โรงเรียนปากช่อง
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (มิถุนายน 2019) |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรงเรียนปากช่อง | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ป.ช. |
ประเภท | รัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (การพร้อมเพรียงในหมู่คณะก่อให้เกิดความสุข) |
สถาปนา | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2504 |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 30101487 |
ผู้อำนวยการ | นายธนวัฒน์ สุขเกษม |
จำนวนนักเรียน | 3,097 คน |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
|
สี | ████ แดง - ขาว |
เพลง | มาร์ชปากช่อง |
เว็บไซต์ | www.pcschool.ac.th |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ประดู่แดง |
โรงเรียนปากช่อง (อังกฤษ: Pakchong School) (อักษรย่อ: ป.ช., P.C.)เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาประเภทโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- คติพจน์ : "สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี" อ่านว่า "สุขา สังขะสะ สามะคี" แปลว่า "การพร้อมเพรียงในหมู่คณะก่อให้เกิดความสุข"
- คติประจำใจ : "ปากช่อง ลูกแดง ขาว ประพฤติดี มีวินัย ตั้งใจเรียน"
- พระพุทธรูปประจำโรงเรียน:"พระพุทธรัตนมงคลภิมุข"
- สีประจำโรงเรียน : " แดง- ขาว"
- ดอกไม้ประจำโรงเรียน : ดอกประดู่แดง
- คำขวัญ: ประพฤติดี มีวินัย ตั้งใจเรียน
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนปากช่อง เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2504 เดิมตั้งอยู่ในที่ดินของ ร.ต.ต.เปล่ง วรรณมณฑา บริจาคให้จำนวน 2 ไร่ ติดกับโรงเรียนบ้านปากช่อง (คุรุสามัคคี 1) ปัจจุบัน
พ.ศ.2507 นายอยู่ สินจันทึก และนางถนอม สินจันทึก บริจาคที่ดิน ณ หมู่บ้านหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง เนื้อที่ 55 ไร่ ให้เป็นที่ก่อตั้งโรงเรียนและได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2508 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2508 ย้ายมาตั้ง ในที่สาธารณประโยชน์จำนวน 55 ไร่ ณหมู่บ้านหนองสาหร่าย ตำบลหนองสาหร่าย (สถานที่ตั้งปัจจุบัน) ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร
- พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เปิดทำการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- พ.ศ. 2520 ได้รับมอบที่ดินซึ่งเป็นค่ายลูกเสือจำนวน 58 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวาปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 113 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวาปัจจุบันได้รับมอบที่ดินจากกรมธนารักษ์ เพิ่มเติมอีก 17 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ทำการเกษตร รวมพื้นที่โรงเรียนจริง 130 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2523 จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันเพื่อบริการแก่นักเรียนจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2524 ได้จัดตั้งมูลนิธิการศึกษาปากช่อง[1] เพื่อนำดอกผลเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนปากช่อง ทีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
- พ.ศ. 2527 โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศโล่พระราชทาน โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย และได้ดำเนินการเรียนการสอนเรื่องนี้โดยหมวดวิชาเกษตรกรรม
- พ.ศ. 2532 โรงเรียนได้รับมอบหมายให้เป็น ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
- พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาวิชาการ ดีเด่น ของเขตการศึกษา 11
- พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาวิชาการดีเด่นของกรมวิชาการ
- พ.ศ. 2544 ได้รับคัดเลือกจากกรมวิชาการให้เป็นโรงเรียนนำร่องการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
- พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์การกีฬาและนันทนาการ กรมพลศึกษา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2546 ได้มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนปากช่อง [2]
- พ.ศ. 2548 ได้สนับสนุนจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ประจำปี 2548
- พ.ศ. 2551 เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
- พ.ศ. 2554 ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
- พ.ศ. 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอศิลปะและวัฒนธรรม (วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2556)
รายนามผู้บริหารโรงเรียนปากช่อง[แก้]
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายปรีดา จาตุรนต์รัศมี | พ.ศ. 2504-2507 |
2 | นายจอง ชละเอม | พ.ศ. 2507-2515 |
3 | นายวีระ บุญนิวาส | พ.ศ. 2515-2518 |
4 | นายสมพงษ์ รุจิรวรรธน์ | พ.ศ. 2518-2530 |
7 | นายอุดม ปัญญา | พ.ศ. 2530-2535 |
8 | นายพิษณุ รัตนสุพร | พ.ศ. 2535-2539 |
9 | นายสุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ | พ.ศ. 2539-2541 |
10 | นายวิศิษฏ์ หิรัญยโกวิท | พ.ศ. 2541 |
11 | นายรังสฤษฏ์ ศรีวิชัย | พ.ศ. 2541-2544 |
12 | นายดิเรก แสสนธิ์ | พ.ศ. 2544-2550 |
13 | นายสุวรรณ เกษมทะเล | พ.ศ. 2551-2555 |
14 | นายสุรินทร์ แพ่งจันทึก | พ.ศ. 2555-2559 |
15 | นายวิลาศ ดวงเงิน | พ.ศ. 2559-2561 |
16 | นายประยงค์ ประทุมวัน | พ.ศ. 2561-2563 |
17 | นายธนวัฒน์ สุขเกษม | พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน |
โรงเรียนในเครือข่ายอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา[แก้]
- โรงเรียนพิมายวิทยา อำเภอพิมาย
- โรงเรียนโชคชัยสามัคคี อำเภอโชคชัย
- โรงเรียนโนนสูงศรีธานี อำเภอโนนสูง
- โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต อำเภอปักธงชัย
- โรงเรียนจักราชวิทยา อำเภอจักราช
รูปภาพ อาคารและสถานที่ต่างๆในโรงเรียน[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
เพลงประจำโรงเรียนปากช่อง ประวัติโรงเรียน เปิดหอศิลปะวัฒนธรรม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แผนที่โรงเรียนปากช่อง
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญตั้งแต่มิถุนายน 2019
- บทความทั้งหมดที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ
- โรงเรียนในอำเภอปากช่อง
- โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา
- โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
- โรงเรียนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2504
- บทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์