โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
Chalermkwansatree School
Chslogo new.jpg
ที่ตั้ง
ที่อยู่ เลขที่ 28 ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 ประเทศไทย ไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นฉ.ส. (CHS)
คำขวัญบาลี: นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
ก่อตั้ง8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 (99 ปี 199 วัน)
ผู้อำนวยการอุไร ปัญญาสิทธิ์
ภาษาภาษาที่สอน

ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร สหรัฐ ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน

ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี  กรมท่า -   ขาว
เพลงมาร์ชเฉลิมขวัญสตรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ต้นไม้พญาสัตตบรรณ
เว็บไซต์www.chs.ac.th

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2466 ในอดีตเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้นฝึกหัดครู ในปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะชั้นมัธยมต้น-ปลาย

ปัจจุบันโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี เป็นโรงเรียนประเภท มัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย แบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิง ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดสอนแบบ "สหศึกษา"

ประวัติโรงเรียน[แก้]

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี อาคารอำนวยการหลังแรกของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพิษณุโลก อันเป็นชื่อเดิมของโรงเรียนฯ ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 โดยเป็นโรงเรียนสำหรับสตรีล้วน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี" โดยแรกเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับครูฝึกหัด แต่ปัจจุบันรับนักเรียนชายเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเหลือเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายเท่านั้น โดยแบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแต่ละระดับชั้นมีทั้งหมด 13 ห้อง และ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ละระดับชั้นอีก 14 ห้อง

แผนการเรียน[แก้]

การจัดห้องเรียนในแต่ละระดับชั้นแบ่งตามแผนการเรียน ปีการศึกษา 2564
ระดับชั้น แผนการเรียน (รายห้อง)
EP IEP SMTE SMBP แผนปกติ
ปกติ วิทย์-คณิต ศิลป์
วิทย์-คณิต ศิลป์-ภาษา ศิลป์-คณิต ศิลป์-ภาษา ศิลป์-อังกฤษ ศิลป์-ทั่วไป
มัธยมศึกษาปีที่ 1 1 - - 2 - 3 4 5 - 13 - - - - -
มัธยมศึกษาปีที่ 2 1 - - 2 - 3 4 5 - 13 - - - - -
มัธยมศึกษาปีที่ 3 1 - - 2 - 3 4 5 - 13 - - - - -
มัธยมศึกษาปีที่ 4 1 2 3 - 4 - - 5 - 9 10 11 - 12 13 14
มัธยมศึกษาปีที่ 5 1 2 3 - 4 - - 5 - 9 10 11 - 12 13 14
มัธยมศึกษาปีที่ 6 1 2 3 - 4 - - 5 - 9 10 11 - 12 13 14

มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMTE)
  • ห้องเรียนพิเศษ IEP วิทย์-คณิต
  • ห้องเรียนพิเศษ IEP ศิลป์-ภาษา (จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส)
  • ห้องเรียน วิทย์-คณิต
  • ห้องเรียน ศิลป์-คณิต
  • ห้องเรียน ศิลป์-ภาษา (จีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส)
  • ห้องเรียน ศิลป์-ภาษาอังกฤษ
  • ห้องเรียน ศิลป์-ทั่วไป (คหกรรม, บัญชี, คอมพิวเตอร์)

สถานที่ตั้ง[แก้]

เลขที่ 28 ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 ด้านหน้าของโรงเรียนหันไปทางแม่น้ำน่าน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารมากนัก

เกียรติประวัติ[แก้]

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีได้รับรางวัลทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับท้องถิ่นมากมาย รางวัลสำคัญที่ได้รับได้แก่

  • รางวัลพระราชทานโรงเรียนดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวน 7 ครั้ง (นับถึงปีการศึกษา 2549) คือ ปี พ.ศ. 2522 ปี พ.ศ. 2523 ปี พ.ศ. 2525 ปี พ.ศ. 2537 ปี พ.ศ. 2544 และล่าสุดปี พ.ศ. 2549
  • รางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2519 ปี พ.ศ. 2528 ปี พ.ศ. 2534 ปี พ.ศ. 2538 ปี พ.ศ. 2542 รางวัลห้องสมุดโรงเรียนยอดเยี่ยม ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2549 และรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ปี พ.ศ. 2554
  • รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานในการประกวดวงโยธวาฑิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประเภท ค ประจำปีการศึกษา 2540
  • รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โครงการรณรงค์ป้องกันเอดส์และสารเสพติด ปี พ.ศ. 2539

นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายจากการส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทางด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ การกีฬา และกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมอื่น ๆ

สถานที่น่าสนใจ[แก้]

  • หอพระพุทธฯ หอที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน เป็นที่สักการบูชาของครู บุคลากร และนักเรียนโดยทั่วไป
  • ห้องสมุด ซึ่งรวบรวมสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ กฤตภาค จุลสาร ซีดี อินเทอร์เน็ต ฯลฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองอย่างถึงที่สุด
  • สวนขวัญวรรณคดี สวนขนาดปานกลางที่รวบรวมพรรณไม้ในวรรณคดีไทยที่หาดูยากในปัจจุบัน เป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ในด้านเกษตรกรรม และวรรณคดีไทย
  • สวนหินธรรมชาติ สวนหย่อมที่นำหินแร่ต่าง ๆ มาตกแต่งเพื่อให้ความรู้เรื่องหินตามธรรมชาติแก่นักเรียน เป็นแหล่งค้นคว้าและเสริมความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]