โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
Roi-Et Wittayalai School
ป้ายโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
ที่ตั้ง
แผนที่

ประเทศไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.ว., RW (อักษรย่อ)[2],
สาเกตุวิทย์ (ไม่ทางการ)
ร้อยเอ็ดวิทย์ (ไม่ทางการ)
ชื่อเดิมโรงเรียนวัดศรีมงคล (พ.ศ. 2453-56)[3]
ประเภท [3]
คำขวัญเรียนดี กีฬาเก่ง เคร่งวินัย ใฝ่คุณธรรม
นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)[2]
สถาปนา7 ธันวาคม พ.ศ. 2453 (113 ปี 142 วัน)[3]
ผู้ก่อตั้งพระครูเอกุตรสตาธิคุณ (โมง)[3]
เขตการศึกษาสพม.ร้อยเอ็ด[4]
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ[4]
สหวิทยาเขตพระขัติยะวงษา[4]
ผู้อำนวยการนายบุญภพ จันทมัตตุการ[4]
ระดับชั้น [4]
เพศ
จำนวนนักเรียน3,282 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[5]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน
  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ (เฉพาะโครงการ English program)
วิทยาเขตหลัก
ขนาดวิทยาเขต27 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา[1]
สี████ เขียว - แสด[2]
เพลงมาร์ชร้อยเอ็ดวิทยาลัย [6]
เว็บไซต์
อัปเดตล่าสุด: 28 มกราคม พ.ศ. 2565

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (ย่อ: ร.ว., อังกฤษ: Roi-Et Wittayalai School[7]) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นสถานศึกษาแห่งแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โดยเป็นรูปแบบชายล้วนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ยกเว้นโครงการห้องเรียนพิเศษเป็นรูปแบบสหศึกษา) และรูปแบบสหศึกษาทุกห้องเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยเป็นหนึ่งในโรงรียนที่มีการเปิดเรียนการสอนในหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) (โครงการในความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)) และยังมีหลักสูตรส่งเสริมทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางวิชาการ หรือ Gifted Program, โครงการพัฒนาความสามารถด้านภาษาศาสตร์-สังคมศาสตร์, ห้องเรียนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Programme), แผนการเรียนสายวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิศวะ แผนการเรียนสายภาษาอังกฤษ จีน ฝรั่งเศส เป็นต้น นอกจากนี้โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย ยังเป็นโรงเรียนเครือข่ายศูนย์อบรมนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการ (สอวน.) ค่าย 1 สาขาคณิตศาสตร์ ภายใต้ศูนย์ สอวน. ระดับภูมิภาค มหาวิทยาลัยขอนแก่น[8]

ประวัติ[แก้]

พระพุทธเอกุตระสตาธิคุณมงคลมหามุนี พระพุทธรูประจำสถานศึกษา
ศาลเจ้าพ่อเขียวแสด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถานศึกษา
อาคาร1 และ พระพุทธเอกุตระสตาธิคุณมงคลมหามุนี
อาคาร 1 และสวนพระ

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้เริ่มวางรากฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 ที่วัดศรีมงคล (วัดสระทอง จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) โดยมีพระครูเอกุตรสตาธิคุณ (โมง) เจ้าคณะเมืองร้อยเอ็ด และเจ้าอาวาสวัดสระทอง ในสมัยนั้นเป็นผู้ก่อตั้ง

พ.ศ. 2453 กระทรวงธรรมการในสมัยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ดำริจะจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลในจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้น จึงได้ส่งราชบุรุษจันทร์ อุตมะพรหมมาเป็นครูคนแรกและได้ทราบว่าที่วัดสระทองมีเด็กเข้าเรียนอยู่ในวัดประมาณ 20 กว่าคน และมีพระทำการสอนอยู่แล้ว จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ เรียกชื่อว่า โรงเรียนวัดศรีมงคล ครูที่สอนในสมัยนั้นมี ราชบุรุษจันทร์ อุตมะพรหม เป็นครูใหญ่, พระครูวินัย, พระภิกษุพิมพ์ สุวรรณบล, นายสวาสดิ์ ศริริวรรณ, นายเตรียม ศิริวรรณ และ สามเณรผ่อง จรัสฉาย โดยครูทั้ง 6 คน ได้ทำการผลัดเปลี่ยนกันสอน และให้นักเรียนชั้นสูงมาช่วยทำการสอนแก่นักเรียนในชั้นที่ต่ำกว่าเป็นครั้งเป็นคราว

พ.ศ. 2456 กระทรวงธรรมการได้จัดส่งนายแม้น โปราณานนท์ ป. (หลวงวิทยกรรมประสาน) มาเป็นครูใหญ่ ซึ่งต่อมาเห็นว่าสถานที่วัดศรีมงคลคับแคบ จึงได้ขอย้ายไปสถานที่ใหม่ นั่นก็คือบริเวณที่ว่าการอำเภอหลังเก่าริมคลองคูเมืองซึ่งเป็นป่าช้าฝังศพนักโทษ โดยได้ย้ายนักเรียนกลุ่มแรกมาทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2456 และได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงรียนมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ต่อมาคณะครูได้ขอความร่วมมือกับสมุหเทศาภิบาล มหาอำมาตย์ตรีหม่อมเจ้าธำรงศิริ ให้ช่วยบอกบุญแก่ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ผู้ปกครอง นักเรียน ร่วมบริจาคทุนทรัพย์เพื่อทำการปลูกสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ทดแทนหลังเดิมที่เป็นที่ว่าการอำเภอหลังเก่า แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โดยมีนายแม้น โปราณานนท์ เป็นครูใหญ่ และเมื่อเมืองร้อยเอ็ดได้ถูกเปลี่ยนเป็นมณฑลร้อยเอ็ด โรงเรียนวัดศรีมงคลจึงได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำมณฑลด้วย

พ.ศ. 2457 มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยและทำพิธีเปิดป้ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 โดยมีพระครูเอกุตรสตาธิคุณ เจ้าคณะเมืองร้อยเอ็ดเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ มหาอำมาตย์ตรีหม่อมเจ้าธำรงศิริ สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฆลร้อยเอ็ด เป็นประธาน

พ.ศ. 2481 นายรอบ ปัทมศิริ เป็นครูใหญ่ ได้ริเริ่มกำหนดสีประจำโรงเรียน และเครื่องหมายโรงเรียนเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2523 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2529 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานเป็นครั้งที่สอง

25 มิถุนายน พ.ศ. 2531 พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโยและศิษยานุศิษย์ ได้บริจาคพระพุทธรูปนามว่า พระพุทธเอกุตระสตาธิมงคลมหามุนี เป็นพระพุทธรูปโลหะรมดำ สูง 7.66 เมตร เพื่อมอบให้เป็นพระพุทธรูปประจำสถานศึกษา ประดิษฐาน ณ บริเวณด้านหน้าอาคาร 1

พ.ศ. 2539 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ เป็นครั้งที่สาม

พ.ศ. 2547 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้เปิดสอนโครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) ในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย

พ.ศ. 2551 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเดินทางมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคาร 6

พ.ศ. 2552 เปิดห้องเรียนภาษาจีน โดยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นประธานในพิธี 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ ณ พระพุทธเอกุตระสตาธิมงคลมหามุนี พระพุทธรูปประจำสถานศึกษา

12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ ณ พระพุทธเอกุตระสตาธิมงคลมหามุนี พระพุทธรูปประจำสถานศึกษา

พ.ศ. 2552 เปิดใช้อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โดยเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่อาคารสีเขียว แสด อันเป็นสีประจำโรงเรียน ภายในตัวอาคารประกอบด้วย ห้องสมุดที่ทันสมัย ห้องลีลาศ ห้องทูบีนัมเบอร์วัน และห้องเรียนที่ทันสมัย

พ.ศ. 2553 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ เป็นครั้งที่ 4 และจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปี ร้อยเอ็ดวิทยาลัย ในวันที่ 30 ธันวาคม และได้เปิดสอนนักเรียนภาคภาษาอังกฤษ (English Programme)

พ.ศ. 2555 มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทุกๆ ด้านภายในโรงเรียนเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ( ASEAN Community ) และมาตรฐาน ( World – Class Standard School )

พ.ศ. 2556 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยได้เปิดสอนนักเรียนความสามารถพิเศษ ภาษาศาสตร์ (ไทย – สังคมฯ) ในระดับชั้น ม.ปลาย[3]

พื้นที่และอาคารเรียน[แก้]

แผนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน ถาวร 6 หลัง และอาคารประกอบอื่นๆ อีก เช่น หอประชุม โรงอาหาร โรงพลศึกษา โรงฝึกงาน อาคารศูนย์ปฏิบัติธรรม[1]

หลักสูตร และแผนการเรียน[แก้]

หลักสูตรที่มีการเรียนเรียนการสอนภายในโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ตามประเภทห้องเรียนได้แก่ หลักสูตรปกติ และหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

หลักสูตรปกติตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นรูปแบบเดียวกันทุกห้อง ไม่มีการแบ่งสายการเรียน[9]

ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) และโครงการห้องเรียนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ หรือ English Program[10]

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

หลักสูตรปกติ จะมีการแบ่งสายการเรียนออกเป็นห้องเรียนที่เน้นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-วิศวะ, วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์, ภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน และภาษาไทย-สังคม[9]

ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) เป็นหลักสูตรในโครงการในความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.), โครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) และโครงการส่งเสริมพัฒนานักเรียนความสามารถพิเศษภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์[10]

การรับสมัคร[แก้]

[a]โดยทั่วไปโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยจะทำการเปิดรับสมัครนักเรียนผ่านการสอบคัดเลือก ซึ่งจะดำเนินกาในช่วงประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายนของทุกปี เช่นเดียวกับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการแห่งอื่น ๆ โดยปกติจะรับสมัครและดำเนินการคัดเลือกหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษก่อน จึงจะดำเนินการในส่วนหลักสูตรห้องเรียนปกติ

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1[แก้]

สำหรับการรับสมัครนักเรียนหลักสูตรปกติ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รับเฉพาะนักเรียนชายจำนวน 240 คนโดยประมาณ แบ่งเป็นการรับนักเรียนจากในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (ประกอบด้วยเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ตำบลรอบเมือง ตำบลโนนรัง ตำบลเหนือเมือง และตำบลดงลาน)[11] สัดส่วน 60% และจากนอกเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย สัดส่วน 40% ซึ่งต้องผ่านการสอบคัดเลือกทั้งหมด[9]

หลักสูตรโครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) รับทั้งนักเรียนชายและหญิงจำนวน 144 คนโดยประมาณ ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนภาคอังกฤษ หรือ English Programme รับทั้งนักเรียนชายและหญิงจำนวน 60 คนโดยประมาณ ทั้งสองโครงการต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่มีการกำหนดเขตพื้นที่รับสมัคร[10]

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4[แก้]

การรับสมัครนักเรียนศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะรับทั้งเพศชายและเพศหญิง และไม่มีการกำหนดเขตพื้นที่สมัครทุกหลักสูตร

สำหรับหลักสูตรปกติ จะให้สิทธิ์นักเรียนเก่าที่มีคุณสมบัติ และผ่านการพิจารณา สามารถผ่านขึ้นมาเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้โดยไม่ต้องไปสอบคัดเลือกใหม่[12] ส่วนที่นั่งที่เหลือ (ประมาณปีละ 150-200 ที่นั่ง) จะคัดเลือกผ่านการสอบ โดยรับทั้งนักเรียนใหม่และนักเรียนเก่า[9]

ส่วนหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษจะต้องดำเนินการสอบคัดเลือกใหม่ทั้งหมดทั้งนักเรียนเก่าและนักเรียนใหม่ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) รับจำนวน 30 คน, โครงการส่งเสริมนักเรียนความสามารถพิเศษทางวิชาการ (Gifted Program) รับจำนวน 144 คน และโครงการส่งเสริมพัฒนานักเรียนความสามารถพิเศษภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รับจำนวน 72 คน[10]

รายนามผู้บริหาร[แก้]

แหล่งที่มา: คู่มือนักเรียนโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย[13]


ศิษย์เก่าเกียรติยศ[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2565

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "แผนผังโรงเรียน". www.rw.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "ข้อมูลทั่วไป". www.rw.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022) [2013]. "ประวัติโรงเรียน". www.rw.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
  5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (25 มิถุนายน 2021). "ข้อมูลนักเรียน โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย". data.bopp-obec.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-01-28.
  6. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "เพลงสถาบัน". www.rw.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (28 มกราคม 2022). "หน้าหลัก". www.rw.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ค่ายโอลิมปิกวิชาการ มข. "รายละเอียดโครงการ". olympiad.kku.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง ประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2563 ประเภทห้องเรียนปกติ.ลงวันที่ 29 เมษายน 2563.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ม.1 และ ม.4 ประเภทห้องเรียนพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2564.ลงวันที่ 3 มีนาคม 2564
  11. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย (7 มกราคม 2019). "ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่บริการ ปีการศึกษา 2562". Facebook.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. ประกาศโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เรื่อง รายชื่อนักเรียนที่ได้รับการพิจารณาใช้สิทธิ์เรียนต่อ ม.4 ปีการศึกษา 2564 (ห้องเรียนปกติ) เพิ่มเติม. ลงวันที่ 28 มกราคม 2565
  13. โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. (2564). คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2564.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]