โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (เมษายน 2021) |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Benjamarachalai School Under the Royal Patronage of His Majesty the King | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ร. / B.R. |
ประเภท | รัฐ |
คำขวัญ | คล่องแคล่วอย่างงดงาม |
สถาปนา | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 |
หน่วยงานกำกับ | สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1000100105 |
ผู้อำนวยการ | นงกรานต์ บรรเจิดธีรกุล |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
สี | เลือดหมู ขาว |
เพลง | มาร์ชเบญจมราชาลัย |
ต้นไม้ | บัวจงกลณี |
เว็บไซต์ | http://www.br.ac.th |
โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมเป็นวังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุล "วัฒนวงศ์" ได้ทรงอุทิศ ให้รัฐบาลตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรก เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำบุญเปิดโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงแห่งนี้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 และเปิดสอนในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 มีนักเรียน 24 คน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า "เบญจมราชาลัย" และกรมศึกษาธิการได้เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงเปิดนามโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2456
ประวัติ
[แก้]เมื่อกระทรวงธรรมการได้รับสถานที่นี้แล้ว ได้จัดซ่อมแซมแก้ไขให้เข้ารูปเหมาะที่จะเป็นโรงเรียน โดยใช้อาคารซึ่งเป็นพระตำหนัก 2 หลัง และอาคารเรือนไม้ 5 หลัง เป็นอาคารเรียน เริ่มเปิดสอนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประถม ทั้งประจำและไปกลับ รับนักเรียนในกรุงเทพฯ และมณฑลต่าง ๆ ได้ขยายการสอนถึงวิชาครูมัธยม ต่อมาในภายหลังได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ชั้นสูง เทียบเท่าประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย เรียกว่า ประโยคมัธยมวิสามัญ
พ.ศ. 2472 ได้เปิดสอนประโยคมัธยมบริบูรณ์ชาย มีทั้งแผนกภาษา แผนกวิทยาศาสตร์และแผนกกลาง นับเป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกที่สอนวิชาในหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์ชาย และมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ปี พ.ศ. 2475 กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตำบลถนนราชบุรี จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทรพระปิตุจฉาเจ้าให้จัดสร้างเป็นโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งย้ายครูและชั้นมัธยมบริบูรณ์ชาย (ม.7-8) ทั้งหมดไปอยู่โรงเรียนเพชรบุรี - วิทยาลงกรณ์ นับเป็นการย้ายครั้งใหญ่ที่ทำให้โรงเรียนเบญจมราชาลัย ต้องลดฐานะมาเป็นโรงเรียนสามัญ คงมีแต่นักเรียนเช้าไปเย็นกลับ ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึง มัธยมปีที่ 6 ต่อมาในปีพ.ศ. 2476 โรงเรียนเบจมราชาลัยได้ปรับปรุงการสอนเพิ่มถึงชั้นประโยคบริบูรณ์อีกดังเช่นเดิม แต่ใน พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งย้ายนักเรียนชั้นสูงไปเรียนรวมที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยและยุบเลิกชั้นประถม ตั้งแต่บัดนั้นมาคงเปิดทำการสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามคำสั่งของกรมสามัญศึกษา ในปีพ.ศ. 2496 ได้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาทั้งแผนกอักษรศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2499 ได้เริ่มเปิดสอน 2 รอบ คือรอบเช้า และรอบบ่าย ในปีพ.ศ. 2503ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง คือ ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และในปี พ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนแปลงตามแผนการศึกษาของชาติ เป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1-2-3 และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-5-6 เนื่องจากอาคารเรียนเดิมเป็นเรือนไม้ เมื่อเวลาผ่านไปอาคารเรียนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ประกอบกับมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางโรงเรียนจึงได้จัดสร้างอาคารเรียนใหม่แทนเรือนไม้หลังเดิม กล่าวคือ
- ปี พ.ศ. 2500 ได้รื้ออาคารไม้หลังเก่าด้านทิศเหนือ สร้างเป็นอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 1 คือ ตึก “มรุพงศ์อนุสรณ์”
- ปี พ.ศ. 2504 ได้รื้ออาคารไม้หลังเก่าทางด้านทิศใต้ สร้างเป็นอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 2 คือตึก “จันทรนิภา”
- ปี พ.ศ. 2508 ได้รื้ออาคารไม้ด้านทิศตะวันออก สร้างอาคารเรียนคอนกรีตหลังที่ 3 คือตึก “วัฒนานุสสรณ์”
- ปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้ขยายสาขาไปตั้งเบญจมราชาลัย 2 ที่ตำบลประชานิเวศน์ 3 แขวงท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
- ปี พ.ศ. 2524 ได้สร้างอาคารเรียนหลังที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของโรงเรียน อาคารเรียนหลังนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามว่า “เทพรัตน” (อ่านว่า เทบ-พะ-รัด-ตะ-นะ) และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2526
- ปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ ให้โรงเรียนเบญจมราชาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
- ปี พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้ขยายสาขาไปตั้งเบญจมราชาลัย 3 สาขามีนบุรี ที่ตำบลสามวาตะวันตก เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนสหศึกษา ในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
- ปี พ.ศ. 2536 ได้รื้ออาคารวัฒนานุสสรณ์ซึ่งเป็นอาคาร 3ชั้น สร้างให้เป็นอาคาร 6 ชั้น มีสระว่ายน้ำ “วิบูลวรรณ” บนดาดฟ้า เพื่อเป็นที่ระลึกในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ องค์ต้นราชสกุล “วัฒนวงศ์” ผู้ทรงอุทิศวังแห่งนี้ อาคารหลังใหม่นี้เปิดใช้ในปีการศึกษา 2536 อาคารหลังนี้คือ “อาคารวัฒนวงศ์”
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- ห้องเรียนพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Gifted Program ; SMGP) ระดับชั้นละ 2 ห้อง (72 คน)
- โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Programme ; EP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- ห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 5 ห้อง (200 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- ห้องเรียนพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment ; SMTE) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- ห้องเรียนปกติ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (วิทย์ – คณิต) ระดับชั้นละ 3 ห้อง (120 คน)
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (ศิลป์ – คำนวณ) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส (ศิลป์ – ฝรั่งเศส) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาจีน (ศิลป์ – จีน) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น (ศิลป์ – ญี่ปุ่น) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (40 คน)
รายนามศิษย์เก่า
[แก้]- กนกวรรณ ด่านอุดม
- กรรณิกา ธรรมเกษร
- ทาริกา ธิดาทิตย์
- นาตาลี เดวิส
- นิลวรรณ ปิ่นทอง
- โฟกัส จีระกุล
- มาช่า วัฒนพานิช
- เรืองอุไร กุศลาสัย
- ส่ง เทภาสิต
- สุรางค์ ดุริยพันธุ์
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง
- โรงเรียนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2456
- โรงเรียนที่มีอายุเกิน 100 ปีในประเทศไทย
- โรงเรียนที่สร้างขึ้นเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งรัชกาลที่ 5
- โรงเรียนในเขตพระนคร
- กลุ่มโรงเรียนเบญจมราชาลัย
- โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
- โรงเรียนสตรีในกรุงเทพมหานคร
- องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ในประเทศไทย
- โรงเรียนมาตรฐานสากล
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1