โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี Benjamarachutit Pattani School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 2 ถนนสะบารัง ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ม. |
ประเภท | รัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สะอาด สามัคคี เรียนดี มีวินัย นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี) |
สถาปนา | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2457 |
ผู้ก่อตั้ง | พระรัตนธัชมนีศรีธรรมราชสังฆนายกตรี ปิฎกคุณาลังการ ศรีมาจารย์วินัย สุนทรัติคณิศรบวรสังฆารามคามวลี |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1002940101 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายประสพ ชนามุยา |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
สี | เขียว ขาว |
เพลง | มาร์ชเบญจมราชูทิศ |
เว็บไซต์ | http://www.benjamapn.ac.th [1] |
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี (อังกฤษ: Benjamarachutit Pattani School) (อักษรย่อ: บ.ม., B.M.) ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนแบบสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา อยู่ในความดูแลของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2455 ซึ่งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานีนี้มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานมากกว่า 100 ปี และได้สร้างบุคลากรอันมีชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติไว้เป็นจำนวนมาก
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสะบารัง ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ประวัติโรงเรียน
[แก้]ก่อกำเนิด
[แก้]โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นเถระผู้ใหญ่ "พระรัตนธัชมนีศรีธรรมราชสังฆนายก ตรีปิฎกคุณาลังการ ศรีมาจารย์วินัย สุนทรัติคณิศรบวรสังฆารามคามวลี" เป็นผู้รับผิดชอบวัดตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงมาหลังจากที่ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช หลังจากนั้นหนึ่งปี ท่านได้มาตรวจเยี่ยม "วัดตานีสโมสร (วัดกลาง)" สมัยนั้นมีชื่อว่า "วัดบางน้ำจืด" ท่านได้เริ่มก่อตั้ง "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี" ขึ้นโดยใช้ศาลาท่าน้ำเป็นสถานที่เรียน (ปัจจุบัน คือ ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีดับเพลิง)
นักเรียนได้อาศัยเรียนอยู่ที่ศาลาท่าน้ำได้ประมาณครึ่งปี จึงย้ายมาเปิดสอนที่ริมแม่น้ำสามัคคีติดกับบ้านสะบารังโดยใช้พลับพลารับเสด็จพระปิยมหาราช ซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งกล้องดูดาวในสนามศักดิ์เสนีย์ (แท่นดูดาวขนาดกว้าง 2 เมตรสูง 2 เมตร ปัจจุบันฝังในสนามหมดแล้ว) ชื่อเรือนราชประสิทธิ์เป็นบรมราชานุสรณ์แต่พระพุทธเจ้าหลวงสมเด็จพระราชบิดา สมัยนั้นมีพระยาเดชานุภาพ หรือพระยาศักดิ์เสนี เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลปัตตานี เปิดสอนแบบสหศึกษา มี "นายโต๊ะ" เป็นครูใหญ่ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2455
ต่อมาทางมณฑลปัตตานี ได้มีหนังสือราชกาลแจ้งไปยังกระทรวงธรรมการให้ทราบว่า
บรรดาข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในมณฑลปัตตานีได้ร่วมใจกับบริจาคทรัพย์ และสิ่งของรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,330 บาท 23 สตางค์ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนประจำมณฑลขึ้น โดยสร้างอาคารเรียนเป็น เรือนไม้ยกพื้นชั้นเดียว 1 หลัง ตัวเรือนกว้าง 4 วา 2 ศอก ยาว 22 วา 2 ศอก ทาสีทั้งภายในและภายนอก แบ่งเป็น 6 ห้องเรียน ห้องพักครู 2 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง รวมเงินค่าก่อสร้างตัวเรือน และจัดทำโต๊ะเก้าอี้รวมทั้งสิ้น 15,330 บาทถ้วน
เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางมณฑลปัตตานี ได้จัดให้มีพิธีเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ 2457 โดยมหาอำมาตย์ตรีเดชานุชิตสมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ได้เชิญเสด็จมหาอำมาตย์โท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นประธานในพิธี โรงเรียนนี้มีนามตามที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ"
ครั้น พ.ศ 2482 โรงเรียนปัตตานี "เบญจมราชูทิศ" ได้ย้ายมาเรียนที่อาคารเรียน 1 (ในปัจจุบันนี้รื้อออกแล้ว) ด้วยเหตุจำนวนนักเรียนมากขึ้น และเป็นการขยายบริเวณโรงเรียน ให้กว้างขวางพอกับจำนวน นักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
โรงเรียนปัตตานี เบญจมราชูทิศ ได้รับการเปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมใหม่เป็น "โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี" เมื่อ พ.ศ 2510 ปัจจุบันนี้โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 33 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวาแบ่งเป็น 2 แปลง คือบริเวณตึกขาวติดกับหอสมุดพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดปัตตานี (ใช้อาคารเกษตรกรรมเป็นสำนักงานชั่วคราว) แปลงเกษตร บ้านพักครู-อาจารย์ นักการภารโรง 1 แปลงและที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน รวมถึงสนามศักดิ์เสนี 1 แปลง โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี มีการกำหนด คณะกรรมการสภานักเรียน และคณะสี ต่าง ๆ ของโรงเรียนดังนี้ คณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี มีชื่อทางการว่า "คณะจุลมงกุฎ" คณะสีประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี มี 4 คณะสี ประกอบด้วย 1. คณะอัศวพาหุ (สีแดง) 2. คณะศรีอยุธยา (สีชมพู) 3. คณะสุริยงส่องฟ้า (สีแสด) 4. คณะวชิราวุธานุสรณ์ (สีม่วง) โดยโรงเรียนได้อยู่ในเครือข่ายสถาบันการศึกษารัชกาลที่ 6 จึงได้นำนามปากกา และประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นชื่อคณะสีดังกล่าว
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานีมีผู้บริหารรวม 28 ท่าน ดังนี้
ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | นายโต๊ะ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2455 | พ.ศ. 2460 |
2 | ขุนอนุพนธ์ศิษยานุศาสน์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2460 | พ.ศ. 2465 |
3 | ขุนวิจิตรมาตรา | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2465 | พ.ศ. 2477 |
4 | นายอ๋อง บุญยิ่ง | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2477 | พ.ศ. 2477 |
5 | นายรุ่น วุฒมณี | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2477 | พ.ศ. 2484 |
6 | นายสุดใจ เหล่าสุนทร | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2484 | พ.ศ. 2485 |
7 | นายจำรัส สุขุมวัฒนะ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2485 | พ.ศ. 2486 |
8 | นายนิตย์ นพคุณ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2486 | พ.ศ. 2490 |
9 | นายกุศล สุจรรย | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2490 | พ.ศ. 2493 |
10 | นายเดี่ยน ศรีวิโรจน | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2493 | พ.ศ. 2505 |
11 | นายชำเลือง วุฒิจันทร์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2502 | พ.ศ. 2506 |
12 | นายช่วง เพชรานนท์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2506 | พ.ศ. 2522 |
13 | นายสัญฐิกร บุญเพิ่ม | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2522 | พ.ศ. 2524 |
14 | นายสุวิชช์ ศรีทิพยราษฎร | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2524 | พ.ศ. 2527 |
15 | นายนิทัศน์ ไชยรัตน์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2529 |
16 | ว่าที่ ร.ต. จรงค์ สำเภา | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2533 |
17 | นายมนูญ แสงเจริญ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2535 |
18 | นายสถิต อุทัย | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2537 |
19 | นายณรงค์ พิสุทธิชาติ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2540 |
20 | นายปกรณ์ เทพษร | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2541 |
21 | นายเฉลียว พงศาปาน | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2543 |
22 | นายสนิท เศวตวงศ์สกุลยน | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2544 |
23 | นายนริศ ฤทธาภิรมย์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2546 |
24 | นายวิลาพ อุทัยรัตน์ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2553 |
27 | นายสมคิด บุตรทองแก้ว | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2555 |
28 | นายจุมพล ทองใหม่ | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2563 |
29 | นายประสพ ชนามุยา | ผู้อำนวยการโรงเรียน | พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน |
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment ; SMTE)
- ห้องเรียนพิเศษเพชรพระเกี้ยว (Phrakiao Special Program ; PSP)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science Program ; HSP)
- ห้องเรียนพิเศษเตรียมสี่เหล่าทัพ (Pre-Cadet Program ; PCP)
- ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน (Chinese Program ; CP)
- ห้องเรียนพิเศษดนตรีศึกษา (Music Program ; MP)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment ; SMTE)
- ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science Program ; HSP)
- ห้องเรียนพิเศษเตรียมสี่เหล่าทัพ (Pre-Cadet Program ; PCP)
- ห้องเรียนพิเศษศิลป์อินเตอร์ (International Social Sciences Program ; ISSP)
- ห้องเรียนพิเศษดนตรีศึกษา (Music Program ; MP)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณ)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาเกาหลี
- แผนการเรียนสังคมศึกษา และภาษาไทย (ศิลป์ทั่วไป)
ดูเพิ่ม
[แก้]- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี