ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง
ทัชในคอนเสิร์ตแกรมมี่ อาร์เอส: ไนน์ตีส์เวอร์ซารี เมื่อปี 2566
เกิดขวัญทัศน์ ณ ตะกั่วทุ่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (55 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2533 – ปัจจุบัน
ส่วนสูง1.83 เมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)
บุพการี
  • รัฐกรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง (บิดา)
  • มุกดา ณ ตะกั่วทุ่ง (มารดา)
ญาติเอกขำ ณ ตะกั่วทุ่ง (ปู่)
ฝอย ณ ตะกั่วทุ่ง (ย่า)
ฉัตรชัย ณ ตะกั่วทุ่ง (น้องชาย)
กัญรัญช์ ณ ตะกั่วทุ่ง (น้องสาว)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงป็อป, ร็อก, ป๊อปแดนซ์, ลูกทุ่ง, คันทรี, กอสเปล, สตริง
ค่ายเพลงอาร์เอส

ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ชื่อเล่น ป้อม (เกิดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) เป็นนักร้อง นักแสดงชาวไทยที่มีชื่อเสียง ภายใต้สังกัดอาร์เอสและอาร์สยามตามลำดับ แรกเริ่มเข้าวงการเป็นนักร้องแนวเพลงป๊อปคันทรี ก่อนจะหันมาร้องเพลงลูกทุ่งผสมแนวสตริง โดยมีเพลงฮิตสร้างชื่อเสียง เช่น "มือที่สาม", "เท้าไฟ", "ลื่น", "ไม่มีที่ไป", "กลัวเบื่อ", "จำไว้เลย", "ห่วงฉันบ้างไหม" เป็นต้น

ปฐมวัยและการศึกษา[แก้]

ทัชมีชื่อจริงว่าขวัญทัศน์ ณ ตะกั่วทุ่ง เกิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตของนายรัฐกรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง (นามเดิมเสรี ณ ตะกั่วทุ่ง) (เสียชีวิตแล้วด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ในวัย 85 ปี ในช่วงเช้า (เวลา 04.00 น.) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564[1]) และนางมุกดา ณ ตะกั่วทุ่ง โดยคุณพ่อเป็นชาวอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นบุตรของร้อยตำรวจเอกขำ และนางฝอย ณ ตะกั่วทุ่ง (คุณปู่และคุณย่าของทัช) มีอาชีพเป็นพนักงานแผนกประกันภัย ให้กับ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

ทัช มีน้อง 2 คน ได้แก่[2]

  1. นายฉัตรชัย ณ ตะกั่วทุ่ง
  2. นางสาวกัญรัญช์ ณ ตะกั่วทุ่ง

เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนทวีธาภิเศก อาชีวศึกษาจากโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อต้นปี พ.ศ. 2550

วงการบันเทิง[แก้]

สองอัลบั้มแรกและแสดงภาพยนตร์ครั้งแรก[แก้]

ทัชเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการตั้งวงดนตรีกับเพื่อน ๆ เล่นตามผับและสถานบันเทิงต่าง ๆ ยามค่ำคืนตั้งแต่สมัยเรียนอาชีวะ เขาเกือบจะได้เป็นศิลปินในวงแกรนด์เอ็กซ์ กลุ่มขวดโหล แต่ผลสุดท้ายก็ไม่ได้เป็น[3] ก่อนจะเข้าสู่บริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น ด้วยการเสนอเดโมเทปไปให้พิจารณา และได้ออกอัลบั้มเพลงป๊อปร็อคและแนวคันทรี่ชุดแรกใน พ.ศ. 2533 ในชื่อชุด สัมผัสทัช ถือว่าเป็นอัลบั้มแนวเพลงป็อปร็อกและคันทรี[3] ที่ประสบความสำเร็จ มีเพลงที่มีชื่อเสียง คือ "กลัวเบื่อ", "มือที่สาม", "โยนมันทิ้งไป"

ทัช ประสบความสำเร็จมากขึ้นในอัลบั้มชุดที่ 2 ในปีถัดมา คือ ชุด ทัช ธันเดอร์ ที่เปลี่ยนแปลงตัวเองจากนักร้องแนวป๊อปร็อคและคันทรีเป็นนักร้องในแนวป๊อปแดนซ์ ผสมกับท่วงทำนองแร็พหรือแนวร็อคนิด ๆ[3] แต่บางเพลงยังเป็นแนวกอสเปียลอยู่บางเพลง ที่ในขณะนั้นเพิ่งจะเข้าสู่วงการเพลงเมืองไทย อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในชุดนี้มีหลายเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น "เท้าไฟ", "จำไว้เลย", "คิดคึก", "จมน้ำตา" เป็นต้น

จากนั้นทัชได้แสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งก็เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของอาร์.เอส.ด้วย คือเรื่อง รองต๊ะแล่บแปล๊บ โดยแสดงร่วมกับ วาสนา พูนผล, ภาณุเดช วัฒนสุชาติ และบริบูรณ์ จันทร์เรือง มีเนื้อเรื่องเป็นภาพยนตร์เพลงวัยรุ่นผสมแฟนตาซี ซึ่งเรื่องนี้ทัชได้ทั้งร้องและเต้นตามแบบที่ถนัด และมีอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ออกมาด้วย

เข้าสู่วงการละครโทรทัศน์[แก้]

พ.ศ. 2536 ทัชปล่อยอัลบั้มชุดที่ 3 มหัศจรรย์ โดยวางแผงเมื่อวันที่ 16 เมษายน มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น "มหัศจรรย์", "ไม่มีที่ไป", "ใจจำยอม", "กลัวผี", "เธอที่หนึ่ง" สองปีถัดมา เขาออกอัลบั้มชุดที่ 4 ทัช V-4 ในวันที่ 1 เมษายน มีเพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ "ห่วงฉันบ้างไหม", "น้อย ๆ หน่อย", "แค่ดิน", "กิ๊กเลย" และในปีเดียวกันนั้นเอง เขาได้แสดงภาพยนตร์อีกครั้งกับต้นสังกัดเดิม ในเรื่อง เกิดอีกทีต้องมีเธอ โดยแสดงร่วมกับกุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา และโชคชัย เจริญสุข

ในส่วนของการแสดงละครโทรทัศน์ เขาแสดงมาทั้งหมด 4 เรื่อง ได้แก่

  1. เกิดแต่ตม แสดงร่วมกับสุวนันท์ คงยิ่ง
  2. กระถินริมรั้ว แสดงร่วมกับชฎาพร รัตนากร[3]
  3. ภูตพิศวาส แสดงร่วมกับกุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา[3]
  4. ปะการังสีดำ แสดงร่วมกับอภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และอรจิรา ณภัทร

หน้ากากเงาะป่า และละครเวทีเรื่องแรก[แก้]

ทัช (ขวา) ร้องเพลงร่วมกับเจตริน วรรธนะสิน ในคอนเสิร์ตแกรมมี่ อาร์เอส 90's Versary เมื่อปี 2566

พ.ศ. 2560 ทัชได้กลับมาขึ้นเวทีร้องเพลงอีกครั้งในรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 2 ทางช่องเวิร์คพอยท์ โดยเขาเข้าแข่งขันฉายา "หน้ากากเงาะป่า"[4] โดยในรอบแรกของกลุ่มบี เขาร้องเพลง "ใบไม้" ของวงฟลาย ซึ่งถึงแม้จะพ่ายแพ้ให้แก่หน้ากากอีกาเผือก (นิภาภรณ์ ฐิติธนการ) แต่ก็สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก ต่อมาเอไทม์ได้จัดคอนเสิร์ตเจ-ดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เขาได้ร้องเพลงร่วมกับเจตริน วรรธนะสิน[5][6]

ต่อมาใน พ.ศ. 2562 เขาได้แสดงละครเวทีเป็นครั้งแรกที่โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ในเรื่อง บัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิคัล โดยเขารับบท "ชูนาม" สามีคนแรกของปานรุ้ง เป็นนักพนัน เที่ยวกลางคืน หนุ่มสังคม เจ้าคารม เพลย์บอยเท้าไฟ ที่พาปานรุ้งไปสู่จุดต่ำสุดของชีวิต[7][8]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ทัช มีชื่อเล่นว่า "ป้อม" แต่ผู้คนนิยมเรียกว่า "ทัช" ตามชื่อที่ใช้ในวงการบันเทิง

เขาเคยคบหากับภัชธีญา กลิ่นสนิท อดีตรองนางสาวไทยปี 2533 แต่ก็เลิกรากันไป ก่อนที่จะคบหากับ ณิชชยาณัฐ ศิริพงศ์ปรีดา (กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา) ที่เคยแสดงละครร่วมกันอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะเลิกกันไป

ผลงานเพลง[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

ชื่ออัลบั้ม รายละเอียดอัลบั้ม รายชื่อเพลง
สัมผัสทัช
  • วางจำหน่าย: 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. กลัวเบื่อ
  2. มือที่สาม
  3. เลยเลยไป
  4. ฝืนใจไม่เป็น
  5. ลองดู
  6. โยนมันทิ้งไป
  7. ไม่หนักซักหน่อย
  8. คนเคยตัว
  9. เก่าไปใหม่มา
  10. ฝันกับจริง
ทัช ธันเดอร์
  • วางจำหน่าย: 19 มิถุนายน พ.ศ. 2534
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. เท้าไฟ
  2. จำไว้เลย
  3. ยังดีกว่า
  4. จริงหรอะ
  5. มาเพื่อลา
  6. คิดคึก
  7. มือเปล่า
  8. สอนมวย
  9. หน้าเนื้อในเสือ
  10. จมน้ำตา
ทัช มหัศจรรย์
  • วางจำหน่าย: 16 เมษายน พ.ศ. 2536
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. กลัวผี
  2. ใจจำยอม
  3. มหัศจรรย์
  4. เกินพอ
  5. บอกแล้วอย่าเสี่ยง
  6. ลื่น
  7. ไม่มีที่ไป
  8. เธอที่หนึ่ง
  9. 24 ชม.
  10. ไม่ใช่ดาว (เพลงประกอบละคร กระถินริมรั้ว)
Touch V-4
  • วางจำหน่าย: 1 เมษายน พ.ศ. 2538
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. น้อย ๆ หน่อย
  2. ห่วงฉันบ้างไหม
  3. แค่ดิน
  4. อกหักมันกว่าเยอะ
  5. อย่ารำคาญ
  6. ตามสั่ง
  7. กิ๊กเลย
  8. ชัดเลย
  9. ผิดตรงไหน
  10. เชื่อใจ
  11. ตามสบาย
ทัช ไซโคลน
  • วางจำหน่าย: 9 เมษายน พ.ศ. 2540
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. นิดนึง
  2. ไม่มีใครยอม
  3. อย่าดีแต่พูด
  4. ขอบใจ
  5. สารภาพ
  6. ปั๊มหัวใจ (Heart Station)
  7. กลับมา
  8. ดิ้นไปทางเธอ
  9. Ya Ya Ya
  10. พาฉันไป
Touch Happiness
(บันเทิงเริงใจ)
  • วางจำหน่าย: 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. บันเทิงเริงใจ
  2. กอดฉันอีกครั้ง
  3. ตัวปัญหา
  4. เป็นอะไรไปแล้ว
  5. ทำไม่ได้
  6. สัมผัสที่ 6
  7. ฝากบอก
  8. ถลอกปอกเปิก
  9. ทางออก
  10. รักก็เปิด..ไม่รักก็ปิด
Sparking Touch
  • วางจำหน่าย: 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. ดาวกระจาย
  2. อย่าร้องไห้คนเดียว
  3. ควันที่ลอยต่ำ
  4. พบกันคืนนี้
  5. ค่อยเป็นค่อยไป
  6. โสดทำไม
  7. วันที่เฝ้ารอ
  8. อย่างไรก็เสียใจ
  9. ปิดคดี
  10. สะดุ้ง
Touch Reverse
  • วางจำหน่าย: 15 ตุลาคม พ.ศ. 2545
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. แสงดาวฝั่งทะเล
  2. กอดฉันอีกครั้ง
  3. บันเทิงเริงใจ
  4. ห่วงฉันฉันบ้างไหม
  5. มือที่สาม
  6. ใจจำยอม
  7. ไม่มีที่ไป
  8. มาเพื่อลา
สายใยแห่งรัก
  • วางจำหน่าย: 21 เมษายน พ.ศ. 2546
  • สังกัด: อาร์เอส
  1. สายใย
  2. คนขี้เหงา
  3. เพราะเรานั้นคู่กัน
  4. รักเธอจริงๆ
  5. เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง
  6. เสียแรงรัก
  7. หลอมละลาย
  8. โกหกหน้าตาย
  9. ไฟตกน้ำ
  10. หลอกใช้

อัลบั้มเพลงลูกทุ่งกึ่งสตริง[แก้]

  • สัมผัสทุ่ง (เมษายน พ.ศ. 2547)
  • ลูกทุ่งแฟนตาซี (มกราคม พ.ศ. 2549)

อัลบั้มเพลงพิเศษ[แก้]

  • ด้วยรักและจริงใจ (1 มกราคม พ.ศ. 2536)
  • อาร์เอส อันปลั๊ก ดนตรีนอกเวลา (เมษายน พ.ศ. 2537)
  • The best of ทัช (พ.ศ. 2539)
  • ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ 4 (พ.ศ. 2539)
  • ซูเปอร์ทีนส์ (27 ธันวาคม พ.ศ. 2539)
  • Save hits ทัช (พ.ศ. 2540)
  • Big bonus ทัช (พ.ศ. 2541)
  • บทเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2542)
  • ทัช Story (พ.ศ. 2543)
  • The best of ทัช (พ.ศ. 2544)
  • The Celebration (19 มกราคม พ.ศ. 2544)
  • Zodiac (ตัวแทนของชาวราศีกุมภ์) (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2544)
  • ทัช My Life (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545)
  • สืบสานประชาธิปไตย (พ.ศ. 2546)
  • เก็บตะวัน A Tribute to อิทธิ พลางกูร (กันยายน พ.ศ. 2547)
  • คู่กรรม (พ.ศ. 2547)
  • เพลงเฉลิมพระเกียรติองค์ราชา (ธันวาคม พ.ศ. 2548) - จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • ลูกของพ่อ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2549)
  • 25 Best of ทัช (พ.ศ. 2549)
  • The Best Karaoke ทัช (พ.ศ. 2551)
  • RS Best Collection ทัช (พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
  • Touch Screen (20 มีนาคม พ.ศ. 2557)

อัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  • ไทยป๊อป คาราโอเกะ (พ.ศ. 2533)
  • ฮอทคาราโอเกะ (พ.ศ. 2534)
  • Song Boom โพดำ (พ.ศ. 2534)
  • อาร์เอส คาราโอเกะ (พ.ศ. 2535-2536)
  • หมากรุก (พ.ศ. 2535)
  • big hits 1 (พ.ศ. 2535)
  • หมากรัก (พ.ศ. 2535)
  • รวมฮิตดาวแดง (พ.ศ. 2535-2538)
  • JAM HITS (พ.ศ. 2536)
  • Gold 1993 (พ.ศ. 2536)
  • รวมเพลงละคร น้ำเชาะทราย (พ.ศ. 2536)
  • รวมเพลงละคร เหมือนคนละฟากฟ้า (พ.ศ. 2538)
  • The Soundtrack รวมเพลงประกอบภาพยนตร์ (พ.ศ. 2538)
  • รวมเพลงละคร ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน (พ.ศ. 2538)
  • 15 ปี อาร์เอส โปรโมชั่น (พ.ศ. 2539)
  • The Best Of Soundtrack (พ.ศ. 2539)
  • รวมเพลงละคร ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (พ.ศ. 2539)
  • Jam Hits 3 (พ.ศ. 2539)
  • อาร์เอส เบสท์ ฮิต (พ.ศ. 2539)
  • The Best Of รวมเพลงละคร (พ.ศ. 2539)
  • Gold 1996 (พ.ศ. 2539)
  • Twin Hits (พ.ศ. 2540)
  • Fast Hits (พ.ศ. 2540)
  • Love Album (พ.ศ. 2540)
  • RS Save hits (พ.ศ. 2540)
  • Big Bonus Soundtrack (พ.ศ. 2541)
  • Big Bonus Big Jam (พ.ศ. 2541)
  • Cinema-O-ke (พ.ศ. 2545)
  • Hits Hunter (พ.ศ. 2546)
  • ชื่อเด่นในเพลงดัง (พ.ศ. 2547)
  • ฮิตติดชาร์ท (พ.ศ. 2548)
  • 25 Best of เพลงละคร (พ.ศ. 2549)
  • 25 Best of Soundtrack (พ.ศ. 2549)
  • จัมโบ้ฮิต 49 (พ.ศ. 2549)
  • ลืมได้ไง (พ.ศ. 2549)
  • ศาลาคนเศร้า (พ.ศ. 2549)
  • Acoustic Most Wanted (พ.ศ. 2550)
  • Love History (พ.ศ. 2551)
  • คอ Song Best (พ.ศ. 2552)
  • Gold 1993-1994 (พ.ศ. 2552)
  • Time Machine 1993-1994 (พ.ศ. 2552)
  • Time Machine Project เจมส์ & ทัช (พ.ศ. 2552)
  • คอ Song love (พ.ศ. 2552)
  • Best Acoustica (พ.ศ. 2552)
  • Time Machine 1995-1996 (พ.ศ. 2552)
  • Gold 1995-1996 (พ.ศ. 2552)
  • 50 First Dates (พ.ศ. 2553)
  • เพลงหวานเมื่อวันวาน (พ.ศ. 2554)
  • ความรัก ความหวัง กำลังใจ (พ.ศ. 2554)
  • RS Best Collection Love Acoustic (พ.ศ. 2554)
  • Hitz Forever (พ.ศ. 2554)
  • Retro Romantic (พ.ศ. 2555)
  • Acoustic In Love (พ.ศ. 2555)
  • พลังรักพลังใจ (พ.ศ. 2555)
  • Memory Of Love (พ.ศ. 2555)
  • Double Hitz (พ.ศ. 2555)
  • Hitz สุดแรงเกิด (พ.ศ. 2555)
  • Best Retro เท้าไฟ (พ.ศ. 2555)
  • Good Old Day คืนสู่เหย้า (พ.ศ. 2556)
  • RS Love Classic อยากให้รู้ใจ (พ.ศ. 2556)
  • บิ๊กฮิต 2 สไตล์ (พ.ศ. 2556)
  • เพลงของเสือ (พ.ศ. 2557)
  • 50 Hit Story (พ.ศ. 2557)
  • We Love Acoustic (พ.ศ. 2557)
  • 50 Hit Story ดังข้ามยุค (พ.ศ. 2557)
  • 50 Hit Story ดังไม่เลิก (พ.ศ. 2557)
  • หัวใจปลายปากกา รอยร้าว (พ.ศ. 2557)

เพลงประกอบละครและภาพยนตร์[แก้]

  • เพลง "อยากรู้ความจริง" เพลงประกอบภาพยนตร์ รองต๊ะแล่บแปล๊บ (มีนาคม พ.ศ. 2535)
  • เพลง "สู้" เพลงประกอบภาพยนตร์ รองต๊ะแล่บแปล๊บ (มีนาคม พ.ศ. 2535)
  • เพลง "รักเธอไม่มีพรมแดน" เพลงประกอบละคร ภูตพิศวาส (พ.ศ. 2538)
  • เพลง "เกิดอีกทีต้องมีเธอ" เพลงประกอบภาพยนตร์ เกิดอีกทีต้องมีเธอ (พ.ศ. 2538)
  • เพลง "เพราะเราผูกพัน" เพลงประกอบภาพยนตร์ เกิดอีกทีต้องมีเธอ (พ.ศ. 2538)
  • เพลง "บอกรัก" เพลงประกอบละคร ปะการังสีดำ (พ.ศ. 2539)
  • เพลง "รักไร้อันดับ" เพลงประกอบละคร รักไร้อันดับ (พ.ศ. 2540)
  • เพลง "รอรัก" เพลงประกอบละคร ดอกรักบานหลังฝน (พ.ศ. 2542)
  • เพลง "แสงดาวฝั่งทะเล" เพลงประกอบละคร แสงดาวฝั่งทะเล (พ.ศ. 2543)
  • เพลง "เทพธิดาโรงงาน" เพลงประกอบละคร เทพธิดาโรงงาน (พ.ศ. 2548)
  • เพลง "มหาเทพไอยรา" เพลงประกอบภาพยนตร์ พิฆเนศ มหาเทพไอยรา (พ.ศ. 2561)
  • เพลง "ชดใช้" เพลงประกอบละคร ปี่แก้วนางหงส์ (พ.ศ. 2561)
  • เพลง "ร้องไห้ได้ไหม" ร้องคู่ พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์, ปฐมพงษ์ เรือนใจดี เพลงประกอบละคร นางฟ้าลำแคน (พ.ศ. 2563)

ซิงเกิลและเพลงอื่น ๆ[แก้]

  • "ผู้ชายถูกทิ้ง...ผู้หญิงอกหัก" ร้องคู่กับ นุ่น รมิดา อัลบั้ม อาร์สยาม 5 ปีทอง พี่น้องร้องเพลงรัก ชุดที่ 1 (มีนาคม พ.ศ. 2550)
  • "เหงาใจในทางที่ผิด" ในนาม ทัช ณ ตะกัวทุ่ง อาร์สยาม
  • "ผลัดกันขึ้น ผลัดกันลง" ในนาม ทัช ณ ตะกัวทุ่ง อาร์สยาม
  • "เสียงจากลูกของพ่อ" (พ.ศ. 2559) - จัดทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พ่อหลวง เพื่อคนไทยทุกคน
  • "กลัวผีฟ้าปาร์ตี้หลุดโลก" โปรเจกต์ Rs Homecoming (ร่วมกับ เด็บบี้ บาซู x ไวตามิน เอ)
  • "อย่าพูดเลย" โปรเจกต์ Rs Homecoming

ผลงานการแสดง[แก้]

รายการโทรทัศน์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น ออกอากาศ หมายเหตุ
2535 ดอกกระถินริมรั้ว หยิก ช่อง 7
2536- 2537 เกิดแต่ตม ปริก คู่กับ สุวนันท์ ปุณณกันต์
2538 ภูตพิศวาส มารุต คู่กับ ณิชชยาณัฐ ศิริพงศ์ปรีดา
2539 ปะการังสีดำ นราธร
2540 รักไร้อันดับ ฉายฉาน (ฉาย) ช่อง 3
2543 พริกกับเกลือ ศยาม / ดิ่ง คู่กับ ณิชชยาณัฐ ศิริพงศ์ปรีดา
2545 แสงดาวฝั่งทะเล ภวัต ช่อง 7
2548 เทพธิดาโรงงาน บุญเติม ช่อง 9
2555 หมูแดง พิษณุ ช่อง 3
ราชินีลูกทุ่ง คมกริช ช่อง 8
2560 ระเบิดเถิดเทิง แดร็กคูล่าหารัก ตอน คุณพ่อล่องหน รับเชิญ ช่อง 3
2563 นางฟ้าลำแคน อุทัย สถิตย์ทัย ช่องวัน 31 นักแสดงสมทบ/
คู่กับ พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์
เงาบุญ สุธีร์ ช่อง 7 คู่กับ อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
2565 สาวน้อยร้อยไมค์ ครูธำรง คู่กับ พาเมล่า เบาว์เด้นท์
2566 สร้อยนาคี ธำรง คู่กับ ศิริพิชญ์ วิมลโนช
สาวใช้ดิลิเวอรี เรืองยศ พิพัฒน์พงศ์ คู่กับ พรนภา เทพทินกร / นาตยา จันทร์รุ่ง
2567 มนต์รักลูกทุ่ง พ่อศร ช่อง 3 คู่กับ สายธาร นิยมการณ์
มนต์รักแม่กลอง ช่องวัน 31
เทียนซ่อนแสง

ซีรีส์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2559 My Bromance The Series พี่ชาย เดอะซีรีส์ ช่อง 9 วุฒิ คู่กับ รัศมี ทองสิริไพรศรี, สิริอร ม้ามณี
2565 Vice Versa รักสลับโลก GMM 25 พ่อของเทสส์ คู่กับ วาสนา พูนผล

การประกวดแข่งขันรายการอื่น[แก้]

  • เข้าร่วมแข่งขันในรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซั่น 2 ภายใต้ "หน้ากากเงาะป่า" ในเพลง "ใบไม้" (ตันฉบับจาก ฟลาย) ตกรอบแรก กลุ่มบี (2560)[4]
  • เข้าร่วมแข่งขันในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบับสลับเพลง ในเพลง "ไอ้หนุ่มผมยาว" (2565)
  • เข้าร่วมแข่งขันในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบับสลับเพลง ในเพลง "ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า" (ตันฉบับจาก พี สะเดิด) (2566)
  • เข้าร่วมแข่งขันในรายการ เพชรตัดเพชรสามสี (2566)

ภาพยนตร์[แก้]

ภาพยนตร์
พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น หมายเหตุ
พ.ศ. 2535 รองต๊ะแล่บแปล๊บ[9] ทัช ชื่อของตัวละครในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ตั้งตามชื่อเล่นของนักแสดง
พ.ศ. 2538 เกิดอีกทีต้องมีเธอ แทน
พ.ศ. 2544 ๙ พระคุ้มครอง ทัช (รับเชิญ)
พ.ศ. 2546 คลื่นฝัน ควันรัก เอิร์ธ
ศพไร้เงา ภักดี
พ.ศ. 2547 เอ๋อเหรอ ปรีชา
พ.ศ. 2548 เด็กเดน อาจารย์ดุสิต
พ.ศ. 2566 4 KINGS 2 นักการเมือง พ่อของ รก บุรณพนธ์

ละครเวที[แก้]

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ทัช โลกดนตรี (20 พฤษภาคม 2533 - 2538) สนามเป้า
  • คอนเสิร์ต Charming Touch พลังเสน่ห์ (23 มิถุนายน 2533) MBK Hall
  • คอนเสิร์ต พายุสายฟ้า (THUNDER STORM CONCERT) (17 สิงหาคม 2534) MBK Hall
  • คอนเสิร์ต พายุสายฟ้า ระลอกสอง (THUNDER STORM CONCERT version 2) (29 กันยายน 2534) Indoor stadium
  • คอนเสิร์ต ผู้ชายมหัศจรรย์มันเขี้ยวดูก่อนคอนเสิร์ต (12 มิถุนายน 2536) MBK Hall
  • คอนเสิร์ต เปิดรหัสทัช V-4 (20 พฤษภาคม 2538) MBK Hall
  • (แขกรับเชิญ) วัดตัว สมชายจดปลายเท้า (25 มีนาคม 2538) MBK HALL
  • (แขกรับเชิญ) Lift&Oil Happy Party concert (14 ก.ค. 2555) Impact Arena
  • (แขกรับเชิญ) JDNA Concert (15-16 ก.ค. 2560) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • (แขกรับเชิญ) J-DNA X-TREME Concert (16-17 ธ.ค. 2560) อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
  • (แขกรับเชิญ) ดิ้น..ออนเดอะฟลอร์ ปี2 Vit AF Live (9 ก.ย. 2561) ศาลาเฉลิมกรุง กรุงเทพมหานคร
  • (แขกรับเชิญ) 35 year of TiK Shiro the last live (29 ก.ย. 2561) ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี

คอนเสิร์ตรวมศิลปิน[แก้]

  • ลอยกระทงโต้รุ่ง (9 พ.ย. 2535) สวนสามพราน
  • Rs unplugged concert (28 พ.ค. 2537) MBK HALL
  • ประสานใจสู้ภัยเอดส์ (2537) สนามกีฬากองทัพบก
  • RS. Meeting Concert ตอน บุกเกาะอลเวง ร้องเพลงหน้าบาน (22 ต.ค. 2537) MBK HALL
  • RS. Meeting Concert ตอน นอกเครื่องแบบ...ซ่า (7 ต.ค. 2538) MBK HALL
  • RS. Freshy Jam (11 พ.ย. 2538) สนามกีฬากองทัพบก
  • Super Teen Super Concert (17 ก.พ. 2539) MBK HALL
  • RS. Meeting Concert ตอน ตามระเบียบ...เต้น (1 ก.พ. 2540) MBK HALL
  • วันแรงงาน (พ.ค. 2541) สนามหลวง
  • โรงเรียนสีขาว (20 มิ.ย. 2541) MCC Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ
  • RS. Meeting Concert ตอน ลัดคิวมาติวเต้น (18 ต.ค. 2541) MCC HALL
  • RS. Meeting Concert Teenlennium (12 ก.พ. 2543) indoor stadium
  • RS The Celebration Concert (10 ก.พ. 2544) indoor stadium
  • Zodiac concert (14 ก.ค. 2544) indoor stadium
  • RS. Meeting Concert Star mission มันหลุดโลก (22 ธ.ค. 2544) indoor stadium
  • RS. Meeting Concert super suprise Trilogy (26 เม.ย. 2546) Impact Arena
  • ทรัพย์สินทางปัญญา (29-30 ส.ค. 2546) สวนลุมไนต์บาซาร์
  • A Tribute To อิทธิ พลางกูร (30 ต.ค. 2547) indoor stadium
  • สานใจไทย สู่ใจใต้ (1 ธ.ค. 2547) ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา
  • รักเธอประเทศไทย เทิดไท้องค์ราชัน (3 ธ.ค. 2547) มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
  • เชิดชูเกียรติ ทหารผ่านศึก (24 ม.ค. 2549) ลานน้ำพุ เซ็นทรัล ลาดพร้าว
  • Pattaya International Music Festival 2006 (19 มี.ค. 2549) บริเวณชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
  • เราจะเป็นคนดี (2 มี.ค. 2550) ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
  • รักแผ่นดิน (7 ก.ค. 2550) ลานหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์
  • 40 ปี the legend of the guitar (20-21 พ.ย. 2553) ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี
  • ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 1 (8 ต.ค. 2554) เซ็นทรัล ปาร์ค พระราม 2
  • ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 2 (27 ต.ค. 2555) มอเตอร์สปอร์ตแลนด์
  • สุพรรณบุรี มิวสิค เฟสติวัล (16-17 มี.ค. 2556) อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สุพรรณบุรี
  • RS. Meeting Concert Return 2013 (18-19 พ.ค. 2556) Impact Arena
  • ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 3 (26-27 ต.ค. 2556) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน
  • Smile@Maesai (10 - 11 ต.ค. 2557) สนามกีฬากลางอำเภอแม่สาย
  • ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 4 (20-21 ธ.ค. 2557) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน
  • Rayong Countdown Festival 2015 (31 ธ.ค. 2557) สนามกีฬากลาง จังหวัดระยอง
  • RCA 90's Reunion (17 ก.ย. 2559) ไบเทค บางนา ฮอลล์ 105
  • Back To 90's ดูหนัง ดวลเกมส์ มันส์คอนเสิร์ต (23 ก.ย. 2559) ลานโปรโมชั่น ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต
  • BLACK VALENTINE Charity Concert เพราะรักแท้คือ การให้...ไม่สิ้นสุด (13 ก.พ. 2560) โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น7 สยามสแควร์วัน
  • The Mask Fan Meeting (17 มิ.ย. 2560) โชว์ดีซี พระราม 9
  • เพื่อคนเฝ้าป่า (23 ธ.ค. 2561) ตลาดหัวมุม เกษตรนวมินทร์
  • รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (26 ธ.ค. 2561) วัดนวลจันทร์
  • MUSIC BY THE SEA (13 พ.ค. 2565) สวนสุขภาพเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี
  • RS. Meeting Concert 2022: Dance Marathon ปลายปี...ถึงทีเต้น (17 ธ.ค. 2565) Impact Arena
  • วันบอกรัก Days Of Love (11 ก.พ. 2566) โรงแรมเลอมอนเต้ เขาใหญ่ จ. นครราชสีมา
  • RS HITS JOURNEY CONCERT 2023 #ต้นปีถึงทีฮิต (27 พ.ค. 2566) Impact Arena
  • GRAMMY & RS 90's Versary Concert (29-30 ก.ค. 2566) Impact Arena
  • RS Meeting Concert 2024: Dance Marathon 2 ยกกำลังเต้น (17 ก.พ. 2567) Impact Arena

อ้างอิง[แก้]

  1. นายรัฐกรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง (นามเดิมเสรี ณ ตะกั่วทุ่ง)
  2. "ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง" สุดอาลัย คุณพ่อจากไปอย่างสงบ ด้วยโรคติดเชื้อที่ปอด ในวัย 85 ปี
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ""ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง"(1): บทเรียนแห่งวันวาน". ผู้จัดการออนไลน์. 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 2023-09-16.
  4. 4.0 4.1 "สะพรึงตาค้าง หน้ากากเงาะป่า คือ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง". สนุก.คอม. 2017-04-27. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  5. "เจ - ทัช ตำนานเท้าไฟต่างค่าย โคจรมาเจอกันในรอบ 20 ปี". สนุก.คอม. 2017-07-17. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  6. "สมหวังสักที เจ เจตริน - ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง โคจรมาโชว์บนเวทีเดียวกันในรอบ 20ปี!". ทรูไอดี. 2017-07-17. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  7. ""ทัช" เปิดซิงละครเวที เตรียมโชว์สเต็ปแดนซ์ใน "บัลลังก์เมฆ 2019"". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  8. "โลกเปลี่ยนไปเมื่อ "ทัช" มาแจม "บัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิคัล 2019"". ดาราเดลี. 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  9. ประวัติการแสดงภาพยนตร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]