ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี

พิกัด: 9°21′11.76″N 99°10′15.65″E / 9.3532667°N 99.1710139°E / 9.3532667; 99.1710139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี
Kanjanapisek Wittayalai Surat Tani School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นกภ.สฎ.
ประเภทโรงเรียนรัฐ สหศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย
คำขวัญรักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
สีเหลือง - น้ำเงิน
เพลงมาร์ช - กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี
ต้นไม้ต้นราชพฤกษ์
เว็บไซต์http://www.kjst.ac.th/

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย 9 โรงเรียน สร้างขึ้นมาเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา ในปี พ.ศ. 2539

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี จัดตั้งขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่ง ที่ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยในการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเป็นอนุสรณ์สถานทางการศึกษา ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2538 โดยใช้สถานที่ตั้ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้บริจาคที่ดิน คือพระภิรมย์ วิมโล, นายคล่อง เชื้อกลับ และนายผัน ช่วยอยู่ ได้บริจาคไว้ให้กับกรมสามัญศึกษา บนเนื้อที่ประมาณ 56 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา โดยมีนายวิจารย์ คุ้มไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนไชยาวิทยา ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนคนแรก

พ.ศ. 2539 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้นายบัญญัติ สุขขัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ของโรงเรียน และเริ่มเปิดรับนักเรียนในปีการศึกษา 2539 เป็นปีแรก มีนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน 92 คน โดยขอใช้สถานที่ตั้งโรงเรียนชั่วคราว ณ โรงเรียนไชยาวิทยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี รับสมัครนักเรียนทั้งประจำ และไป-กลับ ในเขตพื้นที่บริการ 5 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป รับทั้งนักเรียนประจำ และนักเรียนไป-กลับ

ผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]

เรียงลำดับจากผู้บริหารคนแรกไปถึงผู้บริหารคนปัจจุบันดังนี้

1. นายบัญญัติ สุขขัง

2. นายวิรัช เศวตศิลป์

3. นายเชวงศักดิ์ ใสสะอาด

4. นายไพโรจน์ ทองนา

5. นายอภินันท์ หมันหลิน

6. นายสำรวย ภักดี

ตราโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เป็นสีเหลืองทอง อยู่ใต้พระมหามงกุฎ โดยมีรัศมีเหนือพระมหามงกุฎและพระมหามงกุฎเป็นสีเหลืองทอง โบว์สีน้ำเงินตัดขอบสีเหลืองทอง มีชื่อเต็มของโรงเรียนเป็นอักษรสีเหลืองทองใต้พระปรมาภิไธยย่อ

สีประจำโรงเรียน

[แก้]

เหลือง-น้ำเงิน สีเหลือง หมายถึง สีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระราชทานนามโรงเรียน สีน้ำเงิน หมายถึง สีแทนสถาบันพระมหากษัตริย์

คำขวัญ

[แก้]

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ยึดมั่นปรัชญาที่ว่า

“รักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ”

คติพจน์

[แก้]

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ได้พระราชทานคติพจน์ให้กับกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยว่า

"อกตํ ทุกกฎํ เสยโย" ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า

ข้อมูลโรงเรียน

[แก้]

ที่ตั้งของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84110 โทรศัพท์ 0-7743-5200 โทรสาร 0-7743-2059

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพื้นที่ 56 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา โรงเรียนเข้าโครงการ (ที่กำลังดำเนินการ) โครงการจัดโรงเรียนลักษณะแบบโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หน่วยงานกรมสามัญศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. 2538

รางวัลสูงสุด

[แก้]

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ปีการศึกษา 2550

9°21′11.76″N 99°10′15.65″E / 9.3532667°N 99.1710139°E / 9.3532667; 99.1710139