โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ
บทความนี้ขาดการสรุปข้อมูลที่จำเป็นในรูปแบบกล่องข้อมูล คุณสามารถช่วยเราได้ โดยการเพิ่มกล่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม ลงในบทความ |
โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เดิมอยู่ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร เขต 3 ปัจจุบันอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1[1] ตั้งอยู่ใน เลขที่ 253 ซอยหมู่บ้านเศรษฐกิจ 22-7 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา โดยเป็นหนึ่งในเจ็ด "โรงเรียนราชวินิต"
ประวัติการก่อตั้ง
[แก้]โรงเรียนบางแคปานขำวิทยา ตั้งขึ้นเมื่อ วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา ซึ่งได้รับบริจาคที่ดินจาก “คุณวิมล ปานขำ“ ที่มีความประสงค์ให้บุตรหลานของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจ ได้มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาต่อจากระดับประถมศึกษา ทั้งนี้ขอให้โรงเรียนที่ตั้งขึ้นมามีคำว่า “ปานขำ” อยู่ในชื่อของโรงเรียนด้วย ต่อมา วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานอนุญาตตามหนังสือ ที่ รล 003/ 5102 จากสำนักเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ให้เปลี่ยนมาใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ[2]
- ปี พ.ศ. 2522 เปิดรับสมัครนักเรียนเป็นปีแรก โดยรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 ห้อง อาศัยที่เรียนจากโรงเรียนวัดม่วง เขตหนองแขม (ปัจจุบันคือ เขตบางแค) กรุงเทพมหานคร และได้รับความอนุเคราะห์ทางด้านอุปกรณ์การเรียน การรับสมัครและการเรียนการสอน จากโรงเรียนปัญญาวรคุณ
- ปี พ.ศ. 2523 โรงเรียนบางแคปานขำวิทยา ได้ย้ายมาอยู่ที่แขวงบางแคเหนือ เขตภาษีเจริญ (ปัจจุบันคือ เขตบางแค) กรุงเทพมหานคร
- ปี พ.ศ. 2526 ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา (ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
- ปี พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนชื่อให้เป็น โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]รายนามผู้บริหารโรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ | ||
---|---|---|
รายนามผู้บริหาร | ตำแหน่ง | ระยะเวลา |
1.นายเพ็ง เปี่ยมคุ้ม | ผู้อำนวยการโรงเรียนบางแคปานขำวิทยา | พฤษภาคม 2522 - 2531 |
2.นายพล หอมสุวรรณ | ผู้อำนวยการโรงเรียนบางแคปานขำวิทยา | ตุลาคม 2531 - กันยายน 2533 |
3.นายสุรัติ จันทร์ขจร | ผู้อำนวยการโรงเรียนบางแคปานขำวิทยา | ตุลาคม 2533 - กันยายน 2535 |
4.นายวีระ เดชพันธุ์ |
ผู้อำนวยการโรงเรียนบางแคปานขำวิทยา |
ตุลาคม 2535 - 2538 |
5.นายสวัสดิ์ เกิดศรี | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | กุมภาพันธ์ 2539 - 2541 |
6.นางวงศ์พรรณ อัจฉริยวณิช | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | มกราคม 2541 - 2543 |
7.นายไพโรจน์ คำจีน | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | กุมภาพันธ์ 2543 - 2546 |
8.นายนพดล โกสุม | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | มกราคม 2541 - 2543 |
9.นายสุธน เรืองเดช | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | ธันวาคม 2548 - ตุลาคม 2548 |
10.นางธารทิพย์ ถาวรชัยสิทธิ์ | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | ตุลาคม 2551 - มกราคม 2553 |
11.ว่าที่ร้อยตรีศักดิ์ศิษฎ์ เสียงเสนาะ | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | กุมภาพันธ์ 2553 - มีนาคม 2554 |
12.นายวิโรฒ สำรวล | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | พฤษภาคม 2554 - ธันวาคม 2556 |
13.นายประจักษ์ มนต์ประเสริฐ | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | ธันวาคม 2556-ตุลาคม 2557 |
14.นายธนะกุล ช้อนแก้ว | ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ | พฤศจิกายน 2557- 2561 |
โรงเรียนในเครือราชวินิต
[แก้]- โรงเรียนราชวินิต (ส.ร.น.)
- โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว (ร.ว.บ.)
- โรงเรียนราชวินิต มัธยม (ร.น.ม.)
- โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค (ร.น.ค.)
- โรงเรียนราชวินิตบางแค ปานขำ (ร.น.ป.)
- โรงเรียนราชวินิตบางเขน (ร.น.บ.)
- โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ (ร.ว.ส.)
- โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี (ร.น.น.)
รางวัลพระราชทานโรงเรียนในเครือราชวินิต
[แก้]ปัจจุบัน การพระราชทานทุนเรียนดี เข็มเกียรติคุณ และโล่เกียรติคุณนั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานรางวัลต่าง ๆ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
ทุนพระราชทาน
[แก้]- วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดโรงเรียนราชวินิต และพระราชทานเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อใช้ดอกผลเป็นทุนพระราชทานแก่ นักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย
- ผลการเรียนของนักเรียนที่จะได้รับทุนพระราชทาน
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.40 ขึ้นไปของแต่ละปีการศึกษา
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไปของแต่ละปีการศึกษา
- จำนวนนักเรียนที่จะได้รับทุนพระราชทานในแต่ละระดับนั้นจะเท่ากับจำนวนห้องเรียนที่เปิดสอนในระดับชั้นนั้น
- ทุนพระราชทาน 1 ทุนจะอยู่ในถุงสีทอง บรรจุเงินจำนวน 999 บาท
- นอกจากทุนพระราชทานแล้วนั้น นักเรียนผู้ได้รับพระราชทานยังจะได้รับภาพพระราชทานในขณะที่รับพระราชทานทุนและประกาศเกียรติคุณอีกด้วย
โล่เกียรติคุณ
[แก้]- นักเรียนที่จะได้รับโล่เกียรติคุณ จะต้องมีผลการเรียนสะสมสูงสุดตามระดับชั้น ดังนี้
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 3 คน
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ศึกษาต่อเนื่อง) จำนวน 3 คน
- นักเรียนที่ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณ จะได้รับภาพพระราชทานและประกาศเกียรติคุณเช่นเดียวกับทุนพระราชทาน
เข็มเกียรติคุณ
[แก้]- คุณสมบัติของนักเรียนที่จะได้รับเข็มเกียรติคุณ
- ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและดีเด่น
- มีความประพฤติเรียบร้อย สุภาพ อ่อนน้อม สนใจต่อการศึกษาเล่าเรียน
- ปฏิบัติงานเป็นที่ประจักษ์แก่คณะครู และนักเรียนทั่วไป
- จำนวนของนักเรียนที่จะได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 12 คน แบ่งเป็น 6 ระดับชั้น ชั้นละ 2 คน สำหรับการช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น ทางวิชาการ ดนตรี (ไทยและสากล) ห้องสมุด ฯลฯ
- นักเรียนที่ได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณ จะได้รับภาพพระราชทานและประกาศเกียรติคุณเช่นเดียวกับทุนพระราชทาน
รางวัลอื่น ๆ
[แก้]นอกจากทุนพระราชทาน โล่เกียรติคุณและเข็มเกียรติคุณแล้ว ยังมีรางวัลครูปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นและรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ที่จะพระราชทานในคราวเดียวกันอีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/045/4.PDF พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-13. สืบค้นเมื่อ 2009-04-02.