โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา
โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา Thatnaraiwittaya School | |
---|---|
ตราประจำโรงเรียน | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ธ.น.ว. / T.N.W. |
ประเภท | โรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนประเภทสหศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม นำ ไอ.ซี.ที |
ก่อตั้ง | 26 มกราคม พ.ศ. 2526 (41 ปี) |
รหัส | 1047540629 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายเอกชัย บุตรแสนคม |
ครู/อาจารย์ | 160 คน[1] |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย |
จำนวนนักเรียน | 3,164 คน ปีการศึกษา 2564[2] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเวียดนาม |
ห้องเรียน | 82 ห้อง |
สี | เหลือง-เทา |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
คติพจน์ | สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ) |
สหวิทยาเขต | ? |
เว็บไซต์ | www.tnw.ac.th |
โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา (อังกฤษ : Thatnaraiwittaya School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษา) กระทรวงศึกษาธิการ ได้นามและสัญญาลักษณ์ประจำโรงเรียนจากพระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานสำคัญจังหวัดสกลนคร เป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เปิดสอนภาษาเวียดนาม อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา มีพื้นที่ประมาณ 30 ไร่เศษ มีลำน้ำห้วยทรายไหลผ่าน
ประวัติโรงเรียน
[แก้]ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2526 ได้นามและสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนจากพระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานสำคัญประจำจังหวัดสกลนคร มีนายพินิจ ภคสมบัติ เป็นครูใหญ่คนแรก ในระยะแรกเริ่มเต็มไปด้วยความยากรำบาก จาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง ไม่ใช้สามารถเป็นที่เรียนได้ จึงขออาศัยที่เรียนของ โรงเรียนเมืองสกลนครเป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์ช่วยโรงเรียน และร่วมแรงร่วมใจกันสร้างอาคารแบบ 5 ห้องเรียน 1 หลัง เป็นการชั่วคราว ทางโรงเรียนได้รับเกียรติจาก นายชวน หลีกภัย อดีต นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียนและเป็นประทานเปิดป้ายอาคารเรียน
- ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนได้รับการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่บริเวณโรงเรียนร่วมกับชุมชนให้มีสภาพที่เหมาะสมแก่การเรียนการสอนมากขึ้น
- ปีการศึกษา 2530 โรงเรียนได้ร่วมโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
- ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้ทำการเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ปีการศึกษา 2534 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนมากขึ้น จำนวนนักเรียนและบุคลากรมากขึ้น
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
[แก้]ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา[3] | ||
---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง |
1 | นายพินิจ ภคสมบัติ | พ.ศ. 2526 - 2527 |
2 | นายถาวร บุตรธนู | พ.ศ. 2527 - 2534 |
3 | นายสมบูรณ์ ลาดศิลา | พ.ศ. 2534 - 2539 |
4 | นายวีระ พรหมภักดี | พ.ศ. 2539 - 2544 |
5 | นายประสิทธิ์ จิตธรรมมา | พ.ศ. 2544 - 2545 |
6 | นายพิชิต สารสุข | พ.ศ. 2545 - 2549 |
7 | นายประทวน สมบูรณ์ | พ.ศ. 2549 - 2554 |
8 | นายชูศักดิ์ พงษ์พัฒน์ | พ.ศ. 2554 - 2559 |
9 | นายยงค์ยุทธ เขื่อนขันธ์ | พ.ศ. 2559 - 2561 |
10 | นายพนมพันธ์ ไชยเพชร | พ.ศ. 2561 - 2564 |
11 | นายเอกชัย บุตรแสนคม | พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน |