ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตซอลทีมชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาช้างศึกโต๊ะเล็ก
สมาคมสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสเปน มิเกล โรดริโก
กัปตันจิรวัฒน์ สอนวิเชียร
ติดทีมชาติสูงสุดอนุชา มั่นเจริญ (117)
ทำประตูสูงสุดศุภวุฒิ เถื่อนกลาง (199)
สนามเหย้าบางกอกอารีนา
รหัสฟีฟ่าTHA
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน9
(6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)[1]
อันดับสูงสุด9
(6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ไทย ไทย 5–12 จีน ธงชาติจีน
(ฮ่องกง; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
ชนะสูงสุด
ไทย ไทย 29–1 ภูฏาน ธงชาติภูฏาน
(อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้; 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
แพ้สูงสุด
ธงชาติบราซิล บราซิล 11–0 ไทย ไทย
(รัฐฮิวกรังจีดูซูว ประเทศบราซิล; 24 ตุลาคม พ.ศ. 2547)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีม (2012, 2016, 2021, 2024)
ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย
เข้าร่วม15 (ครั้งแรกใน 1999)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (2008, 2012, 2024)[2]
ฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
เข้าร่วม16 (ครั้งแรกใน 2001)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2001, 2003, 2005, 2006, 2007, 2008, 2009, 2012, 2013, 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2022)

ฟุตซอลทีมชาติไทย (อังกฤษ: Thailand national futsal team) เป็นทีมฟุตซอลตัวแทนจากประเทศไทยร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติ ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ทีมชาติไทยได้ร่วมเล่นฟุตซอลโลก 7 ครั้งติดต่อกัน ในปี 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2021 และ 2024 โดยสามารถเข้าไปถึงรอบน็อกเอาต์ได้สามครั้ง ส่วนในระดับเอเชียนั้นผลงานที่ดีสุดคือ ได้อันดับ 2 ในการแข่งขัน เอเอฟซีฟุตซอลแชมเปียนชิพ 3 ครั้ง ในปี 2008, 2012 และ 2024

ฟุตซอลทีมชาติไทยลงเล่นเกมอย่างเป็นทางการไปแล้วกว่า 250 นัด ลงเล่นเกมในระดับนานาชาติครั้งแรกในปี 1992 อันดับที่ดีที่สุดคืออันดับที่ 9 ตามการจัดอันดับคะแนนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 และเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024

ประวัติ

[แก้]

ฟุตซอลทีมชาติไทยก่อตั้งขึ้นในปี 1992 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตซอลชิงแชมป์โลก 1992 การแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการคือนัดที่แพ้จีน 5–12 ในวันที่ 2 พฤษภาคม[3]

หลังจบการแข่งขันรอบคัดเลือก ทีมชาติไทยก็ไม่มีการแข่งขันเป็นระยะเวลา 7 ปี ก่อนที่จะกลับมาเข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 1999 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียครั้งแรก ผลงานของทีมชาติไทยในรายการนั้นคือตกรอบแบ่งกลุ่ม

ใน ค.ศ. 2000 ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2000 ที่กรุงเทพมหานคร ในการแข่งขันครั้งนี้ ทีมชาติไทยอยู่ร่วมกลุ่มเดียวกันกับสิงคโปร์และอีก 2 ทีมที่แข็งแกร่งอย่างเกาหลีใต้และคาซัคสถาน แม้ว่าไทยจะเริ่มต้นด้วยการแพ้ให้ทีมชาติคาซัคสถาน แต่ก็สามารถเอาชนะเกาหลีใต้และสิงค์โปร์ ทำให้ไทยสามารถเข้ารอบรองชนะเลิศในฐานะทีมอันดับสองที่ดีที่สุด แต่ในรอบรองชนะเลิศ ทีมไทยแพ้ให้กับทีมชาติอิหร่านซึ่งเป็นแชมป์ในปีนั้น ต่อมาในนัดชิงอันดับที่สาม ไทยเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่นไปได้ด้วยผล 8–6 ทำให้ทีมไทยจบอับดับที่สามในการแข่งขันครั้งนั้นและได้สิทธิ์ไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2000 ที่กัวเตมาลาในฐานะสามทีมที่ดีที่สุดจากทวีปเอเชีย[4]

ประวัติในการแข่งขันชิงแชมป์โลก

[แก้]

ทีมชาติไทยได้ผ่านเข้าไปเล่นฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้ายทั้งหมด 6 ครั้งจาก 9 ครั้ง ปีแรกที่ผ่านเข้าไปเล่นคือปี 2000 ที่กัวเตมาลาและล่าสุดคือในปี 2016 ที่โคลอมเบีย ทีมชาติไทยไม่เคยพลาดการเข้าแข่งชิงแชมป์โลกรอบสุดท้ายเลยนับตั้งแต่การเข้าร่วมครั้งแรก นอกจากนี้ไทยยังเคยได้รับเลือกให้เป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012ซึ่งทุกนัดจัดการแข่งขันที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด

กัวเตมาลา 2000: เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรก

[แก้]

ทีมชาติไทยได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2000ในฐานะทีมอันดับที่สามจากการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2000 ในครั้งนั้นทีมชาติไทยอยู่กลุ่มบีร่วมกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ทีมชาติอียิปต์ และทีมชาติอุรุกวัย ซึ่งไทยแพ้รวดทุกนัดและตกรอบแบ่งกลุ่ม

ไต้หวัน 2004: ชัยชนะครั้งแรกในรายการ

[แก้]

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2004 ที่จัดขึ้นที่ไต้หวันนั้น ทีมชาติไทยเริ่มต้นด้วยการแพ้ให้กับทีมชาติบราซิลและอุรุกวัย และชนะทีมชาติออสเตรเลียไปได้ 3-2 ประตู นับเป็นชัยชนะนัดแรกของทีมชาติไทยในรายการ อย่างไรก็ตาม คะแนนของทีมชาติไทยไม่เพียงพอที่จะผ่านเข้ารอบ

ไทย 2012: การลงเล่นในฐานะเจ้าภาพ

[แก้]

ไทยชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 เหนือจีน อิหร่าน อาเซอร์ไบจาน เช็กเกีย ศรีลังกา และกัวเตมาลา[5]

ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของวิคเตอร์ เฮอร์มันส์ ประเดิมสนามด้วยการเอาชนะทีมชาติคอสตาริกา 3–1 ซึ่งในนัดนั้นมีผู้เข้าชมกว่า 4,379 คน แม้ว่าทีมจะแพ้ในสองเกมหลังต่อทีมชาติยูเครนและปารากวัย แต่ทีมชาติไทยก็ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้เป็นครั้งแรกจากการเป็นหนึ่งในสี่ทีมอันดับที่สามที่ดีที่สุด ไทยตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายหลังจากที่แพ้ให้กับทีมชาติสเปน 1–7 อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันครั้งนี้ ศุภวุฒิ เถื่อนกลางได้รับรางวัลลูกยิงประตูยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์[6] โดยลูกยิงที่ได้รับรางวัลเกิดขึ้นในนัดที่พบกับคอสตาริกา[7]

โคลอมเบีย 2016

[แก้]

ทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของวิคเตอร์ เฮอร์มันส์ ได้สิทธิ์เข้าไปเล่นฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2016 ที่ประเทศโคลอมเบีย หลังจากที่จบอันดับที่สามในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2016 อย่างไรก็ตาม ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น เฮอร์มันส์ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ฝึกสอน[8] ทำให้สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยแต่งตั้งมิเกล โรดริโกเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในการแข่งขันครั้งนี้

ทีมชาติไทยอยู่กลุ่มบีร่วมกับรัสเซีย, อียิปต์ และคิวบา ไทยประเดิมสนามด้วยการแพ้รัสเซียด้วยผล 4-6[9] ก่อนที่จะชนะสองนัดรวดเหนืออียิปต์[10] และคิวบา[11] ทำให้ไทยผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะรองแชมป์ของกลุ่มบี การแข่งขันครั้งนี้จึงถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ทีมไทยมีแต้มมากกว่า 3 แต้มในรอบแบ่งกลุ่ม ต่อมาในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ไทยเสมอกับอาเซอร์ไบจานในเวลา 7–7 แต่หลังช่วงทดเวลาจบ ไทยแพ้ที่ผล 8–13[12]

การแข่งขันครั้งนี้ ไทยลงเล่น 4 นัด ยิงประตูทั้งหมด 22 ประตู ซึ่งเกือบเท่าจำนวนประตูรวมที่เคยทำจากการแข่งขันชิงแชมป์โลก 4 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่ลงเล่น 14 เกมได้ 23 ประตู ผู้ที่ทำประตูได้มากที่สุดคือศุภวุฒิ เถื่อนกลาง (6 ประตู) รองลงมาคือจิรวัฒน์ สอนวิเชียร (5 ประตู)

สนามเหย้า

[แก้]

ฟุตซอลทีมชาติไทยมีสนามเหย้าสองสนามคือบางกอกอารีนา (ความจุ 15,000 ที่นั่ง) และอินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก (ความจุ 10,000 ที่นั่ง)

เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ
บางกอกอารีนา อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
ความจุ: 15,000 ความจุ: 10,000
ฟุตซอลทีมชาติไทย (กรุงเทพมหานคร)

ฟุตซอลชิงแชมป์โลก

[แก้]
สถิติในฟุตซอลชิงแชมป์โลก
ปี รอบ เล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ได้ เสีย
เนเธอร์แลนด์ 1989 ไม่ได้เข้าร่วม
ฮ่องกง 1992 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
สเปน 1996 ไม่ได้เข้าร่วม
ประเทศกัวเตมาลา 2000 รอบแบ่งกลุ่ม 3 0 0 3 2 17
จีนไทเป 2004 รอบแบ่งกลุ่ม 3 1 0 2 5 13
บราซิล 2008 รอบแบ่งกลุ่ม 4 1 0 3 7 15
ไทย 2012 รอบ 16 ทีม 4 1 0 3 9 16
โคลอมเบีย 2016 รอบ 16 ทีม 4 2 0 2 22 25
ลิทัวเนีย 2021 รอบ 16 ทีม 4 1 1 2 11 16
อุซเบกิสถาน 2024 รอบ 16 ทีม 4 2 0 2 15 19
รวม 7/10 26 8 1 17 71 121

ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย

[แก้]
เอเอฟซีฟุตซอลแชมเปียนชิพ
ปี รอบ เล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ได้ เสีย
มาเลเซีย 1999 รอบแรก 4 2 0 2 43 22
ไทย 2000 อันดับที่สาม 5 3 0 2 29 23
อิหร่าน 2001 ก่อนรองชนะเลิศ 4 2 0 2 24 14
อินโดนีเซีย 2002 อันดับที่สาม 7 6 0 1 42 15
อิหร่าน 2003 อันดับที่สาม 6 5 0 1 23 7
มาเก๊า 2004 อันดับที่สาม 6 4 1 1 49 14
เวียดนาม 2005 รอบสอง 6 3 2 1 57 12
อุซเบกิสถาน 2006 รอบแรก 3 2 0 1 19 11
ญี่ปุ่น 2007 ก่อนรองชนะเลิศ 4 2 0 2 23 16
ไทย 2008 รองชนะเลิศ 6 5 0 1 27 10
อุซเบกิสถาน 2010 ก่อนรองชนะเลิศ 4 3 0 1 21 16
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2012 รองชนะเลิศ 6 5 0 1 22 16
เวียดนาม 2014 ก่อนรองชนะเลิศ 4 2 1 1 17 9
อุซเบกิสถาน 2016 อันดับที่สาม 6 5 1 0 31 10
จีนไทเป 2018 ก่อนรองชนะเลิศ 4 2 0 2 16 16
คูเวต 2020 ยกเลิก
คูเวต 2022 อันดับที่สี่ 6 3 1 2 16 20
ไทย 2024 รองชนะเลิศ 6 4 1 1 17 11
รวม 16/17 87 58 7 22 476 242

ฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน

[แก้]
ฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
ปี รอบ เล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ได้ เสีย
มาเลเซีย 2001 ชนะเลิศ 4 4 0 0 50 4
มาเลเซีย 2003 ชนะเลิศ 6 6 0 0 53 11
ไทย 2005 ชนะเลิศ 6 6 0 0 47 4
ไทย 2006 ชนะเลิศ 4 4 0 0 59 7
ไทย 2007 ชนะเลิศ 5 5 0 0 57 7
ไทย 2008 ชนะเลิศ 5 4 0 1 22 10
เวียดนาม 2009 ชนะเลิศ 5 5 0 0 38 14
เวียดนาม 2010 ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - -
อินโดนีเซีย 2011 ยกเลิกการแข่งขัน - - - - - -
ไทย 2012 ชนะเลิศ 6 6 0 0 94 9
ไทย 2013 ชนะเลิศ 6 6 0 0 48 9
มาเลเซีย 2014 ชนะเลิศ 6 5 0 1 39 8
ไทย 2015 ชนะเลิศ 6 6 0 0 53 8
ไทย 2016 ชนะเลิศ 4 4 0 0 41 8
เวียดนาม 2017 ชนะเลิศ 5 5 0 0 49 11
อินโดนีเซีย 2018 ชนะเลิศ 5 5 0 0 42 5
เวียดนาม 2019 ชนะเลิศ 5 5 0 0 40 1
ไทย 2022 ชนะเลิศ 6 4 2 0 40 7
ไทย 2024 อันดับที่ 3 6 4 0 2 30 10
รวม 17/17 91 85 2 4 763 144

เอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์

[แก้]
เอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์
ปี รอบ เล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ได้ เสีย
ไทย 2005 รองชนะเลิศ 4 3 0 1 24 6
มาเก๊า 2007 รองชนะเลิศ 6 5 0 1 48 14
เวียดนาม 2009 รองชนะเลิศ 5 4 1 0 23 12
เกาหลีใต้ 2013 อันดับสาม 5 4 0 1 53 16
เติร์กเมนิสถาน 2017 รอบก่อนรองชนะเลิศ 3 1 0 2 13 18
รวม 5/5 23 17 1 5 161 66

ผลงานอื่น

[แก้]
  • ซีเกมส์ - ชนะเลิศ 5 ครั้ง - 2007, 2011, 2013, 2017, 2021
  • ฟุตซอล ไทยแลนด์ ไฟฟ์ ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2018, 2019 ,รองชนะเลิศ 3 ครั้ง - 2004, 2008, 2016
  • ฟุตซอล ปรี เวิลด์คัพ - อันดับ 3 - 1 ครั้ง - 2004
  • ฟุตซอล เตหะราน อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวร์นาเมนต์ - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2008
  • ฟุตซอล กัวลาลัมเปอร์ เวิลด์ไฟฟ์ ทัวร์นาเมนต์ - อันดับ 3 - 1 ครั้ง - 2008 , รองชนะเลิศ Plate Final - 1 ครั้ง - 2003
  • ฟุตซอล เดอะ มาเก๊า เมลโค ไฟฟ์ - รองชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2006
  • ฟุตซอล ไทเกอร์ ไฟฟ์ - ชนะเลิศ Bowl Final - 1 ครั้ง - 2001

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

รายชื่อผู้เล่น 14 คน สำหรับการแข่งขันฟุตซอลโลก 2024 ที่ประเทศอุซเบกิสถาน ระหว่างวันที่ 14 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567[13]

หัวหน้าผู้ฝึกสอน: สเปน มิเกล โรดริโก

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK อรุษ เส็นบัตร 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 (อายุ 35 ปี) ไทย แบล็คเพิร์ล ยูไนเต็ด
2 2DF ณรงค์ศักดิ์ วิงวอน 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) ไทย ห้องเย็นท่าข้าม
3 3MF อลงกรณ์ จันทร์พร 16 กันยายน ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) ไทย การท่าเรือ
4 3MF กฤษณ์ อรัญสัญญาลักษณ์ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) ไทย ชลบุรี บลูเวฟ
5 2DF อิทธิชา ประภาพันธ์ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (อายุ 32 ปี) ไทย การท่าเรือ
6 2DF จิรวัฒน์ สอนวิเชียร 23 ตุลาคม ค.ศ. 1988 (อายุ 35 ปี) ไทย ธรรมศาสตร์ สแตลเลี่ยน
7 3MF กฤษดา วงษ์แก้ว 29 เมษายน ค.ศ. 1988 (อายุ 36 ปี) ไทย ชลบุรี บลูเวฟ
8 4FW วรศักดิ์ ศรีหรั่งไพโรจน์ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (อายุ 31 ปี) ไทย ห้องเย็นท่าข้าม
9 4FW ศุภวุฒิ เถื่อนกลาง 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 35 ปี) ไทย ชลบุรี บลูเวฟ
10 3MF สราวุท ผลาพฤกษ์ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) ไทย ห้องเย็นท่าข้าม
11 4FW มูฮัมหมัด อุสมานมูซา 19 มกราคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) สเปน จิมบิ คาร์ตาเกนา
12 1GK คฑาวุธ หาญคำภา 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (อายุ 32 ปี) ไทย ธรรมศาสตร์ สแตลเลี่ยน
13 2DF รณชัย จูงวงษ์สุข 4 มีนาคม ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) ไทย ชลบุรี บลูเวฟ
14 3MF อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ 31 มีนาคม ค.ศ. 1991 (อายุ 33 ปี) ไทย ชลบุรี บลูเวฟ

ผลการแข่งขัน

[แก้]

      ชนะ       เสมอ       แพ้

2023

[แก้]
1 มีนาคม ค.ศ. 2023 (2023-03-01) เกมกระชับมิตร
NSDF Futsal Championship 2023
ไทย ธงชาติไทย6-2ธงชาติโมซัมบิก โมซัมบิกเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
18:00 UTC+7:00 สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก
3 มีนาคม ค.ศ. 2023 (2023-03-03) เกมกระชับมิตร
NSDF Futsal Championship 2023
ไทย ธงชาติไทย1-4ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
18:00 UTC+7:00 สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก
5 มีนาคม ค.ศ. 2023 (2023-03-05) เกมกระชับมิตร
NSDF Futsal Championship 2023
ไทย ธงชาติไทย1-5ธงชาติอิหร่าน อิหร่านเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
18:00 UTC+7:00 สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก
7 มีนาคม ค.ศ. 2023 (2023-03-07) เกมกระชับมิตร
NSDF Futsal Championship 2023
ไทย ธงชาติไทย2-0ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบียเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
18:00 UTC+7:00 สนามกีฬา: ศูนย์กีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก

2024

[แก้]
14 กันยายน ค.ศ. 2024 (2024-09-14) ฟุตซอลโลก 2024โครเอเชีย ธงชาติโครเอเชีย1–2ธงชาติไทย ไทยบูฆอรอ, อุซเบกิสถาน
15:00 UTC+5:00
รายงาน สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex
ผู้ชมในสนาม: 1,250
ผู้ตัดสิน: Cristian Espíndola (Chile)
17 กันยายน ค.ศ. 2024 (2024-09-17) ฟุตซอลโลก 2024ไทย ธงชาติไทย10–5ธงชาติคิวบา คิวบาบูฆอรอ, อุซเบกิสถาน
17:30 UTC+5:00
รายงาน
สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex
ผู้ชมในสนาม: 1,341
ผู้ตัดสิน: Cristiano Cardoso (Portugal)
20 กันยายน ค.ศ. 2024 (2024-09-20) ฟุตซอลโลก 2024ไทย ธงชาติไทย1–9ธงชาติบราซิล บราซิลบูฆอรอ, อุซเบกิสถาน
17:30 UTC+5:00 มูฮัมหมัด Goal 19'18" รายงาน
สนามกีฬา: Bukhara Universal Sports Complex
ผู้ตัดสิน: Diego Molina (Costa Rica)

ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

หัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน

ณ วันที่ 26 เมษายน 2567

ชื่อ สัญชาติ ช่วงเวลา สถิติ ผลงาน
แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ Win %
บงการ พรหมปุ้ย ไทย 2542-2543 ? ? ? ? ?
ซิลวัลโญ บราซิล 2543-2544 ? ? ? ? ?
บิเซนเต้ เดอลุยเซ่ อาร์เจนตินา 2546 ? ? ? ? ?
เจลาซิโอ เดคาสโตร บราซิล 2547-2549 ? ? ? ? ?
พัทยา เปี่ยมคำ ไทย 2550 ? ? ? ? ?
ปูลปิส สเปน 2551-2554 ? ? ? ? ?
วิกเตอร์ เฮอร์มันส์ เนเธอร์แลนด์ 2555-2559 ? ? ? ? ?
มิเกล โรดริโก สเปน 2559-2560 ? ? ? ? ?
ปูลปิส สเปน 2560-2564 ? ? ? ? ?
รักษ์พล สายเนตรงาม ไทย 2564-2565 11 6 2 3 54.54 ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021รอบ 16 ทีมสุดท้าย
คาร์ลอส เซซาร์ นูเนส กาโก สเปน 10 กุมภาพันธ์ 2565 –1 ธันวาคม 2566 32 21 5 6 65.63 อาเซียนฟุตซอลแชมเปียนชิพ 2022Gold Medalistชนะเลิศ

ซีเกมส์ 2021Gold Medalist เหรียญทอง

ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022 – อันดับ 4

มิเกล โรดริโก สเปน 2567– 12 9 0 3 75.00 ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024Sliver Medalist รองชนะเลิศ

สถิติการพบกับชาติอื่น

[แก้]
ประเทศที่เคยแข่งกับฟุตซอลทีมชาติไทย
ณ วันที่ 13 กันยายน 2022; นับเฉพาะเกมอย่างเป็นทางการ[14]
ทีม สมาพันธ์ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ผลต่าง
ธงชาติอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน เอเอฟซี 1 1 0 0 23 2 +21
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา คอนเมบอล 5 1 1 3 10 15 -5
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย เอเอฟซี 14 12 0 2 66 26 +40
ธงชาติอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน ยูฟ่า 1 0 0 1 8 13 -5
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน เอเอฟซี 2 2 0 0 19 4 +15
ธงชาติภูฏาน ภูฏาน เอเอฟซี 1 1 0 0 29 1 +28
ธงชาติบราซิล บราซิล คอนเมบอล 7 0 0 7 5 52 -47
ธงชาติบรูไน บรูไน เอเอฟซี 12 12 0 0 161 12 +149
ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา เอเอฟซี 4 4 0 0 60 5 +55
ธงชาติชิลี ชิลี คอนเมบอล 1 1 0 0 6 1 +5
ธงชาติจีน จีน เอเอฟซี 10 4 4 2 31 33 -2
ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป เอเอฟซี 2 2 0 0 12 4 +8
ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา คอนคาแคฟ 2 1 0 1 4 3 1
ธงชาติคิวบา คิวบา คอนคาแคฟ 1 1 0 0 8 5 +3
ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย ยูฟ่า 1 0 0 1 1 2 -1
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ ซีเอเอฟ 6 3 1 2 13 22 -9
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ ยูฟ่า 2 2 0 0 10 1 +9
ธงชาติกวม กวม เอเอฟซี 1 1 0 0 21 0 +21
ธงชาติประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา คอนคาแคฟ 2 2 0 0 9 3 +6
ธงชาติฮังการี ฮังการี ยูฟ่า 1 0 1 0 4 4 0
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย เอเอฟซี 20 15 2 3 98 40 +58
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน เอเอฟซี 25 6 3 16 55 117 -62
ธงชาติอิรัก อิรัก เอเอฟซี 8 8 0 0 38 12 +26
ธงชาติอิตาลี อิตาลี ยูฟ่า 2 0 0 2 3 8 -5
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น เอเอฟซี 23 6 2 15 52 73 -21
ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน เอเอฟซี 2 2 0 0 14 1 +13
ธงชาติคาซัคสถาน คาซัคสถาน ยูฟ่า[1] 4 0 1 3 7 16 -9
ธงชาติคอซอวอ คอซอวอ ยูฟ่า 1 0 1 0 6 6 0
ธงชาติคูเวต คูเวต เอเอฟซี 9 8 0 1 51 19 +32
ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน เอเอฟซี 8 7 0 1 46 19 +27
ธงชาติลาว ลาว เอเอฟซี 7 7 0 0 98 9 +89
ธงชาติเลบานอน เลบานอน เอเอฟซี 6 4 1 1 31 19 +12
ธงชาติมาเก๊า มาเก๊า เอเอฟซี 3 3 0 0 32 7 +25
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย เอเอฟซี 32 32 0 0 200 44 +156
Flag of the Maldives มัลดีฟส์ เอเอฟซี 2 2 0 0 33 3 +30
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก คอนคาแคฟ 1 1 0 0 7 0 +7
ธงชาติโมร็อกโก โมร็อกโก ซีเอเอฟ 3 0 2 1 4 8 -4
ธงชาติโมซัมบิก โมซัมบิก ซีเอเอฟ 3 3 0 0 15 8 +7
ธงชาติประเทศพม่า พม่า เอเอฟซี 18 18 0 0 172 40 +132
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ยูฟ่า 3 0 1 2 5 12 -7
ธงชาติโอมาน โอมาน เอเอฟซี 3 2 1 0 19 1 +18
ธงชาติปานามา ปานามา คอนคาแคฟ 1 0 0 1 5 7 -2
ธงชาติปารากวัย ปารากวัย คอนเมบอล 2 0 0 2 2 11 -9
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ เอเอฟซี 9 9 0 0 114 13 +101
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส ยูฟ่า 5 0 1 4 6 14 -8
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ เอเอฟซี 1 1 0 0 4 3 +1
ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย ยูฟ่า 3 2 0 1 17 11 +6
ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย ยูฟ่า 3 0 0 3 7 14 -7
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ เอเอฟซี 6 6 0 0 72 4 +68
ธงชาติหมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโซโลมอน โอเอฟซี 2 1 0 1 12 8 +4
ธงชาติแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ ซีเอเอฟ 1 1 0 0 6 2 +4
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ เอเอฟซี 7 6 0 1 46 21 +25
ธงชาติสเปน สเปน ยูฟ่า 7 0 0 7 6 47 -41
ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน เอเอฟซี 3 3 0 0 13 6 +7
ธงชาติติมอร์-เลสเต ติมอร์-เลสเต เอเอฟซี 6 6 0 0 89 8 +81
ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน เอเอฟซี 4 3 0 1 36 5 +31
ธงชาติยูเครน ยูเครน ยูฟ่า 1 0 0 1 3 5 -2
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เอเอฟซี 3 3 0 0 13 4 +8
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ คอนคาแคฟ 1 1 0 0 5 3 +2
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย คอนเมบอล 1 0 0 1 1 4 -3
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน เอเอฟซี 11 8 1 2 34 19 +15
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม เอเอฟซี 21 20 0 1 122 27 +95
62 ประเทศ 339 233 18 88 2016 872 +1144
1 คาซัคสถานยังเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ในช่วงการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2000 ที่กรุงเทพมหานคร

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. FIFA Men's Futsal Ranking
  2. Asian Futsal Championship Overview RSSSF
  3. "Futsalplanet : China 12-5 Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
  4. "Futsalplanet : Thailand 8-6 Japan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
  5. "Thailand Awarded the 2012 FIFA Futsal World Cup!". Futsalcanada. 19 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 November 2012.
  6. กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (11 ต.ค. 2016). "สุดยอด! ลูกยิง 'ศุภวุฒิ' ชนะโหวตประตูยอดเยี่ยมฟุตซอลโลก". Voice TV. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2021.
  7. "FIFA Futsal World Cup Thailand 2012 Goal of Tournament - Suphawut Thueanklang". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-10.
  8. "เอเอฟซีตีข่าว วิคเตอร์ เฮอร์มัน ประกาศวางมือกุนซือโต๊ะเล็ก ทีมชาติไทย หลังชิงแชมป์โลก". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  9. "โต๊ะเล็กไทยพ่ายรัสเซีย 4-6 นัดหน้าชนคิวบา 14 ก.ย. ศึกฟุตซอลโลก". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  10. ""ไทย" ชนะ "อียิปต์" 2-1 ทะลุ 16 ทีม ฟุตซอลโลก 2016". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  11. "FIFA Futsal 2016 : ช้างศึกพลิกสถานการณ์ชนะคิวบา 8-5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  12. ""ไทย" แพ้ "อาเซอร์ไบจาน" 8-13 ร่วงฟุตซอลโลก". สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  13. "ประกาศรายชื่อ 14 นักฟุตซอลทีมชาติไทย ลุยศึก "FIFA Futsal World Cup 2024"". Football Association of Thailand (Facebook). 2024-09-07.
  14. "Futsalplanet - International Matches". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]