไม่ถือว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสาย
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นสถานียกระดับและใช้ชานชาลารูปแบบต่างกัน ชานชาลาส่วนใต้ (เส้นเพชรเกษม) เป็นชานชาลาด้านข้าง (Station with Side Platform) และชานชาลาส่วนเหนือ (เส้นจรัญสนิทวงศ์) เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)
ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]
- 1 ถนนเพชรเกษม บริเวณโรงเรียนสายประสิทธิ์วิทยา
- 2 ถนนเพชรเกษม บริเวณแยกท่าพระ
- 3 ถนนเพชรเกษม บริเวณ บี.ที. อพาร์ตเมนต์
- 4 ถนนเพชรเกษม บริเวณตลาดท่าพระ
- 5 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณคอนโดมิเนียมเดอะไพรเวซี ท่าพระ อินเตอร์เชนจ์
- 6 ถนนรัชดาภิเษก ซอยรัชดาภิเษก 25
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
- ถนนรัชดาภิเษก สาย 68 68ก 80ก 91ก 101 147ร 163ร 165 189 547ร
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ สาย 68 68ก 80 91 146ร 157ร 171ร 175ร 509 ปอ.80
- ถนนเพชรเกษม สาย 7 7ก 80 80ก 84 84ก 91 91ก 101 146ร 147ร 157ร 163ร 165 171ร 189 509 547ร ปอ.80
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. "เอกสารการประชุมชี้แจงข้อมูล และรับฟังความคิดเห็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ", 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551.
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีจรัญสนิทวงศ์ 13 มุ่งหน้า สถานีหลักสอง (ผ่านบางซื่อ - หัวลำโพง) |
สายเฉลิมรัชมงคล (เส้นจรัญสนิทวงศ์) |
สถานีปลายทาง | ||
สถานีบางไผ่ มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |
สายเฉลิมรัชมงคล (เส้นเพชรเกษม) |
สถานีอิสรภาพ มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่านหัวลำโพง - บางซื่อ) |
|