โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา
Loeianukulwittaya School

Loei Anukul Wittaya School
ลอว.png
ที่ตั้ง
หมู่ที่ 4 บ้านฟากนา ถนนมลิวรรณ

42000
ข้อมูล
ชื่ออื่นล.อ.ว. / LAW
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สถาปนา29 พฤษภาคม 2521 (44 ปี 303 วัน)
เขตการศึกษาเลย-หนองบัวลำภู
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
รหัส1042520457
ผู้อำนวยการนายอุเทณร์ ขันติยู
จำนวนนักเรียน1,104 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2565)[1]
พื้นที่170 ไร่
สี████ แสด-ดำ
เพลงมาร์ชโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา
เว็บไซต์http://www.nukul.ac.th

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา (อังกฤษ: Loei Anukul Wittaya School; อักษรย่อ: ล.อ.ว. — LAW) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 251 ถนนมลิวรรณ ตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย[2]

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ที่มีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นได้แก่ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา โรงเรียนภูเรือวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย โรงเรียนเลยพิทยาคม และโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา โดยโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดเลย ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนเลยพิทยาคม และนอกจากนี้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยายังเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาตั้งอยู่เลขที่ 251 ถนนมลิวรรณ ตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีเนื้อที่ 170 ไร่เศษ ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2521 ซึ่งมีนายชาญ พันธุมรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายวรพจน์ ฟอกสันเที๊ยะ ศึกษาธิการจังหวัดเลย และนายฉลอง บาลลา เป็นผู้ประสานงานกรมสามัญศึกษาประจำจังหวัดเลยเพื่อเริ่มก่อตั้ง โดยครั้งแรกที่เริ่มก่อตั้งนั้น มีนายสายเดิร บุญตรา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเชียงคานมารักษาการ ในตำแหน่งครูใหญ่เป็นเวลา 24 วัน จากนั้นทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้นายฉลอง บาลลา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการ ในปีพ.ศ. 2521 ซึ่งถือเป็นท่านผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน[3]

ปัจจุบัน โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีอาคารเรียน 3 อาคาร อาคารปฏิบัติการ 2 หลัง อาคารชั่วคราว 1 หลัง หอประชุมใหญ่ 2 ชั้น 1 หลัง โรงยิม 1 หลัง[4] ภายใต้การนำของท่านผู้อำนวยการ นายวิชัย ปุรัน

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 9:9:9/9:9:9 รวม 48 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 81 คน [5] นักเรียน 1,104 คน [6] มีอาคารเรียนถาวร 4 หลัง อาคารประกอบ 5 หลัง สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดภารกิจ ให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานคุณภาพ ดังต่อไปนี้

• 1. โรงเรียนยอดนิยม ที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจ จึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน

• 2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามกรอบกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ดำเนินงานโดยเน้น “ห้องเรียนคุณภาพ” เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ

• 3. โรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร ดังนี้

• 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย

• 1) หลักสูตรโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา พุทธศักราช 2560 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในชั้น ม.1 - ม.6

• 3.2 โครงการพิเศษ ประกอบด้วย

• 1) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Gifted Education Program) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

• 2) โครงการห้องเรียนพิเศษเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ (Gifted Mathematics Program) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

• 3) โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

• 4) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science Mathematics Technology and Environment Program : SMTE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

• 5) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Gifted Education Program : GEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

• 6) โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ส่งเสริมทักษะบูรณาการโดยเน้น 4 วิชาหลัก ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์แบบเข้น (Interactive English Program : IEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

• 7) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ต้องจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality management System) ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)

• 8) โรงเรียนที่ต้องขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ “จุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย”

ปัจจุบัน โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา เป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดเลยที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของสสวท ร่วมกับโรงเรียนเลยพิทยาคม และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล(World Class Standard School) ขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นคือ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา โรงเรียนภูเรือวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย โรงเรียนเลยพิทยาคม และโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา นอกจากนี้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยายังเป็นโรงเรียนคู่พัฒนากับโรงเรียนเลยพิทยาคม ซึ่งในทุกๆปี จะมีการแข่งขัน ฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยพิทย์-เลยอนุกูล ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยใช้สนามกีฬาจังหวัดเลยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน

แผนการเรียน[แก้]

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) โดยมีองค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ รวม 8 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ปัจจุบัน โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยยึดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษา และจัดแผนการเรียนการสอนอย่างครอบคลุมและตรงตามความต้องการของผู้เรียน ดังนี้

มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3)
แผนการเรียนพิเศษ 3 ห้องเรียน จำนวนที่รับ
ห้องเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (GEP) 1 ห้องเรียน 30 คน
ห้องเรียนโครงการพิเศษเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ (G Math) 1 ห้องเรียน 30 คน
ห้องเรียนโครงการพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (MEP) 1 ห้องเรียน 30 คน
ทั่วไป 6 ห้องเรียน จำนวนที่รับ
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 3 ห้องเรียน 120 คน
ห้องเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ 2 ห้องเรียน 80 คน
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ 1 ห้องเรียน 40 คน
รวม 9 ห้องเรียน 330 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนห้องเรียน จำนวนที่รับ
แผนการเรียนพิเศษ 3 ห้องเรียน 60 คน
ห้องเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE) 1 ห้องเรียน 30 คน
ห้องเรียนโครงการพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (GEP) 1 ห้องเรียน 30 คน
ห้องเรียนโครงการพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (IEP) 1 ห้องเรียน 30 คน
ทั่วไป 6 ห้องเรียน 280 คน
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 3 ห้องเรียน 120 คน
ห้องเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ 1

ห้องเรียน

40 คน
ห้องเรียนคอมพิวเตอร์-ภาษา(จีน-อังกฤษ) 1 ห้องเรียน 40 คน
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-พลศึกษา 1 ห้องเรียน 40 คน
รวม 9 ห้องเรียน 330 คน

แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา[แก้]

รายนามผู้บริหารสถานศึกษา[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายฉลอง บาลดา พ.ศ. 2521 - 2533
2 นายภิญโญ รอดความทุกข์ พ.ศ. 2533-2538
3 นายโกศล บุญชัย พ.ศ. 2539-2541
4 นายธวัชชัย ศรีภูมิสวัสดิ์ พ.ศ. 2541-2543
5 นายผดุงเดช จันทรากุลนนท์ พ.ศ. 2543-2547
6 นายยงยุทธ ทิพรส พ.ศ. 2547-2553
7 นายสงวนวุฒิชัย ภาโนชิต พ.ศ. 2553-2558
8 นายวิมล แพงโครต พ.ศ. 2558-2559
9 นายวิชัย ปุรัน พ.ศ. 2559-2562
10 นายอุเทณร์ ขันติยู พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน

กิจกรรมโรงเรียน[แก้]

กิจกรรมกีฬาภายใน "ทองกวาวเกมส์" (กีฬาสี)[แก้]

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงปลายเดือนพฤษจิกายนของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยแบ่งเป็น 4 คณะสี ได้แก่

กิจกรรมฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยอนุกูล-เลยพิทย์[แก้]

เป็นกิจกรรมเพื่อเชื่มสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาและโรงเรียนเลยพิทยาคม ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2560 ที่สนามกีฬาจังหวัดเลย และจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพทุกๆครั้ง คล้ายๆ กับฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. จำนวนนักเรียน
  2. ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
  3. ประวัติโรงเรียน
  4. จำนวนอาคารเรียน
  5. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_techer.php?School_ID=1042520457&Area_CODE=101719
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]