โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
Kalasin Pittayasan School
ที่ตั้ง
เลขที่ 66 ถนนอรรถเปศล ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 ไทย
โทรศัพท์ 0-438-11278
โทรสาร 0-438-13409
พิกัด16°25′49″N 103°30′44″E / 16.4304°N 103.5122°E / 16.4304; 103.5122พิกัดภูมิศาสตร์: 16°25′49″N 103°30′44″E / 16.4304°N 103.5122°E / 16.4304; 103.5122
ข้อมูล
ชื่ออื่นก.พ.ส / KPS
ประเภทโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญ"ประพฤติดี มีวินัย ตั้งใจเรียน"
ลูก ก.พ.ส. ปัญญาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม
(การศึกษา คือ ชีวิต)
สถาปนาพ.ศ. 2456 ก่อตั้งโรงเรียน
พ.ศ. 2470 พระราชทานนามโรงเรียน
ผู้ก่อตั้งเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสโส)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1046101001
ผู้อำนวยการดร.จารุวรรณ รัตนมาลี
จำนวนนักเรียน3,841คน
(ข้อมูล 16พฤษภาคม2566)[1]
ขนาดของชั้นเรียนเฉลี่ยม.1 - ม.6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี.
ห้องเรียน91 ห้องเรียน 7 อาคารเรียน
สี████ เขียว - เหลือง
เพลงมาร์ช ก.พ.ส,ถิ่นเขียว-เหลือง
เว็บไซต์http://www.kalasinpit.ac.th
หลวงพ่อศิลา : พระพุทธรูปประจำโรงเรียน


โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ (อังกฤษ : Kalasinpittayasan School) (อักษรย่อ: ก.พ.ส ,K.P.S.) เป็นสถานศึกษาแห่งแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ รูปแบบสหศึกษา ทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ประวัติโรงเรียน[แก้]

อาคารเรียนของโรงเรียนในช่วงแรกของการก่อตั้ง

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2456 โดยผู้ที่ก่อตั้งโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นผู้ก่อตั้ง ในปีการศึกษาแรกที่มีการเรียนการสอน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ในปีแรกมีนักเรียนที่เข้ารับการเรียนการสอนทั้งสิ้น 50 คน โดยมี นายบุญถม ชนะกานนท์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนในขณะนั้น และมีคุณครู อีก 2 ท่าน คือ นายอุทา พิมพะสาลี และนายเหลา พิมพะสาลี

ช่วงที่ 1 ยุคก่อตั้ง(พ.ศ. 2456-2484)[แก้]

  • พ.ศ. 2456 นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้ย้ายไปเรียนที่วัดใต้โพธิ์คำ
  • พ.ศ. 2460 นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้ย้ายไปเรียนที่เรือนจำเก่า
  • พ.ศ. 2462 นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้ย้ายไปเรียนที่สโมสรเสื่อป่า
  • พ.ศ. 2472 นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้ย้ายไปเรียนที่วัดหอไตรปิฏการาม
  • พ.ศ. 2471 นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้ย้ายไปเรียนที่ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ เพราะโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ถูกไฟไหม้ และได้มีการเริ่มลงทะเบียนเลขประจำตัวนักเรียนใหม่ โดยเริ่มนับจากหมายเลข 1
  • พ.ศ. 2474 นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้ย้ายมาเรียนในพื้นที่ปัจจุบัน และในปีเดียวกันได้มีการสร้างอาคารเรียนหลังแรก(อาคารเสาใหญ่) โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,000 บาท พร้อมทั้งบ้านพักครู 1 หลัง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2474
  • พ.ศ. 2484 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้มีการเปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษา

ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2510-2547)[แก้]

  • พ.ศ. 2510 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท
  • พ.ศ. 2534 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2534 ในขณะนั้น นายวินัย เสาหิน ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
  • พ.ศ. 2538 นายบรรเทา วรรณจำปี มาดำรงตำแหน่งแทน นายชุมพล เวียงเพิ่ม ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น
  • พ.ศ. 2543 นางพิสมัย อารีย์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทนนายบรรเทา วรรณจำปี ซึ่งเกษียณอายุราชการ
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้งบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324/ล41 (หลังคาทรงไทย) งบประมาณในการก่อสร้าง 14,850,000 บาท โดยสร้างแทนอาคารเสาใหญ่ที่ได้ทรุดโทรมไป
  • พ.ศ. 2546 โรงเรียนก่อสร้างโรงอาหารระหว่างหอประชุมกับอาคารพลศึกษาและนายวานิชย์ ติชาวัน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในปีเดียวกันนี้
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP)โดยเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 27 คน รวม 54 คน

ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน)[แก้]

  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) โดย

เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จัดศูนย์แนะแนวของเขตพื้นที่การศึกษาและศูนย์สอบของสำนักงานทดสอบแห่งชาติ ปรับปรุงห้องสมุดทั้งระบบ มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ มีห้องศึกษาค้นคว้าระบบอินเทอร์เน็ตและห้องสมุดเสียง (ใช้สำหรับศึกษาความรู้จากสื่อ T.V. /C.D./D.V.D./V.C.D.) จัดให้มีการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนที่มีความสนใจ โดยครูซึ่งเป็นเจ้าของภาษา จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 3 ห้อง 78 เครื่อง ด้วยเงินบริจาคอย่างมีวัตถุประสงค์

  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) โดย

เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมจำนวนทั้งสิ้น 4 ห้อง จัดทำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง พร้อมจัดซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนจำนวน 20 เครื่อง จัดให้มีการประกวดโครงงาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์สมบัติ 60 ปี ส่งเสริมการแข่งขันทักษะด้านต่าง ๆ จัดให้มีการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนที่มีความสนใจ โดยครูซึ่งเป็นเจ้าของภาษา ขยายถนนคอนกรีตทางเดินทางเท้าเข้าห้องน้ำนักเรียนหญิงหลังอาคาร 1 เทพื้นคอนกรีตแก้ปัญหา ที่เก็บขยะข้างห้องสมุด ปรับปรุงโรงเก็บรถจักรยานยนต์นักเรียน ติดตั้งโครงเหล็กรอบ ๆ อาคารโรงรถทั้ง 3 แห่ง สร้างโรงเรือนหน้าห้องโสตทัศนศึกษาพร้อมปูกระเบื้อง ปูพื้นกระเบื้องหลังอาคาร 5 ทั้งหมด สร้างป้ายหินแกรนิตลานประดู่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ศาลพระภูมิและลานพระรูปใหม่ทั้งหมด ปรับปรุงและขยายห้องคอมพิวเตอร์ให้กว้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน สร้างหลังคากันแดดและฝน ทางเดินเชื่อมต่ออาคาร 2 และ 3 สร้างหลังคาและปูกระเบื้องด้านข้างห้องทะเบียนวัดผลเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และจัดตู้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ปรับปรุง ที่ดื่มน้ำสำหรับนักเรียนจำนวน 6 จุด เพื่อให้ปลอดภัยจากไฟรั่ว ปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนหญิง หลังอาคารวิทยาศาสตร์ สร้างและปรับปรุงโรงเรือนหลังอาคารอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการเรียน การสอนกิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร ขยายถนนหน้าอาคารวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นที่จอดรถยนต์ จัดทำแผ่นเหล็กปูตะแกรงปิดกั้นร่องน้ำหน้าอาคารประชาสัมพันธ์

  • พ.ศ. 2550 นายเสน่ห์ คำสมหมาย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายวานิชย์ ติชาวัน ซึ่งเกษียณอายุราชการ โรงเรียนได้งบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ปรับปรุง 46 งบประมาณในการก่อสร้าง 14,773,000 บาท โดยสร้าง

แทนอาคารชั่วคราวที่ได้ทรุดโทรม ก่อสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณหน้าอาคาร 5 จำนวน 2 หลัง ด้วยเงินเหลือจ่ายจากการงดตอกเสาเข็มอาคารเรียน 216 ปรับปรุง 46 ด้วยวงเงินก่อสร้าง 140,000 บาท ก่อสร้างศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณใต้ถุนอาคาร 6 วงเงินก่อสร้าง 1,719,000 บาท ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าและหลังอาคาร 6 เป็นลานธรรมและรอบบริเวณพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ได้ปรับปรุงระบบเสียงประชาสัมพันธ์ตามอาคารเรียนทุกหลังและภายในบริเวณโรงเรียน นอกจากนี้ได้พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (GC)ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้นำนักเรียนในโครงการไปทัศนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนและนำนักเรียน ไปแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ(MEP) จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ 4 รายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ จัดสอนเสริมหลังเลิกเรียนเป็นภาษาไทย คือวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ได้นำนักเรียนในโครงการไปทัศนศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์ รวม 5 วัน

  • พ.ศ. 2551 นายเสน่ห์ คำสมหมาย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ โรงเรียนได้พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (TSM และGC) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนและระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน มีการนำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปฝึกการทำโครงงาน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ มีการนำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปฝึกการใช้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงปิดภาคเรียน ส่วนนักเรียนในโครงการ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ(MEP) ได้นำนักเรียนในโครงการไปทัศนศึกษา

ณ ประเทศสิงคโปร์ รวม 5 วัน ด้านอาคารสถานที่มีการสร้างห้องน้ำหลังอาคาร 6 จำนวน 1 หลัง เป็นห้องน้ำสำหรับนักเรียนหญิงและนักเรียนชายเพื่อบริการผู้ที่มาใช้ห้องเฉลิมพระเกียรติของทางโรงเรียนด้วย ได้สร้างทางเชื่อมอาคาร 1กับอาคาร 6 ทาสีอาคารเรียนต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศให้โรงเรียนสดใสยิ่งขึ้น

  • พ.ศ. 2552 นายเสน่ห์ คำสมหมาย ได้พัฒนาโรงเรียนไปสู่โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ได้ให้การช่วยเหลือโรงเรียนน้อง มีการนำวงโปงลางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศตุรกีเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้สร้างทางเชื่อมระหว่างอาคาร 1 กับอาคาร 2 โรงเรียนได้ซื้อรถบัสมา 1 คันใช้ในการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาไปเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โรงเรียนได้พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (TSM และGC) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนและระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางภาษา (TSL) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน

รายนามครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1 นายบุญถม ชนะกานนท์ พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2466 ครูใหญ่
2 นายกว้าง ทองทวี พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2474 ครูใหญ่
3 นายประเคน โนนศรีชัย พ.ศ. 2474 พ.ศ. 2489 ครูใหญ่
4 นายประภาส ศุภสาร พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2490 ครูใหญ่
5 นายประเสริฐ สื่อสิน พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2492 ครูใหญ่
6 นายแก้ว อุปพงศ์ พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2494 ครูใหญ่
7 นายพลอย มหาแสน พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2507 ครูใหญ่
8 นายอุดร เวียงเพิ่ม พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2511 อาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่
9 นางเสริมศิริ ทองธรรมชาติ พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2512 รก. อาจารย์ใหญ่
10 นายล้วน วรนุช พ.ศ. 2512 พ.ศ. 2513 อาจารย์ใหญ่
11 นายมาบ ภูมาศ พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2515 อาจารย์ใหญ่
12 นายสำลี ผดุงศรี พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2525 อาจารย์ใหญ่
13 นายคำพันธ์ คงนิล พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการ
14 นายพิน ศรีอาจ พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 ผู้อำนวยการ
15 นายวินัย เสาหิน พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการ
16 นายชุมพล เวียงเพิ่ม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538 ผู้อำนวยการ
17 นายบรรเทา วรรณจำปี พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการ
18 นางพิสมัย อารีย์ พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2546 ผู้อำนวยการ
19 นายวานิชย์ ติชาวัน พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2550 ผู้อำนวยการ
20 นายเสน่ห์ คำสมหมาย พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2561 ผู้อำนวยการ
21 นายสงกรานต์ พันโนราช พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2563 ผู้อำนวยการ
22 นายเทอดเกียรติ ขันธ์พิมูล พ.ศ. 2563 พ.ศ.2565 ผู้อำนวยการ
23 นางจารุวรรณ รัตนมาลี พ.ศ.2565 -ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

แผนการเรียนพิเศษ[แก้]

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จัดการศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายดังนี้

  • มัธยมศึกษาตอนต้น
    • โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (มัธยมศึกษาตอนต้น) (Talented Student Program on Science and Mathematic : TSM)
    • โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านภาษาอังกฤษ (มัธยมศึกษาตอนต้น)(Mini English Program : MEP)
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย
    • โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (มัธยมศึกษาตอนปลาย)(Gifted Children Program : GC)
    • โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านภาษา (มัธยมศึกษาตอนปลาย)(International Math Science : IMS )
    • โครงการห้องเรียนพิเศษโครงการส่งเสริมความสามารถทางภาษา ศิลปะ และสังคมที่สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ (Intensive Program : IP)

อาคาร/สถานที่[แก้]

  • อาคารเรียน 1 เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของโรงเรียน ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นอาคารคอนกรีตเสริทเหล็ก สูง 3 ชั้นประกอบไปด้วยห้องต่างๆดังนี้
    • ชั้นที่ 1 ห้องประชุมเล็ก,ฝ่ายธุรการการเงิน,ห้องแผนงาน,กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และห้องพัสดุ
    • ชั้นที่ 2 ห้องปฏิบัติการวิทย์ 1-4,ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ และเคมี
    • ชั้นที่ 3 ปฏิบัติการวิทย์ 5,ห้องเรียนสีเขียว,ห้องปฏิบัตการชีวะ 1-2 และห้องเรียน
  • อาคารเรียน 2 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้
    • ชั้นที่ 1 สำนักฝ่ายวิชาการ,ห้องคอมพิวเตอร์ MEP,ศูนย์ความร่วมมือภาษาอังกฤษ ไทย-นิวซีแลนด์ และห้องเรียน
    • ชั้นที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย,กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ,สำนักงาน MEP,ห้องเรียน MEP
    • ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ 1-2, สำนักงาน TSL,ห้องเรียน TSL
  • อาคารเรียน 3 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 ชั้น ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้
    • ชั้นที่ 1 ห้องโสตทัศนศึกษา,กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลนามัย,กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
    • ชั้นที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้องเรียน
    • ชั้นที่ 3 ห้องดนตรีนาฏศิลป์,ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ และห้องเรียน
  • อาคารเรียน 4 เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียน ก่อสร้าง เมื่อพ.ศ. 2533 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4ชั้น ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้
    • ชั้นที่ 1-4 ห้องเรียน
  • อาคารเรียน 5 เป็นอาคารก่อสร้าง เมื่อพ.ศ. 2542 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยก่อสร้างแทนอาคารเสาใหญ่ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้
    • ชั้นที่ 1 เอนกประสงค์,ศูนย์แนะแนว และห้องจัดรายการวิทยุ
    • ชั้นที่ 2-4 ห้องเรียน
  • อาคารเรียน 6 เป็นอาคารแบบ 216ล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของโรงเรียน ก่อสร้างเมื่อพุทธศักราช 2549 แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ประกอบด้วยห้องต่างๆดังนี้
    • ชั้นที่ 1 ห้องประชุมใหญ่,สำนักงานห้องเรียนวิทยาศาสตร์,ห้องทะเบียน-วัดผล
    • ชั้นที่ 2-3 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์
  • อาคารเรียน 7 อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2554 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของโรงเรียน
    • ชั้นที่ 1 ห้องผู้อำนวยการ,ห้องสมุด, ศูนย์ภาษา, สำนักงานฝ่ายปกครอง
    • ชั้นที่ 2-4 ห้องเรียน
  • อาคารโรงอาหาร ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอประชุม ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร
  • อาคารหอประชุม ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอประชุม ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร
  • อาคารประชาสัมพันธ์
  • สำนักงานฝ่ายบริการ (บ้านพักผู้อำนวยการเดิม)
  • อาคารโรงฝึกพลศึกษา ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้น เป็นอาคารอเนกประสงค์ ใช้เล่นกีฬา จัดกิจกรรมต่างๆ โดยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของโรงเรียน ประกอบไปด้วยห้องดนตรีพื้นเมือง และห้องพักครูพลศึกษา
  • ศูนย์กีฬา/Sport Complex สระว่ายน้ำ
  • ศูนย์บริการทางการแพทย์ (งานอนามัยโรงเรียน) เป็นอาคาร 1 ชั้น
  • ห้องสมุด
  • อาคารอุตสาหกรรม อาคารอุตสาหกรรมก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ใช้เป็นห้องปฏิบัตการอุตสาหกรรม
  • อาคารเกษตรกรรม/อาคารคหกรรม ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ใช้เป็นห้องต่างๆดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,ห้องปฏิบัตการเกษตรกรรม และห้องปฏิบัติการคหกรรม
  • อาคารศิลปะ/อุตสาหกรรม อาคารสิลปศึกษา ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ประกอบไปด้วยห้องต่างๆดังนี้ ห้องปฏิบัติการศิลปศึกษา(ทัศนศิลป์),ห้องปฏิบัติการศิลปศึกษา(โยธวาฑิต) และห้องปฏิบัตการอุตสาหกรรม

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • ขวัญชนก กำนาดี (หนามเตย ไทดอลมิวสิค)

โครงการ Mini English Program : MEP และ Intensive Program : IP[แก้]

  • โครงการ Mini English Program หรือ MEP จัดการเรียนการสอนรายวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาอังกฤษจากชาวต่างชาติ อิงการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โครงการ MEP เป็นหลักสูตรชั้นมัธยมตอนต้น
  • โครงการ Intensive Program หรือ IP เป็นโครงการที่ส่งเสริมความสามารถทางภาษา ศิลปะ และสังคมที่สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษจากชาวต่างชาติ อิงการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โครงการ IP เป็นหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

โครงการ Gifted (ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์) [TSM & GC][แก้]

Gifted คือ โครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เด็กผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์มีความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดมากยิ่งขึ้น โดยการพัฒนาเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์นี้ทุกด้าน ซึ่งในปี พ.ศ. 2550 ได้เปิดทำการสอนห้องเรียน Gifted รุ่นที่ 1 เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]