ถิรชัย วุฒิธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถิรชัย วุฒิธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2493 (74 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย

นายถิรชัย วุฒิธรรม เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

ถิรชัย เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยา จากCornell สหรัฐอเมริกา และปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ และปริญญาตรี สาขาการบริหารจัดการกอล์ฟ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษาต่อเนื่อง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.)รุ่นที่4 (ปี 2534-2535) มีเพื่อนร่วมรุ่นเช่น ประชา มาลีนนท์ , พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎฐ์ , ห้างทอง ธรรมวัฒนะ, พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ , พล.อ.นฤนาท กัมปนาทแสนยากร เป็นต้น

การทำงาน[แก้]

ถิรชัย วุฒิธรรม มีบทบาทในวงการกีฬาหลายชนิด เคยดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อุปนายกสมาคมรักบี้ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมกีฬาอีกนับสิบสมาคม เป็นคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในส่วนของงานการเมืองเขาเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) เป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกยุคสมัย เป็นกรรมการบริหารบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการบริหารบริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และดำรงตำแหน่งบอร์ดบริษัทรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง เขายังเป็นพลเรือนผู้มีบทบาทในแวดวงทหารหลายยุคสมัย โดยเฉพาะช่วงปี 2532-2550 ไล่ตั้งแต่ยุคของ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล จนถึง ผบ.เหล่าทัพหลายยุคสมัย เป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ในแวดวงกีฬาและการเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท M picture entertainment จำกัด (มหาชน) ในเครือ Major Cineplex

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ถิรชัย วุฒิธรรม ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน (กลุ่มพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก) แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ต่อมาได้เลื่อนขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่างของหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 74 และได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แทนนายยุรนันท์ ภมรมนตรี ที่ลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างในเขตเลือกตั้งที่ 12 กรุงเทพมหานคร[1] ต่อมาเขาได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]