ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

พิกัด: 18°08′37″N 100°08′22″E / 18.1436088°N 100.1394367°E / 18.1436088; 100.1394367
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
Nareerat School Phrae
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ร. (N.R.)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญวินัยดี กีฬาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม เลิศล้ำปัญญา พัฒนาจิตใจ
สถาปนาพ.ศ. 2464 (อายุ 103 ปี)
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส54012002
ผู้อำนวยการนายสุริยน สายสนองยศ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน2,912 คน (4 ก.พ. 2565)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น (2556)
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี (2561)
สี  ฟ้า   น้ำเงิน
เพลงมาร์ชนารีรัตน์
เว็บไซต์www.nareerat.ac.th

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ (ไทยถิ่นเหนือ: ᩁᩰᩫ᩠ᨦᩁ᩠ᨿᩁᨶᩣᩁᩦᩁᩢᨲ᩠ᨶ᩼ᨧᩢ᩠ᨦᩉ᩠ᩅᩢᨯᨻᩯ᩵ᩖ ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนคุ้มเดิม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2464 โดยกระทรวงธรรมการ ได้มี ตราบุษบก ตามประทีปน้อย ที่ 13/1148 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2464 อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลประจำมลฑลมหาราษฎร์ฝ่ายสตรี และให้นางสาวอนงค์ ภูมิรัตน์ เป็นครูใหญ่ มหาเสวกตรี พระยาเพชรรัตน์สงคราม อนุญาตให้ใช้สโมสรเสือป่าเก่า 2 หลัง เป็นสถานที่เล่าเรียนและได้จัดทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียนขึ้น ในวันที่ 15 และ 16 มิถุนายน 2464 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน 47 คน

ปัจจุบัน เปิดสอนระดับชั้น ม.1 - ม.6 และในปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด 2,866 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565)

ประวัติโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

[แก้]
  • พ.ศ. 2469 ทางราชการประกาศยุบมณฑลมหาราษฎร์ จัดตั้งเป็นจังหวัด โรงเรียนสตรีประจำมณฑลมหาราษฎร์ “นารีรัตน์” จึงเปลี่ยนเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดแพร่ “นารีรัตน์”
  • พ.ศ. 2479 จังหวัดได้ย้ายโรงเรียนสตรี จากสโมสรเสือป่า (คือบริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ในปัจจุบัน) มาเปิดสอน ณ โรงเรียนซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย ที่ตั้งอยู่หน้าจวนข้าหลวง ถนนคุ้มเดิม และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2497 ได้รับงบประมาณ จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 1 ไร่ 83 ตารางวา (ที่ดินเดิมที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย จำนวน 7 ไร่ 2 งาน 96.8 ตารางวา )
  • พ.ศ. 2503 เริ่มเปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 แผนกอักษรศาสตร์ เปิดรับนักเรียนชายเข้าเรียนเป็นปีแรก ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่” นางบัวเขียว รังคสิริ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2507 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาจัดซื้อที่ดินเพิ่มจำนวน 3 ไร่ 36.9 ตารางวา
  • พ.ศ. 2511 เข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.) รุ่นที่ 5 พ.ศ. 2514 นางบัวเขียว รังคสิริ ได้ซื้อที่ดินที่ติดกับโรงเรียนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 3 งาน 58.7 ตารางวา มอบให้แก่โรงเรียน
  • พ.ศ. 2516 นางบัวเขียว รังคสิริ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้าฯ มีคำนำหน้านามว่า “คุณหญิง” เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2516
  • พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 1 ไร่ 1 งาน 29.8 ตารางวา
  • พ.ศ. 2517 คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2517
  • พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 3 งาน 8.3 ตารางวา
  • พ.ศ. 2518 นางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2525
  • พ.ศ. 2525 นางธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2527 สมาคมครูและผู้ปกครองฯ บริจาคเงินซื้อที่ดิน ที่ตำบลร่องฟอง (ตำบลทุ่งโฮ้งเดิม) จำนวน 16 ไร่ 60 ตารางวา มอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียน เพื่อใช้เป็นสถานที่ปลูกสร้างบ้านพักครู ทำแปลงสาธิตเกษตรของนักเรียนและใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมพิเศษของนักเรียน
  • พ.ศ. 2527, 2528, 2531-2534, 2536 ได้รับยกย่องให้เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจริยธรรมดีเด่น จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2529 โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ของเขตการศึกษา 8
  • พ.ศ. 2531 ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ใช้ที่ดินราชพัสดุ ที่ตั้งอยู่ ณ ถนนพระร่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่เนื้อที่ 3 งาน 60.10 ตารางวา เพื่อสร้างอาคารส่งเสริมการจำหน่ายผลผลิตของนักเรียน และเป็นแปลงสาธิตการเกษตร
  • พ.ศ. 2532 นางธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9 และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2532 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนในโครงการ โรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร เริ่มใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ทุกระดับชั้น
  • พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลพระราชทานชนะเลิศระดับประเทศ การจัดป้ายนิทรรศการ ”ข้าวในวิถีชีวิตไทย” ในหัวข้อ “ประเพณีข้าวชาวล้านนา” จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2536 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา เป็นผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของจังหวัดแพร่ และผู้บริหารดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2536 และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ระดับ 9
  • พ.ศ. 2537 สมาคมครูและผู้ปกครองฯ บริจาคเงินซื้อที่ดิน ที่ตำบลร่องฟองเพิ่มเติม จำนวน 9 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา
  • พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ระดับเขตการศึกษา 8
  • ศาลพระภูมิชัยกฤษณะ ศาลพระภูมิประจำโรงเรียน (1 เมษายน 2565)
    พ.ศ. 2538 ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดเกวียนบุปผาชาติ งานแอ่วสงกรานต์น้ำใจเมืองแป้นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา ของจังหวัดแพร่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดขบวนแห่งานประเพณีแห่เทียนพรรษา รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดเทียนพรรษา ประจำปี 2538 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดขบวนแห่กระทง และรางวัลรองชนะเลิศ การประกวดนางนพมาศ เนื่องในประเพณีลอยกระทงเล่นไฟพะเนียงเวียงโกศัยจังหวัดแพร่ ประจำปี 2538 ของเทศบาลเมืองแพร่
  • พ.ศ. 2539 ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดแพร่ ให้เป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมดีเด่น ประจำปี 2539 ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดแพร่ และได้รับรางวัลชมเชย ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำปี 2539 ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • พ.ศ. 2540 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก และเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541
  • พ.ศ. 2542 นายพิสิฐ คงเมือง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรให้เป็นโรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ ปลอดสารเสพย์ติด รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพย์ติด บ้าน โรงเรียน ร่วมคิด ทุกชีวิตปลอดภัย ปี 2542 จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2543 นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  • พ.ศ. 2544 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
  • พ.ศ. 2545 โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4) นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 9
  • พ.ศ. 2546 โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5) และโรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก จาก สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ทุกชั้นปี

วันที่ 27 กันยายน 2547 นายสุพงษ์ รังษี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

  • พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลยอดเยี่ยมการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา "รักการอ่านสานสู่ฝัน"ในปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ 2546 เฉลิมพระเกียรติฯ สาขากิจกรรม ส่งเสริมยอดนักอ่านสู่การเรียนรู้ ด้านสื้อสารภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  • พระพุทธอะโนมะทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า (1 เมษายน 2565) Phra Budda A No Ma Dat Si Samma SamBuddha Cao
    พ.ศ. 2549 เด็กหญิงกานต์ธีรา ทิพย์กาญจนรัตน์ ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลชนะะเลิศ

"เพชรยอดมงกุฏ" ด้านภาษาไทย ประจำปี 2549

  • พ.ศ. 2549 กลุ่มนาฏศิลป์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำปี 2549 ของรัฐสภา
  • พ.ศ. 2550 กลุ่มนาฏศิลป์ ได้รับรางวัลพระราชทานเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2550
  • 30 กันยายน 2550 นายสุพงษ์ รังษี ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ เกษียณอายุราชการ
  • พ.ศ. 2550 นายปรีชา บำบัด ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4)
  • 15 มิถุนายน 2552 เปิดพิพิธภัณฑ์การศึกษา โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ ในโอกาสครบรอบ88ปีโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • 20 สิงหาคม 2552 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ณ อาคารจรัสฉายไพทูรย์ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • 30 กันยายน 2552 นายปรีชา บำบัด ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ เกษียณอายุราชการ
  • 23 ธันวาคม 2552 นางสาวจรรยา มโนรส ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศให้โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่เป็นโรงเรียนมาตรฐานสู่สากล
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5)
  • พ.ศ. 2556 เปิดแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2559 ดร.กิจผจญ แมตเมือง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2561 เปิดโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ (English Program Nareerat School Phrae) และเปิดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เลือกเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ในฐานะภาษาต่างประเทศที่ 2 เป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2562 เปิดแผนการเรียนศิลป์-ภาษาเกาหลี ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2562 นายสวัสดิ์ ใจตุรงค์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2564 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนา
  • พ.ศ. 2565 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ได้มีการเปิดอาคารเรียนใหม่ "อาคารจำรูญศตมรกต" อาคาร 10 แทนอาคาร 7 และ 8 หลังเดิม
  • พ.ศ. 2565 ว่าที่ร้อยตรี วีรภัทร แก้วทอง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

รายนามผู้บริหารโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางสาวอนงค์ ภูมิรัตน์ พ.ศ. 2464 - 2465
2 นางสาวเจริญ ยุกตะเสวี พ.ศ. 2465 - 2467
3 นางจินดา บริหารสิกขกิจ พ.ศ. 2467 - 2468
4 นางทองอยู่ คงอุดม พ.ศ. 2468 - 2485
5 คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ พ.ศ. 2486 - 2517
6 นางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง พ.ศ. 2517 - 2525
7 นางธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ พ.ศ. 2525 - 2532
8 นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ พ.ศ. 2532 - 2541
9 นายพิสิฐ คงเมือง พ.ศ. 2541 - 2542
10 นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ พ.ศ. 2542 - 2547
11 นายสุพงษ์ รังษี พ.ศ. 2547 - 2550
12 นายปรีชา บำบัด พ.ศ. 2550 - 2552
13 นางสาวจรรยา มโนรส พ.ศ. 2552 - 2558
14 นายฐานวัฒน์ ธนาวรรัฐพงศ์ พ.ศ. 2558 - 2559
15 ดร.กิจผจญ แมตเมือง พ.ศ. 2559 - 2562
16 นายสวัสดิ์ ใจตุรงค์ พ.ศ. 2562 - 2565
17 ว่าที่ร้อยตรี วีรภัทร แก้วทอง พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

รายชื่ออาคารและสถานที่ในโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

[แก้]
  • อาคาร 1 - อาคารน้ำเพชร อาคารนี้เป็นอาคารไม้เพียงอาคารเดียวของโรงเรียน มี 2 ชั้น ชั้นละ 6 ห้อง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 ซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันเป็นอาคารเกียรติยศและเป็นที่ตั้งขององค์กรที่สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ สมาคมศิษย์เก่านารีรัตน์ มูลนิธิคุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ และมูลนิธิศิษย์เก่านารีรัตน์ ห้องประชุมน้ำเพชร ห้องนำเสนอ และ พิพิธภัณฑ์การศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
    • ชั้นที่หนึ่ง มีห้องประชุมคุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ, พิพิธภัณฑ์การศึกษาฯ, ห้องเกียรติยศนารี, ห้องประชุมน้ำเพชร และห้องสมาคมศิษย์เก่านารีรัตน์
    • ชั้นที่สอง มีห้องนิทรรศการหมุนเวียน, ห้องคิดสร้างสรรค์งาน, ห้องภูมิปัญญาวิถีชีวิตล้านนา, ห้องหน้ามุกเทิดไท้กษัตรา, ห้องเชิดชูเวียงโกศัย, ห้องล้านนาเรียนรู้, ห้องพัฒนาจิตใจ และห้องรำลึกนารีรัตน์
  • อาคาร 2 - อาคารเกล็ดแก้ว มี 4 ชั้น 21 ห้อง ใต้ถุนโล่ง และมีทางเดินเชื่อมไปอาคาร 5 เป็นตึกอำนวยการ สร้างในสมัยผู้อำนวยการธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ และสมาคมผู้ปกครองและครู ฯ ได้บริจาคเงินต่อเติมอาคารจำนวน 3 ชั้น
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นที่โล่ง มีโต๊ะและเก้าอี้ให้นั่ง มีเครื่องออกกำลังกาย และมีห้องประชุมครู ส่วนต่อเติมเป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องของผู้อำนวยการโรงเรียน ห้องการเงิน ห้องพัสดุและอัดสำเนา ห้องธุรการ ห้องงานบริหารธุรการและงบประมาณ ชั้นสองมี 6 ห้อง ส่วนต่อเติมเป็นห้องงานข้อมูลสารสนเทศ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องบริหารงานบุคคล ห้องเทคนิคคอมพิวเตอร์ ห้องบัตร Smart Card และห้องแผนงาน
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องคอมพิวเตอร์ ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยี ชั้นสามมี 6 ห้อง ส่วนต่อเติมเป็นห้องงาน HCEC และห้องพักครูเทคโนโลยี
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนศิลปะ นาฏศิลป์และคอมพิวเตอร์
  • อาคาร 3 - อาคารแววมณี เป็นอาคารเรียนที่สร้างบนที่ดินของสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ และสร้างด้วยเงินบริจาคของสมาคม ฯ มี 4 ชั้น 12 ห้อง สร้างในสมัยผู้อำนวยการปรีชา บำบัด
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องพักครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และห้องเรียนการงานอาชีพ
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • อาคาร 4 - อาคารสีนิลกาฬ มี 4 ชั้น 24 ห้อง ส่วนใหญ่เป็นห้องวิทยาศาสตร์และห้องพักครู สร้างในสมัยผู้อำนวยการคุณหญิงบัวเขียว รังคศิริ
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องพักครูและห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมีห้องเรียนประจำของห้องเรียนพิเศษทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 1 ห้อง
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องพักครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1 ห้อง และห้องพักครูสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 2 ห้อง มีห้อง SEAR และห้องของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ห้องศูนย์ EP และศูนย์ AFS
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องพักครูสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1 ห้อง เป็นห้องเรียนและห้องทดลองวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมปลาย และมีห้องเรียนประจำของห้องเรียน พิเศษทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1 ห้อง
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนและห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในวิชาชีววิทยาและเคมีระดับมัธยมปลาย
  • อาคาร 5 - อาคารมุกดาหาร มี 4 ชั้น 24 ห้อง เป็นตึกอำนวยการ สร้างในสมัยผู้อำนวยการจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องเรียนดนตรีสากล ห้องพักครูสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ห้องเรียนการงานอาชีพ ห้องพักครูสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน)
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องทะเบียน ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานทั่วไป ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องรองผู้อำนวยการบริหารกิจการนักเรียน และห้องกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน
    • ชั้นที่สาม เป็นห้อง HCEC , ห้องควบคุม ห้องประชุมมุกดาหาร (เดิมชื่อห้องโสตทัศนศึกษา 2) และห้องสภานักเรียน
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนวิทยาศาสตร์ 4 ห้อง และห้องเรียนมัลติมีเดีย
  • อาคาร 6 - อาคารกาญจนรัตน์ มี 6 ชั้น ชั้นละ 9 ห้อง มีลิฟต์ 2 ตัว สร้างในสมัยผู้อำนวยการเจียร ดุษณีย์วงศ์ (งบประมาณปี 2539 - 2541)
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นที่โล่ง มีโต๊ะและเก้าอี้ให้นั่ง มีห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ธนาคารโรงเรียน และมีห้องน้ำหญิงกับห้องน้ำชาย ห้องวงโยธวาทิต (Marching Band) ธนาคารขยะ ห้องพักครูการงานอาชีพ และห้องอาคารสถานที่
    • ชั้นที่สอง มีห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ , ห้อง E-Library, ห้องประชุมกาญจนรัตน์ และห้อง Resource Centre
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมีห้องพักครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ห้องศูนย์การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น, ห้องศูนย์การเรียนการสอนภาษาเกาหลี
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องพักครูของกลุ่มสาระภาษาไทย ห้องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องศูนย์สื่อภาษาไทย และห้องส่งเสริมการอ่าน
    • ชั้นที่ห้า เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และมีห้องพักครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และห้องเรียน EP ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
    • ชั้นที่หก เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีห้องพักครูของกลุ่มสาระสังคมศึกษา , ห้องสมุดของกลุ่มสาระสังคมศึกษา , ห้อง ASEAN และห้องพักครู EP
  • อาคาร 7 - อาคาร 90 ปี นารีรัตน์ มี 3 ชั้น สร้างในสมัยผู้อำนวยการจรรยา มโนรส
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องพยาบาล และห้องฝรั่งเศส
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องพักครูแนะแนว, ห้องแนะแนว, ห้อง To Be Number One, ห้องงานครอบครัวพอเพียง
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องกลุ่มสาระศิลปะ, ห้องนาฏศิลป์ และห้องดนตรีไทย
  • อาคาร 8 - อาคารประชาสัมพันธ์
    • ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องพักครูเวร และป้อมยามรักษาการณ์
  • อาคาร 9 - อาคารจรัสฉายไพฑูรย์ มี 4 ชั้น สร้างในสมัยผู้อำนวยการสุพงษ์ รังษี
    • ชั้นที่หนึ่ง เป็นห้องประชุมจรัสฉายไทฑูรย์ (เดิมชื่อห้องโสตทัศนศึกษา 1) และมีห้องน้ำหญิง
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และห้องพักครูมัธยมศึกษาตอนปลาย
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
  • อาคาร 10 - อาคารจำรูญศตมรกต มี 4 ชั้น สร้างแล้วเสร็จในสมัยผู้อำนวยการสวัสดิ์ ใจตุรงค์
    • ชั้นแรก เป็นโถงกว้าง
    • ชั้นที่สอง เป็นห้องเรียนของห้องพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และห้องเรียนสีเขียว
    • ชั้นที่สาม เป็นห้องเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    • ชั้นที่สี่ เป็นห้องเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • หอประชุมนพรัตน์ สร้างในสมัยผู้อำนวยการธัญญลักษณ์ จ้อยจรูญ
    • ชั้นแรก เป็นโรงอาหาร และด้านข้างเป็นกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
    • ชั้นที่สอง เป็นหอประชุม

สิ่งปลูกสร้างในอดีต (ไม่เกิน 10 ปี)

[แก้]
  • อาคาร 7 - อาคารฉัตรโกเมน มี 2 ชั้น ปัจจุบันแทนที่ด้วยอาคาร 10 (จำรูญศตมรกต) ทางทิศตะวันออก หน้าอาคาร 7 (ฉัตรโกเมน หรือ 90 ปีนารีรัตน์ หรือเดิมชื่อ ไอศูรย์บุษราคัม)
    • ชั้นแรก เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มการงานอาชีพ (งานคหกรรมและหัตถกรรม) และห้องพักครูการงานอาชีพ
    • ชั้นสอง เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มการงานอาชีพ (งานหัตถกรรม เย็บปักถักร้อย)
  • อาคาร 8 - อาคารร่มเย็นเพทาย มี 2 ชั้น ปัจจุบันแทนที่ด้วยอาคาร 10 (จำรูญศตมรกต) ทางทิศตะวันตก ข้างหลังหอประชุมนพรัตน์
    • ชั้นแรก เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มศิลปะ ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) และอาคารห้องเรียนสีเขียว (Green Learning Society สนับสนุนโดย EGAT)
    • ชั้นสอง เป็นห้องเรียนกระบวนวิชากลุ่มดนตรีสากล ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีสากล และ นาฏศิลป์) และห้องเรียนนาฏศิลป์ (ส่วนใหญ่สอนนาฏศิลป์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยอาจารย์ประจำคือ คุณครูกฤษณา กาญจนสุระกิจ หรือคุณครูบัวตอง ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ)

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2531
  • คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
  • นางธัญลักษณ์ จ้อยจรูญ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • นางสาวเจียร ดุษณีย์วงศ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • นางสาววรพร บำบัด ผู้รอบรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดแพร่ อดีตรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ อดีตเลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่คนแรก อดีตเลขานุการสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง 3 สมัย
  • พลตำรวจโทประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • คณิน บัดติยา นักแสดง
  • กัลยทรรศน์ ชูวงษ์ นักร้อง
  • นางกฤษณา กาจนสุระกิจ อดีตครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

18°08′37″N 100°08′22″E / 18.1436088°N 100.1394367°E / 18.1436088; 100.1394367