โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม | |
---|---|
Kamphaengphetpitayakom School | |
![]() | |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ก.พ. |
ประเภท | รัฐบาล |
คำขวัญ | เรียนดี ประพฤติดี มีวินัย ใจซื่อสัตย์ |
สถาปนา | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2454 |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 07620101 |
ผู้อำนวยการ | ดร.ไพชยนต์ ศรีม่วง |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 |
สี | ███ แดง - ███ ขาว |
เพลง | มาร์ชแดงขาว |
เว็บไซต์ | www.kp.ac.th |
เอกลักษณ์ : สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อัตลักษณ์ : เรียนรู้ได้มาตรฐาน สืบสานความเป็นไทย |
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับรางวัลพระราชทานเมื่อปีพุทธศักราช 2538 ตั้งอยู่เลขที่ 188 ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ด้านหน้าติดกับวัดพระแก้ว ทิศเหนือติดกับพระสนซึ่งเป็นสถานที่โบราณ ทิศใต้ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ด้านหลังติดกับกำแพงเมืองเก่า ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตโบราณสถานรายรอบไปด้วยโบราณสถานเก่าแก่มากมายอีกทั้งในบริเวณโรงเรียนยังมีซากโบราณสถานอีกด้วย มีพื้นที่ทั้งหมด 83 ไร่ 3 งาน 80.1 ตารางวา ประกอบด้วยอาคาร 6 หลัง คือ อาคาร 1 ชากังราว, อาคาร 2 ทุ่งเศรษฐี, อาคาร 3 ไตรตรึงษ์, อาคาร 4 คณฑี, อาคาร 5 โกสัมพี และอาคาร 6 นครชุม โรงฝึกงาน 5 หลัง หอประชุมวัชรนารี ห้องสมุด โรงอาหาร สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอลร่วม โรงยิม พุทธสถาน และอาคารจรัล-พงษ์เพ็ญ ดำรงรัตน์ โดยในปัจจุบันได้ทำการสร้างโดมหน้าเสาธง และขณะนี้กำลังดำเนินการสร้างอาคารเรียนหลังที่ 7 มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2559
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมเป็นโรงเรียนเก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ทั้งหมดเป็นประวัติเกือบศตวรรษของโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมที่นำความภาคภูมิใจมิรู้ลืมของศิษย์แดงขาว [1]
ประวัติ[แก้]
- โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมเกิดจากการรวม โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” กับ โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา” ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงไว้ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2514 โดย ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และมี ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา นายประจวบ คำบุญรัตน์ ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา ว่าที่ร้อยตรีมานิต ป้อมสุข ผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมคนแรก [2]
โรงเรียนกำแพงเพชร "วัชรราษฎร์วิทยาลัย"[แก้]
- โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎร์วิทยาลัย” เดิมชื่อ "โรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร แผนกชาย" เริ่มก่อตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2454 สถานที่ตั้งโรงเรียนอยู่ที่บริเวณ วัดคูยาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้ศาลาใหญ่เป็นที่เรียน (ปัจจุบันรื้อแล้ว) โดยมีครูเป้ เมฆพินธุ์ เป็นครูใหญ่คนแรก ในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ถนนเทศา (ตรงข้ามที่ทำการประปากำแพงเพชร) เปลี่ยนชื่อว่า "โรงเรียนกำแพงเพชร 'วัชรราษฎร์วิทยาลัย'" ในปี พ.ศ. 2506 ได้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน[3]
โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร "นารีวิทยา"[แก้]
- โรงเรียนสตรีกำแพงเพชร “นารีวิทยา” เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่เดิมเป็นโรงเรียนจวนเก่า เมื่อโรงเรียนจวนเก่าเลิกกิจการ นางสาวสมสนิท รามสูต ครูใหญ่ เข้ารับราชการและจังหวัดกำแพงเพชรได้ใช้พลับพลารับแขกเมือง (บริเวณติดกับวัดชีนางเกา) เป็นโรงเรียนโดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชร แผนกสตรี" มีประวัติการดำเนินการว่าเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2475 มณฑลพิษณุโลกมีใบบอกมาว่าโรงเรียนประจำจังหวัดกำแพงเพชรแผนกสตรี ซึ่งอาศัยพลับพลารับเสด็จเจ้านายเป็นที่เล่าเรียนมาหลายปีแล้ว สถานที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ทั้งไม่กว้างขวางพอต่อความต้องการของโรงเรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยธรรมการได้ช่วยกันบอกบุญเรี่ยไร ข้าราชการ พ่อค้า คหบดีและราษฎร ได้เงิน 2,431.60 บาท คณะครูและสุภาพสตรีในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชรแสดงละครเก็บเงินช่วยได้ 197.70 มณฑลจ่ายเงินรายได้ อีก 362.91 บาท รวมเป็นเงิน 2,992.21 บาท และมีผู้ให้ใช้ไม้ในการปลูกสร้างด้วย ราคา 418 บาท จัดการปลูกสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่หลังหนึ่งเป็นอาคารรูปปันหยา ชั้นเดียวแล้วเสร็จสิ้นเงิน 2,974.51 บาท คงเหลือเงินอีก 17.08 บาท เก็บไว้บำรุงโรงเรียนต่อไป (สมัยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ) ต่อมาโรงเรียนหลังนี้หมดความจำเป็น เมื่อย้ายอาคารเรียนไปอยู่ในเมืองเก่าแล้ว อาคารหลังนี้ประสบอัคคีภัยทั้งหลัง (บริเวณใกล้วัดชีนางเกา) อาคารเรียนหลังใหม่สร้างในเมืองเก่าเป็นอาคารไม้สองชั้น เปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2499 โดยขุนไตร พิทยานุกูล ผู้ว่าราชการภาค 6 (ปัจจุบันอาคารหลังนี้รื้อไปแล้ว) พร้อมกับเปิด ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร[4]
อาคารเรียนและสถานที่สำคัญ[แก้]
อาคารเรียน[แก้]
ภาพ | ชื่อและความสำคัญ | ภาพ | ชื่อความสำคัญ |
---|---|---|---|
ศาลา 90 ปี สำหรับทำกิจกรรม ประชุมระดับชั้นและคณะสี หรือใช้สำหรับการเรียนการสอนบางวิชา | สวนวรรณคดี สำหรับการพักผ่อน
(ภายในมีศาลากลางสวนทรงแปดเหลี่ยม) และสำหรับศึกษาพรรณไม้ (สำหรับโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน) | ||
ห้อง To Be Number1 และห้องแนะแนว สำหรับการแนะแนวแนวทางเรียนต่อและให้คำปรึกษาแก่กเรียนในด้านต่างๆ | ห้องฟิตเนสหรือศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ใช้ในการเรียนหมวดสุขศึกษาและพลศึกษา | ||
ชอปดนตรีสากลและดนตรีไทย ใช้สำหรับการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากลและดนตรีไทย รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องดนตรีของวงโยทวาทิตของโรงเรียน | ธนาคารโรงเรียนและห้องเรียนสีเขียว สำหรับงานธนาคารโรงเรียนและห้องเรียนสีเขียวการศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม | ||
อาคาร 1 ชากังราว อาคารสำหรับในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและมีห้องพยาบาลอยู่ที่ชั้น 1 | อาคาร 2 ทุ่งเศรษฐี อาคารเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รวมไปถึงห้องวิชาการและห้องแนะแนว | ||
อาคาร 3 ไตรตรึงษ์ อาคารไม้เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน สำหรับเรียนวิชาสุขศึกษาและภาษาอังกฤษ | อาคาร 4 คณฑี อาคารเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ | ||
อาคาร 5 โกสัมพี อาคารเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ | อาคาร 6 นครชุม อาคารเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ |
สถานที่สำคัญ[แก้]
ภาพ | ชื่อ | ภาพ | ชื่อ |
---|---|---|---|
ศาลเจ้าที่ | ศาลพระยาวชิรปราการ | ||
หอประชุมวัชรนารี | ห้องสมุดวัชรนารี |
ผลงานและรางวัลดีเด่น[แก้]
ผลงานโรงเรียน[แก้]
- ปีพุทธศักราช 2538 ได้รับรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทาน
- ปีพุทธศักราช 2539 ได้รับรางวัลโรงเรียนเสมาประชาธิปไตย
- ปีพุทธศักราช 2543 ได้รับรางวัลโรงเรียนจริยธรรมดีเด่น
- ปีพุทธศักราช 2536 และ 2544 ได้รับรางวัลห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น
- ปีพุทธศักราช 2544 ถึง 2556 ได้รับรางวัลธนาคารโรงเรียนดีเด่น
- ปีพุทธศักราช 2549 ได้รับรางวัลโรงเรียนรักการอ่านดีเด่น
- ปีพุทธศักราช 2549 ได้รับรางวัลมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง
- ปีพุทธศักราช 2554 ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พุทธศักราช 2554 ถึง 2558) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับดีมาก
- [5]
ผลงานนักเรียน[แก้]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
- วงศกร ปรมัตถากร
- อิษฏ์อาณิก อินทรสูต
- พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
- อาร์ม โต้รุ่ง (ศิริโรจน์ ศิริเจริญ)
- กานต์ โปเตโต้
- ศิรภัสสร สามงามมี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.kp.ac.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=107
- ↑ คณะกรรมการโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , หนังสือคู่มือโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , 2558 , หน้า 23
- ↑ คณะกรรมการโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , หนังสือคู่มือโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , 2558 , หน้า 23
- ↑ คณะกรรมการโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , หนังสือคู่มือโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , 2558 , หน้า 24
- ↑ คณะกรรมการโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , หนังสือคู่มือโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , 2558 , หน้า 24
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
- โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคมในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |