โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
Kaennakhon Witthayalai School
Logo knw.png
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญจรรยาดี มีวิชา กีฬาเด่น เป็นงาน
สถาปนา16 กันยายน พ.ศ. 2511 (54 ปี)
ผู้อำนวยการโรงเรียนดร. คมสันต์ ชุมอภัย
จำนวนนักเรียน4,307 ปีการศึกษา 2563[1]
วิทยาเขตแก่นนครราชพฤกษ์
สี         สีแสด สีดำ
เพลงมาร์ชแก่นนครวิทยาลัย,แก่นนครคือเรา เราคือแก่นนคร
เว็บไซต์www.knw.ac.th

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย (อังกฤษ: Kaennakhon Witthayalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในจังหวัดขอนแก่น เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2510 และถูกสถาปนาเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2511

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2510 โดยมี อาจารย์เจือ หมายเจริญ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยอีกตำแหน่งหนึ่ง

ในปีแรกเปิดสอน 8 ห้องเรียน มีนักเรียน 280 คน แบ่งเป็นนักเรียนชาย 140 คน และนักเรียนหญิง 140 คน เป็นโรงเรียนมัธยมแบบประสมและเป็นสหศึกษาคือรับทั้งชายทั้งหญิงมาเรียนรวมกัน โดยในสมัยนั้น การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาจะแยกนักเรียนชายให้เรียนในโรงเรียนประจำ จังหวัดชาย (โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน), นักเรียนหญิงเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง (โรงเรียนกัลยาณวัตร) โรงเรียนสหศึกษาคือมีนักเรียนชายและหญิงเรียนรวมกัน ส่วนโรงเรียนมัธยมแบบประสม หมายถึง การเปิดสอนในหลักสูตรที่กว้าง หลากหลาย มีวิชาให้เลือกเรียนได้ตามความรู้ความสามารถที่ตนถนัด (TO EACH HIS OWN ABILITY) มีทั้งวิชาสามัญ วิชาศิลป-ปฏิบัติ(วิชาชีพ) เมื่อจบมัธยมต้นแล้วสามารถจะนำไปศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้

ในปีแรกที่เปิดการสอนต้องอาศัยโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนเรียนไปก่อนพร้อมๆกับ โรงเรียนก็เริ่มก่อสร้างไปด้วยจนถึงวันที่16 กันยายน พ.ศ. 2511 จึงได้ย้ายมาเรียน ณ สถานที่ปัจจุบัน จึงถือเอาวันนี้เป็นวันเกิดของโรงเรียนด้วย[2]

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 เดิมมีพื้นที่ 32 ไร่เศษอยู่ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อ พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้ ที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นสนามกีฬาจังหวัดอยู่ติดกับโรงเรียนอีก 6 ไร่

ใน ปี พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้ขอใช้สนามกีฬาจังหวัดในส่วนที่เหลือสร้าง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นสนามกีฬาเพิ่มอีก 25 ไร่ รวม พื้นที่ทั้งหมด 63 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา และอีกส่วนหนึ่งเป็นบ้านพัก ครูอยู่นอกบริเวณโรงเรียน จำนวน 12 ไร่

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย เป็นโรงเรียนมัธยมแบบประสมรุ่นแรกของประเทศไทยใน จำนวน 6 โรงเรียน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นแบบสหศึกษา ในปีแรกที่เปิด ทำการสอนมี 8 ห้องเรียน นักเรียน จำนวน 280 คน จนกระทั่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2511 ได้ย้ายมายังสถานที่ปัจจุบัน

โรงเรียนถือเอา วันที่ 16 กันยายน ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งโรงเรียน ที่ตั้งเลขที่ 4 หมู่ที่ 2 ถนนเหล่านาดี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ขนาดสถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวนพื้นที่ 63 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา ระดับชั้นที่เปิดสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6

หลักสูตรการเรียนการสอน[แก้]

แผนการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • แผนการเรียนหลักสูตรทั่วไป (วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์)
  • ห้องเรียนพิเศษ GIFTED
  • ห้องเรียนพิเศษ English Program
  • ห้องเรียนพิเศษ ภาษาจีน
  • ห้องเรียนพิเศษ ฟุตบอล
  • ห้องเรียนพิเศษ International Program

แผนการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษ GIFTED
  • ห้องเรียนพิเศษ GIFTED แพทย์
  • ห้องเรียนพิเศษ โครงการพสวท.สู่ความเป็นเลิศ
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียน อังกฤษ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียน อังกฤษ - จีน
  • แผนการเรียน อังกฤษ - ฝรั่งเศส
  • แผนการเรียน อังกฤษ - เยอรมัน
  • แผนการเรียน อังกฤษ - ญี่ปุ่น
  • ห้องเรียนพิเศษ English Program
  • ห้องเรียนพิเศษ ฟุตบอล
  • ห้องเรียนพิเศษ International Program

รายนามผู้บริหารโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย[แก้]

  1. นายเจือ หมายเจริญ (2510-2516)
  2. นายมงคล สุวรรณพงศ์ (2516-2517)
  3. นายสุเทพ ขันทอง (2517-2521)
  4. นายดิลก วัจนสุนทร (2521-2522)
  5. นางสาวสุนันทา ศุภนิละ (2522-2532)
  6. นายวิไล รู้ปัญญา (2535-2535)
  7. นางภัทรพร พัชรินทร์ศักดิ์ (2535-2538)
  8. นายมนตรี แสนวิเศษ (2538-2540)
  9. นายเทพฤทธิ์ ศรีปัญญา (2540-2543)
  10. นายเจริญ เวียงยศ (2543-2547)
  11. นางสาวสุมาลี เถียรทอง (2547-2551)
  12. นายวิรัช เจริญเชื่อ (2551-2557)
  13. ดร. วีระเดช ซาตา (2557-2563)
  14. นายศักดิ์ดาเดช ทาซ้าย (2563-2564)
  15. ดร. คมสันต์ ชุมอภัย (2564 - ปัจจุบัน)

คณะสีของโรงเรียนและกีฬาสีของโรงเรียน[แก้]

ในแต่ละปีจะมีกีฬาสีภายในประจำปีของโรงเรียน ภายใต้ชื่อ ดอกจานเกมส์ ในกีฬาสีก็จะมีการแข่งขันกีฬา ขบวนพาเหรด และการแข่งขันแสตนเชียร์และเชียร์หลีดเดอร์ โดยแบ่งคณะสีเป็น 6 คณะสี ดังนี้

  • ██ คณะเฟื่องฟ้า (สีแดง)
  • ██ คณะชวนชม (สีชมพู)
  • ██ คณะบานบุรี (สีเหลือง)
  • ██ คณะการเวก (สีเขียว)
  • ██ คณะพยับหมอก (สีฟ้า)
  • ██ คณะอินทนิล (สีม่วง)

สี่จตุรมิตร[แก้]

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสี่สถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น ในกิจกรรมบาสเกตบอลประเพณีจตุรมิตรเกมส์ ซึ่งเป็นการริเริ่มของคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยและโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแข่งขันกีฬา อีกทั้งจากการประกวดแข่งขันต่างๆ ล้วนแล้วแต่มุ่งเน้นวิชาการเป็นสำคัญอยู่แล้ว จึงมีแนวคิดที่จะจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนของทั้ง 4 โรงเรียน ซึ่งล้วนเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นนำของจังหวัดขอนแก่น โดยในการจัดการแข่งขันครั้งแรก โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในปีการศึกษา 2548 ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล , การแข่งขันประกวดกองเชียร์-ผู้นำเชียร์แต่ละโรงเรียน (ปัจจุบันปรับเปลี่ยนเป็นโชว์สปีริตเชียร์ ไม่มีการแข่งขัน) และมีการจัดการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการนักเรียนแต่ละโรงเรียน โดยกำหนดจัดขึ้นในช่วงปบายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งการเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันบาสเกตบอลประเพณีจตุรมิตรเกมส์นั้น เป็นการเวียนระหว่าง 4 โรงเรียน ดังนี้

  1. โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
  2. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
  3. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
  4. โรงเรียนกัลยาณวัตร

เอกลักษณ์ของกิจกรรมนี้ นอกจากการแข่งขันบาสเกตบอลแล้ว ยังมีการแสดงสปีริตเชียร์ หรือโชว์ศักยภาพเชียร์และผู้นำเชียร์จากทั้ง 4 สถาบัน ซึ่งสร้างเสียงฮือฮาและกระแสในทุกๆปี และเป็นหนึ่งในจุดกำเนิดของทีม "นางฟ้า Turbo" ทีมศักยภาพกองเชียร์โรงเรียนกัลยาณวัตร ซึ่งมีชื่อเสียงมากมายและเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งชื่อกิจกรรมซึ่งใช้การนับเลขภาษาบาลี เป็นขื่อกิจกรรมตามจำนวนครั้ง เริ่มต้นในครั้งที่ 10 ปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ "ทศวรรษจตุรมิตรเกมส์" จากนั้นในทุกๆครั้ง จะมีการตั้งชื่อเช่นนี้เรื่อยมา โดยในครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2563) ใช้ชื่อว่า "จตุทศ จตุรมิตรเกมส์" โดยโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) เป็นเจ้าภาพ จัดขึ้น ณ อาคารอเนกประสงค์ (Sport Complex) มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันบาสเกตบอลเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]