ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ
Samutsakhonburana School

ตรานักเรียนหญิงถือคบเพลิง
ตราประจำโรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ค.ณ.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษารัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษ (สหศึกษา)
คำขวัญวิชาดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
นตฺถิ ปญฺญา สฺมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
สถาปนาพ.ศ. 2455
ผู้ก่อตั้งขุนสมุทรมณีรัตน์ (เม่งฮะ มณีรัตน์)
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการดร.อรรณพ ชุ่มเพ็งพันธ์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียนฤ
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี  สีน้ำเงิน
  สีเหลือง
เพลงมาร์ชสมุทรสาครบูรณะ
เว็บไซต์www2.skburana.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ต้นชัยพฤกษ์

ประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2455 - ขุนสมุทรมณีรัตน์ (เม่งฮะ มณีรัตน์) ได้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นโดยเช่าบ้านของนางทิพย์ สวยสำอางค์ ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าฉลอมโดยหาครูจากกรุงเทพฯ ต่อมาชาวบ้านร้องขอให้รับนักเรียนชายเป็นนักเรียนด้วย ขุนสมุทรมณีรัตน์ก็อนุโลมตามและให้นามโรงเรียนว่า โรงเรียนบำรุงวิทยา หลายปีต่อมาก็ได้ย้ายโรงเรียนจากที่เดิมมาปลูกใหม่ ในที่ของขุนสมุทรมณีรัตน์ ซึ่งเป็นที่ที่ได้รับมรดก ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าฉลอม (ปัจจุบันคือที่ตั้งร้านมณีโอสถ) ขุนสมุทรมณีรัตน์เป็นผู้ที่เป็นความสำคัญทางการศึกษา ได้ก่อตั้งโรงเรียนและไม่คิดค่าเช่าที่ ทั้งยังได้อุปการะตลอดมาอีกประมาณ 20 ปี ซึ่งในเวลาต่อมา ทางราชการได้มีการขยายการศึกษาไปถึงหัวเมือง จึงได้โอนกิจการโรงเรียนนี้เป็นของรัฐ และให้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรสาคร "บำรุงวิทยา"
  • พ.ศ. 2472 - ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ฝั่งมหาชัย สร้างโรงเรียนใหม่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งศาลจังหวัด ศาลากลางจังหวัด และที่ทำการอำเภอเมืองสมุทรสาครในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นทีตั้งของกองทัพเรือ (ท.ร.2) แต่ยุบไปเมื่อ พ.ศ. 2456 โรงเรียนใหม่นี้อาศัยโรงเลี้ยงทหารเรือ ใช้ลำแพนกั้นเป็น 4 ห้องเรียน ซึ่งในขณะนั้น พระยาสาครคณาภิรักษ์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศึกษาธิการจังหวัดคือ อำมาตย์ตรีหลวงอำนวยศิลปศาสตร์ โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสมุทรสาคร โดยนางฟิน สิทธิสาราการ ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่คนแรก โรงเรียนเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 โดยมีครู 4 คน และนักเรียน 70 คน และเริ่มใช้เลขประจำตัวหมายเลข 1 คือ คุณอำไพ แตงสุวรรณ
  • พ.ศ. 2476 - รองอำมาตย์โท ขุนประจิตดรุณแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาครในเวลานั้น เห็นว่าสถานที่ตั้งของโรงเรียนยังไม่เหมาะสมที่จะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จึงดำริที่จะย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่และเห็นว่า ที่ดินอันเป็นเนินฝึกซ้อมยิงเป้าของตำรวจ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุเป็นที่เหมาะสม จึงทำเรื่องของบประมาณเพื่อสร้างโรงเรียน ในการนี้ได้รับการบริจาคทรัพย์จากพ่อค้าประชาชนสมทบทุนด้วย โรงเรียนนี้ได้สร้างเสร็จ ในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนนี้ก็คือโรงเรียนปัจจุบันนี้เอง
  • พ.ศ. 2477 - ได้ย้ายโรงเรียนจากโรงเลี้ยงทหารเรือมา ณ ที่แห่งใหม่นี้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนสตรีสมุทรสาคร "สมุทรสาครบูรณะ"
  • พ.ศ. 2481 - โรงเรียนชายประจำจังหวัดสมุทรสาคร (โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ได้นำนักเรียนชายมาฝากเรียนด้วย เพราะอยู่ในระหว่างที่ตั้งโรงเรียน
  • พ.ศ. 2511 - กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายศิลปะ ซึ่งรับนักเรียนชายเข้าเรียนด้วย จึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ
  • พ.ศ. 2529 - ในปีนี้โรงเรียนได้เป็นตัวแทนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ของจังหวัดสมุทรสาครเข้าแข่งขัน เพื่อรับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน และโรงเรียนพระราชทานในเขตการศึกษา 1 และได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น รางวัลพระราชทาน และโรงเรียนได้สร้างเกียรติประวัติซึ่งเกิดจากผลงานดีเด่นต่าง ๆ ของโรงเรียนหลายประการ ดังนี้
    • เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจริยศึกษาได้ดีเด่นประจำปีการศึกษา 2529
    • เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ซึ่งจัดหลักสูตรดีเด่น
    • เป็นโรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่างนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน
    • โรงเรียนได้รับโล่รางวัลที่ 1 จากสำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ เนื่องในการประกวดมารยาทเยาวชนในสถานศึกษาระดับจังหวัด ปีการศึกษา 2529
    • เป็นโรงเรียนปฏิบัติการตัวอย่างโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยภายในโรงเรียน
  • พ.ศ. 2531 - ร่วมกับ ยุวพุทธิกสมาคม จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนเพื่อบริการศึกษาให้แก่นักเรียนและผู้สนใจ
  • พ.ศ. 2532 - ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า ผู้ปกครอง และครูสมุทรสาครบูรณะ สร้างห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยเฉพาะวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้นเป็นเงิน 7,750,000 บาท
  • พ.ศ. 2534 - โรงเรียนได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ERIC) และทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 5 ชั้น เป็นเงิน 10,100,000 บาท ดำเนินการสร้างโดยรื้อถอนหอประชุมเก่าทางด้านทิศตะวันออก
  • พ.ศ. 2535 - ยุวพุทธิกสมาคมจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมให้กับทางโรงเรียนอีกเป็นจำนวน 10 เครื่อง และในปีนี้โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะได้รับคัดเลือกเป็นให้อุทยานการศึกษาของอำเภอเมืองสมุทรสาคร
  • พ.ศ. 2537 - ทำพิธีเปิดอาคาร 5 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยมี ท่านรองอธิบดี สมหมาย เอมสมบัติ เป็นประธานในพิธีเปิด
    • โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศของเขตการศึกษา 1 ตามโครงการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาได้รับเกียรติบัตรของกรมสามัญศึกษา ที่เป็นโรงเรียนปฏิบัติงานตามนโยบายกรมสามัญศึกษาได้ดีเด่น
    • ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาของจังหวัดสมุทรสาคร
  • พ.ศ. 2538 - ได้รับรางวัลที่ 2 เขตการศึกษา 1 ตามโครงการรณรงค์และรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรโรงอาหารมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารระดับ "ดี" จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2539 - โรงเรียนได้รับโรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน เขตการศึกษา 1 เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งในปีนี้ห้องสมุดของโรงเรียนเป็น ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก และได้มีการเปิดเป็นศูนย์ภาษาสากล
  • พ.ศ. 2540 - เปิดรับนักเรียนชายเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1 โดยมีสัดส่วน 30% ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
    • ก่อสร้างอาคาร 7 ชั้น งบประมาณ 26,900,000 บาท
    • ตั้งศูนย์แพร่ภาพเพื่อการศึกษา
    • ได้รับรางวัล โรงอาหารระดับดีมาก จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
    • ได้รับรางวัลเกียรติบัตร ว่าเป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนจริยศึกษาดีเด่น พ.ศ. 2541
  • พ.ศ. 2541 - รางวัลชนะเลิศเป็นห้องสมุดดีเด่น โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เขตการศึกษา 1
  • พ.ศ. 2542 - จังหวัดสมุทรสาคร คัดเลือกโรงเรียนสมุทรสาครบูรณะเข้ารับการประเมินมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2541 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาคุณภาพดีเด่นเขตการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2541
  • พ.ศ. 2543 - เป็นตัวแทนของสหวิทยาเขตเมืองสมุทรสาคร เข้ารับการประเมิณคุณภาพการศึกษา
    • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมอบโรงเรียนสีเขียวให้แก่ทางโรงเรียน
    • จัดทำห้องอินเทอร์เน็ต
    • เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นปีที่ 2
  • พ.ศ. 2544 - ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
    • เปิดเว็บไซต์โรงเรียน ใช้โดเมนเนมจากโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net)
  • พ.ศ. 2545 - ได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษามัธยมศึกษาระยะที่ 1 ตามโครงการเงินกู้ธนาคารโลก โดยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2546 - ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสมุทรสาครบูรณะ ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์บริเวณอาคาร 2 จำนวน 4 ห้อง โดยเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อีกจำนวน 110 ชุด และขยายระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสงออกไปสู่อาคารภายนอก
  • พ.ศ. 2547 เป็นโรงเรียนชั้นนำ ในการเป็นที่ปรึกษา และแหล่งเรียนรู้สำหรับโรงเรียนในฝันของสมุทรสาคร
  • พ.ศ. 2548 ได้เลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการ TOT SCHOOL ของบริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน
  • พ.ศ. 2549 เป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงและโรงเรียนกระจายอำนาจ เพื่อดำเนินการเป็นโรงเรียนนิติบุคคล
  • พ.ศ. 2550 เป็นโรงเรียนนิเทศแบบ Coaching ของ สพฐ. เป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท.
  • พ.ศ. 2551 เปลี่ยนหลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  • พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณอาคารเรียน 5 ชั้น ใต้ถุนโล่ง (อาคาร 7) เป็นเงิน 9,508,000 บาท
    • เปิดศูนย์อาเซียน ประชาคมอาเซียน เป็นโรงเรียน Sister School เรียนภาษาต่างประเทศภาษาที่ 2 คือ ภาษาพม่า
    • เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เรียนภาษาต่างประเทศภาษาที่ 2 คือภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน และภาษาฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2554 ผ่านการประเมินภายนอก รอบ 3 ระดับดีมาก
  • พ.ศ. 2555 เปลี่ยนบางรายวิชามาตรฐานสากลเป็นการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง (Independent Study : IS)
    • ได้รับการรับรองให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรสถานศึกษา 2551
  • พ.ศ. 2556 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเอนกประสงค์ (อาคาร 100 ปี) แบบพิเศษ 3 ชั้น เป็นจำนวนเงิน 21,720,000 บาท[1]

โรงเรียนที่มีคำนำหน้าว่าสมุทรสาครด้วยกัน ได่แก่ 1. โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ 2. โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย 3. โรงเรียนสมุทรสาครวุฒิชัย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติโรงเรียน – โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ".