โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง Matthayom Watnairong English Program School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
658/2 ถนนบรมราชชนนี 15 แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | น.ร. / N.R. |
ประเภทโรงเรียน | มัธยมศึกษาขนาดกลาง |
สถาปนา | 13 กุมภาพันธ์ 2498 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ผู้ก่อตั้ง | เจ้ากรับ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 |
ผู้อำนวยการ | นายกิติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6ปีการศึกษา2529 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน |
สี | ฟ้า - เหลือง - เขียว |
เพลง | มาร์ชนายโรง |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นเฟื่องฟ้า |
เว็บไซต์ | http://www.nairong.ac.th |
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ถนนบรมราชชนนี 15 แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ (English Program)
ประวัติ
[แก้]ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2503 ท่านเจ้ากรับนายโรงละครซึ่งเป็นเจ้าของโรงละครนอกที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สืบเนื่องจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [[รัชกาลที่ 4] เป็นผู้บริจาคที่ดิน เจ้ากรับละครเป็นทั้งครูสอนและนายโรงละคร (เจ้าของโรงละคร) รับงานแสดงละครจนมีฐานะร่ำรวย จึงนำเงินที่ได้จากการแสดงละครมาสร้างวัดใกล้ ๆ บ้านขึ้น และได้ตั้งชื่อตามคำเรียกของชาวบ้านให้ว่า วัดนายโรง วัดนายโรงเดิมมีชื่อเรียกหลาย ๆ ชื่อด้วยกัน บ้างก็เรียกว่า วัดเจ้ากรับ หรือ วัดเจ้ากรับละคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดนายโรงใหม่ว่า วัดสัมมัชชผล แต่ประชาชนไม่นิยมจึงเรียกติดปากกันว่าวัดนายโรง สถานที่นี้มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สวยงาม และมีความสงบร่มรื่น ในอดีตเคยเป็นที่พำนักของ หลวงปู่รอด ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ด้านวิทยาคมและวัตถุมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบี้ยแก้ และลูกอมชานหมาก
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ตั้งอยู่ที่ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 บนที่ดินของวัดสองวัดคือ วัดนายโรงและวัดบางบำหรุ โดยได้รับการมอบที่ดินจาก พระอธิการแนบ ได้มอบที่ดิน จำนวน 5 ไร่ 2 ตารางวา เจ้าอาวาสวัดนายโรง และ พระครูรัตนโสภณ เจ้าอาวาสวัดบางบำหรุได้มอบที่ดินอีก 119 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ 1 งาน 22 ตารางวา และเปิดทำการสอนครั้งแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 อาศัยศาลาการเปรียญของวัดนายโรง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 77 คน ครู 3 คน มีนายธำรง โกมลบุตร เป็นครูใหญ่คนแรก และเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนวัดนายโรงได้ขออนุมัติเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2539
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ได้รับคัดเลือกให้เป็น โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นของกรมสามัญศึกษา ได้รับพระราชทาน ในปีการศึกษา พ.ศ. 2524, พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้เข้าร่วม โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (The International Standard School Project หรือ ISSP) ในปีการศึกษา 2545 ได้รับอนุมัติจาก กระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดสอน หลักสูตรการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ (Engllish Program) ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง
[แก้]โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ปัจจุบันมึผู้อำนวยโรงเรียนทั้งหมด 17 ท่าน
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
[แก้]- ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ตราชฎา
- อัตลักษณ์ของโรงเรียน สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าเทคโนโลยี มีจิตสาธารณะ
- เอกลักษณ์ของโรงเรียน โรงเรียนสองภาษา
- คำขวัญ ศิษย์และครูรู้หน้าที่ เป็นศักดิ์ศรีของนายโรง
- ปรัชญา ปญญ โลกสมิ ปชโชโต "ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องโลก"
- สีประจำโรงเรียน
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นเฟื่องฟ้า[1]
หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน
[แก้]ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) แบ่งเป็น
[แก้]- ห้องเรียน English Program
- ห้องเรียน Mini English Program
- ห้องเรียน Integrated English Program
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) แบ่งเป็น
[แก้]- ห้องเรียน Math Science Advance Program (โดยคณะอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ)
- วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- ห้องเรียน English Program
- วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาต่างประเทศที่ 2
- ฝรั่งเศส
- จีน
- ญี่ปุ่น
- เยอรมัน
- ห้องเรียน Mini English Program
- วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาต่างประเทศที่ 2
- ฝรั่งเศส
- จีน
- ญี่ปุ่น
- เยอรมัน
- ห้องเรียน Integrated English Program
- วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาต่างประเทศที่ 2
- ฝรั่งเศส
- จีน
- ญี่ปุ่น
- เยอรมัน
โครงการ
[แก้]- โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนระยะสั้น UCE (Universal Cultural Exchange)
- โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (AFS Intercultural Programs)
- โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน YES (Youth Exchange Scholarship)
- ทุนยุวทูต YES - ศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา, ฟินแลนด์ และแอฟริกาใต้
- ทุนนักเรียนดีเด่น YES - ศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส และแอฟริกาใต้
- ทุนศึกษาภาษาและวัฒนธรรม YES - ทุนตามประเทศที่เลือกเข้าร่วมโครงการ
- โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน AYC (AYC Intercultural Programs)
- โครงการ MSAP (Math Science Advance Program) โครงการการส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยคณาจารย์ผู้มากประสบการณ์จาก มหาวิทยาลัยมหิดล โครต้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาตร์ มหาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ
- และโครงการอื่น ๆ
เกียรติประวัติที่ได้รับ
[แก้]- โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา ได้รับพระราชทานในปีการศึกษา พ.ศ. 2524 [1]
- โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา ได้รับพระราชทานในปีการศึกษา พ.ศ. 2534 [1]
- โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา ได้รับพระราชทานในปีการศึกษา พ.ศ. 2541 [1]
- ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดสอนหลักสูตรการเรียนการสอน ภาคภาษาอังกฤษ (English Program) พ.ศ. 2545
- โรงเรียนต้นแบบการสอนรูปแบบ English Integrated Studies (EIS) กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนในโครงการ Dreams & Teams 1 ใน 9 ของประเทศที่ทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชนประเทศอังกฤษ โดย สถานทูตอังกฤษ ร่วมกับ British Council พ.ศ. 2545
- โรงเรียนต้นแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต3 พ.ศ. 2549
- โรงเรียนต้นแบบการบริหารจัดการโครงการภาคภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบ SMART EP: Smart ICT พ.ศ. 2549
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในการแข่งขันภาษาอังกฤษเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2549
- โรงเรียน Best Practice ของกระทรวงศึกษาธิการด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษพ.ศ. 2550
- โรงเรียนนำร่องการสอนแบบ “CLIL” Content and Language Integrated Learning พ.ศ. 2550
- โรงเรียนได้รับรางวัลการคัดเลือกเข้าโครงการ World-Class Standard School ปีพ.ศ. 2553
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในการแข่งขันภาษาอังกฤษเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 7 ปีการศึกษา 2555
- โรงเรียนได้รับการคัดเลือกรายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2558 มีคุณภาพและมาตรฐานระดับดีเยี่ยม
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับรางวัลชนะเลิศ ในงาน 6th SGGS International Students Conference 2015 ณ ประเทศมาเลเซีย
- ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการจัดบอร์ดนิทรรศการ ของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2558
- รางวัลชนะเลิศโรงเรียนสุจริตพระราชทาน ด้านความโปร่งใส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็น "ต้นแบบความโปร่งใสในสังคมดิจิทัล" เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2559
- ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการจัดบอร์ดนิทรรศการ ของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2559
- เข้าร่วมโครงการมาตรฐานสากล The International Standard School Project :ISSP [1]
- เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงในเขตกรุงเทพมหานคร[2]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- เลโอ โซสเซย์ นักร้อง นักร้อง, นักแสดง, พิธีกร
- แม็กซ์ เจนมานะ (แม็กซ์) นักร้อง, นักดนตรี
- มาร์ค เจนมานะ (มาร์ค) นักร้อง, นักดนตรี, นักเศรษฐศาสตร์
- เกล้าแก้ว สินเทพดล (จีน) นักแสดง, นางแบบ
- ธนวัฒน์ พรพิทักษ์กุล (เก่ง) พิธีกร
- กัญจน์ ศรีวรรณวัฒน์ (เบสท์) นักแสดง, นายแบบ
- กุลภัสสรณ์ ทวีโรจน์มงคล (เจค) นักเขียนนิยาย Best Seller เจ้าของนามปากกา ตั่วเจ้เจค, Summer kiss, และ ฮวังซอล, — นักพยากรณ์
- ศุภกิจ อมรฐิติพงศ์ (เบ็นซ์) นักแสดง
- สาธกา กิจสิรเวช (แบม) พรีเซ็นเตอร์โฆษณาเปปทีน, ดาวคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ประจำปี 2558
- พรปรียา หาญชาญเลิศ (เก่ง) พรีเซ็นเตอร์โฆษณาเปปทีน, ยูทูปเบอร์ชาแนล kenggii (เก่งกี้)
- ณภัคกมนตร์ ทวีโรจน์มงคล (จีนี่) นักร้อง, นักแต่งเพลง, แร็ปเปอร์, ศิลปินค่าย YUPP!, ผู้ชนะเลิศรายการ Dream Come True ช่อง 3, ยูทูบเบอร์ชาแนล geniepak
- นัฏจรีย์ ศรีธรรมรงค์ (จ๊ะจ๋า) ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ รุ่นที่72
- ภวินท์ กุลการัณยวิชญ์ (วิน) นักแสดง
- ธนโชค ชีวาสุขถาวร (นิว) คฑากร คณะวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รุ่นที่ 1, ผู้อันเชิญสเลี่ยงธรรมจักร งานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 72, นักแสดง
- ปัณณ์ ปั้นแตง (ปัน) นักแสดง, นายแบบ
- ธนันญา ชัยวิศาล (อิน) ผู้นำเชียร์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประจำปี 2558
- ชวัชร์พล รุจีภาชัยเจริญ (ต้น) รองชนะเลิศรายการ แฟนพันธุ์แท้ ตอน เทพปกรณัมกรีก
- ชยพล เขียวเอี่ยม (ชีส) นักร้องสมาชิกวง DICE
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ที่ | ชื่อ | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายเสนอ สุนทรเนตร | พ.ศ. 2506-2513 |
2 | นายพีระ ดาวเรือง | พ.ศ. 2513-2519 |
3 | นายประจวบ วัจนะรัตน์ | พ.ศ. 2519-2522 |
4 | นายประยูร สระน้ำ | พ.ศ. 2522-2528 |
5 | นายจรัล แก้วเหล็ก | พ.ศ. 2528-2534 |
6 | นายเกรียงศักดิ์ กำเนิดเหมาะ | พ.ศ. 2534-2536 |
7 | นายดำรง เดชะศิริ | พ.ศ. 2536-2539 |
8 | นางสาวมณีพันธ์ ศรีสุพรรณดิฐ | พ.ศ. 2539-2540 |
9 | นางสุรณี ทศิธร | พ.ศ. 2540-2542 |
10 | นายไพโรจน์ สุวรรณภักดี | พ.ศ. 2542-2543 |
11 | นายวีระ วงศ์ประดิษฐ์ | พ.ศ. 2543-2544 |
12 | นายธวัช หมื่นศรีชัย | พ.ศ. 2544-2550 |
13 | นางเบญญาภา คงรอด | พ.ศ. 2550-2554 |
14 | นายสุรพงศ์ งามสม | พ.ศ. 2554-2560 |
15 | นางวันทนา ชูช่วย | พ.ศ. 2560-2563 |
16 | นายเจนการณ์ เพียงปราชญ์ | พ.ศ. 2563-2565 |
17 | นายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์ | พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน |
(†)เฉพาะระดับมัธยมศึกษาปลาย (^)ชายล้วน (*)หญิงล้วน |