โรงเรียนเซนต์ดอมินิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
ที่ตั้ง
1526 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
ข้อมูล
ชื่ออื่นซ.ด. / S.D.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญขยัน ศรัทธา ร่าเริง
สถาปนา12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
ผู้อำนวยการคณะซาเลเซียน
สีน้ำเงิน ขาว
เพลงเพลงสดุดีเซนต์ดอมินิก
เว็บไซต์http://www.sd.ac.th

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก (อังกฤษ: Saint Dominic School) ตั้งอยู่บนเลขที่ 1526 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนเอกชนโรมันคาทอลิกชายล้วน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นโรงเรียนลำดับที่ 7 ในสังกัดคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกแห่งประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนได้รับการสถาปนาจัดตั้งและถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เดิมโรงเรียนมีชื่อว่า "ดอนบอสโกวิทยา" โดยแยกออกจาก "โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก" เนื่องจาก โดนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตัดแบ่งครึ่งไปจนถึงแยกคลองตัน เพื่อใช้เป็นที่เรียนวิชาสายสามัญ เปิดสอนเพียงชั้น ป.1 ก-ข-ค ถึง ป.5 ก-ข-ค จำนวนนักเรียนตามบัญชีเรียก 214 คน[1] ต่อมาในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เซนต์ดอมินิก" เนื่องจาก ชื่อ เซนต์ดอมินิก ซึ่งเป็นชื่อของชมรมซาเลเซียนเก่า ได้เปลี่ยนชื่อจากชมรม เซนต์ดอมินิก เป็นชื่อชมรมเพื่อนซาวีโอ เราจึงนำชื่อนี้มาใช้ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 โดยมีนายปรีดา แสงสว่าง รับเป็นเจ้าของเอง (ทั้งผู้จัดการและครูใหญ่) เพราะหลักฐานเอกสารของ มูลนิธิยังไม่เรียบร้อยต่อมาโอนการเป็นเจ้าของให้แก่ "คณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย" โดยมีบาทหลวงยอห์น อุลลิอานา เป็นเจ้าของ เจ้าของโรงเรียนในปัจจุบันได้แก่ "มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ" โดย บาทหลวงมนูญ สนเจริญ เป็นผู้ถือใบอนุญาต[2]

ปัจจุบันโรงเรียนเซนต์ดอมินิกเปิดรับตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีครูไทยจำนวน 173 คน ครูต่างชาติ จำนวน 15 คน และนักเรียนรวมประมาณ 2,000 กว่าคน

เปิดตัวชั้นประโยค[แก้]

ป.1 ปีแรก ปี 2504
ป.7 ปีแรก ปี 2506
ป.4 ปีแรก ปี 2507
ม.ศ.3 ปีแรก ปี 2509
ม.ศ.5 ปีแรก ปี 2514
เริ่ม ป.1 หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 ปี 2521
เริ่ม ม.1 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 ปี 2521
จบ ม.3 ปีแรก ปี 2523
เริ่ม ม.4 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 ปี 2524
จบ ป.6 ปีแรก และ ม.6 ปีแรก ปี 2526
เริ่ม ป.1, ม.1 และ ม.4 หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ปี 2534
จบ ม.3 และ ม.6 หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ปีแรก ปี 2536
เริ่ม ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ปี 2545

อาคารและสถานที่ภายในบริเวณโรงเรียนเซนต์ดอมินิก[แก้]

อาคารเรียนในปัจจุบัน[แก้]

  • SAVIO (7 ชั้น)
  • BOSCO (3 ชั้น)
  • MICHAEL RUA [3] (4 ชั้น)
  • Joseph (4 ชั้น)
  • มารีอนุสรณ์ 48 ปี [8ชั้น (+ชั้นM+ชั้นดาดฟ้า คือ 10ชั้น)]
  • อนุสรณ์​ 200 ปี ชาตกาล(9ชั้น)

อาคารมารีย์ (2509-2551)[แก้]

อาคารมารีย์ เป็นชื่อตึกที่ในอดีตเคยเรียกว่า "ตึกเจ้าคณะ" หรือ "บ้านเจ้าคณะ" เพราะเป็นที่ตั้งสำนักงานคณะซาเลเซียน และเป็นที่พำนักของอธิการเจ้าคณะแขวงคณะซาเลเซียนในประเทศไทย รวมทั้งผู้ใหญ่ท่านอื่นด้วย ปัจจุบันได้สร้างอาคารมารีย์อนุสรณ์ 48 ปีแทนอาคารมารีย์หลังเดิม[4]โดยเป็นตึกสีขาว เอียงเป็นตัว L มีสระว่ายน้ำหนึ่งสระ มีลิฟต์ 3 ตัว บันได 2 ด้าน (ด้านหัว L และท้าย L) ชั้น 1 จะเป็นห้องโถง โดยจะมีวัดพระแม่องค์อุปถัมป์ไว้ทำพิธีต่าง ๆ ชั้น 2 จะเป็นของ ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและห้องนาฏยศิลป์ไทย ชั้น 3 จะเป็นของ ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีห้องรวมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และห้องขับร้องเซซีลีอา ชั้น 4 ของ ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีห้องสมุดมัธยมศึกษา ชั้น 5 จะเป็นชั้นของห้องคอมพิวเตอร์ ห้องประชุมรีนัลดี ห้องนวัตกรรม ชั้น 6 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จะมีห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องเรียน Learn education ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ ชั้น 7 จะมีห้อง มัธยมศึกษาปีที่ 1 เขตนักบวช ผู้ใหญ่ในโรงเรียน และห้องพักครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ชั้น 8 มีห้องมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องพักครูกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ เขตนักบวชและชั้นสุดท้าย ชั้นดาดฟ้า

ตึกมารีย์มีกล้องวงจรปิดทั้งสิ้น 48 ตัว (เฉพาะนอกห้อง) และมีห้องเรียน 45 ห้อง และถือเป็นตึกที่สร้างเก่าแต่นำมาดัดแปลงใหม่และทันสมัยที่สุดในโรงเรียน

ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญด้านอาคารสถานที่[แก้]

  • พิธีวางศิลฤกษ์อาคารบอสโก 3 ชั้น (และสร้างเสร็จในปี 2508) - 7 กรกฎาคม 2505
  • สร้างอาคารมารี - ปี 2508-2509
  • สร้างอาคารไมเคิล รัว (ตึกวิทย์, ม.ศ.ต้น) - ปี 2511
  • สร้างอาคารบอสโก 4 ชั้น (ตึกห้องสมุด และ ม.ศ.ปลาย) - ปี 2512
  • พิธีเปิดอาคารไมเคิล รัว (ตึกวิทย์, ม.ศ.ต้น) และมอบใบรับรองวิทยฐานะ โดยนายสุกิจ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ - 7 กุมภาพันธ์ 2513
  • พิธีเปิดอาคารบอสโก 4 ชั้นและห้องสมุดมัธยมศึกษา โดยนายสมชัย วุฑฒิปรีชา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - 10 พฤศจิกายน]] 2516
  • สร้างอาคารซาวีโอและหอประชุมใหญ่ - ปี 2522
  • พิธีเปิดอาคารซาวีโอและหอประชุมใหญ่ โดย ศาตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน ปลัดประทรวงศึกษาธิการ - 19 ธันวาคม 2524
  • ย้ายเสาธงจากหน้าอาคารบอสโกไปอยู่ที่กึ่งกลางสนาม - ปี 2528
  • สร้างอนุสาวรีย์นักบุญยอห์น บอสโก และนักบุญดอมินิก ซาวีโอ หน้าอาคารบอสโก - ปี 2528
  • ปรับปรุงโบสถ์น้อยอาคารมารีและตั้งชื่อใหม่ว่า "โบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์" - ปี 2541
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเจิมศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังใหม่ (ตึกมารีอนุสรณ์ 48 ปี) - 7 ธันวาคม 2542
  • สร้างโดมโครงหลังคาผ้าใบบริเวณสนามวอลเลย์บอล, สนามตะกร้อ - มีนาคม-เมษายน 2545
  • สร้างอาคารมารีอนุสรณ์ 48 - ปี 2551-2552
  • สร้างอาคารยอห์น บอสโก อนุสรณ์ 200 ปีชาตกาล - ปี 2559-2562
  • ย้ายเสาธงจากกลางสนามมาที่ข้างสระว่ายน้ำ - ปี 2559
  • ซ่อมแซมโดมและสร้างหลังคาโดม - ปี2562-2563

เกียรติประวัติ[แก้]


ทำเนียบอธิการโรงเรียนเซนต์ดอมินิก[แก้]

ลำดับ รายชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1 บาทหลวงยอห์น อุลลิอานา 2504-2505
2 บาทหลวงยอร์ช ไบน้อตตี 2506
3 บาทหลวงอัลบีโน ปองกิโอน 2507-2508
4 บาทหลวงมัสสิมีลิอาโน โกมิเอโร 2509
5 บาทหลวงแอนโทนี สมิต 2510
6 บาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ 2511-2515
7 บาทหลวงยอห์น อีวาโน แปร์ตีเล่ 2515-2518
8 บาทหลวงประธาน ศรีดารุณศีล 2519-2520
9 บาทหลวงตีโต เปตรอน 2520-2521
10 บาทหลวงไรมุนโด การ์เซีย 2522
11 บาทหลวงยอห์น บัพตีสตา โกลมบีนี 2523
12 บาทหลวงบัพตีสตา แปร์โซเนนี 2524-2525
13 บาทหลวงยอห์น อีวาโน แปร์ตีเล่ 2526-2531
14 บาทหลวงชาร์ลส์ เวลาร์โด 2532-2534
15 บาทหลวงอารอน อัลโกเซบา 2535-2540
16 บาทหลวงบรรจง สันติสุขนิรันดร์ 2541-2543
17 บาทหลวงอุดม นิธิภัทราภรณ์ 2543-2551
18 บาทหลวง ดร.มนูญ สนเจริญ 2551 - 2564
19 บาทหลวงเกรียงศักดิ์ ชัยพรแก้ว 2564-ปัจจุบัน

ศิษย์เก่า[แก้]

ด้านการเมือง[แก้]

ด้านกีฬา[แก้]

ด้านวงการบันเทิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [หนังสืออนุสรณ์ 2546]
  2. [หนังสืออนุสรณ์ 2546]
  3. Michael Rua
  4. สารศิษย์เก่า ซ.ด. สัมพันธ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′58″N 100°33′34″E / 13.749426°N 100.559436°E / 13.749426; 100.559436