โรงเรียนเลยพิทยาคม
บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนเลยพิทยาคม Loei Pittayakom School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ล.พ.ค. / LPK |
ประเภท | โรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | คณสฺส สามคฺคี สุขา (ความสามัคคีของหมู่คณะเป็นสุข) |
สถาปนา | สโมสรวิทยาลัย พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2515 (65 ปี) สตรีเลย พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2515 (33 ปี) เลยพิทยาคม 24 มีนาคม พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน (52 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1042520456 |
ผู้อำนวยการ | จิตติศักดิ์ นามวงษา |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 |
จำนวนนักเรียน | 3,331 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566)[1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน |
สี | น้ำเงิน - ชมพู |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนเลยพิทยาคม |
เว็บไซต์ | http://www.loeipit.ac.th |
โรงเรียนเลยพิทยาคม (อังกฤษ: Loei Pittayakom School; อักษรย่อ: ล.พ.ค. — LPK) หรือเรียกอย่างย่อว่า เลยพิทย์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดเลย ประเภทโรงเรียนสหศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู เขต 19 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ 237/9 ถนนเลย - ด่านซ้าย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000 ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยการรวมกันของโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (โรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดเลย) และโรงเรียนสตรีเลย (โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเลย) ปัจจุบัน เปิดสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษา
โรงเรียนเลยพิทยาคมเป็น 1 ใน 5 โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ที่มีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นได้แก่ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา โรงเรียนภูเรือวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา และโรงเรียนเลยพิทยาคม โดยโรงเรียนเลยพิทยาคมเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดเลย ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท.ร่วมกับโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา นอกจากนี้โรงเรียนเลยพิทยาคมยังเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา
ประวัติ
[แก้]ยุคที่ 1 กำเนิดสโมสรวิทยาลัยและสตรีเลย
[แก้]- พ.ศ. 2450 เปิดสอนระดับมัธยมขึ้นที่จังหวัดเลย ก่อนหน้านี้คนเมืองเลยต้องไปเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หรือพิษณุโลก ซึ่งต้องเดินทางด้วยเท้าหลายวันและลำบากมาก มีไม่กี่คนที่ได้ไปเรียนถึงกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงก่อตั้งกองเสือป่าและลูกเสือขึ้นทุกจังหวัด เพื่อปลุกใจคนไทยทุกวัยให้มีความรักชาติบ้านเมือง โดยเจ้าเมืองทุกเมืองต้องตั้งสโมสรเสือป่าขึ้น สำหรับจังหวัดเลยนั้น เมื่อถึงกำหนดที่จะเปิดสอนความรู้ระดับมัธยมขึ้นให้ถึงระดับมัธยม 3 เหมือนจังหวัดอื่น ๆ ยังไม่มีอาคารสถานที่เป็นของตนเองจึงต้องอาศัยสโมสรเสือป่าที่สร้างขึ้นไว้ โดยได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเลย “โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย” ซึ่งเป็นโรงเรียนชายขึ้น สำหรับครูใหญ่คนแรกนั้น ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใคร ส่วนครูใหญ่รุ่นหลัง ๆได้แก่ ครูแสน เดชกุญชร (ขุนเดชกุญชรศึกษากร) และมีคณะครูที่ทรงคุณวุฒิเป็นเพื่อนร่วมงาน ได้แก่ ครูเปลื้อง สวามิภักดิ์, ครูผิดตา (เกษม) ศักดิ์เจริญ, ครูสุบรรณ แก้วทอง, ครูมา ประเสริฐสุต และครูคำหาว ผาโคตร
- พ.ศ. 2482 กระทรวงธรรมการได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลฝ่ายสตรีขึ้นในเมืองเลย โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีเลย สถานที่ตั้งในระยะแรกของโรงเรียน คือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบัน รับเฉพาะนักเรียนหญิง ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
- พ.ศ. 2515 ทางราชการประกาศยุบโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย และโรงเรียนสตรีเลย เป็นโรงเรียนเลยพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเลยในปัจจุบัน
ยุคที่ 2 กำเนิดเลยพิทยาคม
[แก้]โรงเรียนเลยพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่รวมโรงเรียนสตรีเลย (โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเลย) กับโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (โรงเรียนชายประจำจังหวัดเลย) ตามประกาศของ กรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2515 ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมวิสามัญศึกษา (กรมสามัญศึกษา) ในการปรับปรุงโรงเรียนของรัฐบาลทั่วประเทศให้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยโรงเรียนรัฐบาลของจังหวัดใดก็ตามหากพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่สามารรับนักเรียนได้ถึง 2,000 คน ในปี พ.ศ. 2515 กระทรวงศึกษาธิการก็จะรวมโรงเรียนประจำจังหวัดชายและโรงเรียนประจำจังหวัดหญิงเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนเดียวซึ่งในระยะเดียวกันนี้ จังหวัดอื่นๆ ก็มีการรวมโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งชายและหญิงเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนเดียว เช่น โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี โรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม จังหวัดพิจิตร โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย จึงต้องย้ายจากสถานที่เดิมที่มีพื้นที่เพียง 23 ไร่ (โรงเรียนเมืองเลยในปัจจุบัน) มารวมกับโรงเรียนสตรีเลย ซึ่งมีพื้นที่ถึง 81 ไร่ 2 งาน 04 5/10 ตารางวา
หลังจากมีประกาศของ กรมสามัญศึกษา แล้ว นายสมสิน โทณะสุต ศึกษาธิการจังหวัดเลยได้ดำเนินการย้ายโรงเรียนในช่วงปิดภาคเรียนและได้แต่ตั้ง นายเฉลิม จิรนาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสโมสรวิทยาลัยจังหวัดเลย เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเลยพิทยาคม เมื่อเริ่มเปิดทำการสอนในปั พ.ศ. 2515 จัดการเรียนแบบสหศึกษา มีห้องเรียน 35 ห้อง นักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,468 คน เป็นชาย 758 คน หญิง 710 คน ครู-อาจารย์ 61 คน โดยมี ดร.ก่อ สวัสดิพานิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา และ นายวิจิน สัจจะเวทะ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เปิดป้ายโรงเรียนเลยพิทยาคม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2515 ในปี พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้ดำเนินการสอน 2 ผลัด ปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ “คมภ.2 รุ่น 1” ปี พ.ศ. 2521 ได้รับโอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) จากโรงเรียนเมืองเลย จำนวน 2 ห้อง และได้เปลี่ยนระบบการศึกษาจาก 7:3:2 มาเป็น 6:3:3
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 13:13:13/14:14:14 รวม 81 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 228 คน แยกเป็น ข้าราชการครู 156 คน ข้าราชการ ก.พ. 1 คน ลูกจ้างประจำตำแหน่งยาม นักการภารโรง 9 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่สอน 9 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่สนับสนุน 13 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่ยาม นักการภารโรง พนักงานขับรถ 16 คน ครูชาวต่างประเทศ จำนวน 10 คน นักเรียน 3,382 คน มีอาคารเรียนถาวร 7 หลัง อาคารประกอบ 11 หลัง สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดภารกิจ ให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานคุณภาพ ดังต่อไปนี้
- 1. โรงเรียนยอดนิยม ที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจ จึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
- 2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามกรอบกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ดำเนินงานโดยเน้น “ห้องเรียนคุณภาพ” เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
- 3. โรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร ดังนี้
- 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย
- 1) หลักสูตรโรงเรียนเลยพิทยาคม พุทธศักราช 2560 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในชั้น ม.1 - ม.6
- 3.2 โครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย
- 1) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program : GEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- 2) โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- 3) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
- 4) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program : SM) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- 5) โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program : ICE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- 6) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ต้องจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality management System) ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)
- 7) โรงเรียนที่ต้องขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ “จุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย”
- 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย
ปัจจุบัน โรงเรียนเลยพิทยาคม เป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดเลยที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของสสวท ร่วมกับโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล(World Class Standard School) ขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นคือ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา โรงเรียนภูเรือวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาและโรงเรียนเลยพิทยาคม นอกจากนี้โรงเรียนเลยพิทยาคมยังเป็นโรงเรียนคู่พัฒนากับโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ซึ่งในทุก ๆ ปี จะมีการแข่งขัน ฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยพิทย์-เลยอนุกูล ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยใช้สนามกีฬาจังหวัดเลยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ ติดถนนเลย - ด่านซ้าย และชุมชนนาหนอง - ท่าแพ
- ทิศตะวันออก ติดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย
- ทิศตะวันตก ติดชุมชนนาหนอง - ท่าแพ
- ทิศใต้ ติดถนนมะลิวัลย์ และเรือนจำจังหวัดเลย
มีพื้นที่รวม 81 ไร่ 2 งาน 04 5/10 ตารางวา
แผนการเรียน
[แก้]โรงเรียนเลยพิทยาคมเปิดสอนในแผนการเรียนดังต่อไปนี้
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program-GEP)
- โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program-EP)
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment-SMTE)
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathmatics Technology and Environment-SMTE)
- โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathmatics Program-SM)
- โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน และภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program-ICE)
- แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี ทัศนศิลป์ และเทคโนโลยี
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนเลยพิทยาคม
[แก้]- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program-GEP) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program-EP) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment-SMTE) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
- โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathmatics Program-SM) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน และภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program-ICE) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
กิจกรรมโรงเรียน
[แก้]กิจกรรมกีฬาภายใน "เลยพิทย์เกมส์" (กีฬาสี)
[แก้]โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงปลายเดือนพฤษจิกายนของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยแบ่งเป็น 4 คณะสี ได้แก่
มหกรรมวิชาการเฟ้นหาคนดี - คนเก่ง (วันวิชาการ)
[แก้]โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดมหกรรมวิชาการเฟ้นหาคนเก่ง ซึ่งจะมีการแข่งขันทางวิชาการและการแสดงผลงานของนักเรียน ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี ปีละ 1 วัน ซึ่งครั้งที่ 13 ในปีการศึกษา 2560 มีการเปลี่ยนชื่อมหกรรมวิชาการเป็นการเฟ้นหา คนดี - คนเก่ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเฟ้นหาบุคคลที่สมบูรณ์แบบในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการเรียน และคุณธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีคำขวัญของงานในปีการศึกษานั้นคือ "เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 65 พรรษา"
กิจกรรมวันเด็ก
[แก้]โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดงานวันเด็กของนักเรียนเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในวันศุกร์ก่อนวันเด็กแห่งชาติ 1 วัน และไม่มีการเรียนการสอนในวันนั้น มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมากมาย เช่น LPK Music Award, LPK Cover Dance, LPK Cosplay, โรงทานแจกจ่ายอาหาร ของเล่น รวมถึงกิจกรรมสอยดาว ประกวด ดาว เดือน ไอดอล อีกด้วย
กิจกรรมฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยพิทย์-เลยอนุกูล
[แก้]ฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยอนุกูล-เลยพิทย์ เป็นกิจกรรมเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนเลยพิทยาคมและโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2560 ที่สนามกีฬาจังหวัดเลย และจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพทุก ๆ ครั้ง คล้าย ๆ กับฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]นับแต่การสถาปนาโรงเรียนสโมสรวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2440 โรงเรียนสตรีเลยเมื่อ พ.ศ. 2482 จวบจนยุบรวมเป็นโรงเรียนเลยพิทยาคมในปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 117 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนเลยพิทยาคมมาแล้วทั้งสิ้น 29 คน ดังนี้
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเลยพิทยาคม | ||||
ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระการดำรงตำแหน่ง | สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (พ.ศ. 2450 - 2515) | ||||
1 | นายทอน สุพรมจักร | พ.ศ. 2450 | พ.ศ. 2452 | ครูใหญ่ |
2 | นายเปลื่อง สืบทิม | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2454 | ครูใหญ่ |
3 | นายอินทร์ พิมสอน | พ.ศ. 2455 | พ.ศ. 2458 | ครูใหญ่ |
4 | รองอำมาตย์โทโปร่ง บุณยารมย์ | พ.ศ. 2458 | พ.ศ. 2460 | ครูใหญ่ |
5 | ราชบุรุษเฉลย อิ่นทุมาน | พ.ศ. 2461 | พ.ศ. 2462 | ครูใหญ่ |
6 | ราชบุรุษขุนนาก บุนบุตรศึกษากร (ป.ม.) | พ.ศ. 2463 | พ.ศ. 2468 | ครูใหญ่ |
7 | ราชบุรุษขุนเดช กุญชรศึกษา (ป.ม.) | พ.ศ. 2469 | พ.ศ. 2487 | ครูใหญ่ |
8 | นายวิศาล ศิวารัตน์ (ป.ม.) | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2490 | ครูใหญ่ |
9 | นายสุวรรณ คุณพงศ์ (ป.ม.) | พ.ศ. 2490 | พ.ศ. 2493 | ครูใหญ่ |
10 | นายชวน สุทธิรัตน์ (ป.ม.) | พ.ศ. 2493 | พ.ศ. 2497 | ครูใหญ่ |
11 | นายเฉลิม จิรนาท (ป.ม.) | พ.ศ. 2497 | พ.ศ. 2515 | อาจารย์ใหญ่ |
โรงเรียนสตรีเลย (พ.ศ. 2482 - 2515) | ||||
1 | รักษาการ นางสาวจำนง บำรุงสวัสดิ์ (ม.8) |
พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2482 | รักษาการแทน |
2 | นางสาวสุมาลี เวสประชุม (พ.ม) | พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2486 | ครูใหญ่ |
3 | นางเปี่ยมศรี จุลกาญจน์ (ป.ป.) | พ.ศ. 2487 | พ.ศ. 2488 | ครูใหญ่ |
4 | นางสาวน้อม นิคมภักดี (ป.ม.) | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2490 | ครูใหญ่ |
5 | นางสาวบุญกอบ วิสมิตะนันท์ (ป.ม.) | พ.ศ. 2491 | พ.ศ. 2495 | ครูใหญ่ |
6 | นางจารุนีล์ โชติกุล (ป.ม.) | พ.ศ. 2496 | พ.ศ. 2515 | อาจารย์ใหญ่ |
โรงเรียนเลยพิทยาคม (พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน) | ||||
1 | นายเฉลิม จิรนาท (ป.ม.) | พ.ศ. 2450 | พ.ศ. 2452 | อาจารย์ใหญ่ |
2 | นายทรวง ยุวกาญจน์ (พ.ม.,กศ.บ.) | พ.ศ. 2516 | พ.ศ. 2520 | อาจารย์ใหญ่ |
3 | นายวิลาศ วีระสุโข (ป.ม.,กศ.บ.) | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2527 | ผู้อำนวยการ |
4 | นายสนิทพงศ์ นวลมณี (ค.ม.,น.บ.) | พ.ศ. 2527 | พ.ศ. 2529 | ผู้อำนวยการ |
5 | นายสุเมธ กัปโก (กศ.ม) | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2535 | ผู้อำนวยการ |
6 | นายประพนธ์ พลเยี่ยม (กศ.ม) | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2541 | ผู้อำนวยการ |
7 | นายโกศล บุญไชย (กศ.ม) | พ.ศ. 2541 | พ.ศ. 2553 | ผู้อำนวยการ |
8 | นายกิตติพิชญ์ พสิษฐ์เนาวกุล (ศษ.ม) | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2554 | ผู้อำนวยการ |
9 | นายธวัช มูลเมือง (ค.ม) | พ.ศ. 2554 | พ.ศ. 2562 | ผู้อำนวยการ |
10 | นายวิชัย ปุรัน | พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2565 | ผู้อำนวยการ |
11 | นายกมล เสนานุช | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2566 | ผู้อำนวยการ |
12 | นายจิตติศักดิ์ นามวงษา | พ.ศ. 2566 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
เกียรติประวัติโรงเรียนเลยพิทยาคม
[แก้]- รางวัลคุณภาพระดับองค์กร (SCQA : School Quality Awards)
จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA : Office of the Basic Education Commission Quality Awards)
จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ประจำปีการศึกษา 2558
จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 - สถานศึกษาลดการใช้พลังงานดีเด่น ประจำปี 2557
จาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน - นักเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ปีพุทธศักราช 2523, 2528, 2534, 2543, 2546
- โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ปีพุทธศักราช 2523, 2534
จาก กระทรวงศึกษาธิการ - โรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ ปลอดยาเสพติด ประจำปี 2542
จาก กระทรวงศึกษาธิการ - โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรเยาวชนดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเครือข่ายเยาวชนแกนนำ "รักษ์เลยพิทย์" เมื่อปี 2556
จาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด - รางวัลห้องสมุดดีเด่น เมื่อปี 2539
ของ กรมสามัญศึกษา - รางวัลห้องสมุดกาญจนาภิเษก เขตการศึกษา 9 เมื่อปี 2539
ของ กรมสามัญศึกษา - รางวัลสถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่น เมื่อปี 2523, 2534, 2536, 2539, 2540
ของ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ - โรงเรียนรักษาศีล 5
จาก กระทรวงศึกษาธิการ