รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค
วันเกิด (1979-01-22) 22 มกราคม ค.ศ. 1979 (45 ปี)
สถานที่เกิด กรุงเทพ ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.78 m (5 ft 10 in)
ตำแหน่ง กองกลางตัวรับ
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
การท่าเรือ (หัวหน้าผู้ฝึกสอน)
สโมสรเยาวชน
2538–2540 ตลาดหลักทรัพย์
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2542–2544 บีอีซี เทโรศาสน 45 (4)
2545 ธนาคารกรุงไทย 8 (1)
2546 พนักงานยาสูบ 12 (1)
2547 ธนาคารกรุงไทย 16 (0)
2547–2549 ธนาคารกรุงเทพ 58 (2)
2549–2550 เกย์ลัง ยูไนเต็ด 63 (6)
2551–2554 บุรีรัมย์ พีอีเอ 103 (18)
2555–2559 บีอีซี เทโรศาสน 112 (16)
2559–2560 สุพรรณบุรี 23 (1)
2565–2566 โปลิศ เทโร 0 (0)
ทีมชาติ
2547–2555 ทีมชาติไทย 47 (0)
จัดการทีม
2558 บีอีซี เทโรศาสน (รักษาการ)
2560 สุพรรณบุรี (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน)
2561–2566 โปลิศ เทโร
2566– การท่าเรือ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

'อ้น' รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้กับการท่าเรือ ในไทยลีก เขาเคยเล่นให้กับหลายทีมฟุตบอลชื่อดังในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ และติดทีมชาติไทยชุดใหญ่ในปี พ.ศ. 2547

รังสรรค์ ในวัย 43 ปีได้ใส่ชื่อตัวเองในรายชื่อนักเตะของโปลิศ เทโร ในไทยลีก ฤดูกาล  2565–66 โดยให้เหตุผลว่าในกรณีมีผู้เล่นบาดเจ็บจำนวนมากหรือมีนักเตะไม่พอแข่งจากการติดโควิด เขาจะได้ลงไปช่วยเล่นให้กับทีม[1]

ประวัติ[แก้]

รังสรรค์ (คนที่ 2 จากขวาสุด) สมัยที่เล่นให้กับสุพรรณบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2560

รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค มีชื่อเล่นว่า "อ้น" เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2522 ที่ กรุงเทพมหานคร รังสรรค์จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนทวีธาภิเศก แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนพณิชยการราชดำเนิน ก่อนจะเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ในขณะนั้นรังสรรค์อายุ 19 ปี ได้ถูกเรียกตัวจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เพื่อเล่นทีมชาติรุ่นอายุ 19 ปี ซึ่งรังสรรค์ชอบเล่นฟุตบอลตั้งแต่เด็กและเป็นเด็กที่มีความคล่องตัวสูงและสามารถเล่นได้หลากหลายตำแหน่ง

ประวัติในฐานะโค้ช[แก้]

รังสรรค์ได้สัมผัสกับงานคุมทีมครั้งแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556 โดยได้เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวร่วมกับโชคทวี พรหมรัตน์ ในการคุมทีมรักษาการหลังจากการปลดเรเน่ เดอซาเยียร์ เนื่องจากความพ่ายแพ้ในลีก 3 นัดติดต่อกันและตกรอบฟุตบอลมูลนิธิไทยคม เอฟเอ คัพ รอบ 32 ทีม ให้กับปตท.ระยอง ซึ่งเป็นรายการเป้าหมายที่สโมสรต้องการ[2]

บีอีซี เทโรในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 เป็นฤดูกาลที่ย่ำแย่สำหรับสโมสรและส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมถึง 3 คน โดยรังสรรค์ในฐานะกัปตันทีมได้ถูกผลักดันให้ขึ้นมารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการทีมในยุคเคนนี ชิลส์ ในช่วงที่รักษาอาการบาดเจ็บ[3] และโค้ชรักษาการชั่วคราวถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 หลังจากการปลดเคนนี ชิลส์[4] โดยได้คุมทีม 3 นัด ครั้งที่สองเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 ที่ต้องเข้ามาคุมทีมรักษาการณ์ใน 3 นัดสุดท้ายของฤดูกาลหลังจากการปลดมานูเอล คาจูดา[5] แม้รังสรรค์จะพาทีมคว้า 7 แต้มมาได้แต่ก็ไม่สามารถพาทีมรอดตกชั้น โดยจบในอันดับที่ 16 แต่เทโรก็ยังคงอยู่ในไทยลีก 1 ฤดูกาลถัดไปเนื่องจากการยุบทีมสระบุรี เอฟซี และทำให้เทโรได้สิทธิ์เข้ามาเล่นแทน

รังสรรค์ได้ย้ายไปยังสโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี ในฤดูกาล 2559[6] และเริ่มฝึกเรียนไลเซนส์เพื่อเตรียมตัวสำหรับการเป็นโค้ชหลังจากแขวนสตั้ด ก่อนจบเลกแรกในฤดูกาล 2560 รังสรรค์ที่กำลังจะเรียนจบการอบรมโค้ชระดับ เอ ไลเซนส์ถูกดันขึ้นไปเป็นผู้ช่วยของวรวุฒิ ศรีมะฆะ ที่เข้ามาขัดตาทัพในช่วงท้ายเลกแรก[7] หลังจบเลกแรกฤดูกาล 2560 รังสรรค์ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการแขวนสตั้ดหลังเกมสโมสรสุพรรณบุรีเสมอกับสโมสรราชบุรี 1-1 ว่า “ณ ตอนนี้คิดว่าเลิกเล่นอย่างเป็นทางการแล้วครับ มีการคุยกับผู้ใหญ่ในทีมแล้ว ให้ผมเป็นผู้ช่วยโค้ชที่นี่ ก็ถือว่าเลิกเล่นอย่างเป็นทางการครับ” ซึ่งรวดเร็วกว่าที่วางเป้าหมายของการแขวนสตั้ดเดิมที่จะเกิดขึ้นหลังฤดูกาล 2560[8] และเริ่มงานการเป็นผู้ช่วยโค้ชสุพรรณบุรีอย่างเต็มตัวในช่วงเลกที่สองของฤดูกาล 2560

รังสรรค์ได้รับการเชิญชวนจากคุณธัญญะ วงศ์นาคและคุณไบรอัน แอล มาร์คาร์ ของสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร ให้เข้ามาเป็นผู้ช่วยของสก็อตต์ คูเปอร์ ในการเตรียมทีมสำหรับการแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2561 แต่สุดท้ายรังสรรค์ตัดสินใจลงไปคุมทีมโปลิศ เทโร บี ในการแข่งขันไทยลีก 4 ฤดูกาล 2561 – โซนกรุงเทพและปริมณฑลแทน หลังจากฤดูกาล 2561 เริ่มต้นได้เพียง 7 นัด โค้ชสก็อตต์ คูเปอร์ ถูกยกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดพลาดจากเป้าหมายที่ทีมต้องการหลังคว้าแต้มได้เพียง 4 แต้มจาก 7 นัด อยู่อันดับที่ 17 ของตารางส่งผลให้รังสรรค์ได้ถูกเลื่อนขึ้นมาเป็นโค้ชรักษาการณ์แทนเนื่องจากธชตวัน ศรีปานได้ปฏิเสธในการเข้ามาเป็นโค้ชต่อจากคูเปอร์[9] รังสรรค์ในฐานะโค้ชรักษาการสามารถเปิดบ้านเอาชนะสโมสรการท่าเรือ เอฟซี รองจ่าฝูงในขณะนั้น 4-2 และได้รับโอกาสอีก 3 นัด โดยชนะอีก 2 นัดและแพ้แค่นัดเดียวพาทีมพ้นจากโซนตกชั้นขึ้นมาอยู่อันดับที่ 13 ทำให้ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2561 สโมสรได้แต่งตั้งให้รังสรรค์คุมทัพโปลิศ เทโรเป็นการถาวร[10]

รังสรรค์ได้รับโอกาสคุมทีมอีก 9 นัด มีสถิติชนะ 3 นัด เสมอ 3 และแพ้ 3 นัดพาทีมอยู่อันดับที่ 12 ก่อนที่สโมสรจะถอยรังสรรค์ให้ไปเป็นผู้ช่วยของธชตวัน ศรีปาน ในนัดที่เปิดบ้านเสมอกับชัยนาท 1-1[11] แต่สุดท้ายธชตวันพาทีมคว้าชัย 2 จาก 9 นัด อยู่อันดับที่ 14 อยู่ในโซนตกชั้นทำให้ธชตวันตัดสินใจขอลาออกและให้รังสรรค์คุมทัพใน 5 เกมสุดท้ายของฤดูกาล 2561[12] แต่รังสรรค์ก็ไม่สามารถพลิกสถานการณ์ให้ทีมรอดตกชั้นได้โดยแพ้ 4 นัดรวดและชนะสโมสรฟุตบอลพีที ประจวบ นัดส่งท้าย จบอันดับที่ 15 ทำให้ทีมตกชั้นลงไปยังไทยลีก 2

รังสรรค์ได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากผู้บริหารทีมในการคุมทีมในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 ต่อและมีเป้าหมายในการพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีก 1 ให้ได้ภายใน 1 ปี[13] รังสรรค์สามารถพาทีมจบอันดับ 2 ในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 พาทีมเลื่อนชั้นกลับไปยังไทยลีก 1 ได้ตามเป้าหมาย ในปีเดียวกันรังสรรค์ได้รับการสนับสนุนจากสโมสรในการอบรมโค้ชระดับโปร ไลเซนส์ โดยรังสรรค์เป็นโค้ชระดับโปร ไลเซนส์ รุ่นที่ 2 ของไทย[14]

แม้รังสรรค์จะสามารถพาทีมขึ้นมาสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 และมีฟอร์มที่ร้อนแรงในช่วง 4 นัดแรก รังสรรค์สามารถพาทีมคว้าชัยชนะในเกมที่เปิดบ้านพบกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ด้วยสกอร์ 1-0 และพาทีมคว้าชัย 2 จาก 3 นัด อยู่อันดับที่ 5 ของตารางแต่เนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเลื่อนการแข่งขันออกไปจนถึงเดือนตุลาคม ส่งผลให้เกิดการขายนักเตะตัวหลัก เช่น ธิตาธร อักษรศรีและธิตาวีร์ อักษรศรี ให้กับสโมสรฟุตบอลการท่าเรือเพื่อให้ทีมสามารถมีเงินในการบริหารทีมต่อไปได้ เมื่อฤดูกาล 2563 ได้กลับมาเปิดอีกครั้งในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2563 และชนะบายสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เนื่องจากสโมสรการท่าเรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาไฟดับในสนามได้ในระยะเวลา 60 นาที หลังจากนั้นรังสรรค์ไม่สามารถพาเทโรคว้าชัยชนะได้เลยถึง 8 เกมติดต่อกันและให้อำนาจการตัดสินใจกับสโมสรแต่สโมสรยังเชื่อใจและให้รังสรรค์คุมทีมต่อ[15] รังสรรค์สามารถตอบแทนความไว้ใจด้วยการพาทีมรอดตกชั้นและจบอันดับ 11 ใน ฤดูกาล 2563-64 และ ฤดูกาล 2564-65 จนถึง ฤดูกาล 2565-66 รังสรรค์สามารถจบอันดับ 7 ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี รวมไปถึงการพาทีมเข้ารอบรองชนะเลิศ 2 ปีติดต่อกันในฟุตบอลถ้วยช้าง เอฟเอคัพ 2564–65 และ 2565-66

ผลงานด้านฟุตบอล[แก้]

นักฟุตบอล[แก้]

บีอีซี เทโรศาสน
ทีทีเอ็ม เชียงใหม่
ธนาคารกรุงไทย
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ผู้จัดการทีม[แก้]

โปลิศ เทโร
รางวัลส่วนตัว

ทีมชาติ[แก้]

ทำประตูในนามทีมชาติ[แก้]

ครั้งที่ วันที่ สถานที่ ทีม สกอร์ ผล ประเภท
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 4-0 ชนะ กระชับมิตร

การแข่งขันเอเอฟซี[แก้]

ทำประตูในนามของทีม[แก้]

ครั้งที่ วันที่ สถานที่ ทีม สกอร์ ผล
1. 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย สิงคโปร์ อาร์ม ฟอร์ส 1-4 แพ้

อ้างอิง[แก้]

  1. สุดเซอร์ไพรส์ "โปลิศ เทโร" เผย 3 เหตุผลส่งชื่อ "โค้ชอ้น" ลงเตะไทยลีก 2022/23
  2. ""มังกรไฟ" ยุติบทบาท เรเน่, ดัน "กัปตันอ้น" กุนซือชั่วคราวร่วม โชคทวี". becterosasana. 11 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-15. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. "กู้ศรัทธาแฟน! มังกรไฟดัน กัปตันอ้น ขึ้นมือขวาชิลส์". TTM Variety. 9 July 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.
  4. ""เทโร" ยัน "กัปตันอ้น" ขัดตาทัพช่วงไร้โค้ช". MGR Online. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.
  5. "บีอีซี เทโรศาสน ตั้ง "รังสรรค์" คุมทีม 3 นัดหนีตกชั้นแทน "คาจูดา"". Thaipbs. 2 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2023.
  6. ""อ้น-รังสรรค์" ชิ่งเทโรซบ "สุพรรณ" มั่นยังฟิตพอบู๊บิ๊กทีม". MGR Online. 27 January 2016. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  7. "สุพรรณบุรี เอฟซี แต่งตั้ง อ้น รังสรรค์ เป็นมือขวาของโค้ชโย่ง". Ballthai.com. 17 April 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  8. "OFFICIAL : ปิดฉากมิสเตอร์ไทยลีก!รังสรรค์ประกาศแขวนสตั๊ด". Goal Thailand. 14 May 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  9. ""คูเปอร์" กุนซือคนที่ 6 ตกเก้าอี้ไทยลีก สะพัด "เทโร" โดน "โค้ชแบน" ปฏิเสธ". MGR Online. 30 March 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  10. "OFFICIAL : สอบผ่าน!เทโรตั้ง รังสรรค์ คุมทัพถาวร". Goal Thailand. 23 April 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  11. "BREAKING : คัมแบ็ค!เทโรตั้ง"โค้ชแบน"คุมทัพ". MGR Online. 28 June 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  12. "ผอ.เทโร ยัน "โค้ชแบน" ขอลาออก แย้มให้ "โค้ชอ้น" คุมยาว". MGR Online. 14 September 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  13. "โค้ชอ้นลุย! โปลิศเทโรเตรียมทีมสู้ลีกรอง-ได้สองแข้งใหม่". Goal Thailand. 16 November 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  14. "คนดังทั้งนั้น! เปิดรายชื่อ 29 โค้ชไทยดีกรี "โปร ไลเซนส์" ยุค "สมยศ"". MGR Online. 19 June 2019. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  15. "ไร้ชัย7เกมติด!โค้ชอ้นผิดหวังเทโรดีกว่าแต่แพ้เชียงราย". Goal Thailand. 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  16. "โฉมหน้าผู้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เดือนตุลาคม". Thai League. 17 November 2022. สืบค้นเมื่อ 20 November 2022.
  17. "โค้ชอ้น-ชิมูระ" ของ การท่าเรือ เอฟซี คว้าสองรางวัลยอดเยี่ยมประจำเดือนธันวาคม 2566". Thai League. 12 January 2024. สืบค้นเมื่อ 12 January 2024.