โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย
Princess Sirindhorn's College
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ธ. (PSC)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา2 เมษายน พ.ศ. 2534
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส3800201
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 (สหศึกษา)
สี███ ███ ม่วง-ขาว
เพลงมาร์ชสิรินธรฯ
เว็บไซต์www.psc.ac.th

โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย (อังกฤษ: Princess Sirindhorn's College) จังหวัดนครปฐม จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 3 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยได้พระราชทานนามของพระองค์เป็นนามโรงเรียน และทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2537 และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนและกิจกรรมธนาคารนักเรียน เมื่อวันที่ 31 มกราคม ปีเดียวกัน ทางโรงเรียนจึงกำหนดให้วันที่ 31 มกราคม ของทุกปี เป็น "วันพระบารมีปกเกล้า" ของโรงเรียน

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย (Princess Sirindhorn's College) จัดตั้งในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่ง ที่ทรงสนพระทัยในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้แก่เยาวชนในชนบทห่างไกล กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเป็นอนุสรณ์ทางการศึกษา ได้รับพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ในชื่อภาษาอังกฤษว่า Princess Sirindhorn's College โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนราชินีบูรณะ คณะสินธุรวี ณ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 เพื่อขยายพื้นที่ของโรงเรียนราชินีบูรณะ มีเนื้อที่ 59 ไร่ 57 ตารางวา

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2537 ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดป้ายโรงเรียนและกิจกรรมธนาคารนักเรียน เมื่อวันที่ 31 มกราคม โรงเรียนจึงได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ โดยกำหนดให้วันที่ 31 มกราคมของทุกปี เป็นวันพระบารมีปกเกล้า

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ทอดพระเนตรกิจการของโรงเรียน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 10.45 น.

สัญลักษณ์ของโรงเรียน[แก้]

  • ตราโรงเรียน

ประกอบด้วยนามาภิไธยย่อ สธ ภายใต้พระมงกุฏ ด้านล่างประดับด้วยแพรแถบชื่อ "สิรินธรราชวิทยาลัย"

  • สีประจำโรงเรียน

ม่วง หมายถึง สีประจำวันเสาร์ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขาว หมายถึง ความสะอาด สว่าง สงบ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา

  • เพลงประจำโรงเรียน เพลงมาร์ชโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย[แก้]

  1. นางสาวยุพิน ดุษิยามี (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536)
  2. นางปลื้มจิตร สถาพรดำรงค์ (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2539)
  3. นางสาวทองประดับ ลิ้มตระกูล (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2542)
  4. นางลัดดา ผลวัฒนะ (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543)
  5. นายสำเร็จ แก้วกระจ่าง (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547)
  6. นายสมบูรณ์ ตรีธนะกุล (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2554)
  7. นายสามารถ รอดสำราญ (พ.ศ. 2554 - 2556)
  8. นายวรรณะ บุษบา (พ.ศ. 2556 - 2557)
  9. นายจตุรงค์ อินทรรุ่ง (พ.ศ. 2557 - 2560)
  10. นางปภาดา เสนาะพิน (พ.ศ. 2561 - 2562)
  11. นายวิวัฒน์ ชูศรีจันทร์ (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

หลักสูตร[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีแผนการศึกษาดังนี้

  • โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (สวคท.) จำนวน 2 ห้องเรียน
  • โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางภาษาจีน - Chinese Program (CP) จำนวน 1 ห้องเรียน
  • โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ - English Program (EP) จำนวน 2 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนปกติ จำนวน 8 ห้องเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีแผนการศึกษาดังนี้

>>หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ<< จำนวน 5 ห้องเรียน

>>หลักสูตรห้องเรียนปกติ<< จำนวน 10 ห้องเรียน

  • แผนกาาเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาไทย - สังคมศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนศิลปกรรม จำนวน 1 ห้องเรียน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]