ชินกร ไกรลาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชินกร ไกรลาศ
ชื่อเกิดชิน ฝ้ายเทศ
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2489
ที่เกิดอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
เสียชีวิต18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (71 ปี)
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีแหล่

ชิน ฝ้ายเทศ เป็นที่รู้จักในชื่อ ชินกร ไกรลาศ (1 เมษายน พ.ศ. 2489 — 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560) เป็นนักร้องลูกทุ่งที่ประยุกต์เพลงพื้นบ้านมาผสมผสานกับการแสดงดนตรีลูกทุ่งในหลายลักษณะ ทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2541

ประวัติ[แก้]

ชินกร ไกรลาศ เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดคุ้งยาง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย[1] ได้รับปริญญาดุษฏีกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต จากวิทยาลัยครูธนบุรี มีความสนใจในเพลงพื้นบ้านตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยเป็นนักร้องเพลงเชียร์รำวง พร้อมกับมีเพื่อนรักกันมากเขาชื่อ ทิว สุโขทัย หลังจากนั้นได้ชมการแสดงของครูพยงค์ มุกดา จึงไปสมัครเป็นนักร้อง มีผลงานเพลงบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกในเพลง “ลูกทุ่งรำลึก” จนมีชื่อเสียงในการขับร้องเพลงลูกทุ่งมาตามลำดับ มีผลงานเพลงสร้างชื่อได้แก่ เพลงยอยศพระลอ, เพชฌฆาตใจ, เพชรร่วงในสลัม แต่ผลงานที่ผู้คนจดจำได้ดีคือแนวการแหล่อันเป็นเอกลักษณ์

ชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับสุชาดา ฝ้ายเทศ มีบุตรด้วยกัน 1 คน ธิดา 2 คน[2]

ชินกรเป็นนักร้องลูกทุ่งที่ประยุกต์เพลงพื้นบ้านมาผสมผสานกับการแสดงดนตรีลูกทุ่งพื้นบ้าน ในหลายลักษณะ ทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว และต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2541

ผลงาน[แก้]

ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียง
  • ยอยศพระลอ
  • เพชรร่วงในสลัม
  • เพชฌฆาตใจ
  • บ้านไร่น่ารัก
  • กลองยาวชินกร
  • ลูกทุ่งเสี่ยงเทียน
  • นางหลายใจ
  • รจนา
  • ริมไกรลาศ
  • ลูกโจรกลับใจ
  • ชะละวัน
  • เห่ฉลิมพลี
  • ใจพ่อใจแม่
  • บัวตูมบัวบาน
  • ความรักเหมือนยาขม
  • ทุ่งร้างนางลีม
  • ตัวไกลใจเหงา
  • รักที่ถูกลีม
  • รักเก้อ
  • แฟนใคร
  • บ้านใกล้เรือนเคียง
  • แฟนเดิม
  • น้ำตาไอ้ก้อง
  • รักจริงหรือเปล่า
  • ฟ้าร้องให้

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

  • เพลงเฉลิมพระเกียรติองค์ราชา (2548)

ผลงานภาพยนตร์ที่เคยแสดง[แก้]

  • ชาติลำชี ปี พุทธศักราช 2512
  • เมืองแม่หม้าย ปี พุทธศักราช 2512
  • กิ่งแก้ว ปี พุทธศักราช 2513
  • รักนิรันดร์ ปี พุทธศักราช 2513
  • สิงห์สาวเสือ ปี พุทธศักราช 2513
  • เงินจางนางจร ปี พุทธศักราช 2513
  • จอมบึง ปี พุทธศักราช 2513
  • เสน่ห์ลูกทุ่ง ปี พุทธศักราช 2513
  • เพลงรักแม่น้ำแคว ปี พุทธศักราช 2513
  • อยากดัง ปี พุทธศักราช 2513
  • ไอ้ทุย ปี พุทธศักราช 2514
  • แว่วเสียงซึง ปี พุทธศักราช 2514
  • แก้วสารพัดนึก ปี พุทธศักราช 2514
  • ไก่นา ปี พุทธศักราช 2514
  • คนใจเพชร ปี พุทธศักราช 2514
  • ยอดต่อยอด ปี พุทธศักราช 2514
  • เจ้าลอย ปี พุทธศักราช 2515
  • เพลงรักลูกทุ่ง ปี พุทธศักราช 2515
  • 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน ปี พุทธศักราช 2515
  • เชียงตุง ปี พุทธศักราช 2515
  • เด่นดวงเดือน ปี พุทธศักราช 2516
  • สายฝน ปี พุทธศักราช 2516
  • ไอ้ขุนเพลง ปี พุทธศักราช 2523
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. ปี พุทธศักราช 2545
  • รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน ปี พุทธศักราช 2556
ผลงานละคร
  • อยู่กับก๋ง ช่อง 3 ปี 2536
  • พ่อ ตอน เพลงของพ่อ ช่อง 5 ปี 2542
  • สวนอาหารบานใจ (รับเชิญ) ช่อง 7 ปี 2555

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok '99 (2542)
  • คอนเสิร์ต 38 ปี มิตร ชัยบัญชา (2551)
  • คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (2555)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (2555)
  • คอนเสิร์ต ครบรอบ 8 ปี อินฟินิตี้ความสุข (2557)
  • คอนเสิร์ต & ลีลาศการกุศล (2557)
  • คอนเสิร์ต รัตนโกสินทร์ (2557)
  • คอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส 2 (2558)
  • คอนเสิร์ต 40 ปี อุมาพร (2559)

รางวัล[แก้]

  • ชนะเลิศการประกวดดนตรีลูกทุ่งไทยในงานวชิราวุธานุสรณ์ ปี 2513
  • รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากการขับร้องเพลงยอยศพระลอ ปี 2514
  • ได้รับพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องลูกทุ่งดีเด่น ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2532
  • ได้รับพระราชทานรางวัลนักร้องเพลงไทยผู้ออกเสียงภาษาไทยถูกต้อง เนื่องในงานสัมมนาการใช้ภาษาไทยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ได้รับพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรตินักร้องลูกทุ่งดีเด่น ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2534
  • ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2537

อาการป่วยและการเสียชีวิต[แก้]

ชินกร ไกรลาศ ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และได้รักษาอาการอย่างต่อเนื่อง โดยการตัดลำไส้ออก และทำการรักษาด้วยคีโม จนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ชินกรได้มีอาการอาเจียน คลื่นไส้ เดินไม่ได้ ครอบครัวนำตัวส่งโรงพยาบาลศิริราช ต่อมา เวลา 10.40 น ของวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ชินกรก็เสียชีวิตลงด้วยอาการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่า มาจากเชื้อมะเร็งที่ได้รักษาไปจนหายแล้ว[3] พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]