โรงเรียนวัดราชบพิธ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำลิงก์ภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
โรงเรียนวัดราชบพิธ Wat Rajabopit School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
![]() | |
พิกัด | 13°44′38″N 100°29′43″E / 13.743939°N 100.495216°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′38″N 100°29′43″E / 13.743939°N 100.495216°E |
ข้อมูล | |
คำขวัญ | วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (คนล่วงทุกข์เสียได้ด้วยความเพียร) |
ก่อตั้ง | 2 มีนาคม พ.ศ. 2428 (138ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ |
หน่วยงานกำกับ | สพฐ. |
ผู้อำนวยการ | นายปราโมทย์ ทวีตั๊งตระกูล |
ภาษา | ![]() ![]() ![]() ![]() |
สี | ขาว-เหลือง |
เพลง | เพลงมาร์ชราชบพิธ, ร.บ.ขาวเหลือง |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นประดู่ |
เว็บไซต์ | http://www.rb.ac.th/ |
โรงเรียนวัดราชบพิธ ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประวัติโรงเรียนในยุคเริ่มแรก[แก้]
โรงเรียนวัดราชบพิธได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากโรงเรียนสอนภาษาไทยในยุคต้นของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในครั้งนั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงทำความตกลงกับกรมศึกษาธิการ แต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี จัดตั้งโรงเรียนวัดราชบพิธขึ้นเมื่อ ปีระกา สัปตศก จุลศักราช 1247 ตรงกับ รัตนโกสิทร์ศก 104 หรือปี พุทธศักราช 2428 ดังปรากฏหลักฐานรายชื่อโรงเรียนวัดราชบพิธ อยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 หน้า 319
เมื่อครั้งแรกตั้งโรงเรียนนั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ได้ทรงอนุญาตใช้ชั้นบนของตึกศาลาการเปรียญ ข้างสระน้ำด้านถนนเฟื่องนครซึ่งใช้เป็น "ภัณฑาคาร" สำหรับเก็บรักษาถาวรวัตถุของสงฆ์ เป็นสถานที่เล่าเรียนโดยมิต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ในครั้งนั้นโรงเรียนวัดราชบพิธมีนักเรียนทั้งสิ้น 53 คน มีครู 2 คน (ความปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 หน้า 323) มีนายกวีซึ่งต่อมาได้ลาออกไปรับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนสุทรลิขิต เป็นครูใหญ่คนแรก มีชั้นเรียนเพียงชั้นเดียว คือ ชั้นประโยคหนึ่ง โดยนักเรียนที่สอบได้ประโยคหนึ่งคนแรกของโรงเรียนคือ พระสวัสดิ์นคเรศ (มงคล อมาตยกุล) สอบไล่ได้เมื่อ พ.ศ. 2430
ต่อมาอีกประมาณ 3 ปี คือราว พ.ศ. 2431 ในสมัยที่ นายพยอม เป็นครูใหญ่ ผู้คนในละแวกใกล้ไกลนิยมส่งบุตรมาเข้าเรียนมาขึ้น ทำให้สถานที่เล่าเรียนคับแคบ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระอรุณนิภาคุณากร พระผู้ก่อกำเนิดโรงเรียนวัดราชบพิธ จึงได้ทรงให้ย้ายไปทำการสอนที่ชั้นล่างของตำหนักที่ประทับของพระองค์ (ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้คือที่ตั้งขออาคารภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์ 1 ซึ่งเป็นอาคาร 3 ชั้นที่อยู่ติดกับสุสานหลวง) แต่กระนั้นก็ตาม ผู้คนก็นิยมส่งบุตรมาเข้าเรียนจนสถานที่ชั้นล่างของตำหนักนั้นไม่เพียงพออีก พระองค์จึงทรงประทานศาลารายรอบบริเวณให้ใช้เป็นห้องเรียนอีก 3 หลัง ในยุคนี้โรงเรียนวัดราชบพิธมีเพียงชั้นประถม 1 - 4 เท่านั้น มีนักเรียนประมาณ 100 คน และ หลวงชำนาญอนุสาสน์ (รอด รักตะประจิตร) เป็นครูใหญ่
ในสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามสืบต่อมา พระองค์ได้ทรงประทาน ศาลารายหลังที่อยู่ด้านถนนเฟื่องนคร ให้ใช้เป็นสถานที่เรียนอีก 1 หลัง ด้วยทรงเล็งเห็นความอัตคัตของสถานที่เรียน โรงเรียนจึงได้ใช้ศาลารายทั้ง 4 หลัง กับชั้นล่างของตำหนักเป็นที่เรียน อย่างไรก็ดีโรงเรียนวัดราชบพิธก็ได้เจริญโดยลำดับ จนกระทั่ง พ.ศ. 2457 สถานที่เรียนก็ไม่เพียงพอ ราชบุรุษกวย ป.ป. ครูใหญ่ในขณะนั้น ได้ทูลขอชั้นบนของตำหนัก ซึ่งมีพระสงฆ์อาศัยอยู่เป็นที่เรียน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ก็ได้มีพระเมตตาโปรดประทานให้ตามประสงค์ ในพ.ศ. 2478 สมเด็จพระสังฆราชเจ้าก็ได้ทรงประทานทุนส่วนพระองค์สร้างตึกสัมฤทธิ์วิทยาการให้เป็นที่เล่าเรียนอีก 1 หลัง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการยกฐานะโรงเรียนเดิมให้เป็นมัธยมตอนต้น โรงเรียนวัดราชบพิธจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธ" ดังปรากฏหลักฐานดวงตราที่ประทับอยู่บนหนังสือของห้องสมุดโรงเรียนหลายสิบเล่ม โรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธในเวลานั้นมีเพียงชั้นมัธยม 1 - 3 ส่วนประถม 1 - 3 ที่มีอยู่เดิมก็ย้ายไปอยู่โรงเรียนประถมวัดสุทัศน์แทน โรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธได้เจริญโดยลำดับ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2467 จึงได้เริ่มเปิดชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ในสมัยที่ขุนกิตติเวทย์เป็นครูใหญ่ ปีพ.ศ. 2469 อันเป็นปีที่โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนถึง 401 คน และในปี พ.ศ. 2474 นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธก็สามารถสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ของประเทศคือ นายสุดใจ เอี่ยมอุดม
ปีพ.ศ. 2478 ขุนชำนิอนุสาสน์ (เส่ง เลาหะจินดา) ครูใหญ่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการได้ไปเฝ้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ผู้ทรงอุปการะโรงเรียนทูลขอสถานที่เล่าเรียนเพื่อจะขยายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 - 8 แผนกวิทยาศาสตร์ พระองค์ก็ได้ทรงพระเมตตาประทานทุนสร้างตึกสัมฤทธิ์วิทยาการให้ พร้อมทั้งจัดตั้งอุปกรณ์การศึกษาให้เสร็จ ทั้งยังทรงฉลองตึกให้เสร็จในปี พ.ศ. 2479 อันเป็นปีรุ่งขึ้น แต่กระทรวงธรรมการในเวลานั้นกลับอนุญาตให้เปิดแผนกภาษาแทน และสั่งยุบโรงเรียนมัธยมศึกษาวัดมหรรณพารามรวมกับโรงเรียนนี้เมื่อปี พ.ศ. 2480
หลังจากที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อ 25 สิงหาคม 2480 แล้ว พระศาสนโศภน (ภา ภาณโก) เจ้าอาวาสยุคที่ 3 ได้เป็นผู้อุปการะสืบต่อมา ท่านได้เห็นความเจริญของการศึกษาจึงร่วมจัดหาทุนกับคณะศิษยานุศิษย์ สร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก 3 หลัง เพื่อเป็นพระอนุสรณ์แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 กระทรวงธรรมการได้สั่งให้ยุบโรงเรียนมัธยมวัดมหาธาตุกับโรงเรียนมัธยมกล่อมพิทยากร มารวมกับโรงเรียนวัดราชบพิธในสมัยขุนวิทยาวุฒิ (นวม ชัยรัตน์) เป็นครูใหญ่ ทำให้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 560 คน จนสถานที่เรียนไม่เพียงพอ ต้องขอยืมใช้สถานที่ในสุสานหลวงจากพระธรรมปาโมกข์ (วาสน์ วาสโน) ผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส ใช้เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว และได้ร่วมมือกันหารือกับพระธรรมปาโมกข์ พระจุลคณิศร และพ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม เพื่อหาทุนสร้างโรงเรียนถวายเป็นอนุสรณ์แต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ในปลายปี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ขุนชำนิอนุสาสน์ได้กลับจากการเป็นผู้แทนราษฎรมารับตำแหน่งครูใหญ่อีกทั้งยัง ได้รับอนุมัติจากพระศาสนโศภน เจ้าอาวาสให้จัดสร้างอาคารเรียนเพิ่มอีก 4 หลังคือ พ.ศ. 2484 สร้างตึกชินวรศรีธรรมวิทยาคาร และพ.ศ. 2485 สร้างตึกภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์1,2 และ 3 ภายหลังจากพระศาสนโศภนได้มรณภาพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เจ้าอาวาสพระองค์ที่สี่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนต่อมา
ครั้นต่อมาปี พ.ศ. 2487 - 2488 นายพิศาล มั่นเสมอ ครูใหญ่ เวลานั้นได้ติดต่อขอทุนกรมสามัญศึกษาจัดการซื้อหนังสือไทยและต่างประเทศ เพื่อจัดตั้งห้องสมุด แต่ท่านได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนเมื่อ 27 ธันวาคม 2488 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำริให้มีห้องสมุดโรงเรียนขึ้น โดยเลือกเอาโรงเรียนแห่งนี้เป็นที่ตั้งห้องสมุดกลาง สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้ตึกภุชงค์ประทานวิยาสิทธิ์ 3 เป็นที่ตั้งเปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2492 มีอาจารย์ รสา วงศ์ยังอยู่ เป็นบรรณารักษ์คนแรก ในสมัยที่นายโกวิท ประทัตสุนทรสาร เป็นครูใหญ่ และโรงเรียนมัธยมวัดราชบพิธได้เจริญมาโดยลำดับจวบจนกระทั่งสถานที่ที่มีอยู่มีความคับแคบ ต้องมีการจัดเรียนเป็น 2 ผลัด (เช้า - บ่าย) แยกบางส่วนไปเรียนในบริเวณวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พร้อม ๆ กับการขาดหายไปของคำว่า "มัธยม" ในนามโรงเรียนจนกลายเป็น "โรงเรียนวัดราชบพิธ" ในปัจจุบัน
โรงเรียนแห่งใหม่ (วาสนะประทานวิทยาสิทธิ์)[แก้]
นับเนื่องจากการที่อาจารย์ผล ใจสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราชบพิธคนที่ 23 ได้มองเห็น ความอัตคัตเรื่องสถานที่เรียน ทั้งสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระดำริเรื่องที่นักเรียนของโรงเรียนวัดราชบพิธมีความยากลำบากในเรื่องสถานที่เรียนแออัด มีพระประสงค์ที่จะะขยายสถานที่เรียนให้กว้างขวางออกไป แม้ได้มีผู้ประสงค์จะทูลถวายที่ดินให้โรงเรียนหลายรายด้วยกัน แต่พระองค์ทรงเห็นว่าที่เหล่านั้นไกลจากวัดราชบพิธ และโรงเรียนเดิมมากเกินไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนวัดราชบพิธได้ที่ดินแปลงหนึ่งจำนวน 9 ไร่ 1 งาน 46 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารคลังยกกระบัตร กรมพลาธิการทหารบก ตั้งอยู่บริเวณสวนเจ้าเชตุ ไม่ไกลจากวัดและโรงเรียนเดิมเหมาะที่จะสร้างขยายโรงเรียน เพราะกองทัพบกเจ้าของที่นั้นมีโครงการจะย้ายคลังพัสดุไปที่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก จึงมีพระลิขิตถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 เพื่อทรงขอบิณฑบาตที่ดินดังกล่าวสำหรับใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างขยายโรงเรียนวัดราชบพิธ ภายหลังที่กองทัพบกได้ย้ายคลังพัสดุออกไปแล้ว แต่เรื่องได้เงียบไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 ในมหามงคลสมัยที่เจริญพระชนมายุ 90 พรรษา กองทัพบก โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ด้วยความเห็นชอบของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้น้อมเกล้าถวายเอกสารสิทธิ์ที่ดินราชพัสดุ ที่ตั้งอาคารคลังยกกระบัตร แด่สมเด็จพระสังฆราชฯ พร้อมกันนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสร้างอาคารโรงเรียนวัดราชบพิธเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2531 โดยมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นประธาน และสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรสถานที่ก่อสร้างขยายโรงเรียนวัดราชบพิธเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 ก่อนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2531
วันที่ 5 เมษายน 2532 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ ณ สวนเจ้าเชตุ โดยได้รับงบประมาณการก่อสร้างโรงเรียนจากกรมสามัญศึกษา 39,560,000 บาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบคอมเพล็กซ์แห่งแรกของประเทศไทย พร้อมทั้งอาคารพลศึกษาและสระว่ายน้ำในวงเงิน 117 ล้านบาท การก่อสร้างได้ดำเนินไปจนกระทั่งสามารถย้ายนักเรียนเข้าไปเรียนยังสถานที่เรียนแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2533 เป็นต้นมา
วันที่ 2 มีนาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดอาคารเรียน โรงเรียนวัดราชบพิธแห่งใหม่ ซึ่งเป็นวารดิถีวโรกาศวันคล้ายวันประสูติในสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) สกลมหาสังฆปริณายก
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
ตราประจำโรงเรียน[แก้]
ฉัตร 5 ชั้น เป็นเครื่องประกอบอิสริยยศสมณศักดิ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า อักษร ร.บ.ล้อมด้วยวงกลม เป็นอักษรย่อของโรงเรียนวัดราชบพิธ มีความหมายเพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าโรงเรียนวัดราชบพิธเป็นโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของเจ้าอาวาสและของวัดราชบพิธตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน
สีประจำโรงเรียน[แก้]
สีขาวเหลือง ขาวหมายถึงความบริสุทธิ์เป็นเครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา การใช้สีขาวเป็นส่วนหนึ่งของธงโรงเรียน เพราะโรงเรียนนี้ถือกำเนิดมาจากวัดและตั้งอยู่ในบริเวณวัด คืออาศัยบารมีของพระศาสนาเป็นที่ตั้ง เมื่อเห็นธงจึงทำให้รำลึกถึงประวัติดังกล่าว ส่วนสีเหลืองเป็นสีที่คนไทยรู้ดีที่สุดว่าเป็นสีของพระสงฆ์โรงเรียนนี้อยู่ในความอุปการะของยอดแห่งสงฆ์กล่าวคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเอาใจใส่ดูแล และทรงทำการทุกอย่างเพื่อความเจริญของโรงเรียนนี้ นับว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนนี้มากมาย สีเหลืองจึงเป็นสีสำหรับพระองค์ท่าน และทำให้ระลึกถึงพระคุณของพระองค์
คติพจน์ของโรงเรียน[แก้]
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ได้ทรงประทานคติพจน์ว่า วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์เสียได้ด้วยความเพียร เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477
พระประจำโรงเรียน[แก้]
พระพุทธปฏิมา วาสนัฏฐารสม์ มีความหมายว่า "พระพุทธผู้มีบุญองค์ที่ 18" เป็นปางชนะมาร เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)โปรดให้สร้างขึ้นจำนวน 18 องค์ ประทานให้แก่หน่วยงานและสถานที่ในพระอุปถัมภ์ พระพุทธปฏิมา วาสนัฏฐารสม์ ได้อัญเชิญมา วันที่ 22 มิถุนายน 2533 ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ห้องจริยธรรม อาคารวาสนะประทานวิทยาสิทธิ์ 1 ชั้น 4 เมื่อ พ.ศ. 2552 ได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ ห้องประชุมชมพูนุท บริเวณชั้น 2 อาคาร 2 ซึ่งเป็นห้องประชุมสร้างใหม่
พระรูปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(วาสนมหาเถร)สมเด็จพระสังฆราช[แก้]
พระรูปเหมือนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อัญเชิญมาประดิษฐาน ภายในพระวิหารน้อย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2533 เพื่อสักการบูชา น้อมรำลึกถึงพระคุณูปการที่ทรงมีต่อโรงเรียนวัดราชบพิธ
ต้นไม้ประจำโรงเรียน[แก้]
ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]
ลำดับ [1] | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายไบร์ท | พ.ศ. 2429 - 2431 |
2 | นายพยอม | พ.ศ. 2431 - 2433 |
3 | หลวงชำนาญอนุสาสน์ (รอด รักตประจิต) | พ.ศ. 2433 - 2454 |
4 | นายอั๋น | พ.ศ. 2454 - 2455 |
5 | ขุนธนกิจพิจารณ์ (อิน อุทะเกษตริน ป.ป.) | พ.ศ. 2455 - 2455 |
6 | ราชบุรุษกวย ป.ป. | พ.ศ. 2455 - 2457 |
7 | นายชื่น(รักษาการแทนครูใหญ่) | พ.ศ. 2457 |
8 | รองอำมาตย์ตรี เจิม โลหนันท์ ป. | พ.ศ. 2457 - 2458 |
9 | หลวงชาญดรุณวิทย์ รองอำมาตย์ตรี (พริ้ง บนธาตุผลิต ป.ม.) | พ.ศ. 2458 - 2464 |
10 | รองอำมาตย์ตรี ขุนกิติเวทย์ (พัฒน์ บุญญภุมม ป.ม.) | พ.ศ. 2464 - 2475 |
11 | รองอำมาตย์โท ขุนชำนิขบวนสาสน์ (ถนอม นาควัชระ ป.ม.) | พ.ศ. 2477 - 2480 |
12 | รองอำมาตย์โท ขุนชำนิอนุสาสน์ (เส่ง เลาหจินดา ป.ม.) | พ.ศ. 2477 - 2480 |
13 | ขุนวิทยาวุฒิ (นวม ชัยรัตน์ ป.ม.) | พ.ศ. 2480 - 2481 |
14 | รองอำมาตย์โท ขุนชำนิอนุสาส์น (เส่ง เลาหจินดา ป.ม.) | พ.ศ. 2481 - 2487 |
15 | นายพิศาล มั่นเสมอ ป.ม. | พ.ศ. 2487 - 2488 |
16 | นายสกล สิงหไพศาล ป.ม. , ธ.บ | พ.ศ. 2488 - 2490 |
17 | นายโกวิท ประทัตสุนทรสาร ป.ม. | พ.ศ. 2490 - 2499 |
18 | นายเตื่อม ตุงคนาค ป.ม. | พ.ศ. 2499 - 2511 |
19 | นายเลียบ ขุนทองแก้ว ผอ. (รักษาการแทน) | พ.ศ. 2511 - 2512 |
20 | นายสิน บุญเกตุ ป.ม. , กศ.บ. | พ.ศ. 2512 - 2514 |
21 | นายสุวรรณ วิณวันต์ ป.ม. , กศ.บ. | พ.ศ. 2514 - 2516 |
22 | นายชาญชัย งามประหยัด ป.ม. , ค.บ. (รักษาการแทน) | พ.ศ. 2516 - 2517 |
23 | นายสุวิต โรจนะชีวะ ป.ม. , ธ.บ. | พ.ศ. 2517 - 2519 |
24 | นายผล ใจสว่าง พ.อ. , ค.บ. | พ.ศ. 2519 - 2534 |
25 | นายประวิทย์ พฤทธิกุล กศ.บ. | พ.ศ. 2534 - 2536 |
26 | นางศิริลักษณ์ นันทพิศาล ค.ม. | พ.ศ. 2536 - 2537 |
27 | นายศิริ สุงคาสิทธิ์ กศ.บ., ค.ม. | พ.ศ. 2537 - 2540 |
28 | นายสมพงษ์ รุจิรวรรธน์ กศ.บ., กศ.ม. | พ.ศ. 2540 - 2543 |
29 | นายสมชัย เชาว์พาณิช กศ.บ., กศ.ม. | พ.ศ. 2543 - 2546 |
30 | นายคงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป กศ.บ.,กศ.ม. | พ.ศ. 2546 - 2549 |
31 | นายไพรัช กรบงกชมาศ กศ.บ.,ค.ม. | พ.ศ. 2549 - 2552 |
32 | นายสุรพล การบุญ ค.ม. | พ.ศ. 2552 - 2555 |
33 | นายอดิศักดิ์ วิไลลักษณ์ | พ.ศ. 2555 - 2558 |
34 | นายมนัส ปิ่นนิกร | พ.ศ. 2558 - 2561 |
35 | นายศรายุทธ รัตนปัญญา ศษ.ม.,ปร.ด. | พ.ศ. 2561 - 2563 |
36 | นายอนันต์ศักดิ์ ภูพลผัน | พ.ศ. 2564 |
37 | นายปราโมทย์ ทวีตั๊งตระกูล | พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
- พลเอกสุจินดา คราประยูรอดีตนายกรัฐมนตรี และ อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดราชบพิธ
- พลเรือเอกถวิล รายนานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายนาม พูนวัตถุ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอกสุรกิจ มัยลาภ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอกเสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- นายพ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสวัสดิ์ คำประกอบ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี
- ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา นักเขียนนวนิยายยุคบุกเบิกของไทยเจ้าของนามปากกา “ไม้ เมืองเดิม”
- ชิต บุรทัต นักประพันธ์และกวีผู้มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ ๖ ผู้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
- ฉันท์ ขำวิไล กวีผู้มีชื่อเสียง, ผู้เรียบเรียงแบบเรียนภาษาไทย และคำร้องเพลงชาติไทยสมัยช่วง พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒
- ศาสตราจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นศิลปินและจิตรกรผู้ได้รับการยกย่องเป็น “ครูใหญ่ในวงการศิลปะ” ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร
- หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์)
- สมยศ ทัศนพันธ์ นักร้องชื่อดังของวงดุริยางค์ทหารเรือ
- อบ ไชยวสุ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (หัสคดี)
- วินัย จุลละบุษปะ อดีตนักร้องนำ และหัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และวงสังคีตสัมพันธ์
- นายรัตน์ ศรีไกรวิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พลตำรวจเอกบุญชู วังกานนท์ อดีตผู้บังคับการตำรวจกองปราบ และผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
- ศาสตราจารย์จินดา เทียมเมธ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ศาสตราจารย์ ดร.ทองสุข พงศ์ทัต อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.พุฒิพงษ์ วรวุฒิ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- ศาสตราจารย์ ดร.กมล เภาพิจิตร อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์ ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- ศาสตราจารย์ ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมบัติ สุคนธพันธ์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศาสตราจารย์ พนัส หันนาคินทร์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปัจจุบัน)
- ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์ ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม
- ศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ อาภาภิรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.สวนิต ยมาภัย นักวิชาการด้านอักษรศาสตร์
- เดิม แดงอุดม อดีตหัวหน้าภาควิชา ทอ-ย้อม วิทยาลัยเขตเพาะช่าง
- นายวิเชียร เปาอินทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสาคร
- นายมานิจ สุขสมจิตร บรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พันเอกสุชาติ ศุภประเสริฐ โหราจารย์ผู้มีชื่อเสียง นายกสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติกิตติมศักดิ์
- นายสมชาย แสวงการ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ดร.มานิต เอื้อทวีกุล ประธานกรรมการบริหาร ซิตี้ เซ็นเตอร์ กรุ๊ป และ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดราชบพิธ
- ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ ฐานีพาณิชกุล นายกสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย และ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พลเอกธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ อดีตผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นรินทร์ ภูวนเจริญ นักแสดงและนักร้อง
- นพพล โกมารชุน นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์
- นายฐากูร การทิพย์ ป็อป นักแสดง ช่อง 3
- นายจิรายุ ตันตระกูล ก็อต นักแสดง ช่อง 3
- โอบนิธิ วิวรรธนวรางค์ โอบ นักแสดง
- จุมพล อดุลกิตติพร ออฟ นักแสดง,พิธีกร
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- พระบรมมหาราชวัง
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
- มิวเซียมสยาม
- พระราชวังสราญรมย์
- สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
- โรงเรียนราชินี
- ปากคลองตลาด
- ทำเนียบองคมนตรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพาณิชยการ
- ↑ "ทำเนียบผู้อำนวยการ ร.บ." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
บรรณานุกรม[แก้]
- คณะกรรมการดำเนินงานฉลองพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา สมเด็จพระสังฆราช,ประวัติวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม,กรุงเทพ ฯ : คณะกรรมการดำเนินงานฉลองพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา,๒๕๓๑.
- คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึก,๑๐๘ ปีโรงเรียนวัดราชบพิธ (ที่ระลึกครบรอบ ๑๐๘ ปี ๒ มีนาคม ๒๕๓๗),กรุงเทพ ฯ : โรงเรียนวัดราชบพิธ,๒๕๓๗.
- โรงเรียนวัดราชบพิธ,พิธีเปิดอาคารเรียน โรงเรียนวัดราชบพิธ ๒ มีนาคม ๒๕๓๔,กรุงเทพ ฯ : โรงเรียนวัดราชบพิธ,๒๕๓๔.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์โรงเรียนวัดราชบพิธ เก็บถาวร 2014-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์โรงเรียนวัดราชบพิธ ระบบสารสนเทศสพฐ.
- แฟนเพจโรงเรียนวัดราชบพิธ (Wat Rajabopit School)
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนวัดราชบพิธ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′38″N 100°29′43″E / 13.743939°N 100.495216°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้