โรงเรียนผดุงนารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนผดุงนารี
Phadungnaree school

Phadungnaree school
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นผ.น. / P.N.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญค.ม.ส.3
ความรู้ดี มีมารยาท สะอาด สามัคคี มีสุขภาพ
สถาปนา9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 (97 ปี 131 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส10440102
ผู้อำนวยการนายประพันธ์ ขันโมลี
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
สี██████ กรมท่า - ฟ้า
เพลงมาร์ชผดุงนารี
เว็บไซต์phadungnaree.ac.th

โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดมหาสารคามซึ่งแต่เดิมเคยรับเฉพาะนักเรียนหญิง แต่ในปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา เช่นเดียวกับโรงเรียนชายประจำจังหวัดคือ โรงเรียนสารคามพิทยาคม โรงเรียนผดุงนารีตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ถนนนาควิชัย ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2469 ซึ่งมีประวัติยาวนานกว่า 90 ปี ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนมากกว่า 4500 คน และบุคลากรทางการศึกษากว่า 250 คน

ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนผดุงนารีมีแผนชั้นเรียนเป็น 18-18-18/15-15-15 รวม99 ห้องเรียนและห้องGifted ตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6

ประวัติ[แก้]

การกำเนิดโรงเรียน (พ.ศ. 2449-พ.ศ. 2469)[แก้]

ในปี พ.ศ. 2449 พระพิทักษ์นรากร หรือพระเจริญราชเดช (อุ่น  ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)  เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก  ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองมหาสารคามที่วัดโพธิ์ศรีวรารามและวัดนาควิชัย แล้วอาราธนาพระภิกษุมาเป็นครูสอน มีนักเรียนเฉพาะชายล้วน ๆ ต่อมาได้ช่วยกันบำรุง ส่งเสริมโรงเรียนที่วัดโพธิ์ศรีให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ

การศึกษาของเด็กหญิงในเมืองมหาสารคามในสมัยนั้นก็เช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ คือ จัดให้เรียน  ตามบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คหบดี โดยมีการ

รวบรวมบุตรข้าราชการผู้ใหญ่และบุตรคหบดีแล้วหาครูมาสอนให้ ดังนั้นการศึกษาของเด็กผู้หญิงจึงอยูในวงจำกัดและส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเหมือนเด็กทั่วไป  วิชาที่เรียนส่วนมากเป็นวิชาการเรือน (เย็บปักถักร้อย การทำครัว การจัดดอกไม้) อันเป็นกิจจำเป็นของสตรีในสมัยนั้นเป็นส่วนใหญ่และเรียนหนังสือบ้างพอให้อ่านออกเขียนได้เท่านั้น

ในสมัยของพระประชากรบริรักษ์ (สาย  ปาลนันท์) ผู้ว่าราชการเมือง (เจ้าเมือง) คนที่ 7 ของมหาสารคามเห็นว่าโรงเรียนประจำจังหวัดต้องอาศัยเรียนที่ศาลาวัดโพธิ์ศรี (ชื่อโรงเรียนวัดโพธิ์ศรีสามัคคี) เป็นการไม่สะดวกแก่การศึกษาจึงขออนุญาตให้จ่ายเงินเรี่ยไรบำรุงการศึกษาจำนวน 15,500 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) เมื่อมณฑลร้อยเอ็ดอนุญาตมาแล้วก็เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2468 เป็นอาคารไม้ชั้นครึ่งตั้งอยู่บริเวณหลังสถานีตำรวจ (ในปัจจุบัน) และเป็นเป็นสถานศึกษาเรียกว่าโรงเรียนประจำจังหวัดมหาสารคาม “สารคามพิทยาคม” มีนักเรียนรวมกันทั้งชาย-หญิง

ต่อมา การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสตรี จึงมีผู้นิยมส่งบุตรหลานให้ได้เล่าเรียนในโรงเรียนมากขึ้น 

ครั้นถึงสมัยของผู้ว่าราชการเมือง (เจ้าเมือง) คนที่ 8 อำมาตย์โทพระเริงนฤปการ (อนงพยัคฆันต์)   ซึ่งภายหลังได้เลื่อนเป็นพระยาสารคามคณาภิบาล ดำริได้ว่า โรงเรียนประจำจังหวัดมีการสอนเด็กชายหญิงเรียนกะปนกัน ต่อไปการศึกษาคงจะไม่เจริญเต็มที่ได้เพราะผู้ปกครองเด็กหญิงรังเกียจที่จะให้บุตรหลานของตนเรียนรวมกับเด็กชาย จึงจัดสร้างโรงเรียนสตรีขึ้นหลังหนึ่งเป็นโรงเรียนชั่วคราวในบริเวณเดียวกัน  พอแบ่งนักเรียนแยกออกอาศัยเรียนไปพลางก่อนและทำพิธีเปิดโรงเรียนเป็นโรงเรียนสำหรับสตรี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469  ศึกษาธิการจังหวัดสมัยนั้นคือ อำมาตย์ตรีขุนประสาทวิทยากิจ

ความก้าวหน้าของผดุงนารีจากอดีตถึงปัจจุบัน[แก้]

นับจากวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469  เป็นต้นมา การศึกษาเล่าเรียนของเด็กชาย-หญิง ในเมืองมหาสารคามแยกจากกันโดยเด็ดขาด เด็กหญิงมีโรงเรียนเฉพาะผู้หญิง มีครูใหญ่คนแรก นางสาวทองคำ  ศรีสารคาม (พรชัย) มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวนนักเรียนในโรงเรียนเมื่อเปิดครั้งแรกมีจำนวนนักเรียน  33  คน มีครู 3 คน (รวมทั้งครูใหญ่ด้วย)

ปี พ.ศ. 2470  ได้มีการจัดสร้างอาหารเรียนถาวรขึ้น ตามแบบกระทรวงธรรมการ หลังคามุงกระเบื้อง ได้จ่ายเงินค่าศึกษาพลีไปเป็นค่าเหล็ก ค่าแรงและค่ากระเบี้ยง  เป็นจำนวนเงิน 2,016.70 บาท (สอนพันสิบหกบาทเจ็ดสิบสตางค์) โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 และแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2470 โดยที่ไม่ต้องซื้อเพราะของบริจาคจากราษฎร เมื่อสร้างเสร็จได้ให้นามโรงเรียนเสียใหม่ว่า “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดมหาสารคาม” (ส่วนคำว่า “ผดุงนารี” มาเพิ่มเข้าภายหลัง)

ในปี พ.ศ. 2482' ได้ขยายโอกาสการศึกษาโดยเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รุ่นแรก จำนวน 7 คน

ปีการศึกษา 2506 ได้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนกศิลปะ จำนวน 1 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2516 ได้เปิดสอนแผนกทั่วไปชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน 2 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2518 ได้เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 6 โปรแกรมการเรียน

ปีการศึกษา 2521 ได้เปิดสอนในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521

ปีการศึกษา 2524 ได้เปิดสอนโดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524

ปีการศึกษา 2533 เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและเปิดสอนโดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา ฉบับปรังปรุงพุทธศักราช 2533 ตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6

ปีการศึกษา 2551 เปิดสอนแผนการเรียนภาษาฝรั่งเศส มีแนการจัดชั้นเรียนเป็น 12-10-10/10-10-10  รวม 62 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้เปิดสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  ในระดับชั้น ม.1 และ ม.4  มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 12-12-10/10-10-10  รวม  64  ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (SP2) โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (ม.4  จำนวน 1 ห้อง) โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา  มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 12-12-12/11-10-10  รวม  67 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนจัดโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (ม.1  จำนวน 2 ห้อง ม.4 จำนวน 1 ห้อง) ดำเนินการก่อสร้างอาหารเรียน แบบ 324 ล (ตอกเข็ม) เปิดสอนแผนการเรียนศิลป์-ธุรกิจ  มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 16-12-12/12-11-10  รวม 73 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนได้ปรับปรุงถนนลาดยางในบริเวณโรงเรียน  เปิดสอนแผนการเรียนศิลป์-จีน มีแผนการจัดชั้นเรียนเป็น 16-16-12/13-12-11  รวม 80 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2556 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 16-16-16/13-13-12  รวม 86 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2557 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 18-16-16/15-13-13  รวม 91 ห้องเรียน  เปิดสอนแผนการเรียนทั่วไป (ศิลป์-การงานฯ) และภาษาเวียดนาม

ปีการศึกษา 2558 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 18-18-16/15-15-13  รวม 95 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2559 แผนการจัดชั้นเรียนเป็น 18-18-18/15-15-15  รวม 99 ห้องเรียน[1]

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

โรงเรียนผดุงนารีเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายสายสามัญ

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  1. วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  2. ศิลป์ - คำนวณ
  3. ศิลป์ - ภาษา
  4. ศิลป์ - ฝรั่งเศส
  5. ศิลป์ - จีน
  6. ศิลป์ - เวียดนาม
  7. ศิลป์ - ญี่ปุน
  8. ศิลป์ - เกาหลี
  9. คอมพิวเตอร์ - ธุรกิจ
  10. ศิลป์ - ดนตรี
  11. ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]