ข้ามไปเนื้อหา

หอประชุมกองทัพเรือ

พิกัด: 13°44′48″N 100°29′13″E / 13.746534°N 100.486954°E / 13.746534; 100.486954
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอประชุมกองทัพเรือ
แผนที่
ที่อยู่ถนนอรุณอมรินทร์
ที่ตั้งแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°44′48″N 100°29′13″E / 13.746534°N 100.486954°E / 13.746534; 100.486954
เจ้าของกองทัพเรือไทย
ผู้ดำเนินการกิจการหอประชุมกองทัพเรือ
เริ่มสร้าง9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
สถาปนิกอาคารและผังบริเวณ[1]
  • ผศ. สุดสวาท ศรีสถาปัตย์
  • น.อ. ระพี ศรีสุกรี
มุขศาลาไทย
  • น.อ. ระพี ศรีสุกรี
  • น.อ.หญิง เอมอร ประภาศิริ
สวน
เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี
พิธีเปิด24 กันยายน พ.ศ. 2546
งบประมาณในการก่อสร้าง
305,109,000.03 บาท
ที่นั่งแบบห้องเรียน
50–600
ที่นั่งแบบห้องประชุม
50–800
ห้องจัดเลี้ยง/ห้องบอลรูม30–1,500
ที่นั่งแบบโรงละคร
100–2,500
พื้นที่ปิดล้อม
พื้นที่ทั้งหมด7,572 ตารางเมตร (81,500 ตารางฟุต)
พื้นที่โถงนิทรรศการ5,724 ตารางเมตร (61,610 ตารางฟุต)
ห้องประชุมย่อย656 ตารางเมตร (7,060 ตารางฟุต) (3 ห้อง)
ห้องบอลรูม5,068 ตารางเมตร (54,550 ตารางฟุต) (4 ห้อง)
ที่จอดรถ1,000 คัน
ขนส่งมวลชนBus transport 57(4-41)
เว็บไซต์
www.navyhall.com

หอประชุมกองทัพเรือ (อังกฤษ: Royal Thai Navy Convention Center) เป็นหอประชุมที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่กรมสารวัตรทหารเรือ และปรับปรุงต่อเติมอาคารราชนาวิกสภา ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]

ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2545 กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารหอประชุมขนาดใหญ่ ภายในพื้นที่กรมสารวัตรทหารเรือ และปรับปรุงต่อเติมอาคารราชนาวิกสภา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีภูมิทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่งดงาม อยู่ตรงข้ามกับหมู่พระมหาปราสาท และพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำและชมกระบวนเรือพระราชพิธี ของผู้นำเขตเศรษฐกิจ จำนวน 21 ประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุมเอเปค 2003 รวมทั้งผู้บริหารภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยกองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ให้กองทัพเรือดำเนินการว่าจ้าง บริษัท ถิรสิทธิ์ จำกัด ในการก่อสร้างอาคารหอประชุมกองทัพเรือ เป็นเงินจำนวน 305,109,000.03 บาท ซึ่ง กองทัพเรือ ได้มอบอำนาจให้ พลเรือโทพีรศักดิ์ วัชรมูล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ ฝ่ายยุทธบริการ (ในขณะนั้น) เป็นผู้แทนกองทัพเรือในการลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม และเริ่มงานก่อสร้างทันทีในวันรุ่งขึ้น และในวันที่ 19 กรกฎาคม โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ได้วางศิลาฤกษ์อาคาร หอประชุมกองทัพเรือก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2546 และมีพิธีเปิดในวันที่ 24 กันยายน ปีเดียวกัน โดยพลเอกชวลิตเป็นประธานในพิธี

กิจกรรมที่จัดในหอประชุมกองทัพเรือ

[แก้]
สารวัตรทหารเรือที่หอประชุมกองทัพเรือ

การเดินทาง

[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1], Website:www.navyhall.com/ .สืบค้นเมื่อ 01/05/2561
  2. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0504/ว.209
  3. "คมนาคมโรดโชว์ "ผู้นำเอเปก" ลงทุน MR-Map พ่วงแลนด์บริดจ์". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-02-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′48″N 100°29′13″E / 13.746534°N 100.486954°E / 13.746534; 100.486954