วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
Logo STU.png
ชื่อย่อวทส. / STC
คติพจน์กลจักรความรู้สู่การพัฒนาไทย
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (17 ปี)
นายกสภาฯดร.อุทิศ ขาวเธียร
อธิการบดีพรพิสุทธิ์ มงคลวนิช
ที่ตั้ง
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม วิทยาเขตราชบุรี
ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70102
สี████ สีเหลือง สีน้ำเงิน
เว็บไซต์www.siamtechno.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม[1] (อังกฤษ: Siam Technology College)

           จากความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมของประเทศไทย  แต่ยังมีความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีความรู้คู่ทักษะที่พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนประเทศของเราสู่เส้นทางที่มุ่งหวัง อาจารย์ ดร.ณรงค์  มงคลวนิช ถือเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อความต้องการของสังคม โดยเล็งเห็นถึงความขาดแคลนบุคลากร  ที่มีคุณภาพทางทักษะอุตสาหกรรม จึงได้สร้างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ให้บริการความรู้ทางด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2508 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเดินหน้าสู่จุดหมาย จากหลายทศวรรษที่ผ่านมา “โรงเรียนช่างกลสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม” โดยเพิ่มสาขาวิชาด้านพาณิชยกรรม และได้ยืนหยัดอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศ จากวันแรกถึงวันนี้ ความเจริญก้าวหน้าของสถาบันดังกล่าว เป็นที่ประจักษ์ถึงความกล้าหาญและมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนไทยอย่างผู้นำ มิใช่ผู้ตามโดยแท้จริง

           ในปีพุทธศักราช 2548 นับเป็นปีที่ 40 ของสถาบันดังกล่าว และนับเป็นก้าวใหม่ของการเดินทางที่อาจารย์ ดร. ณรงค์ มงคลวนิช ได้ทำเป็นตัวอย่างโดยทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยามได้จัดตั้งโครงการ “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” ขึ้น  เพื่อสานต่อปณิธานของอาจารย์ ดร. ณรงค์ มงคลวนิช และสานต่อความต้องการของสังคมในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและวุฒิภาวะที่สูงขึ้น โดยให้บริการการศึกษาที่ผสมผสานความรู้ด้านทฤษฎีควบคู่ทักษะ โดยเน้นวัดผลจากการปฏิบัติได้จริงตามสภาพปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่ง “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” ได้เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2549 ในเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ “โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม” เน้นถึงการศึกษาที่ต่อเนื่องสำหรับผู้จบการศึกษาจากทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยี  และบริหารธุรกิจที่รองรับทุกหลักสูตร ที่เปิดสอนในโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม แล้วจึงขยายสาขาวิชาเพิ่มเติม ที่เป็นที่ต้องการศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเท่าเทียมกันไม่ว่านักศึกษาจะมาจากสถาบันการศึกษารูปแบบใดและระดับใด

           วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  มีเป้าหมายที่จะเปิดบริการทางการศึกษาในสาขาวิชาที่หลากหลายโดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม และเป็นการเชื่อมต่อโลกแห่งการศึกษาและโลกแห่งงานที่แท้จริง  เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้นของสังคม ตามเจตนารมณ์ของ อาจารย์ ดร. ณรงค์  มงคลวนิช ที่ได้สร้างมาตรฐานความเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงต่อสังคม มิใช่ผู้ตามเพียงกระแสนิยม

           

ปรัชญา (Philosophy)

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามเป็นกลจักรสร้างองค์ความรู้และผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพสู่สากล”

ปณิธาน (Determination)

             “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มุ่งมั่นจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ ทั้งภาคทฤษฏี และปฏิบัติ  ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสู่สากลและเป็นกลจักรแห่งความรู้สู่ทักษะอาชีพครบวงจร

อัตลักษณ์บัณฑิต (Identity)

                  “ผู้เห็นและผู้แก้ปัญหาของตนเองและสังคม”

เอกลักษณ์ (Uniqueness)

                  “เป็นผู้นำการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา”

วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)

                  “ร่วมแรงร่วมสร้างสรรค์ร่วมพัฒนา”

ค่านิยมหลัก (Core Values)

      “I-ROAR” หมายถึง ฉัน-คำราม แสดงถึงการเอาชนะความท้าทาย หรือความสามารถในการปฏิบัติได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และมีความหมาย ดังนี้

       I  (Integrity)หมายถึง มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและองค์กร

      R (Responsibility) หมายถึง มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

      O (Open with oblige)  หมายถึง มีใจเปิดกว้างที่จะช่วยเหลือด้วยแนวคิดใหม่ และมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้อื่น

      A (Agile with Adaptability) หมายถึง มีความสามารถในการปรับตนให้เหมาะสมกับงานที่แตกต่างได้อย่างคล่องแคล่ว

      R (Reality) หมายถึง ยึดมั่นในความจริง


ที่อยู่ (Address)

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามตั้งอยู่เลขที่ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เป็นคนละแห่งกับมหาวิทยาลัยสยาม[2]

คณะที่เปิดสอน[แก้]

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดทำการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี 5 คณะ และปริญญาโท 4 หลักสูตร ได้แก่

  • ปริญญาตรี
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
    • คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • คณะบริหารธุรกิจ
    • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
    • คณะการบริการและการท่องเที่ยว
  • ปริญญาโท
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
    • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากวิทยาลัยฯ[แก้]

  • รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ฟิล์ม รัฐภูมิ) นักร้อง นักแสดง
  • ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ (กาย ณัฐชา)​ อดีตรองโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันเป็นโฆษกพรรคก้าวไกล และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′13″N 100°28′16″E / 13.736921°N 100.471086°E / 13.736921; 100.471086