โรงเรียนสตรีศึกษา

พิกัด: 16°02′53″N 103°39′17″E / 16.047938°N 103.654835°E / 16.047938; 103.654835
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสตรีศึกษา
Strisuksa School
ตราประจำโรงเรียนสตรีศึกษา
ที่ตั้ง
88 ถนนสุริยเดชบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
พิกัด16°02′53″N 103°39′17″E / 16.047938°N 103.654835°E / 16.047938; 103.654835
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ศ. / STR
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญมีคุณธรรม งามจรรยา ใฝ่หาความรู้
สถาปนา9 มิถุนายน พ.ศ. 2460; 106 ปีก่อน (2460-06-09)[1]
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1045450805
ผู้อำนวยการจักรวาล เจริญทอง
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีน
สเปน ภาษาสเปน
กัมพูชา ภาษาเขมร
สี██████ น้ำเงิน - เหลือง
เพลงมาร์ชสตรีศึกษา มาร์ชน้ำเงิน-เหลือง
เว็บไซต์www.strisuksa.ac.th

โรงเรียนสตรีศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันเปิดสอนในรูปแบบสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 93.4 ตารางวา

ประวัติ[แก้]

การจัดการศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดระยะแรกเกิดขึ้นในวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2453 พระครูอดุลย์ ศีลพรต เจ้าอาวาสวัดศรีมงคล (วัดสระทอง ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ปรับปรุงศาลาวัดให้เป็นที่เรียนของเด็กชายประมาณ 20 คน มีพระภิกษุในวัดเป็นครูช่วยสอนซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขยายการศึกษาออกสู่หัวเมือง พ.ศ. 2454 รัฐบาลได้มอบหมายให้ราชบุรุษจันทร์ มาเป็นโรงเรียนอย่างเป็นทางการที่วัดศรีมงคล ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดศรีมงคล เปิดสอนชั้นมูล ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ตามลำดับ ได้แต่งตั้งครูมาเพิ่มอีก 2 คน คือ ครูแม้น โปรณานนท์ และครูทุย สุทธิชัย

ระยะนี้มีนักเรียนหญิงมาเรียนรวมอยู่บ้าง ปลายปี พ.ศ. 2456 ศาลาที่เรียนทรุดโทรมจึงย้ายมาทำการสอนที่ที่ว่าการอำเภอเก่าริมคูเมืองเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำมณฑลร้อยเอ็ด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดและโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย) ส่วนนักเรียนหญิงไปเรียนที่โรงเรียนที่สร้างบริเวณ ถนนรัฐกิจไคลคลา (บริเวณสำนักงานสรรพากรจังหวัดในปัจจุบัน) ชื่อโรงเรียนสตรีศึกษาประจำจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีราชบุรุษจันทร์ อุตรพรหม ทำหน้าที่รักษาการครูใหญ่เป็นคนแรก

ต่อมาปี พ.ศ. 2465 เกิดเพลิงไหม้อาคารเรียน จึงไปสร้างอาคารเรียนชั่วคราวบริเวณข้างโรงเรียนประจำจังหวัดชาย จนปี พ.ศ. 2469 จึงย้ายมาเรียนที่อาคารไม้ชั้นเดียว ที่สร้างใหม่บริเวณถนนรัฐกิจไคลคลา อีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2487 กระทรวงศึกษาธิการได้แลกเปลี่ยนที่ดินกับกระทรวงมหาดไทยบริเวณถนนสุริยเดชบำรุง เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 8 ห้องเรียน งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 24,000 บาท และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนสตรีร้อยเอ็ด สตรีศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตามาแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2478 ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวร้อยเอ็ดส่งลูกหลานเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมากในสมัยนั้น

พ.ศ. 2494 จังหวัดได้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด ได้ขอใช้ที่ดินโรงเรียนบริเวณด้านทิศเหนือเพื่อสร้างอาคารเรียนสำหรับสอนโรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด พ.ศ. 2499 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนคอนกรีตแบบ 220 จำนวน 20 ห้องเรียน (อาคาร 2 ปัจจุบัน) งบประมาณ 253,290 บาท ทำให้มีอาคารถาวรเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากสตรีร้อยเอ็ด สตรีศึกษา เป็นโรงเรียนสตรีศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด เปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ รับทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง

พ.ศ. 2516 โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ดย้ายไปตั้งในที่ปัจจุบัน ทางโรงเรียนจึงใช้อาคารอนุบาลเก่าเป็นห้องเรียนเพิ่มเติม เปิดแผนกวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ และแผนกภาษาต่างประเทศ (ภาษาบาลีและภาษาฝรั่งเศส) พ.ศ. 2519 ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ป 3 ชั้น 18 ห้องเรียน (อาคาร 1 ปัจจุบัน) ใช้งบประมาณ 3,500,000 บาท และโรงเรียนได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมด้านทิศตะวันออกและได้ขอใช้ที่ดินของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดด้านทิศตะวันออก เพื่อสร้างบ้านพักครู โดยการดำเนินการของ ผอ.ประจวบ ชำนิประศาสตร์

พ.ศ. 2520 ได้ใช้หลักสูตรใหม่ เปิดการสอน 6 สายการเรียน ได้แก่ สายวิทย์-คณิตศาสตร์, อังกฤษ-คณิตศาสตร์, อังกฤษ-สังคม, ภาษาฝรั่งเศส, ธุรกิจ และ คหกรรมทั่วไป พ.ศ. 2521 ได้งบประมาณสร้างอาคารแบบ 318 ค 3 ชั้น 18 ห้องเรียน (อาคาร 3 ปัจจุบัน) งบประมาณ 3,200,000 บาท

พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรได้ก่อตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ขอใช้อาคารเรียนชั่วคราว (อาคารอนุบาลเก่า) ทำการสอนจนปี พ.ศ. 2525 จึงย้ายไปตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดในที่ตั้งปัจจุบัน ต่อมาจึงรื้ออาคารอนุบาลเก่าออก ปรับพื้นที่เป็นสนามหน้าโรงเรียน

และในปีพ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกผลศึกษาแบบเอนกประสงค์ ในปี พ.ศ. 2527 โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ 415 ล 4 ชั้น 15 ห้องเรียน (อาคาร 4 ปัจจุบัน) งบประมาณ 4,298,900 บาท ข้างล่างจากเกิดเป็นใต้ถุนได้ปรับเป็นห้องสมุด พ.ศ. 2537 ได้งบประมาณสร้างอาคารโรงอาหาร หอประชุม แบบ 101 ล/27 และในปี พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารแบบ 324 ล/41 หลังคาทรงไทย (อาคาร 84 ปี) งบประมาณ 19,836,883 บาท จากการสนับสนุนผลักดันจากผู้เชี่ยวชาญกรมสามัญศึกษา คุณวิชัย เวียงสงค์ และท่าน ผอ.สุพรรณี สมานญาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้นคือ ท่านอธิบดีกว้าง รอบคอบ ท่านอธิบดีบรรจบ พงศ์ศาสตร์

ปัจจุบันโรงเรียนสตรีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยเดชบำรุง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 93 4/10 ตารางวา เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา ทั้งชายและหญิง[2]

พื้นที่และอาคารเรียน[แก้]

แผนผังโรงเรียนสตรีศึกษา

โรงเรียนสตรีศึกษา มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 25 ไร่ 1 งาน 93 4/10 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 7 หลัง และอาคารประกอบอื่นๆ อีก เช่น หอประชุม โรงอาหาร อาคารพลศึกษา อาคารชั่วคราว โรงจอดจักรยายนตร์ รวมถึงสนามฟุตบอลและสนามบาสเกตบอล[3]

รายนามผู้บริหาร[แก้]

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1 ราชบุรุษจันทร์ อุตมพรหม พ.ศ. 2460 พ.ศ. 2460 รักษาการครูใหญ่
2 นายปิ่น ธนสีลังกูร พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2464 รักษาการแทนครูใหญ่
3 นายประสงค์ ชำนาญฤทธิ์ พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2473 ครูใหญ่
4 นายหนูจันทร์ จันทชุม พ.ศ. 2473 พ.ศ. 2481 รักษาการแทนครูใหญ่
5 นางสาวอรุณวตี  สุวรรณกนิษฐ์ พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2486 ครูใหญ่
6 นางสาวเลขา สหัสสานนท์ พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2488 ครูใหญ่
7 นางสาวลาวัลย์  ถนองจันทร์ พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2495 ครูใหญ่
8 นางพงศ์ทอง  ดีแท้ พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2507 อาจารย์ใหญ่
9 นางประจวบ  ชำนิประศาสน์ พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2520 ผู้อำนวยการ
10 นางอำนวยพร กาญจนวงษ์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2521 ผู้อำนวยการ
11 นางอนงค์ โพธินาม พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการ
12 นางนิด นาคอุดม พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2533 ผู้อำนวยการ
13 นางสาวสุมาลี  แจบเกาะ พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2534 ผู้อำนวยการ
14 นางกฤษณา สหวัฒน์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2539 ผู้อำนวยการ
15 นางกุหลาบ โพธินาม พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2541 ผู้อำนวยการ
16 นางสาวสุพรรณี สมานญาติ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการ
17 นายชาตรี ชาปะวัง 9 ธ.ค. 2543 30 ก.ย. 2547 ผู้อำนวยการ
18 นายปรีชา คำภักดี 1 ต.ค. 2547 ธ.ค. 2552 ผู้อำนวยการ
19 นายปรีดา ลำมะนา 1 ม.ค. 2552 9 ธ.ค. 2554 ผู้อำนวยการ
20 นายกัมพล พื้นแสน 10 ธ.ค. 2554 30 ตุลาคม 2557 ผู้อำนวยการ
21 นายสมภักดิ์ สมภักดี พ.ย. 2554 ม.ค. 2558 ผู้อำนวยการ
22 นายบัณฑิต ประสิทธิ์นอก ม.ค. 2559 30 ตุลาคม 2559 ผู้อำนวยการ
23 นายชูศักดิ์ ประราศรี 18 พ.ย. 2559 30 ตุลาคม 2560 ผู้อำนวยการ
24 นายศิริ ธนะมูล 1 มิ.ย. 2561 ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1][ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติโรงเรียนสตรีศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.
  3. "แผนผังโรงเรียนสตรีศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]